ชุมพล
ดร. ชุมพล มุสิกานนท์

Acoustic Energy หรือ AE เป็นลำโพงสัญชติอังกฤษที่คนไทยรู้จักกันมนแล้ว โดยเฉพะในหมู่นักเล่นเครื่องเสียงที่นิยมลำโพงเล็ก เที่ยงตรง แต่ยังมีเบส ผมเขียนบทควมทดสอบลำโพง AE รุ่นเล็กๆ ไปเมื่อไม่นนนี้ ยังจำได้ว่คุณภพเสียงแซงหน้ไปไกลโข ตอนนั้นตัวแทนจำหน่ย บริษัท โคไนซ์ อิเล็คโทรนิค จำกัด ยังสั่งลำโพง AE เข้ยไม่ Full Line (ครบทุกรุ่น) คงเลือกนำเข้เฉพะรุ่นที่มีโอกสขยได้แน่ๆ ตมสภวะเศรษฐกิจอันแสนจะน่รันทดของประเทศไทย ครวนี้พอผมทรบว่งบริษัทสั่งลำโพง AE รุ่น 509 ซึ่งเป็นรุ่น Flagship รแตะแสนบทเข้ย มันทำให้ผมสนใจมก เพระได้ยินกิตติศัพท์ของลำโพงรุ่นนี้มเยอะ ทำนองที่ว่เสียงฉีกแนวลำโพง AE รุ่นอื่นๆ ไปมก อจจะเป็นเพระว่ดอกลำโพงที่ทำด้วยวัสดุคร์บอนไฟเบอร์แทนที่อะลูมิเนียมแซนด์วิชในรุ่นเก่ๆ แถมด้วยกรใช้อะลูมิเนียม Waveguide มใช้ครอบทวีตเตอร์เพื่อช่วยกำหนดทิศทงกรกระจยตัวของเสียงแหลม ร่วมกับกรแดมป์ตัวตู้ภยในที่ AE ทำมนแล้ว ส่งผลให้ลำโพงในรุ่น 500 series ส่งเสียงร้องเพลงออกมได้อย่งไพเระเพระพริ้ง เทียบชั้นได้กับลำโพงไฮเอนด์ทั้งหลยได้เลยครับ 

เนื่องจากลำโพงคู่ที่ได้รับมาทดสอบเป็นของใหม่เอี่ยม ดังนั้นจึงต้องการระยะเวลาในการเบิร์นอิน ซึ่งก็ซัดเข้าไปกว่า 60 ชั่วโมงแล้ว เสียงก็จะนิ่ง ไม่มีอะไรวูบๆ วาบๆ อีก ลักษณะนี้เป็นกับลำโพงที่ดีทั้งหลายทุกยี่ห้อครับ

ลำโพง AE ซีรีส์ 500 มีสองรุ่นด้วยกัน คือ AE 500 เป็นลำโพงขนาดเล็กวางขาตั้ง และรุ่น AE 509 ซึ่งเป็นลำโพงตั้งพื้น ตู้ปิด แม้ว่าการวางทวีตเตอร์ไว้ตรงกลางระหว่างวูฟเฟอร์/มิดเรนจ์ จะทำให้คิดว่าเป็นลำโพงสองทาง แต่ข้อเท็จจริงคือ มันเป็นลำโพงสามทางที่มีขั้วต่อสายชนิด Single Wire ข่าวดีกว่านั้นคือ ตัวตู้ของ AE 509 นี่สูงได้ระดับมาตรฐาน คือใกล้กับระดับหูเมื่อนั่งฟัง ไม่เตี้ยเหมือนรุ่นน้องที่ออกมาก่อนหน้า แถมมีขารองอะลูมิเนียมยึดเดือยแหลมมาให้ด้วย ทำให้ลำโพงยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง และดูมีราคาขึ้นไปอีก

AE 509 ที่ผมได้รับมาทดสอบสีดำแบล็กเปียโนครับ สีอื่นๆ ที่มีออกมาคือ สีขาวมัน และก็อเมริกันวอลนัท คุณภาพการทำสีและการประกอบตัวตู้ไร้ที่ติครับ ผมลองใช้นิ้วเคาะผนังตู้เพื่อดูว่ามีเสียงก้องสะท้อนหรือไม่ ผลปรากฏว่า มันดังตึ๊บๆ ไม่มีเสียงก้องออกมาเลย แสดงว่าการทำตู้ของเขามีความแข็งแรง และที่บอกว่ามีการแดมป์ภายในตู้เพื่อลด Colour ของเสียงจะเป็นอย่างไรนั้น ต้องฟังกันจริงๆ ถึงจะรู้แจ้งเห็นจริงกันครับ

สเปกทางเทคนิคที่สำคัญของ AE 509

– ทวีตเตอร์โดม Carbon Fibre ขนาด 25 มม. ทำงานร่วมกับ Aluminium Cast Waveguide
– วูฟเฟอร์/มิดเรนจ์ Carbon Fibre ขนาด 125 มม. แม่เหล็กกำลังสูงระบายความร้อนได้เร็ว
– ตอบสนองความถี่ 32Hz – 28kHZ (+1 – 6dB)
– ความไว 89dB
– รองรับกำลังขับสูงสุด 175 วัตต์
– จุดตัดความถี่ 560Hz / 3.1kHz
– อิมพีแดนซ์ 6 Ohms
– ขนาด (สูง x กว้าง x ลึก) 1000 มม. x 185 มม. x 280 มม. น้ำหนัก 22 กิโลกรัมต่อข้าง

ชุดเครื่องเสียงที่ใช้ทดสอบ เนื่องจากตามสเปกของลำโพง AE 509 เป็นลำโพงที่ไม่หมูครับ มันต้องการเพาเวอร์แอมป์สัก 150 – 200 วัตต์ ผมใช้ปรี/เพาเวอร์ XAV 02 + 120A ที่อยู่ด้วยกันมานาน และผ่านการอัพเกรดมาแล้วหลายครั้งหลายครา สายเคเบิลส่วนใหญ่เป็นของ Zensonice และ Zonotone เครื่องเล่นซีดี Rotel A14 เครื่องเล่นแผ่นเสียง Linn LP12 หัวเข็ม van den Hul: Grasshopper Exim IV ปรีโฟโนไทยทำ Pure Analog (ตราหมา) ตอนที่ฟังผมใส่สไปก์ที่ให้มากับชุดของลำโพงด้วย

ข้อดีประการแรกที่พบคือ AE 509 เป็นลำโพงที่เซ็ตอัพไม่ยากครับ แสดงว่าจูนเฟสมาดี ผู้ผลิตบอกว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์กเป็นคอยล์แกนอากาศและคาปาซิเตอร์ชนิดโพลีพรอพิลีน ผมมิบังอาจแกะดูยี่ห้อหรอกครับ!!! เอาเป็นว่าเสียงแรกที่ฟัง Royal Ballet เสียงดีมาก ทำให้ผมเกิดความสนใจที่จะฟังมันต่อไป

ผมไม่แน่ใจว่าระหว่างระยะเวลาที่ทำการ Burn in อยู่ AE 509 มีการเปลี่ยนแปลงกี่ระยะ รู้แต่ว่าเมื่อผ่าน 40 ชั่วโมงไปแล้ว ลำโพงเริ่มเซ็ตตัวคงที่ แทบจะไม่เปลี่ยนแล้ว แต่เพื่อความแน่ใจ ผมเปิดฟังต่อไปอีกประมาณ 10 ชั่วโมง จนรู้สึกว่ามันนิ่งพอแล้ว จึงฟังทดสอบจริงจัง บอกได้เลยว่า นี่คือการปฏิวัติครั้งใหญ่ของ AE

ตามที่ผมได้เรียนไว้ข้างต้น ผมรู้จักและฟัง AE อย่างจริงจังเมื่อ 20 กว่าปีมาแล้ว ตอนที่ร้าน Laser Corner เป็นตัวแทนจำหน่าย ผมซื้อมันมาเล่นอยู่นานพอควรเลย หลังจากนั้นก็ได้มาทดสอบ AE รุ่นราคาสบายกระเป๋าสองรุ่นคือ AE 109 และ AE 309 ตอนนั้นยังนึกเล่นๆ ว่า ลำโพงตั้งพื้นราคาสามหมื่นกว่าบาททำเสียงได้ดีขนาดนี้แล้ว ถ้าเป็นรุ่นสูงๆ ของเขา เสียงจะเป็นอย่างไร จนกระทั่งได้ฟังรุ่น AE 509 นี่แหละครับ 

มันเป็นลำโพงตั้งพื้นที่ตอบโจทย์ของผมแทบทุกเรื่อง ตั้งแต่เป็นลำโพงสามทางขนาดไม่ใหญ่เทอะทะ วางในห้องฟังขนาดกลางๆ ได้สบาย การทำตู้สวยงามเรียบร้อย และมันเป็น “ลำโพงตู้ปิด” ที่ทำขั้วต่อไบดิ้งโพสต์ชนิดซิงเกิลไวร์ ไม่ต้องคิดมากเลย ผมเสียบสายลำโพง Zonotone รุ่น 7700 ที่เป็นขั้วต่อแบบบานาน่าเข้าไป

ดุลน้ำเสียงราบรื่น เปิดโปร่ง ฟังสบาย เสียงแหลมเนียนนุ่มไร้อาการหยาบกระด้าง และไม่กุดปลาย ส่วนเสียงทุ้มหรือเบสนั้น จัดว่ามีคุณภาพ กล่าวคือมีทั้งความดุดันและรายละเอียดในย่านนี้ และด้วยความที่เป็นลำโพงตู้ปิด มันจึงให้เสียงอะคูสติกเบสได้ดีเป็นพิเศษ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าเพาเวอร์แอมป์ที่ใช้ขับต้องมีแดมปิ้งแฟกเตอร์ดีด้วยนะครับ

ผมเริ่มต้นฟังเพลงคลาสสิกประเภทที่มีเพอร์คัสชันและเสียงเคาะสามเหลี่ยม เวทีเสียงที่ปรากฏออกมาช่างโอ่อ่า สง่างาม เกินขนาดของตัวตู้ลำโพงออกไปมาก เมื่อทำการเซ็ตอัพลงตัว AE 509 ให้โฟกัสของอิมเมจที่เป็นตัวเป็นตนอย่างชัดเจน เกือบๆ จะขึ้นขอบ ซึ่งผมชอบแบบนี้มากกว่าที่จะชัดเป๊ะ สว่างโร่อะไรแบบนั้น ลำโพงคู่นี้กินวัตต์พอสมควร ผมต้องเร่งโวลุ่มไปที่เกือบ 11.00 น. จึงจะได้ยินเสียงดังเท่ากับตอนฟังลำโพง Reference 3A (ตัวนี้ใช้โวลุ่มแค่ 10.00 น.)

เสียงเบสของ AE 509 กระแทกกระทั้นออกมาได้อย่างรวดเร็ว จังหวะดี ปริมาณไม่มากไม่น้อย ที่สำคัญ คือ มีรายละเอียดของการดีดสายเบสที่เหมือนเครื่องดนตรีจริง ยิ่งเป็นเพลง Jazz Trio ที่ใช้เครื่องดนตรี 3 ชิ้น เปียโน กลอง และ เบส เช่น อัลบั้มของ Three Blind Mice แล้วล่ะก็ ของชอบเขาเลยล่ะครับ การเกิดของเสียงจากแรกจนกระทั่งกระเพื่อมจางหายไป ดูเหมือนจะทิ้งร่องรอยไว้ให้ติดตามได้ทุกขณะ ด้วยลีลาการนำเสนอที่คล่องแคล่วว่องไว ผมว่ามันเป็นธรรมชาติมากกว่าลำโพง AE ที่ทำมาก่อนหน้านี้ คงต้องยกความดีให้กับดอกลำโพงคาร์บอนไฟเบอร์ที่ผลิตขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะครับ และมันชอบให้เล่นดังๆ ได้โดยไม่แป๊ก

ย่านกลางต่ำมีความต่อเนื่องกับเสียงต่ำมันมีมวลเสียงที่เกือบๆ จะอวบอิ่ม คือไม่บางแน่ๆ แต่ก็ยังไม่ถึงกับขนาดกดปุ่ม Loudness อะไรทำนองนั้น เสียงนักร้องชายที่ค่อนมาทางทุ้มฟังแล้วอบอุ่นสบายหู ในขณะที่ไม่ละทิ้งรายละเอียดต่างๆ ยังคงสำแดงออกมาอย่างครบครัน เสียงกลางของ AE 509 ยังคงเอกลักษณ์ของลำโพงอังกฤษเอาไว้คือ เรียบ เป็นธรรมชาติ ไม่กระด้าง ยิ่งใช้ดอกลำโพงที่เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ ผมรู้สึกว่ามันแฝงความนิ่มนวลเข้าไปอีกพอประมาณ เกือบๆ จะเป็นลำโพงเสียงหวานเลยก็ว่าได้ครับ

เสียงสูงของ AE 509 ผิดไปจากลำโพง AE ทุกรุ่น ซึ่งใช้โดมโลหะ มาคราวนี้อาการเสียงแข็งในบางความถี่ (โดยเฉพาะแหลมต้น) หายไปหมด คงเหลือแต่ความใสสะอาดราบรื่นและนวลเนียนครับ มันเป็นลำโพงฟังสบายหู ในขณะที่ยังให้รายละเอียดต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน เสียงเล็กๆ น้อยๆ ในแผ่น Jazz at The Pawnshop ยังคงมีให้ได้ยินทุกเสียง ไม่ได้ตกหล่นเลยสักเม็ด เพียงแต่ลดความเด็ดขาดจริงจังลงไปบ้าง เหมือนคุณเปลี่ยนเครื่องแต่งกายจากเสื้อยืดโปโล กางเกงยีนส์ รองเท้ากีฬา มาเป็นเสื้อเชิ้ต กางเกงสแล็ค รองเท้าหนังขัดมัน อะไรแบบนั้น ความที่เปลี่ยนวัสดุมาเป็นคาร์บอนไฟเบอร์จึงได้แหลมที่เนียนขึ้น แต่มวลของแหลมช่วงปลายๆ ที่ 15,000 – 18,000Hz ก็ลดความเข้มข้นลงมาด้วย แต่ AE ได้ใช้ Waveguide มาช่วยทำให้การ Carry ของเสียงแหลมส่งไปยังหูของผู้ฟังทำได้ดีขึ้น สรุปคือ… ไม่รู้สึกว่าแหลมรุก หรือ Roll off เร็วครับ 

ผมว่าคนออกแบบลำโพง AE 509 ดูเหมือนจะเอาจริงเอาจังกับการฟังเพลงที่เน้นคุณภาพเสียง ไม่ใช่เน้นฟังผ่านๆ หรือฟังเอามันส์แค่นั้น ผมลองแผ่นยากๆ อย่างของสังกัด Sheffield Labs ที่คุ้นๆเพื่อจับผิดเกี่ยวกับบรรยากาศ ปรากฏว่ามันสอบผ่านด้วยครับ เสียงที่ผสมกันอยู่ในห้องอัดแล้วสะท้อนผนังห้องส่งผ่านอากาศเข้ามายังไมโครโฟนรับเสียง และมีบุคลิกของเชฟฟิลด์ที่เป็นเอกลักษณ์คือ มีนอยส์ปะปนเล็กน้อย บรรยากาศรกๆ Airy เพียบ และมักจะมีก๊อกๆ แก๊กๆ โผล่ออกมาอยู่เรื่อย แหลมชัดใส ไม่เน้นกลางต่ำมากนัก ในชุดที่มีคุณภาพสูงๆ จะสัมผัสได้ถึงเบสลึกๆ ด้วย AE 509 ถ่ายทอดสิ่งต่างๆ เหล่านี้ออกมาได้หมดจด ไม่ช่วยเพิ่มหรือลดอะไรเลยครับ จะบอกว่านี่เป็นลำโพงที่ Colour น้อยมากก็ใช่

ในแผ่นที่ตกแต่งเสียงมาแบบที่หลายๆ ท่านชอบกัน Jennifer Warnes ชุด The Hunter เพลง Way Down Deep เบสใหญ่เด้งตัวออกมาเป็นลูกๆ กระเพื่อมน้อยไปนิดและไม่เบ่งพองจนรู้สึกว่ามันโอเวอร์ไซส์ ผมสงสัยอะไรบางอย่าง… บางอย่างที่ลำโพงหลายๆ ตัวในปัจจุบันนี้ทำได้ไม่ค่อยดี นั่นคือ ลักษณะการจางหายไปของเสียง (Decay) อันว่าลักษณะประการนี้คือ เริ่มตั้งแต่แรกกำเนิดไล่ขึ้นไปจนเป็นเสียงหลัก มีการแปรเปลี่ยนระหว่างจังหวะจนกลายเป็นฮาร์โมนิกลำดับต่างๆ และค่อยๆ เลือนหายไป เอาง่ายๆ คือ เสียงที่เราได้ยินตามธรรมชาตินั่นแหละครับ การจำลองเสียงเหล่านั้นมาฟังในชุดเครื่องเสียง มักจะมีบางอย่างขาดหายหรือบกพร่องไป ผมเลือกแทร็กที่คุ้นเคยอย่าง The Moon is Harsh Mistress ของ Rodka Toneff มีเครื่องดนตรีชิ้นเดียวคือ เปียโน… Decay ไม่ได้ขาดตกบกพร่องครับ เสียงร้องมีลักษณะที่อิ่มหวาน เสียงเปียโนมีความกังวานคล้ายของจริง เสียงเคาะสายลวดดูเหมือนจะลากไปได้ไกล แต่ตอนปลายบนๆ จะลดความเข้มของประกายเสียงลงมาบ้าง จะบอกว่าลำโพงคู่นี้ให้ความสดออกมาได้ปานกลางก็คงจะไม่ผิด ออกไปในแนวทางฟังสบายๆ โดยไม่รู้สึกว่าขาดอะไรไป

ความสามารถด้านเวทีและมิติเสียง ทำได้สมกับราคาค่าตัว มีทั้งกว้างและลึกที่ดีพอๆ กัน ไม่มีอะไรโดดเด่นเกินหน้ากว่า การโทอินลำโพงประมาณ 10 – 15 องศาจะช่วยทำให้อิมเมจเป็นตัวเป็นตนและโฟกัสของชิ้นดนตรีต่างๆ ชัดเจนมากขึ้น 

สรุป AE 509 สมกับเป็นลำโพงระดับ Flagship ของ AE ถ้คุณชอบลำโพงที่มีบุคลิกเสียงเป็นธรรมชติในแบบอังกฤษ อย่พลดลำโพงคู่นี้ครับ. ADP

ราคา 73,700 บาท
นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท โคไนซ์ อิเล็คโทรนิค จำกัด
โทร. 0-2276-9644

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 272