ธีรวัฒน์

นักเขียน : ธีรวัฒน์ โชติสุต :

ผมเฝ้ารอฟังเครื่องเล่น SACD ของ Accuphase มานานแล้วครับ เนื่องจากส่วนใหญ่คุ้นเคยและฟังแต่ของ Esoteric มาตลอด สำหรับเครื่องเล่นซีดีของญี่ปุ่นมีแค่ Esoteric และ Accuphase ที่ผมรู้สึกว่า สองยี่ห้อมีเรื่องราวต่อเนื่องกันมาเป็นสิบๆ ปี ความใส่ใจในการผลิต การประกอบคุณภาพอุปกรณ์ภายในและความใส่ใจของเหล่าวิศวกร ซึ่งคิดค้นอะไรใหม่ๆ ออกมาล้วนสร้างความน่าเชื่อถือความประทับใจได้ตลอดเวลา

 Accuphase DP-560 คือความสเร็จต่อเนื่องมาจาก DP-550 แต่ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรต่างๆ พอควร หากจับเครื่องยกขึ้นเพื่อจะชั่งน้หนักคร่าวๆ จะรู้สึกได้ว่า Accuphase DP-560 หนักกว่ารุ่น DP-550 เสียอีก นับกันเฉพาะภาคทรานสปอร์ตชุดแมคคานิกต่างๆ ของภาคนี้ก็มีน้หนักมากกว่า DP-550 แล้วล่ะครับ ส่วนนี้ทางทีมงานวิศวกรได้คิดค้นพัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้การทงานมีความสงัดและเงียบมากยิ่งขึ้น รวมถึงน้หนักที่เพิ่มขึ้นจากภาคจ่ายไฟที่อัดมาแน่นกว่า DP-550 ถ้าจะถามว่า ระหว่าง DP-550 กับ DP-560 ควรจะเลือกเล่นรุ่นไหน ผมเชียร์ให้เล่นรุ่นใหม่ Accuphase DP-560 มากกว่า

ตั้งแต่ได้สผมผัสเครื่องเล่นระดับไฮเอ็นด์มา เครื่องเล่น Accuphase DP-560 เป็นเครื่องเล่น SACD ที่มีการเลื่อนเข้าเลื่อนออกของถาดใส่แผ่นที่เงียบมากๆ ทงานได้อย่างราบเรียบต่อเนื่องกันดี ความรู้สึกแตกต่างจากเครื่องเล่นซีดีของ EAR Acute ที่ถาดเวลาเลื่อนเข้าออกจะดังพอควร

อย่างที่บอกตอนต้น ตรงนี้เกิดจากผลพ่วงที่ทางทีมงานวิศวกรของ Accuphse ได้รื้อในรุ่น DP-550 ทิ้งแล้วศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้นมาใหม่จากการศึกษาและสังเกตต้นเหตุของปัญหาจากการรบกวนทางกลต่างๆ รวมถึงเวลาถาดใส่แผ่นเลื่อนเข้าเลื่อนออกก่อให้เกิดปัญหาจากอะไรบ้าง การทงานของมอเตอร์เวลาทงานในการส่งถาดใส่แผ่นเลื่อนเข้าเลื่อนออก แม้แต่การทงานของถาดใส่แผ่นเวลาเลื่อนนั้น อากาศที่แทรกเข้ามาในระหว่างการเคลื่อนตัวทั้งเข้าและออกก่อให้เกิดเสียงอย่างไรบ้าง ก็ยังคิดหาวิธีลดเสียงการแทรกของอากาศเข้ามาเช่นกัน

จากปัญหาการเกิดการสั่นสะเทือนต่างๆ Accuphase พัฒนาโครงสร้างทางแมคคานิกของ ภาคทรานสปอร์ตใหม่ ยกเครื่องกันใหม่ทั้งยวง โดยให้มี ความแข็งแรงและมีน้หนักค่อนข้างมาก เพื่อลดในเรื่อง ของการสั่นสะเทือนเวลาทงานและซึมซับการสั่นสะเทือน ต่างๆ ภายในเครื่องขณะทงานให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าแรงสั่น สะเทือนนั้นจะเกิดในระดับเล็กหรือใหญ่ก็ตาม โดยแบ่ง ทั้งหมดออกเป็น 3 ส่วน คือ Molded Base, Iron Insulator และ Aluminum Cover แต่ละส่วนทั้ง 3 ส่วน จะมีช่องว่างเพื่อซึมซับการสั่นสะเทือนต่างๆ ใต้ฐาน ชุดแมคคานิกของภาค Transport ยังมียางซิลิโคนรองรับ เพื่อไอโซเลตปัญหาจากการกวนทางกลย้อนกลับขึ้นไป ชุดลแสงเลเซอร์ที่ใช้ในการอ่านข้อมูลบนแผ่นก็จะยึดติด กับวัสดุที่เป็น Absorb Vibration เช่นกัน

ส่วนมอเตอร์ที่ใช้โหลดแผ่นเข้าออกนั้น ทาง Accuphase พบว่าคือสาเหตุหนึ่งที่ทให้เกิดการรบกวน และเสียงดังรบกวน ทาง Accuphase ก็เลยหันพัฒนาการ เลื่อนเข้าเลื่อนออกของถาดใส่แผ่นให้เงียบมากยิ่งขึ้น ถาดใส่แผ่นก็ทจากอะลูมิเนียมไม่ได้ทจากพลาสติก ขึ้นรูปแต่อย่างไร ซึ่งทให้การทงานในภาคนี้ของ Accuphase DP-560 วัดออกมาแล้วเงียบกว่า DP-550 ถึง 1/3 แต่เราจะไม่ได้รู้สึกว่าจะเงียบกว่าเดิม เพราะของ เดิมใน DP-550 นั้นดีอยู่แล้ว แต่ผลพ่วงจะไปออกเมื่อเรา ฟังเพลง จะรู้สึกว่า DP-560 เสียงเงียบสงัดกว่า DP-550 ถึง 20% โดยทีเดียว

ในภาค DAC นั้น Accuphase เลือกใช้ชิปขนาด 32 บิต Hyperstream DAC ES9018S ของ ESS Technology ทำงานรวมกับ MDS+(Multiple Delta Sigma) และ D/A Converter with four parallel circuit หมายความว่า สัญญาณดิจิทัลที่เข้ามาในภาค DAC นั้นจะฟีคเข้า DAC 4 ชุดที่ต่อขนานกัน สัญญาณจาก DAC ทั้ง 4 ชุดก็จะมารวมกันอีกครั้งก่อนที่ส่งต่อไปในภาคต่อไป ภาคนี้จึงค่อนข้างแน่นมาก เพราะภายในชิป DAC9018S นั้นจะมีภาค DAC ถึง8 ชุดอยู่ภายในชิพตัวนี้ แถมยังจับเอาชิพ DAC9018S มาขนานกันอีกถึง 4 ชุดอีก

ถามว่าเทคนิคอย่างนี้ทาง Accuphase ทำเพื่ออะไร ก็เพื่อจะได้สัญญาณรบกวนที่ต่ำลงมามากยิ่งขึ้น เป็นเทคนิคที่แยกความถี่ของสัญญาณและระดับของสัญญาณแยกออกจากกัน จึงควบคุมเรื่องการรบกวนได้ง่ายกว่า สิ่งหนึ่งที่สำคัญของกระบวนการ DAC ก็คือการแก้ไขปัญหาเรื่องของ Aliasing Noise หากเกิดขึ้นมาจะทำให้สัญญาณผิดเพี้ยนไปจากสัญญาณต้นฉบับ ทาง Accuphase DP-560 ได้แก้ไขปัญหาในเรื่องนี้โดยใช้ 5 Pole Butterworth Analog Filter เพื่อมาจัดการในเรื่องนี้ ฟิลเตอร์รบกวนนี้จะแยกจากกันอย่างเด็ดขาดระหว่างสัญญาณที่จะส่งไปยังขั้ว RCA และ XLR (Fully Balanced) สำหรับขั้ว XLR ยังมีสวิตช์โยกเพื่อรักษาเฟสของสัญญาณอีกด้วย

การวางเลย์เอาภายในเครื่องทาง Accuphase ก็จะใช้ใส่ใจและมีความละเอียดในการจัดวางอย่างมากโดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ Logic Control, Digital Circuit, Analog Circuit และภาค Power Supply โดยแบ่งภาคดิจิทัลให้อยู่ด้านขวา ภาคอะนาล็อกจะอยู่ด้านซ้ายส่วนภาคจ่ายไฟจะอยู่ติดกับภาคอะนาล็อกเพื่อให้เสียงมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น มีทางเดินของสัญญาณที่สั้นลง

ขั้วต่อทางดิจิทัลนั้น ถ้าเป็น USB จะรองรับสัญญาณดิจิทัล 384kHz/32Bit, 11.2896MHz/1 bit สำหรับข้อมูลของ DSD นั้นจะรองรับทั้ง DoP (DSD over PCM) และ ASIO2.1 ส่วนแบบ Coaxial และ Optical จะรองรับ 192kHz/24 Bit

คุณภาพเสียง

เท่าที่ได้ลองฟังเครื่องเล่น CD/SACD มาไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ Esoteric ที่ผมฟังตั้งแต่ตัวรองๆ ถึงรุ่นท็อปสุด, ยี่ห้อ EAR, ยี่ห้อ Harmonix Reimyo, Marantz และยี่ห้ออื่นๆ อีก จนมาถึง Accuphase DP-560 ตัวนี้ ตามความรู้สึกของผมแต่ละยี่ห้อก็จะมีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป

ก่อนหน้าที่ผมจะได้มีโอกาสฟังเครื่องเล่น Accuphase DP-560 ในบรรดาเครื่องเล่นซีดีผมชอบในน้ำเสียงของ EAR Acute ค่อนข้างมาก ในความรู้สึกของผมแล้ว EAR มีสิ่งหนึ่งที่ผมชอบคือความเป็นอะนาล็อกของเสียง ซึ่งให้โทนเสียงอบอุ่น มีความเป็นธรรมชาติสูงมากทีเดียว ฟังได้นานโดยที่ไม่ได้รู้สึกว่าล้าหูเลย

แต่พอได้ลองมาฟังเสียงจากเครื่องเล่นซีดี Accuphase DP-560 หลายสิ่งหลายอย่างแตกต่างจาก EAR ในหลายแง่มุมเหมือนกัน ไม่ได้บอกว่า ใครดีกว่าหรือแย่กว่า แต่เป็นความแตกต่างที่ขึ้นกับความชอบแล้วล่ะครับว่า ใครชอบแบบไหนมากกว่ากัน แต่หากจะพูดถึงฟังก์ชั่นการใช้งาน Accuphase จะให้ครอบคลุมรอบด้านมากกว่า EAR Acute

The Latin Sound of Lex Vandyke/Concierto de Aranjuez เพลงบรรเลงกีต้าร์แนวสแปนิช ซึ่งผมมักจะชอบฟังเพลงแนวนี้บ่อยๆ แผ่น SACD แผ่นนี้ ผมเปิดเล่นทั้งเครื่องเล่นซีดีธรรมดาและเครื่องเล่น SACD แต่ละเครื่องก็จะให้เสียงแตกต่างกัน แต่เมื่อนำมาเปิดอีกครั้งผ่าน Accuphase DP-560 เสียงบางอย่างก็แตกต่างกันออกไป อย่างสมัยหนึ่งผมเคยฟังเพลงจากแผ่นนี้ผ่านเครื่องเล่น Sony DVD/SACD Player เมื่อเทียบกับ Accuphase DP-560 เสียงแตกต่างกันเยอะ Accuphase DP-560 ทำให้สัมผัสความเหนือกว่าในเรื่องคุณภาพเสียงให้ออกมามากกว่าจริงๆ

เพลง “Concierto de Aranjuez” ผมเชื่อว่านักเล่นหลายท่านคงจะคุ้นเคยในเพลงนี้ สำหรับเพลงนี้ เครื่องเล่น Accuphase DP-560 ทำให้ผมรู้สึกว่า เสียงกีต้าร์ที่ได้ยินนั้น เป็นเสียงที่เสมือนจริงมากๆ อย่างแรกเลยก็คือ น้ำหนักการกดสาย ซึ่งผมรู้สึกว่า Accuphase DP-560 ให้น้ำหนักกดเสียงกีต้าร์ที่ค่อนข้างจะหนักแน่นมากกว่า มวลเสียงกีต้าร์เข้มกว่าทุกครั้งที่เคยผ่านมา หนักแน่นพลิ้วไหว บรรยากาศของเสียงดีมากทีเดียว ยิ่งเสียงก้องในกีต้าร์นั้นได้ยินชัดเจนมากๆ

ดนตรีพอหนักแน่นแล้วหลายท่านจะสงสัยแล้วจะอึดอัดหรือเปล่า จริงๆ แล้วไม่เลย เพราะเสียงกีต้าร์เวลาเล่นเพลงแนวนี้ เสียงต้องออก มาสไตล์แบบนี้ มวลเสียงกีต้าร์ต้องเข้มข้นขึ้นมาหน่อย เสียงนิ้วรูดเส้น กีต้าร์ เสียงฮาร์มอนิกส์จากการสั่นของสายกีต้าร์ ฟังแล้วรู้สึกว่าใช่เลย

ก่อนหน้านี้ แผ่นนี้เวลาเปิดดังแล้วจะรู้สึกอึดอัดเล็กหน่อย เหมือน เสียงจะออกเครียดหน่อยๆ แต่ Accuphase DP-560 ทำให้ผมรู้สึกว่า สามารถเปิดได้ดังขึ้นโดยไม่รู้สึกเครียดหรืออึดอัดเลย ส่วนหนึ่งอาจเป็น เพราะเร้นจ์เสียงที่กว้างขึ้น เสียงจึงรู้สึกว่าโล่งมากขึ้น สามารถเร่งเสียง เพิ่มขึ้นได้ สำหรับแผ่นนี้เมื่อเล่นเครื่องเล่นซีดีธรรมดา จะเห็นข้อ แตกต่างอย่างหนึ่งก็คือ บรรยากาศของเสียงจะขุ่นและทึบกว่านิดหน่อย แต่พอมาเล่นกับเครื่องเสียง SACD ในชั้นข้อมูล DSD เสียงจึงฟังแล้ว เปิดโล่งมากกว่า บรรยากาศของเสียงมาเต็มๆ มากกว่า

ณ ตอนนี้ยังไม่พูดถึงถ้าเป็นแผ่นซีดีธรรมดาเล่นกับเครื่องเล่น Accuphase DP-560 เสียงจะออกมาอย่างไร แต่หากเป็นแผ่น SACD เมื่อเล่นกับเครื่องเล่น SACD ของ Accuphase แล้วให้คุณภาพเสียง ออกมาคุ้มค่าแน่ๆ เพราะจากที่ฟังบางยี่ห้อ เสียงจะออกมาตึง แน่น แต่อารมณ์ร่วมในการฟังนั้น ผมมองว่า Accuphase DP-560 ให้ความอบอุ่นผ่อนคลายชวนให้น่าฟังมากกว่า

การแยกแยะสัญญาณซ้าย-ขวาก็แยกได้เด็ดขาดมากกว่า เปรียบเทียบแผ่นต่อแผ่นที่ผมมีทั้งแผ่นธรรมดาและแผ่น SACD พอมา เปิดแผ่น SACD แชนเนลซ้ายและขวาแยกแยะออกมาได้อย่างชัดเจน กว่า เวทีเสียงขยายกว้างออกไปทางด้านข้างของลำโพงมากกว่า ลึกกว่า ไดนามิกเร้นจ์กว้างกว่า เสียงโปร่งและดูผ่อนคลายมากกว่า ไม่ได้รู้สึกว่า จะเป็นเสียงแนวดิจิทัล แต่เป็นเสียงแบบอะนาล็อกที่ยกระดับขึ้นมา บรรยากาศความอบอุ่นของเสียงช่วยให้เสียงผ่อนคลายและน่าฟังมากๆ

Vol. II แค่แทร็กแรกซึ่งเป็นเสียงเปียโนขึ้นมา ความใสกังวาน น ้ำหนักของเสี ยงเปี ยโน ให้ ออกมา น่าประทับใจอย่างมากทีเดียว ความกังวานและ ไดนามิกของเสียงเปียโนนั้น รู้สึกได้ถึงเร้นจ์เสียง ที่กว้างมากกว่าเดิม ผมรู้สึกว่าพีคเสียงตรงนี้ดัง ชัดและมีมวลดีกว่าครั้งก่อนๆ

เสียงร้องของไช่ฉินมีรายละเอียดของเสียง มากยิ่งขึ้น จังหวะกลืนน้ำลาย การเอื้อนเสียงให้ ยาวออกมา เสียงที่แกว่งจากการเคลื่อนไหวของ หน้าที่ทำให้เสียงเฟคออกในบางจังหวะ หรือ จังหวะที่ปล่อยช่องว่างระหว่างหน้ากับไมค์ เพื่อให้เสียงดูนุ่มน่าฟังนั้น สามารถจับต้องและ รับรู้ได้อย่างชัดเจน

เนื้อเสียงของไช่ฉินให้เสียงกลมมีความเป็น สามมิติของเสียงที่ดีมาก โดยเฉพาะเสียง เครื่องเป่า บรรยากาศของเสียงมาเต็มๆ เลย น้ำหนักเสียงกลองหนักแน่น มวลเสียงออกมา ค่อนข้างใหญ่ เสียงร้องของไช่ฉินกับเสียงดนตรี มีช่องว่างช่องไฟที่ชัดเจนมีระยะห่างออกมาให้ รู้สึกได้อย่างเด่นชัด จังหวะจะโคนแต่ละเสียง แม่นยำไทมิ่งเป๊ะมาก

แต่ให้ระวังเรื่องของสายนำสัญญาณเช่นกัน เพราะสายนำสัญญาณมีผลต่อเสียงค่อนข้างมาก ทีเดียว เพราะเครื่องเล่น Accuphase DP-560 นั้นให้เร้นจ์เสียงกว้างมากๆ หากสายนำสัญญาณ ไม่ได้ให้เร้นจ์เสียงที่กว้างจริงๆ เสียงก็ออกไปทาง ขุ่นๆ ได้เช่นกัน คุณภาพเสียงในเรื่องนี้คุณภาพ ของสายนำสัญญาณจึงมีผลต่อเสียงอย่างมาก เช่นกัน

ถึงแม้ว่า Accuphase DP-560 จะให้สาย นำสัญญาณมาพร้อมเครื่องด้วยหนึ่งคู่ แต่ผม ไม่ได้นำมาลองเล่นว่าเสียงออกมาเป็นเช่นไร แต่ใช้สายนำสัญญาณที่ผมมีอยู่ ราคาสายนำสัญญาณหลักหมื่นปลายๆ กับ สายนำสัญญาณ แบบแอ็กทีฟ เสียงมีความแตกต่างกันอย่างมาก ทีเดียว สายนำสัญญาณแบบแอ็กทีฟให้เร้นจ์ เสียงที่กว้างกว่า และรายละเอียดของเสียงที่ดี มากกว่า ที่ต้องสื่ออย่างนี้ก็เพราะว่า ไม่ได้สำคัญ ว่าจะเป็นสายนำสัญญาณแบบ XLR หรือ RCA สำคัญอยู่ที่ว่าสายนำสัญญาณที่ใช้นั้นเป็นสายนำสัญญาณที่ให้เร้นจ์เสียงออกมากว้างหรือเปล่า

ที่ยกเรื่องมาพูดถึงเนื่องจากว่ามีความ สำคัญไม่น้อยทีเดียว เพราะสุดท้ายสายนำสัญญาณก็คือตัวกำหนดว่า เราเข้าถึงคุณภาพ เสียงจากเครื่องเล่นแล้วหรือยัง อย่าลืมนะครับ จุดเด่นของ SACD ก็คือไดนามิกเร้นจ์ของเสียงที่ กว้าง หากสายนำสัญญาณไม่ได้ให้เร้นจ์เสียงที่ กว้างก็จะเกิดคำถามว่าจะซื้อมาทำไม คุณภาพ เสียงไม่ได้แตกต่างจากเครื่องเล่นซีดีทั่วไปเลย แม้ว่าจะเล่นแผ่น SACD ก็ตาม ซึ่งผมบอกว่า ไม่ยุติธรรมเท่าไรเพราะสิ่งที่เราเลือกเล่นนั้นเป็นตัวสกัดกั้นไม่ได้เข้าถึงคุณภาพที่แท้จริงเลยต่างหาก หากคิดว่าเสียงจากเครื่องเล่น SACD คุณภาพเสียงไม่ได้ห่างจากเครื่องเล่นซีดีมากนัก ก็จะได้ย้อนกลับมาทบทวนเรื่องของสายนำสัญญาณที่ใช้นั้น ใช่แล้วหรือยังแผ่น Patricia Barber / Café Blue แผ่นนี้เป็นตัวอย่างที่ดีหากรู้สึกว่าแผ่น SACD เสียงไม่ได้ดีกว่าแผ่นซีดีธรรมดาก็ลองดูว่า อะไรคือสิ่งที่ให้คุณภาพเสียงออกมาเป็นอย่างนั้นเพราะอะไร

จากแผ่นนี้เมื่อเทียบกับเสียงที่ผมเคยฟังจากเครื่องเล่นของ Esoteric เทียบกับ Accuphase DP-560 แล้วเสียงจะแตกต่างกัน เหมือนต้องเลือกความสดแบบ Esoteric หรือ เก๋านุ่มลึก อย่าง Accuphase DP-560

จริงๆ ในเรื่องการฟังเพลง การเลือกซอร์สจะสำคัญมากที่สุด เพราะคุณภาพเสียงของซิสเต็มจะขึ้นกับซอร์สที่เลือกใช้ น่าเสียดายที่หลายซิสเต็มกลับให้ความสำคัญของซอร์สน้อยกว่าภาคขยายและลำโพง

ใครชื่นชอบผลงานของ Patricia Barber ผมบอกได้เลยครับว่าเมื่อฟังเสียงจากแผ่น SACD แทบจะไม่อยากกลับไปฟังเสียงชุดเดียวกันนี้จากแผ่นซีดีธรรมดาอีกเลย คุณภาพเสียงแตกต่างกันจริงๆ จากเพลงแรกแทร็กแรก “What A Shame” เสียงเบส มวลเสียงเข้มข้น เสียงเพอร์คัสชั่นที่ใสกระจ่างกว่า เบส เสียงกีต้าร์ไฟฟ้า เสียงเปียโน โทนเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น ในโทนขุ่น ใส กระจ่างนั้นให้โทนเสียงที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เสียงกีต้าร์ที่นิ้วรูดไปตามเส้นในเอฟเฟกต์ของเสียงต่างๆ เสียงจากการขยี้เส้นสายกีต้าร์ ไดนามิกของเสียงเปียโน มีรายละเอียดมีความชัดเจนของเสียงที่ดีมากๆ

โฟกัส อิมเมจของแต่ละเสียงแต่ละชิ้นดนตรี ชัดเจนแม่นยำอย่างมาก คือแยกให้รู้สึกหน้าหลังอย่างเด่นชัด บรรยากาศ ฮาร์มอนิกส์ของเสียงให้ออกมาอย่างสมบูรณ์จริงๆ ฟังแล้วไม่ได้รู้สึกว่าจะอึดอัดแต่อย่างไรเลย เสียงโปร่งโล่ง บรรยากาศตอนบน มิติสูงต่ำของเสียงก็ให้ออกมาอย่างยอดเยี่ยมจริงๆ

ผมค่อนข้างชอบในน้ำหนักและแรงปะทะ มวลเสียงในแต่ละความถี่เสียงอย่างมากทีเดียว ตรงนี้ช่วยลบความเชื่อและความคิดเดิมๆ ว่าเครื่องเล่นของ Accuphase นั้นต้องหวาน ชวนให้น่าฟัง แต่รู้สึกตอนนี้ Accuphase DP-560 กำลังเล่นกันถึงความสมจริงสมจังและความเป็นธรรมชาติของเสียง ย่านความถี่เสียงสูง ไม่ได้เน้นหวานชวนฟังอีกแล้ว เหมือนจะเน้นขยี้ในรายละเอียดของเสียงให้ออกมามากยิ่งขึ้น เนื้อเสียงและน้ำหนักเสียงนั้นให้ออกมาดีมาก ซึ่งจากที่เคยฟังเครื่องเล่นซีดีในยุคเก่าๆ เนื้อเสียงตอนบนของ Accuphase จะอมเนื้อนิดหน่อยแล้วมีคัลเลอร์เล็กๆที่ชวนให้น่าฟัง แต่หากเป็นแหลมยุคใหม่ จะมีความพลิ้ว ใส่กระจ่าง และพลิ้วกังวานมากยิ่งขึ้น

ยิ่งในแทร็กที่สอง Mourning Grace ช่วงท้ายๆ ที่มีการโซโลกลองและฉาบนั้น จะเห็นความแตกต่างจากเครื่องเล่นซีดี Accuphase ในอดีตกับ Accuphase DP-560 อย่างสิ้นเชิง ไดนามิกของเสียงกลองนั้น ให้ออกมาเต็มๆ เหมือนกับมีใครกำลังมานั่งหวดกลองในห้องฟังเพลงจริงๆ เทียบเสียงจากแทร็กนี้เมื่อเทียบกับที่ผมเคยฟัง Esoteric ผมกลับชอบเสียงจาก Accuphase DP-560 มากกว่าเสียอีก

ในแทร็กนี้ผมเปรียบเทียบกับไฟล์เพลง DSD เทียบกับเสียงจากแผ่น SACD ในเรื่องแรงปะทะและน้ำหนักของเสียงนั้น ผมรู้สึกว่าแผ่น SACD ให้ออกมาดีกว่ากันมาก เพราะเมื่อฟังก์เสียงจากไฟล์ DSD นั้น น้ำหนักเสียงจะลดลงจากแผ่น SACD และดูเหมือนว่าความใสของเสียงนั้น แผ่น SACD ให้ออกมาดีกว่าเช่นกัน ถ้าจะพูดในตรงประเด็นก็คือ ชุด Patricia Barber / Café Blue ผมรู้สึกว่าสำหรับเครื่องเล่น SACD ของ Accuphase DP-560 นั้นให้เสียงจากแผ่น SACD ดีกว่าไฟล์เพลง DSD

ก่อนจะไปคุยเรื่องของคุณภาพเสียงจากไฟล์เพลงจะขอตัดไปพูดเรื่องคุณภาพเสียงเมื่อเล่นแผ่นซีดีกันก่อน เพราะหลายครั้งที่อ่านบททดสอบมาก็จะเจอประโยคว่า เครื่องเล่น SACD เล่นแผ่นซีดีแล้วเสียงไม่ค่อยจะดีเท่าไร

เลยต้องมาพูดถึงคุณภาพจากแผ่นซีดี แต่คงไม่เทียบเสียงจากแผ่นซีดีกับแผ่น SACD เพราะเสียงย่อมแตกต่างกันอยู่แล้ว แต่ผมจะเทียบว่าเมื่อเล่นแผ่นซีดีบนเครื่องเล่น Accuphase DP-560 เมื่อเทียบกับเครื่องเล่นซีดีแล้วเสียงเป็นอย่างไรมากกว่า ดีกว่า ด้อยกว่า หรือเสียงแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

เริ่มต้นด้วยแผ่นซีดีซึ่งเป็นแผ่นซีดีแจกในงานเครื่องเสียงที่มิวนิกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา แผ่นนี้ผมเล่นบ่อย แต่สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกได้ก็คือ เกนเสียงที่ค่อนข้าง

สูงนิดหน่อย เมื่อเล่นกับเครื่องเล่นซีดีอื่นแล้วเร่งเสียงขึ้นมา นั้นจะฟังดูอึดอัดเล็กน้อย เทียบกับคุณภาพเสียงเมื่อเล่นผ่าน เครื่องเล่น SACD ของ Accuphase DP-560 ผมรู้สึกว่า ในแทร็กแรก จังหวะของเบสที่ยำในการควบคุมจังหวะ จะหนักแน่นและมีมวลเสียงที่เข้มกว่าเดิมเล็กน้อย บีทเสียง ความถี่ต่ำจะรู้สึกได้ถึงความหนักแน่นของเสียงที่เพิ่มขึ้น เสียงเปิดโปร่งกว่าเดิม เสียงพวกซินธิไซเซอร์ชัดเจนและรู้สึก ว่าไดนามิกของเสียงจะกว้างกว่าเดิม เสียงไม่ได้จมไปกับ เสียงเครื่องดนตรีหลัก

แผ่นซีดี NAD 20 Years of Music/A Sonic Celebration from NAD and Sheffield Lab ในแทร็ก Dacin’ In The Street/The Power of Seven แค่น้ำหนัก ของเสียงกลองที่หวดลงมาก็สร้างความประทับใจในเรื่อง น้ำหนักและความเด็ดขาดตรงนี้แล้วครับ เสียงหนักแน่นและ เข้มกว่าเสียงที่เคยได้ยินจากเครื่องเล่นซีดี การแยกแยะ เสียงร้องก็ทำได้เด็ดขาดมากกว่า เพลงนี้มีนักร้องหลายเสียง ทั้งนักร้องหลักและนักร้องประสานเสียง แต่ละเสียงมี โทนเสียงที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งช่องเสียง คีย์เสียง สูงต่ำบรรยากาศของการแสดงสด เสียงดนตรีต่างๆ ให้ รายละเอียดของเสียงออกมาเด่นชัด การแยกร่องสัญญาณ ซ้ายขวาก็ชัดเจนเด็ดขาดกว่า

ผมเป็นแฟนตัวยงของแผ่นซีดีในสังกัด Sheffield Lab ชอบขั้นตอนการบันทึกเสียงที่ทำออกมาได้อย่างสมบูรณ์ เกนเสียงต่ำเร้นจ์เสียงกว้าง ไดนามิกของเสียงนั้นมาเต็มๆ ถ้าเครื่องเล่นตัวไหนไม่สามารถส่งผลสิ่งเหล่านี้ที่อยู่ในแผ่น ของ Sheffield Lab ออกมาได้ อืมก็นะ ก็ไม่ต้องพูดอะไร ต่อแล้วล่ะ

ในแทร็กที่ 4 เพลง Gone Buttlefishin’/James Newton Howard & Friend ในเพลงนี้ Accuphase DP-560 ให้เร้นจ์เสียงกว้าง โปร่ง น้ำหนักของเสียงพีค และ ไดนามิกของเสียงในแต่ละชิ้นดนตรี ให้ออกมาได้สมบูรณ์แบบ อย่างมากทีเดียว เร้นจ์เสียงกว้าง เริ่มต้นจากเสียงกีต้าร์เบส และเสียงกลอง ตามมาด้วยเสียงอิเล็กโทน แต่เสียงแยกแยะ รายละเอียดได้อย่างเด็ดขาด เสียงฟังแล้วไม่อึดอัด เสียงเบสนั้น น้ำหนักและโทนเสียงไปทางหนักแน่นแต่จะขุ่นกว่าหน่อย เสียงกลองก็จะเน้นมวลเสียงข้น ส่วนเสียงอีเล็กโทนจะใส กระจ่างกว่า Accuphase DP-560 ก็ให้ออกมาอย่างนั้น ความกว้างของเวทีเสียงที่ให้ออกมากว้างมากๆ เครื่องเล่น ซีดีบางเครื่องที่ผมเล่นแผ่นนี้ มวลเสียงเบสจะเข้มน้อยกว่า ไม่ได้หนักแน่นมากนัก แต่ Accuphase DP-560 ให้หัวเสียง ที่หนักแน่นและข้นมากกว่า ไดนามิกของเสียงแต่ละชิ้น Accuphase DP-560 ก็ให้ออกมาดีกว่าเช่นกัน

ยิ่งในแทร็กเสียงร้องของ Amanda McBroom ในเพลง The Rose เสียงร้องที่คู่กับเสียงเปียโนในตอนต้น เพลง ไดนามิกของเสียงเปียโนกับเสียงร้อง Amanda คลอประคองประสานเสียงกันมานั้น ให้รายละเอียดของ เสียงได้อย่างเด่นชัด สัมผัสถึงความเป็นธรรมชาติของเสียง ได้อย่างดีเยี่ยม ไดนามิกเสียงร้องของ Amanda เครื่องเล่น Accuphase DP-560 ถ่ายทอดออกมาได้อย่างดีมากทีเดียว

กลับมาถึงไฟล์เพลงที่ค้างเอาไว้ก่อนหน้านี้ เริ่มต้นด้วย ไฟล์เพลง DSD ของ My Heart Will Go On / Celine Dion ในเรื่องของคุณภาพนั้นไม่ได้มีข้อกังขาแต่อย่างไร สำหรับ Accuphase DP-560 เสียงร้องของ Celine Dion มีความ ฉ่ำหวาน อินเนอร์ในเสียงร้องสัมผัสได้ถึงความสั่นเล็กๆ ใน น􀄞ำเสียงที่บ่งบอกถึงอารมณ์ที่สูญเสียคนรักได้เป็นอย่างดี เพลงนี้จะรู้สึกถึงน้ำเสียงที่ลักษณะสั่นเล็กๆ เพื่อให้รู้สึกถึง อารมณ์ ณ ตอนนั้น จังหวะไทมิ่งของเสียงร้องและเสียง ดนตรี ไหลต่อเนื่องกันดีมากๆ ไม่ได้รู้สึกว่าจังหวะจะเร็ว หรือช้า รายละเอียดของเสียงแจกแจงออกมาได้อย่างดีมากผมชอบช่วงที่ไทมิ่งช่วงที่โหมดนตรีขึ้นมาในจังหวะที่เสียงร้องสลับคีย์สูงขึ้นไป รายละเอียดของเสียงตรงนี้ถ่ายทอดออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมมากๆ

ในแทร็กต่อมา I’m Your Angel (Duet with R.Kelly) ในเพลงนี้เสียงร้องของ Celine Dion จะแตกต่างจากเพลงก่อนหน้านี้ น้ำเสียงไม่ได้มีลักษณะสั่นเล็กๆ แล้ว เสียงใสขึ้น น้ำหนักเสียงจะไม่ลงในช่องเสียงที่ต่ำลงมาเหมือนเพลง My Heart Will Go On ซึ่งตรงนี้ Accuphase DP-560 ก็ถ่ายทอดน้ำเสียงออกมาให้สัมผัสได้อย่างไม่ยากเย็นนัก เวลาร้องคู่กับ R.Kelly เนื้อเสียง ร่องเสียงที่แตกต่างกัน Accuphase ก็ถ่ายทอดออกมาได้เป็นอย่างดี รวมถึงการแยกแยะเสียงร้องประสานก็แจกแจงออกมาได้อย่างละเอียด ผมชอบในรายละเอียดเสียงค่อนข้างมาก เป็นครั้งแรกที่ผมฟังไฟล์เพลงแล้วไม่รู้สึกว่าเสียงจะแห้งแต่อย่างไร

ในไฟล์เพลง FLAC อย่างเพลงของ Aminee Mann Lost in Space สำหรับเพลงของ Aminee ผมก็มีแผ่น SACD เช่นกันแต่มีชุด Bachelor No.2 แต่คงไม่ได้เทียบเสียงกับแผ่น SACD หรอกนะครับ เมื่อเทียบเสียงแล้วระหว่างไฟล์เพลง FLAC กับ DSD ผมรู้สึกว่าเวลาฟังไฟล์เพลง FLAC แล้วไดนามิกของเสียงแรงปะทะนั้นสู้ไฟล์ DSD ไม่ได้เลย ไฟล์เพลง DSD นั้นเสียงดีกว่ากันเยอะครับ ชนิดที่ว่าเมื่อได้ลองฟังแล้วจะหันมากลับฟังเพลงจากไฟล์ FLAC นี่อารมณ์อยากฟังเพลงหายไปพอควรเลย

Accuphase DP-560 SACD of Year 2018

ถ้าจะหยิบเครื่องเล่นอะไรเป็นไฮไลต์สำหรับปีนี้ ผมว่า Accuphase DP-560 นี่แหล่ะสมควรได้รับรางวัล SACD Player of The Year 2018

โดยธรรมชาติของการเล่นเครื่องเสียงแล้ว นักเล่นส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญของซอร์สค่อนข้างน้อย แต่จริงๆ แล้วซอร์สค่อนข้างสำคัญมากๆ เพราะเสียงที่ได้ยินส่วนใหญ่แล้วคุณภาพของซอร์สจะมีผลต่อเสียงค่อนข้างเยอะทีเดียว ซอร์สไม่ใช่จะใช้อะไรก็ได้เพราะถ้าต้องการคุณภาพเสียงที่ดีขึ้นมาซอร์สต้องใส่ใจในการเลือกเป็นพิเศษเลยครับ

Accuphase DP-560 เป็นเครื่องเล่นที่ให้ความสงัดของเสียงมากที่สุด เท่าที่ผมเคยสัมผัสมา คุณภาพเสียงจากแผ่น SACD, CD หรือไฟล์เพลง ให้คุณภาพเสียงออกมายอดเยี่ยมจริงๆ ส่วนไฟล์เพลง FLAC พอมีไฟล์เพลง DSD มาเทียบก็เลยรู้สึกว่า ไดนามิก รายละเอียด ความกว้างของเวทีเสียงนั้นไฟล์เพลง DSD ให้ออกมาดีกว่ากันเยอะ

Accuphase DP-560 ให้เร้นจ์เสียงออกมากว้างมาก ฉะนั้นให้ระวังในการเลือกใช้งานพวกสายนำสัญญาณและสายไฟเอซีให้ดี เพราะ Accuphase DP-560 ค่อนข้างไหวต่อเรื่องพวกนี้ค่อนข้างมากทีเดียว เลือกผิดนี่คุณภาพเสียงเปลี่ยนชนิดผิดที่ผิดทางเลยนะครับ งบถึงและประณีตในการเฟ้นหาเครื่องเล่นที่ให้คุณภาพเสียงออกมายอดเยี่ยมจริงๆ แนะนำAccuphase DP-560 เป็นอย่างยิ่งเลยครับ. ADP

นิตยสาร Audiophile Videophile ฉบับที่ 260