ธรรมนูญ ประทีปจินดา

ช่วงเวลา “คืนความสุขในด้านเสียงดนตรี” ทุกวันนี้มีทางเลือกมากมาย ไม่จำกัดว่าถูกหรือแพง ย่อมให้เสียงดนตรี สร้างความจรรโลงจิตใจต่อผู้ฟังกันทั้งนั้น หูออดิโอไฟล์ก็ต้องเล่นแบบจริงจังหน่อย ใช้แอมป์ไฮเอ็นด์ราคาระยับ หรือต้องสูงกว่าราคาตัวลำโพงเสียอีก ถึงจะฟังดีฟังได้เพราะ จึงจะคุยได้ว่าเป็นนักเลงเครื่องเสียง แหม่… ใครจะอยากได้ลำโพง Active แบบใช้แอมป์ในตัว บางคนบ่นไม่อยากใช้แอมป์มาขับต่อสายให้ยุ่งยาก ก็จะโดนยี้ว่า ไอ้นี่เล่นไม่เป็น ฟังเพลงแบบนั้นจะได้เรื่องเหรอ ใช่นักเลงเครื่องเสียงได้ไงฟะที่ “เซียน” เขาพูดเช่นนั้นก็ “เพราะเชื่อว่า” คงไม่ได้คุณภาพหรอก สู้ใช้แอมป์ขับแยกชิ้นไม่ได้ ไหนเลยจะสู้การแม็ตชิ่งลำโพงกับแอมป์ดีๆ ได้ แล้วถามหน่อยว่าต้องลงทุนสักเท่าไหร่กัน สักกี่แสนกันล่ะคร้าบ ถึงตรงนี้อาจสะดุดกึกลง

ทว่าคำพูดที่ว่า ลำโพง Active ไม่ดีแบบนี้น่าจะตกยุคไปแล้ว เสียงดีน่ะมี มันไม่ใช่ไม่เสียงดีหรอก บางทีมันอาจจะดีจนไม่ต้องทำอะไร ประมาณว่า ถ้าไม่ดีก็ตรงไม่มีอะไรให้เล่นต่างหาก ยิ่งเมื่อเจอกับ Smart Speaker หรือลำโพงแอ็กทีฟฉลาดๆ สมัยนี้ที่ให้เสียงดีจนต้องอ้าปากค้างกันไปเลย ผมเองเคยสัมผัสลำโพงไฮเอ็นด์ที่เป็น Active Speaker มาหลายคู่ ตั้งแต่ T+A, Manger: S1, Klangwerk, Unity Audio ไล่มาจนถึงลำโพง Smart Speaker ระดับกลางก็หลายตัว ล้วนแล้วแต่ให้ความสะดวกสบายในการใช้งาน ที่แน่ๆ เสียงดีมากด้วย 

Active Speaker ถือเป็นทิศทางที่น่าสนใจยิ่ง โดยเฉพาะกับชีวิตคนเมือง หรือแม้อยู่บ้านก็ใช่ว่าจะมีปัจจัยที่สามารถทำห้องฟังห้องใหญ่ๆ ได้ อีกทั้ง wife factor ก็เป็นปัจจัยที่ไม่อาจมองข้ามได้เสียด้วย นี่คือ Solution ที่เบ็ดเสร็จ ข้อสำคัญ… บวกลบคูณหารแล้วทั้งชุดไม่กี่หมื่น ต่ำกว่าการลงทุนเล่นแยกชิ้นหลายเท่า ซึ่งผลที่ได้อาจดีกว่าเสียด้วยซ้ำ

Design and engineering approach

ค่าย KEF ตนานแห่งวงการลโพงอังกฤษ อย่างที่ทราบดีว่า KEF คือสถาบันวิจัย และถือเป็นมหาวิทยาลัยของวงการอะคูสติกส์ของโลก นักออกแบบลโพงดังๆ ล้วนผ่าน KEF มาแล้วทั้งสิ้น ด้วยชื่อชั้นของตนานลโพง KEF LS3/5A หนึ่งในลโพงสตูดิโอมอนิเตอร์อันโด่งดังในยุคเริ่มแรกที่สร้างชื่อให้กับ KEF จนถึงรุ่น KEF LS50 ที่ผลิตขึ้นเพื่อฉลองเนื่องในวาระครบรอบ 50 ปีของ KEF แล้วก็สามารถสร้างตนานหน้าใหม่ของลโพงเล็กเสียงดี LS50 ลโพงพาสสีฟมินิมอนิเตอร์ยุคใหม่ อันเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงจากประสบการณ์ที่สั่งสมมากว่า 50 ปี 

KEF อัดแน่นเทคโนโลยีไว้ในลโพงมินิมอนิเตอร์คู่นี้ ตั้งแต่ตัวตู้จนถึงไดรเวอร์ขนาด 5.25 นิ้วที่เรียกว่า Concentric (Uni-Q) array เปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับโลกเครื่องเสียงเป็นอย่างมากกับ image, soundstage ที่ยอดเยี่ยม ทให้ลโพงมินิมอนิเตอร์คู่นี้ติดอยู่ในลิสต์ของนักเล่นที่จะนมันเข้าสู่ห้องฟังหลักในบ้านของพวกเขาได้สบายๆ จนได้ผลลัพธ์ที่ทให้ KEF LS50 ติดทเนียบประติมากรรมทางเสียงชิ้นเอกของโลกไปแล้ว ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่าจะหาได้จากลโพงระดับราคานี้ ต้องบอกเลยว่า KEF LS50 เป็นลโพงเล็กที่ขายดีที่สุดในโลกไปแล้ว ตามข้อมูลของ KEF นะ

The Greatness Continues

หลังจากนั้น 5 ปี KEF ตอกย้ำความสเร็จต่อยอดสู่ยุคดิจิทัล 4.0 ….จะเกี่ยวไหม จากลโพง KEF LS50พาสสีฟที่ทุกคนรู้ว่าสรรพคุณกันเป็นอย่างดี ว่าฟังเพลงดีระดับใด ยิ่งถ้าได้แอมป์ดีๆ มาขับจะไปได้ไกลมาก และเมื่อเร็วๆ นี้ ลโพงตัวใหม่ล่าสุดจาก KEFใช้ DNA ของ KEF LS50 โดยขยับความก้าวล้ำขึ้นด้วยฟังก์ชั่นไร้สาย พอไร้สายก็ต้องมาพร้อมกับการเชื่อมต่อแบบ Network Audio ทั้ง LAN/WLAN (Bluetooth) แถมมีความเป็น Active Speakerหรือมีแอมป์ในตัวสมบูรณ์แบบ ให้กลังเหลือเฟือ ไม่ต้องกังวลว่าจะแม็ตช์หรือไม่ ซึ่งแอมป์ที่ติดตั้งมาก็ต้องคุณภาพดีพอคู่ควรกับ KEF LS50 ด้วยสิ 

คุณสมบัติทั้งหลายทั้งปวงถูกอัดมาสู่ลโพงชนิด fully active DSP digital studio monitor system ที่นเข้าสู่เครื่องเสียงบ้านอย่างเต็มภาคภูมิ ด้วยฟีเจอร์ชั้นครูทให้ไม่อาจปฏิเสธว่า ค่าตัว KEF LS50 Wireless ย่อมสูงขึ้น ก็เพราะพกพาคุณสมบัติครบถ้วนเช่นนี้นี่เอง โดยเฉพาะในเรื่องความสะดวกสบาย ใช้งานง่าย ประมาณว่าเสียบปลั๊กไฟจ่ายไฟเข้าเครื่องก็พร้อมใช้งานได้ทันที นอกเหนือจากนี้ยังมีทีเด็ดที่คุณคาดไม่ถึงอีกมาก เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง ตามมาเลยครับ

KEF LS50 Wireless มีสีมาตรฐานอยู่ 3 สีด้วยกัน เพื่อให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ โดยตัวตู้กับไดรเวอร์ลโพงจะใช้สีตัดกัน คู่ที่ทดสอบเป็นสี Titanium Grey/Red สียอดนิยมของบ้านเรา ส่วนสี Gloss Black/ Blue เป็นสียอดนิยมในฝั่งอเมริกา อีกสีที่สวยเรียบๆ ก็เป็น Gloss White/Copper เหมาะกับห้องที่เน้นความเรียบหรู ซึ่งทุกสีล้วนเข้ากับอินทีเรียร์ของแต่ละห้องตามรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของ

KEF LS50 Wireless for Digital Age

KEF LS50 Wireless เป็นลโพงวางขาตั้ง (วางหิ้ง) แม้หน้าตาเหมือนกันแต่ไม่ใช่ KEF LS50อย่างที่เคยเห็น เพราะ Jack Ocklee-Brownและทีมงาน Engineering ของเขาในฐานปฏิบัติการที่ Kent ในอังกฤษได้พัฒนาต่อยอดสุดยอดลโพง KEF LS50 ขึ้นไปอีกให้รองรับการใช้งานในแบบแอ็กทีฟ ซึ่งแต่ละข้างติดตั้งไว้ด้วยแอมป์ข้างละ 2 ตัว (4 Ch/Pair) เพื่อขับวูฟเฟอร์และทวีตเตอร์ที่บรรจุอยู่ในตัวตู้ขนาดใกล้เคียงตัวตู้เดิม แต่ต่างกันตรงความหนา เพราะยังคงปริมาตรตัวตู้เดิมของ LS50 และติดตั้งฮีตซิงก์ระบายความร้อนของแอมป์ไว้ โดยใช้แอมป์ Class D 200 วัตต์สำหรับวูฟเฟอร์ และแอมป์ Class A/B 30 วัตต์สำหรับขับทวีตเตอร์ ถือเป็น Active Bi-Amp ก็ว่าได้ เรียกว่าคำนึงถึงคุณภาพเสียงแบบออดิโอไฟล์จริงๆ เลยนะเนี่ย ไม่มองข้ามในรายละเอียด อีกทั้งภาค power supplyยังจ่ายให้อิสระจากกันสำหรับแอมป์ที่ต่าง Class กัน 

ด้วยลิขสิทธิ์เฉพาะของ KEF เป็นการติดตั้งไดรเวอร์แบบ Concentric (Uni-Q) array โดยติดตั้งทวีตเตอร์ไว้ตรงกลางระหว่างกรวยของวูฟเฟอร์ซึ่งจะให้เสียงที่ราบเรียบ ไร้รอยต่อ เสียงมีรายละเอียด ไม่ว่านั่งฟังตรงไหน คุณภาพเสียงที่ได้จะเป็นสามมิติ ทวีตเตอร์แบบโดม โดยมี waveguide ที่เรียกว่า Tangerine มีลักษณะรูปทรงเป็นจีบติดตั้งอยู่หน้าโดม ซึ่งอยู่ใจกลางกรวยของวูฟเฟอร์พอดี ทำให้เสียงทั้งความถี่ต่ำและความถี่สูงออกมาจากจุดเดียว ได้ความสมดุลดีที่สุด พร้อมด้วยพอร์ตรูปไข่รองรับการทำงานของตัวตู้ลำโพงแบบเปิด ทำให้ได้เสียงที่เข้มข้นจากตัวตู้เล็กกะทัดรัด ด้วยการออกแบบทางอะคูสติกส์ที่เชี่ยวชาญ ผสานกับเทคโนโลยีชั้นยอด

เพื่อให้สมกับยุคดิจิทัล ตัวตู้ด้านขวาติดตั้งไว้ด้วย 24/192 D/A converter อีกข้างละสองตัว รวมถึงระบบเชื่อมต่อยุคดิจิทัล Bluetooth / Wi-Fi / Ethernet streamer ตู้ทั้งสองข้างเชื่อมต่อกันด้วยสาย Ethernet ทำให้มันสื่อสารระหว่างกัน แทนที่จะใช้สายลำโพงลากจากแอมป์เช่นในอดีต ไม่ต้องการการเชื่อมต่อที่รกรุงรัง ทุกอย่างสั้นกระชับด้วยอุปกรณ์ต่อเชื่อมน้อยชิ้น เห็นไหมว่าแค่นี้ก็เป็นเครื่องเสียงชั้นดีได้แล้ว

Crossover Timing Correction

ในทางทฤษฎีแบบอุดมคติ “เสียงของลโพงที่ดีจะถึงหูผู้ฟังพร้อมกัน” ทั้งความถี่ต่ำและความถี่สูง แต่ในธรรมชาติ เสียงเดินทางด้วยความเร็วไม่เท่ากัน ในการออกแบบต้องการ Timing ที่แม่นยต้องเป๊ะมาก ซึ่งบอกเลยว่ายากมาก ถ้าเป็นนักเล่นสมัยก่อนจะต้องหาจุด sweet spot ให้เจอ ต้องใช้การเซ็ตอัพลโพงที่ยุ่งยากชะมัด LS50 Wireless คิดไว้ตั้งแต่แรกว่าจะจัดการมันได้อย่างไร อย่าลืมนะว่าเป็นลโพง Active ที่ทันสมัยซะขนาดนี้ เมื่อต้องการความสมบูรณ์แบบจึงใช้ DSP crossover มาช่วยปรับแก้Time/Phase Correction โดย delay ความถี่ต่ำเสียหน่อยตั้งแต่แรก แล้วจึงส่งไปให้แอมป์เพื่อไปขับไดรเวอร์ ต้องขอบคุณความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีในโลกยุคดิจิทัลที่สามารถทของยากให้เป็นเรื่องง่ายได้สบายๆ ดังนั้น Uni-Q จึงให้เสียงที่แม่นยเที่ยงตรง เนื่องจากเป็น Point Source นอกจากนั้นยังใช้เทคโนโลยีของ DSP มาช่วยปรับแต่งเสียงให้เข้ากับการใช้งานในแต่ละห้องได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุดด้วย

End-to-End High Resolution

สัญญาณดิจิทัล high-resolution จากแหล่งข้อมูลเสียงต้นทางจะถูกส่งผ่านด้วยระบบสตรีมมิ่งส่งผ่านในแบบ end-to-end 192kHz/24-bit high-resolution digital signal path จาก Input ที่จะส่งไปยังแอมป์ ซึ่งล้วนในรูปของดิจิทัลทั้งสิ้นตั้งแต่ต้นทางยันปลายทาง ทุกอย่างล้วนเป็นดิจิทัลทั้งสิ้น ด้วยเทคโนโลยี Bit-Perfect Digital Audio Transmission สายสัญญาณที่ใช้ต่อระหว่างกันจึงใช้สาย CAT6 LAN cable ซึ่งจะได้ Dynamic headroom ดี ในขณะที่มีการรบกวนต่ำซึ่งจะมั่นใจว่าคุณภาพเสียงจาก LS50 Wireless จะบริสุทธิ์ ไหลลื่นไร้สากเสี้ยน แล้วก็อย่าได้สงสัยเลยว่าแล้วจากช่อง AUX ล่ะ มันก็จะผ่านวงจร ADC ถูกแปลงไปเป็นดิจิทัลเสียก่อนซิ

Connectivity

ช่องทาง (Input) ติดต่อจากภายนอกของ LS50 Wireless มีหลายแบบ ซึ่งทั้งหมดติดตั้งบนตู้ข้างขวา ประกอบด้วย… 2.4GHz/5GHz Dual-band Wi-Fi, Bluetooth 4.0 aptX codec, Asynchronous USB Type B, Toslink Optical และยังใจดีเตรียมช่อง Analog input แบบ RCA ไว้เผื่อต่อเครื่องเล่น เช่น เครื่องเล่นเทปคาสเซ็ตต์ หรือเครื่องเล่นแผ่นเสียง เป็นต้น ลโพงตัวแค่นี้ แต่รองรับการต่อเชื่อมได้ถึง 12 อุปกรณ์ อย่างง! ก็เจอ Bluetooth ไปตั้ง 8 ตัวแล้วครับ เท่านั้นยังไม่พอ LS50 Wireless นั้นเป็น DLNA Digital Media Renderer ดังนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่า มันเล่นเพลงจากไฟล์ใน DLNA serverได้อย่างสบายๆ แถมยังมีช่องเสียบสัญญาณSubwoofer มาให้อีกด้วยนะ

Control & Placement

การควบคุมมีทางเลือกให้ใช้งาน คือจะใช้แตะหน้าจอ OLED Touch Screen บนตัวตู้ด้านขวา หรือจากรีโมตคอนโทรลเพื่อเลือก Input รวมถึงปรับเกนความดังซึ่งเป็นพื้นฐาน ถึงเวลาเปลี่ยนจากเครื่องเสียงยุคเดิมๆ ที่เคยชินกับรีโมตเป็นกระบุงกับเครื่องเล่นสารพัด เพราะสามารถเลือกฟังเพลงจากแหล่งโปรแกรมแบบชิลล์ๆ และควบคุมการเลือกเพลงจากคลังแสงด้วย KEF iOS หรือ Android app บน Smart Devices โดยปรับจูนแต่งเสียงให้เหมาะสมกับการใช้งานและการจัดวางในห้องฟังที่แตกต่างกันได้ เช่น วางบนชั้นวาง หรือ ขาตั้ง, ชิดผนังหรือไม่, ต่อซับวูฟเฟอร์หรือไม่ ในที่นี้ผมใช้ซับฯ RELT5i นอกเหนือจากการปรับ DSP จากตัวตู้ด้านหลังเอง ด้วยการแตะปุ่มเล็กๆ หลังตัวตู้

Check in: Smart Speaker (NetWork Player-DSP Wireless Active Speaker)

นักเล่นเครื่องเสียงบางท่านอาจจะเคยมึนกับสายเป็นฟ่อนจากเครื่องเล่นหลายตัว ไม่ว่าจะเป็น เครื่องเล่นซีดี, เครื่องเล่นแผ่นเสียง, เกมคอนโซล, เครื่องเล่นแผ่นบลูเรย์, Apple TV หรือแม้แต่คอมฯ มายัง External DAC ทั้งหลายทั้งปวง เพื่อต่อไปยังปรีแอมป์ จากนั้นก็ถึงเพาเวอร์แอมป์ ถ้าต่อไบแอมป์ก็ต้องมีแอมป์สี่ตัวไปเข้าลโพง ไม่ต้องสงสัยว่า ค่าสายลโพง-สายสัญญาณ คงจ่ายไม่น้อย บวกลบคูณหารต้องมีหลักแสนบาท แถมต้องใช้ความสามารถ และเสียเวลาต่อเชื่อมนานพอควรกว่าจะดัง ดีไม่ดีมีเสียงอื่นดังกว่า… “แพงก็แพง รกรุงรัง” เล่นเอาเกือบท้อ ฟังเพลงกร่อยไปหลายวัน กว่าจะอ้อนให้เสียงอ่อยลง

แต่สหรับ LS50 Wireless ใช้สายไฟเอซีสองเส้น คือข้างละเส้น สาย LAN Cat 6 (ที่มีมาให้) เสียบเข้าไปที่ขั้ว Ethernet Port (RJ45) เพื่อเชื่อมลโพงซ้าย (Slave) กับข้างขวา (Master) ส่วนอีกเส้น ผมใช้ Cat7 ต่อเข้าที่ด้านขวา คือช่องทางติดต่อจากภายนอก เป็นอันจบ ใช้เวลาเพียงสองสามนาทีก็เสร็จ

Ride with Digital Audiophile

หลังจากเสียบสาย (LAN cable, AC cable) เข้าตัวตู้ลโพงทั้งสองข้างเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาฟังเพลง ในเมื่อมีช่อง Input หลายแบบซะขนาดนั้น ผมก็คิดว่าจะลองใช้ประโยชน์จากช่อง Inputเพื่อเป็นไอเดียให้กับผู้อ่าน เริ่มจาก LAN Cableที่เชื่อมต่อกับวง Home Network ในบ้าน ซึ่งในที่นี้มีสองนัย คือ รับข้อมูลดิจิทัลเป็นไฟล์เพลง Hi-Res จาก QNAP NAS ซึ่งลงแอพ Twonky ทตัวเป็น DLNA Music Server มีเพลงหลักพันอัลบั้ม นมาฟังด้วยแอพของ KEF LS50 Wireless ส่วนอีกทางก็ทให้ LS50 Wireless สามารถท่องโลกกว้าง โดยอาศัยตัวช่วยอย่าง Bubble UpnP หรือ MConnectHD ที่จะทให้สามารถเล่นไฟล์จากคลังแสงในบ้าน หรือแม้พาไปท่องขุมทรัพย์สุดของฟ้า TIDAL ซึ่งมีเพลงนับล้านอัลบั้มสบายๆ โดยมิได้ต้องการเครื่องเล่นใดๆ จากภายนอกเลย “รู้ยังว่า TIDAL ปล่อยเพลงเป็นไฟล์ Hi-Res แล้ว” 

หรับช่อง USB นี่ “ต้องลอง” อย่างยิ่ง ก็ต้องเล่นแบบ CAS (Computer As Source) จะใช้Amarra Symphony, Amarra4 ราคาย่อมลง แต่เสียงดีมาก หรือจะเป็น Audirvana Plus หรือ Roon แล้วใช้ Network Transport ราคาเบาๆ เพราะมี MAC อยู่แล้วก็ไม่ขัด มันจะพาคุณมุ่งสู่เส้นทางสาย Hi-Res ทะลุ 24-bit/192kHz สบายๆ

ยังๆ …เท่านั้นยังไม่พอ ช่อง Optical ผมก็เอาสาย Optic มาเสียบต่อกับ AppleTVหรืออาจจะเป็น Android Box เพราะทุกวันนี้สามารถ Stream 4K Contents มาดูได้สบายๆ จะดีไหม ถ้าเสียงดีขึ้นมากๆ ด้วย ด้านช่องอะนาล็อก AUX ถ้าอยากเล่นแบบอะนาล็อกเก๋ๆ ก็หาเทปใบ้ หรือต่อกับเทิร์นฯ สักตัว ก็เท่ดี อ้อๆ ส่วนผมอยากฟังซิว่า TIDAL MASTER (MQA) เจ๋งจริงไหม ก็ต่อจาก Analog out ของแมงปอแดงที่ถอด MQA ได้แล้วก็ฟังซะให้หมด นี่ยังมี Bluetooth ที่เชื่อมต่อด้วย Smart Phone หรือ DAP AK Jr. ฟังเพลงให้เสียงใหญ่ขึ้น ซึ่งก็จะให้พลังเสียงมหึมาในสไตล์ของ KEF ทันที …คุณว่าไหม

Showtime

อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นถึงการใช้งานได้หลากหลายของ KEF LS50 Wireless ว่ามีความแตกต่างของคุณภาพเสียงตามข้อจำกัดของ Inputแล้วแต่ละช่องทางที่ใช้ อย่าง Optical แค่ 24/96ก็ไม่ซีเรียส ดู Youtube หรือคอนเสิร์ตบน Qello เพลินๆ ถ้าต้องการความเป็นที่สุดก็ต้องฟังเพลงจากไฟล์ Hi-Res ถ้าคุณไม่ติดขัดเรื่องที่มี NAS หรือ DLNA Server ซึ่งถ้ามีคอมฯ สักตัว ก็ทำให้มี Server ได้ง่ายๆ ด้วย JRiver, Foobar หรือ Twonky Media สำหรับเก็บไฟล์ Hi-Res อัลบั้มเด็ดๆ ที่ซื้อมา แล้วให้มัน Stream มายัง KEF LS50 Wireless เลยครับโดย DLNA Engine ในตัวของ LS50 Wireless จะทำหน้าที่ Renderer เอง แม้ว่า KEF app ยังไม่ได้ Plug in พวกบริการเหมาจ่ายรายเดือนอย่าง TIDAL, Spotify มาด้วย ก็เชื่อว่าจะอัพเดตดีขึ้นในไม่ช้า 

ผมลองสตรีมอัลบั้มของค่าย 2L และ Reference Recordings สองสามอัลบั้ม ซึ่งล้วนเป็นไฟล์ 24/176.4-192kHz คงไม่ต้องอธิบายว่าต่างจากซีดีเพียงไร บอกเลยว่าให้เสียงได้น่าทึ่งมาก ให้เสียงมีไดนามิกส์ รายละเอียดระยิบระยับ เหลือเชื่อว่าลำโพงตัวแค่นี้จะทำได้ดีแบบนี้ ฟังแบบ Near Field เสียงกลองทิมพานีตีทีหนึ่งเกือบกระเด็น เพลงร็อกหนักๆ สไตล์ผมหลายอัลบั้ม ร็อกแบบนี้นี่แหละเปิดดังๆ ก็ไม่อั้นหรือเพี้ยน นั่นเพราะขับแบบ Active Bi-Amp ซึ่งจ่ายไฟอิสระจากแอมป์ทั้งสองชุด ไม่ดึงกัน และถูกปรับจูนมาอย่างดี ส่วนถ้าคุณอยากเล่นกับคอมฯ ต้องบอกเลยว่ามี app ให้เลือกเยอะ ตั้งแต่ของฟรีจนถึง 500-700$ โน่น อ้อๆ Amarra4 ราคา 50$ เอง ส่วน Audirvana Plus ก็ 70$ เล่นไฟล์ได้ไม่จำกัด แถมเล่น TIDAL Master ได้ด้วย แอพพวกนี้ให้คุณภาพเสียงตามความสามารถที่ต่างกัน ต้องยอมรับว่าให้เสียงดุดันดีกว่าแอพที่ KEF ให้มาบ้าง ถ้าเงี่ยหูฟังกันจริงๆ จังๆ ผมก็ไม่ซีเรียสอะไรนัก ก็แฮปปี้กับ MConnectHD ที่สตรีมได้เนียนทั้ง DLNA Server โดยสามารถฟัง TIDAL ค่อนข้างดี

อ้อๆ ไม่ควรมองข้ามการเชื่อมต่อผ่านระบบไร้สายทั้ง Bluetooth และ Wi-Fi ในส่วน Bluetooth ของ KEF LS50 Wireless นั้นมี aptX codec ด้วย ผมทดสอบด้วยการฟังเพลงผ่านiDevice และ DAP ด้วย AirPlay เชื่อมด้วย Bluetooth ก็ถือว่าเป็นรองอยู่บ้าง แต่ถือว่ายอมรับได้ ให้เสียงลื่นไหล สัญญาณจับแน่น ไม่หลุดให้กวนใจ จริงๆ ผมว่าก็เล่นตามที่คิดว่าใช่และชอบ ซึ่งควรจะเป็นตามหลักทางวิศวกรรม หาใช่ความเชื่อนะครับ ต้องเข้าใจก่อนเลยว่า KEF LS50 Wirelessออกแบบเพื่อ Network โดยแท้นี่นา ซึ่ง KEF ใช้เทคโนโลยีการส่งผ่านที่เรียก Bit-Perfect Digital Audio Transmission หรือการส่งต่อสัญญาณดิจิทัลแบบหมดจดตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำด้วย LAN Cat6 สายลำโพงอะนาล็อกเขายังไม่ใช้ มั่นใจว่าดีที่สุดแล้ว จะไปกลัวอะไร มันต้องดีพอที่เขาจะปล่อยออกมาสู่ตลาดโลกอยู่แล้ว ดังนั้น เราก็น่าจะเล่นแบบ Network Audio โดยไม่จำเป็นต้องใช้คอมฯ หรือ NAS ด้วยซ้ำไป (ถ้ามีอยู่แล้วก็แล้วไป) ถ้าไม่มี หรือไม่เคยมีไฟล์ Hi-Res ก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่ม ใช้เพียง Smart Devices แล้วเลือกใช้บริการ Streaming Service จะสะดวก และลงทุนน้อยที่สุด เก็บเงินค่าแผ่นมาจ่ายค่าบริการเดือนละสามร้อยกว่าบาท กับค่าบริการเหมาจ่ายกับ TIDAL เราก็ฟังได้ตั้งสี่ล้านอัลบั้มแล้ว แถมยังฟังไฟล์ TIDAL Masterซึ่งก็จะออกมาเป็น 24-bit/48kHz แม้ DAC ในตัวของ KEF LS50 Wireless ไม่รองรับ MQA ก็หาใช่เรื่องคอขาดบาดตายอะไรนี่นา แต่ถ้าอยากใช้ Server เพื่อให้รู้ว่าเป็นยังไง ก็ทำได้ง่ายๆ อธิบายไปแล้วนะ วางไว้ที่ไหนก็ได้ อย่ากระนั้นเลยเล่นตัวเปล่านี่แหละ เพราะฟังแบบซีเรียสก็ยังได้ ให้เสียงไม่ห่างจากชุดแยกชิ้นเลยนัก แนะนำเลย เพราะขืนต่อรุงรัง เล่นยากนัก อาจฟังเพลงไม่เพราะ จำไว้ว่า Wife Factor เสียงดังกว่า จะหมดสนุกเอา… ฮิ

Wrap up

ถ้าคิดว่า “เล่นเครื่องเสียง” เป็นการสนุกกับการเซ็ตอัพ แม็ตชิ่ง เปลี่ยนโน่นนี่นั่นไปเรื่อย ถูกทางบ้าง หลงทางบ้าง ก็ไม่เป็นไรเลย ถ้าคุณรักและชอบ ข้อสำคัญมีปัจจัยที่จะจ่ายไปกับฮ็อบบี้ของคุณ ก็คิดว่ามีอยู่ไม่น้อยในหมู่ “พวกเรา” แต่ทราบหรือไม่ว่า คนกลุ่มนี้มีอยู่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นของคนที่ลงทุนซื้อเครื่องเสียงมาฟัง ซึ่ง KEF เก่งเรื่องลำโพง ฉลาดที่จะใส่เทคโนโลยีเข้าไปเพื่อให้ใช้ง่าย ทุกคนใช้ได้ ทำ KEF LS50 Wireless ออกมาเพื่อตอบโจทย์ของคนกลุ่มใหญ่ในโลกในปัจจุบันที่มุ่งไปสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งผูกกับ Internet ทั้งสิ้น เห็นไหมว่า Streaming Service วันนี้โตเร็วเพียงไร เชื่อว่าจะครองโลกในไม่ช้า ลำโพงฉลาดๆ ที่มี Input หลากหลายให้กับผู้ที่รักในเสียงดนตรี ต้องการผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่ให้เสียงดี ไม่ต้องการการเซ็ตอัพที่ยุ่งยากซับซ้อนอะไร มีเครื่องมือช่วย Custom EQ ด้วย DSP รูปทรงสวยเข้ากับอินทีเรียร์ได้ทุกสไตล์ ใช้พื้นที่น้อยในการติดตั้ง ให้เสียงใหญ่พอสำหรับห้องฟังทั่วไป หรือแม้จะยกไปตั้งในห้องใหญ่ กำลังสำรองก็ทำให้มันแสดงศักยภาพได้เต็มๆ หรือเพิ่มซับฯ เข้าไป จูนเสียงด้วยแอพสักนิดก็เนียน ฟังเพลินๆ หรือจะเอาจริงก็ได้เลย ลงทุนครั้งเดียวจบ จ่ายน้อยกว่าชุดเครื่องเสียงแยกชิ้นหลายเท่าตัว ใครก็ตามที่กำลังมองหาเครื่องเสียงที่มีคุณสมบัติที่ว่านี้ KEF LS50 Wireless คือคำตอบ เลือกสีสวยๆ ถูกใจสักคู่ หรือสองคู่สำหรับห้องนอน จะเป็นไรไป เงินยังเหลือตั้งเยอะ เชื่อว่าลูกสาวแม่ยายไฟเขียวแน่นอนครับ. ADP

ราคา 89,900 บาท

นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท ซาวด์ รีพับลิค จำกัด
โทร.0-2448-5489,0-2448-5465-6

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 244