ธีรวัฒน์
ธีรวัฒน์ โชติสุต

Totem Signature One ไม่ใช่การฟื้นคืนชีพของ Totem Model 1 

ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่าแตกต่างกัน Totem Signature One จึงไม่ใช่การนำ Totem Model 1 มาอัพเกรดปรับปรุงใหม่ แต่คือการอาศัยประสบการณ์ที่สะสมมา 30 ปี ในการสร้าง Totem Signature One ขึ้นมาจากการทดลองฟังมากกว่า 2,750 ชั่วโมง ก่อนจะมาเป็น Totem Signature One ที่ผมกำลังจะรีวิวนี้

ย้อนกลับไปยัง Timeline ของ Totem Acoustic Model 1 คือลำโพงรุ่นแรกที่ผ่านการคิดค้นรังสรรค์ขึ้นมาของ Vince Bruzzese ซึ่งจบมาทางด้านวิทยาศาสตร์ และใช้เวลา19 ปี ในการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ก่อนมาตั้งบริษัท Totem Acoustic ในปี 1987

Totem Model 1 ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาถึง 2 รุ่น คือ Totem Model 1 Signature ซึ่งได้ปรับปรุงในส่วนวัสดุภายในวงจรครอสโอเวอร์, เปลี่ยนสายไวริ่งภายในเป็นสายเงิน และเพิ่มขั้วลำโพงสำหรับต่อไบไวร์ และหลังจากช่วงฉลองครบรอบ 20 ปี ก็ได้ออกลำโพง Totem The One ในวาระเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปี ประสบการณ์ทั้งหมดเหล่านี้ที่ผ่านมาจึงกลายมาเป็น Totem Signature One ซึ่งมีจิตวิญญาณของ Model 1, Model 1 Signature และ The One อยู่ภายในทั้งหมด

ผมชอบในแนวคิดของ Vince Bruzzese ที่ต้องการทำลำโพงในระดับราคาไม่แพงมาก แล้วให้เสียงออกมาดี การทำลำโพงให้ออกมาดี โดยไม่จำกัดเรื่องต้นทุนนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่การทำลำโพงวางขาตั้งในราคาไม่แพง แล้วให้เสียงออกมาดีนั้น มันไม่ง่าย Totem Acoustic จึงไม่ใช่แค่ลำโพงแค่ฟังเพลง แต่เปรียบเสมือนลำโพงที่ให้เสียงเหมือนเล่นเครื่องดนตรีจริงๆ ลำโพงของ Totem Acoustic จึงจะต้องให้เสียงออกมาครบถ้วนทั้ง 6 ด้าน คือ bass, timbre, speed, pace, impact และ accuracy และ Totem Signature One ก็ให้ออกมาครบหมดทุกด้านจริงๆ เสียด้วย

อย่างที่บอกว่าTotem Signature One ไม่ใช่การกลับมาเกิดใหม่ของ Model 1 เพราะหลายสิ่งหลายอย่างแตกต่างกันออกไป อย่างแรกก็คือ ขนาดของกรวยมิดเรนจ์/เบสยูนิต ไม่ได้ใช้ขนาด 5.5 นิ้ว แต่เปลี่ยนมาใช้ขนาด 6.5 นิ้ว ซึ่งดึงมาจากรุ่นสูงขึ้นจากรุ่น Forest แล้วปรับปรุง Voice Coil ใหญ่ขึ้นถึง 3 นิ้ว ส่วนทวีตเตอร์ยังคงใช้ 1 นิ้ว อะลูมิเนียมโดมทวีตเตอร์จาก SEAS เหมือนที่ใช้ในรุ่น Model 1 แต่มีการปรับปรุงวัสดุภายในให้ดีขึ้นมากกว่ารุ่นเดิมๆ ครอสโอเวอร์ออร์เดอร์ที่สอง ตัดที่ความถี่ 2.5kHz และอิมพีแดนซ์ปกติของลำโพง 8 โอห์ม ทำให้ขับง่ายเล่นง่ายกว่าModel 1 เยอะครับ

การไวริ่งภายในยังใช้สายเงินเหมือนเดิม วัสดุภายในวงจรครอสโอเวอร์ก็ใช้ของ Dale, RCD และ Archromic สิ่งหนึ่งที่เป็นเหมือนวัฒนธรรมขององค์กรก็คือ การประกอบตัวตู้ลำโพงขึ้นมาเอง Totem เรียกว่าmonocoque chassis ความแข็งแรงเทียบกับรถแข่งฟอร์มูล่า1 เลย ผมชอบขั้วต่อลำโพงของ Totem Signature One มากๆ ซึ่งใช้ขั้วของ WBT ชุบทอง สามารถเข้าขั้วลำโพงได้แน่นหนาดีมากทีเดียว 

หากต้องการลำโพงมอนิเตอร์แท้ๆ และกำลังจะเป็นอีกตำนานที่
นักเล่นต้องกล่าวถึงไปอีกหลายสิบปี ในราคาต่ำกว่าแสน ไม่มีตัวเลือกอื่นใด

เซ็ตอัพ

ผมเชื่อว่เรื่องรวในอดีตของ Totem คือลำโพงที่ต้องกรกำลังขับเยอะ และต้องใส่ใจในเรื่องกรเซ็ตอัพอย่งมก คงจะเป็นภพที่หลยคนขยดในกรเล่นลำโพง Totem กันบ้งล่ะ คือลำโพงไม่ได้แพงมก แต่ต้องเตรียมงบลงทุนอีกเป็นแสน สำหรับแอมป์ที่จะนำมขับ ถึงแม้ว่จะชอบในน้ำเสียงมกเท่ไหร่ แต่พอบอกว่แอมป์ต้องกำลังขับเยอะๆ แล้วมีคุณภพพอควร ก็แทบจะโบกมือลไม่เออีกแล้ว ไม่มีงบประมณที่จะลงทุนมกมยในเรื่องของแอมป์อีก

มว่เป็นจริงอย่งนั้นหรือเปล่ไม่เสมอไปหรอกนะครับ

ถ้ผมจะบอกว่Totem Signature One ไม่ได้เล่นยกอย่งที่คิด แค่เพียงอินทิเกรตแอมป์ของ Rega Mira 3 ก็ขับได้สบยมก ไม่ต้องพะวงว่าเสียงจะนุ่ม แรงปะทะจะไม่มี หรือเสียงไม่หลุดตู้ จะเชื่อกันหรือเปล่ครับ ถ้ไม่เชื่อลองหยิบ iPad หรือมือถือขึ้นมแล้วคลิกลิงก์ตมนี้ได้เลยครับ https://youtu.be/v3VZNWFudHs

เมื่อก่อนหกมีใครแนะนำให้ใช้สยลำโพงขนดหน้ตัดตัวนำใหญ่ๆ กับอินทิเกรตแอมป์อย่ง Rega Mira 3 ผมเชื่อว่หลยคนคงมองว่น่จะเพี้ยนแน่ เพระไม่มีใครนิยมทำกัน โทนเสียงจะออกไปทงนุ่ม ควมกระฉับกระเฉงของตัวโน้ตจะไม่ได้ เสียงจะอุ้ยอ้ย จังหวะนุ่มเหมือนมีการหน่วงนิดหน่อย

แต่ถ้าลำโพงปลายทางที่จะนำ Rega Mira 3 ไป ขับคือ Totem Signature One เชื่อเถอะว่าการใช้สาย ลำโพงเส้นใหญ่จะให้เสียงที่แตกต่างออกไป 

Totem Signature One ค่อนข้างแม็ตช์กับสายลำโพงซึ่งมีหน้าตัดใหญ่มากกว่าหน้าตัดเล็กๆ ครับ ถึงแม้ว่าใช้กับอินทิเกรตแอมป์หรือเพาเวอร์แอมป์ ที่มีกำลังขับไม่มากก็ตาม 

ยกตัวอย่าง เมื่อผมใช้อินทิเกรตแอมป์ Rega Mira 3 ขับลำโพง Totem Signature One เปรียบเทียบกับสายลำโพงเบื้องต้น ซึ่งใช้สายลำโพงขนาด 2.5 sq.mm ความรู้สึกเหมือนลำโพงจะกินกำลังขับของแอมป์ค่อนข้างมาก เสียงที่ได้ยินยังกองอยู่ในตัวตู้ ไม่ได้หลุด จากตู้มากนัก การแยกแยะรายละเอียดของเสียงต่างๆ ไม่สามารถฉีกโน้ตและชิ้นดนตรีให้แยกกันได้อย่างอิสระ ยังติดกันเป็นก้อนๆ หัวเบสหรือไดนามิกหัวเสียงนั้น เหมือนโน้ตยังไม่ดีดตัวออกมาจากกรวยลำโพงมากนัก 

แต่พอเปลี่ยนสายลำโพงขนาด 2.5 sq.mm ออก แล้วใช้สายลำโพงขยับขึ้นมาเป็น 10 sq.mm แทนเสียง ออกมาคนละเรื่องกันเลย เสียงมีความกระฉับกระเฉง รายละเอียดของเสียง ไดนามิกเรนจ์ของเสียง แผ่ออกมากว้างมากยิ่งขึ้น ตัวโน้ตแต่ละตัวของเครื่องดนตรี แต่ละชิ้นสามารถโลดแล่นอยู่ในสนามเสียงเวทีเสียงได้ อย่างอิสระมากยิ่งขึ้น รายละเอียดของเสียงเล็กๆ น้อยๆ ออกมาเยอะมากยิ่งขึ้น การสวิงของโน้ตระหว่างดังกับ เบานั้นมีการสวิงที่กว้างมากขึ้นกว่าเดิมมากทีเดียว แต่ข้อเสียก็คือขั้วลำโพงด้านหลังอินทิเกรตแอมป์ Rega Mira 3 ไม่ได้เหมาะสมกับสายลำโพงขนาดใหญ่นัก ถ้าใช้ขั้วต่อสายลำโพงแบบบานาน่าก็จะสะดวกกว่า

หากจะเล่นลำโพง Totem Signature One กับ กำลังขับของแอมป์ไม่เกิน 100 วัตต์ ก็ต้องใช้สายลำโพง ซึ่งมีขนาดโตมากทีเดียวเพื่อจะให้ภาคขยายของ อินทิเกรตแอมป์ทำงานได้เบามากขึ้น ไม่โหลดกำลังขับ มากเกินไป แต่ต้องดูด้วยว่าขั้วลำโพงด้านหลังแอมป์ มีความแข็งแรงมากขนาดไหนด้วยเช่นกัน สูตรที่ว่านี้ใช้ กับแอมป์โซลิดสเตท คลาส AB หรือ คลาส D เท่านั้น นะครับ ส่วนแอมป์โซลิดสเตท คลาส A ผมยังไม่ได้ ทดลอง จึงไม่ทราบว่าจะนำเรื่องขนาดของสายลำโพง มาใช้ได้หรือไม่ น่าจะดูเป็นเคสๆ ไป หากเป็นแอมป์ หลอด สายลำโพงก็ใช้ไม่เกินขนาด 4 sq.mm 

ถามว่าถ้าเล่นเพาเวอร์แอมป์ล่ะ ยังต้องใช้สายลำโพงขนาดใหญ่เช่นเดิมหรือเปล่า

ขอยืนยันว่ายังต้องเป็นเช่นนั้นอยู่ครับ เมื่อทดลองนำเพาเวอร์แอมป์ Unison Research DM กำลังขับ 150 วัตต์ และลองใช้สายลำโพงขนาดใหญ่ตั้งแต่ 6 sq.mm, 10 sq.mm และ 16 sq.mm ให้คุณภาพ เสียงที่ดีมากๆ ขนาดสายลำโพงยิ่งโตยิ่งดี ดีกว่าการใช้สายลำโพงซึ่งมีขนาดหน้าตัดตำกว่า6 sq.mm และ ขั้วลำโพงของ Unison Research ทำออกมาสมกับราคามาก ขั้วใหญ่แข็งแรงสามารถขันขั้วลำโพงได้ แน่นหนาและสะดวกมากยิ่งนัก 

เมื่อเดินออกมาพบกับความเป็นจริง สายลำโพงขนาดใหญ่ซึ่งมีหน้าตัด 10 sq.mm โดยตรงนั้นค่อนข้างหาได้ยาก ส่วนใหญ่มักนำสายลำโพงมาเบิ้ลกันเพื่อให้มีขนาดใหญ่มากกว่าแบบนั้นส่วนตัวผมไม่ค่อยแนะนำ คือแนะนำว่าให้หาสายลำโพงเส้นใหญ่ขนาดเดียว ไม่มีการเบิ้ลสาย หรือมีตัวนำหลายแบบ แนะนำเป็นสายฝอย ถ้าสายขนาด 10 sq.mm หาได้ยาก ก็ให้เริ่มต้นที่ขนาดสายลำโพง 6 sq.mm แทนครับ 

เรื่องสำคัญอีกส่วนหนึ่งก็คือ ขาตั้งลำโพง ซึ่งส่วนตัวแล้ว ผมชอบขาตั้งลำโพงของ Custom Design รุ่น FS104 Signature แต่เสียดายที่สินค้าหมด และไม่มีแนวโน้มว่าจะนำเข้ามาอีกเมื่อไหร่ ผมเลยต้องหันไปใช้ขาตั้ง KTT คู่เก่าแทน แต่เปลี่ยนแปลงหน่อยคือ นำแผ่นบอร์ดไม้ไผ่จาก IKEA มารองลำโพง Totem Signature One อีกชั้นหนึ่ง ขาตั้งลำโพงสำหรับ Totem Signature One นั้น แนะนำว่าจะต้องเลือกขาตั้งที่แข็งแรงมั่นคงสักนิด และรูปทรงหนักแน่น จะช่วยลดเรโซแนนซ์ ช่วยให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีมากยิ่งขึ้น ขาตั้งเล็กๆ ที่มีเสาขึ้นมาอันเดียว เห็นที่จะไม่เหมาะ ถ้าได้ขาตั้งพวก 4 เสาก็จะดีกว่าอย่างเช่น ยี่ห้อ Partington หรือยี่ห้ออื่นๆ ที่ราคาย่อมเยาลงมาก็ได้ แต่ขอให้ขาตั้งแข็งแรงไว้ก่อน

ในการวางลำโพง ผมวางลำโพงในลักษณะโทอิน ไม่ได้วางหน้าตรง การวางลำโพงแบบโทอินช่วยให้สัมผัส Texture ของเสียงดนตรีได้ถูกต้องมากกว่าเวทีเสียงกว้างและลึกกว่าการวางหน้าตรง ส่วนระยะห่างจากผนังหลังขึ้นกับกำลังขับของแอมป์และห้อง ถ้ากำลังขับของแอมป์ไม่มากก็อาจจะวางใกล้ผนังหลังสักหน่อย หากแอมป์มีกำลังขับมากขึ้นก็สามารถวางห่างจากผนังด้านหลังได้มากยิ่งขึ้น ตั้งแต่โพสต์เรื่องลำโพงนี้ทาง Facebook ผมก็ได้รับคำถามว่าสามารถวางในห้องนั่งเล่นได้หรือเปล่าในกรณีที่ไม่มีห้องฟังเพลงโดยเฉพาะ วางแล้วเสียงจะดีหรือไม่ เรื่องนั้นไม่ต้องกังวลเลยครับ ถึงจะวางในห้องนั่งเล่นก็สามารถรีดคุณภาพของเสียงออกมาได้เช่นกัน หากใครมีข้อสงสัยเพิ่มเติมในเรื่องการเซ็ตอัพก็สามารถสอบถามมาทางอีเมล teerawatj@hotmail.com ได้เลยครับ

การต่อสายลำโพง ในกรณีใช้สายลำโพงแบบซิงเกิ้ลไวร์ ผมแนะนำว่าให้ต่อใช้โดยขั้วบวกของสายลำโพงต่อที่ขั้วบวกฝั่งลำโพงด้าน LF ส่วนสายลำโพงขั้วลบให้ต่อขั้วลบฝั่งลำโพงด้าน HF เหตุผลก็คือ ขั้วบวกสำหรับพีคกระแสจากแอมป์จึงต้องต่อจากขั้วบวกด้าน LF ของลำโพง ส่วนขั้วลบ เราจะใช้อ้างอิงเฟสของสัญญาณจึงต่อที่ด้านความถี่สูงเสมอ การต่อแบบนี้จะทำให้เฟสของทวีตเตอร์และเฟสของมิดเรนจ์/เบสยูนิตถูกต้อง อินเฟสกันมากที่สุดครับ ส่วนในกรณีไบไวร์ก็ต่อกันตามปกติ แต่ลิงก์ลำโพงฝั่งขั้วลบที่ลิงก์ระหว่าง HF และ LF ห้ามถอดออกเด็ดขาด ถอดลิงก์ออกเฉพาะฝั่งขั้วบวกเท่านั้น เพราะเราต้องการอ้างอิงเฟสสัญญาณตามข้างต้น จึงต้องคงเอาไว้เช่นเดิม การต่อแบบนี้ใช้ได้ในทุกกรณีของการต่อสายลำโพงกับลำโพงทุกคู่ทุกยี่ห้อครับ นักเล่นหลายท่านที่ลองต่อแตกต่างจากนี้ ก็ลองต่อแบบนี้กันดูนะครับ 

แนะนำเพิ่มเติมในการเบิร์นอินลำโพงในช่วง 150 ชั่วโมงแรกนั้น ไม่ควรเปิดดังหรือเปิดอัดเสียงแต่อย่างใด ให้เปิดเบาๆ เปิดทิ้งไปเรื่อยๆ และไม่ควรใช้แผ่นเบิร์นมาเบิร์นลำโพงนะครับ 

ขั้วต่อลำโพงใช้ของ WBT ชุบทอง สามารถเชื่อมต่อกับขั้วต่อสายลำโพงได้แน่นหนาดีมากทีเดียว 

คุณภาพเสียง

ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ ผมได้ทดสอบลำโพง Totem SKY มาก่อน แต่ต้องขอบอกว่าครั้งนี้ผมคงไม่เปรียบเทียบกับ Totem Signature One อย่างตรงๆ เพราะไม่อยากทำร้ายจิตใจของคนที่ครอบครองและซื้อลำโพง Totem SKY ไปแล้วก่อนหน้านี้ เป็นความโชคดีของนักเล่นที่ราคาขายของ Totem Signature One นั้น ทำราคาได้ดีมากๆ จนช่องว่างราคาระหว่าง Totem SKY กับ Totem Signature One ไม่ได้แตกต่างกันมากมายนัก หากจะ มอง Totem SKY กัดฟันเพิ่มงบเป็น Totem Signature One ดูจะเป็นทางออกที่คุ้มค่ามากกว่า

ย้อนไปหลายสิบปี ผมเคยฟังลำโพง Totem Model One มาก่อน ณ ตอนนั้นใช้เพาเวอร์แอมป์ Magnet MA-400 และปรีแอมป์ Audible Illusions Modulus 3A เสียงประทับใจมากๆ Totem Model One จึงเป็นตำนานของลำโพงวางขาตั้งมาตลอด ส่วน Totem Signature One ต้องขอบอกว่าไม่ใช่ การนำ Totem Model One มาปรับปรุงใหม่ แต่คือ รุ่นที่ออกมาเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปีของ Totem ถ้าพูดให้มองเห็นภาพออก จิตวิญญาณของ Totem Model One จะสิ่งสถิตอยู่ภายใน Totem Signature One แค่ส่วนหนึ่ง แต่คุณภาพเสียงของ Totem Signature One ดีกว่าTotem Model One ในอดีตค่อนข้างมาก ทีเดียว อย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกจับต้องได้ชัดเจนว่าดีกว่าTotem Model One ก็คือรายละเอียดเสียงของย่าน ความถี่กลาง-ต่ำลงไป และขับได้ง่ายกว่าวางได้ง่ายกว่า

สมัยก่อน ผมเคยประทับใจใน Totem Model One อย่างไร สำหรับ Totem Signature One ผมยิ่ง ชื่นชมชื่นชอบมากกว่าTotem Model One เสียอีก ผมรู้สึกว่าความนิ่งและการตอบสนองคุณภาพเสียงใน ย่านความถี่เสียงกลางต่ำของ Totem Signature One กลายเป็น Benchmark ที่ยากจะหาลำโพงวางขาตั้ง รุ่นอื่นจะทำได้เทียบเท่าไม่ว่าในระดับราคาที่เท่าเทียม กันหรือสูงกว่า2 เท่าตัวก็ตาม ชั่วโมงนี้สปอตไลต์ ส่องไปที่ Totem Signature One เต็มๆ เลย 

ในบรรดาลำโพงวางขาตั้งที่ผมได้ทดสอบมาทั้งหมด ผมยังไม่เจอว่าจะมีลำโพงวางขาตั้งคู่ใดได้ใจผม ไปได้เต็มร้อยอย่าง Totem Signature One เลย 

แผ่นซีดีของ Three Kingdoms ในแทร็กที่ 1, 3, 6, 7, 8 และ 9 แทบจะเป็นฝันร้ายของลำโพงขนาดเล็ก วางขาตั้งแทบทั้งสิ้น อย่างเช่น Harbeth P3ESR ที่ผมใช้ประจำอยู่ก็ไม่รอดเช่นกันครับ กรวยลำโพง ทำงานไม่ทัน เสียงเลยเกิดดิสทอร์ชั่นออกมาอย่าง ชัดเจน เสียงเลยฟังอะไรไม่ได้ การแยกแยะเสียงต่างๆ ไม่ออก จึงต้องลดระดับโวลุ่มลงมาเพื่อให้กรวยทำงาน ได้เบาขึ้น อาการเดิมก็ยังมี แต่ดีขึ้น และพอจับ รายละเอียดของเสียงได้มากยิ่งขึ้น แต่ไดนามิกหัวเสียง ก็กลับซอฟต์ลงเช่นกัน 

แต่สำหรับ Totem Signature One นั้น อาการดังกล่าวไม่มีเลย เป็นลำโพงวางขาตั้งรุ่นเดียวยี่ห้อเดียว ที่ไม่เกิดอาการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงเลย เสียงนิ่ง และตอบสนองรายละเอียดของเสียงได้ดีมาก 

สิ่งที่แตกต่างจากลำโพงอื่นๆ มีหลายอย่างด้วยครับ อย่างแรกคือ ไดนามิกหัวเสียงของเสียงกลองชัดเจนมาก เปรียบเสมือนว่าเวลาฟังเสียงกลองจาก Totem Signature One เหมือนใช้กลองใบใหญ่กว่าคนตีแข็งแรงมากกว่าแรงตีจึงตีได้รุนแรงรวดเร็ว ฉับไวกว่าแต่ลำโพงวางขาตั้งอื่น เหมือนให้เด็กมัธยม มาตีแทน แรงตีกระหน่ำบนหนังกลอง และขนาดของกลองจึงดูใบเล็กกว่า

Totem Signature One ไม่ได้มีดีเพียงแค่มวล ความกระชับ ความหนักแน่นของหัวเสียง มวลเสียงที่ เข้มข้น และให้สเกลเสียงที่ใหญ่เท่านั้น ในเรื่องความ เป็นธรรมชาติของเสียงก็ถือเป็นลำโพงวางขาตั้งในราคาต่ำกว่าแสนที่ให้เสียงเป็นธรรมชาติมากๆ และสเกล เสียงที่ใหญ่ไม่ได้ให้ลักษณะมวลเสียงว่าเป็นเสียงหลอก ให้ดูมีสเกลเสียงใหญ่ แต่มีมวลเสียงและลักษณะของ เสียงดูบวมใหญ่ เนื้อเสียงบางเบาเหมือนอึ่งอ่างพองตัว เองให้ใหญ่ขึ้น สเกลเสียงที่ใหญ่ของ Totem Signature One นั้น เต็มไปด้วยมัดกล้ามและความแข็งแรง ในเรื่อง ของ Texture ย่านความถี่ต่ำของ Totem Signature One ให้ออกมามีความสมบูรณ์มากกว่าลำโพงวางขาตั้ง อื่นๆ ค่อนข้างมากทีเดียว (ลองฟังเสียงจากคลิปเสียง https://youtu.be/LR7vN6xFyyw) 

การเก็บรายละเอียดของเสียงต่างๆ ทั้งรายละเอียด เล็กๆ น้อยๆ บรรยากาศรอบๆ ตัวโน้ตนั้น Totem Signature One เก็บได้ครบถ้วนทีเดียว รายละเอียด เล็กๆ น้อยๆ เก็บมาได้ครบหมด ช่วงที่ดนตรีโหมขึ้น แล้วมีเครื่องดนตรีอื่นแทรกเสียงขึ้นมาการคงใน รายละเอียดของเสียง ไดนามิกของเสียงและอิมแพ็ค หัวโน้ตนั้น ถือว่าTotem Signature One ได้สร้าง มาตรฐานใหม่ให้กับลำโพงวางขาตั้งอีกครั้งหนึ่ง เพราะที่ผ่านมาผมยังไม่เคยได้ยินลำโพงวางขาตั้งคู่ไหน จะให้ออกมาดีได้อย่าง Totem Signature One เลย ในพิกัดราคาต่ำกว่าแสนนั้น เลิกคุยได้ Totem Signature One แทบไม่มีคู่แข่งเลย แม้จะแบกน้ำหนักไปชนลำโพงวางขาตั้งระดับแสนขึ้นไป ผมก็ฟังมาหลายคู่ ผมก็ยังไม่รู้สึกว่ามีลำโพงคู่ไหนที่จะดีกว่าTotem Signature One อย่างชัดเจน 

ความนิ่งของสนามเสียง การจัดการเรื่องเรโซแนนช์ภายในตู้ของ Totem Signature One ถือว่ายอดเยี่ยมมากๆ หากไม่ดีจริงคงไม่ได้อย่างนี้แน่ๆ ลำโพง วางขาตั้งบางคู่มีผนังโครงสร้างลำโพงที่แข็งแรงกว่ามี น้ำหนักของตู้ลำโพงมากกว่าTotem Signature One ก็ยังไม่นิ่ง และตอบสนองความถี่เสียงได้ดีขนาดนี้มาก่อนเลย Totem Signature One แทบจะไม่มีข้อตำหนิ ในเรื่องนี้ ถ้าจะให้ผมหาข้อตำหนิหาข้อเสียจาก Totem Signature One ก็ไม่แน่ใจว่าต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ จึงจะหาเจอ 

ข้อดีสำหรับ Totem Signature One ที่ชอบมากๆ คือ ไม่พยายามทำให้ตัวเองตอบสนองความถี่ต่ำให้ลงลึกเกินไป ถึงแม้ว่าการตอบสนองความถี่เสียงลงได้ลึกถึง 45Hz นั่นคือแสดงถึงกึ๋นในการออกแบบที่ไม่พยายามตอบสนองให้ต่ำกว่านั้น ไม่งั้นคงต้องการกำลังขับของแอมป์และคุณภาพของแอมป์มากยิ่งขึ้น และก็ไม่แน่ว่ารายละเอียดของเสียงจะดีขึ้นกว่านี้หรือเปล่ามีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ต้องระวังกันอีกเยอะทีเดียว แต่การทำให้ลำโพงตอบสนองช่วงเบสต้น เบสกลาง ได้ดีมากๆ นั้น เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก เพราะเมื่อทำได้จะไม่รู้สึกว่าลำโพงขาดเบสลึกแต่อย่างไร เบสลึกไม่ใช่เสียงที่ได้ยินชัดเจน แต่เป็นเรื่องของความรู้สึก พอการตอบสนองความถี่ต่ำช่วงเบสต้น เบสกลาง ทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม ความรู้สึกของเราจะบอกว่าเบสลงได้ลึก ตรงนี้แหละคือความยอดเยี่ยมของ Totem Signature One ที่จะกลายเป็นลำโพงวางขาตั้งครองใจมหาชนนักเล่นเครื่องเสียงอีกนานเลยทีเดียว และผมยังมองไม่เห็นว่าจะมีลำโพงวางขาตั้งระดับแสนคู่ไหนทำได้ดี ตอบสนองได้ยอดเยี่ยมกว่าTotem Signature One อีกแล้ว 

เรื่องที่ถือว่าเป็นซิกเนเจอร์ของลำโพง Totem จริงๆ และเป็นเช่นนั้นมาตลอด ไม่ว่าจะเป็น Totem Model One ตัวดังในอดีต จนมาถึง Totem SKY และล่าสุด Totem Signature One ก็คือ ลักษณะอาการความรู้สึกว่าลำโพงล่องหน เหมือนว่าเสียงไม่ได้ดังออกมาจากลำโพง แต่ดังออกมาจากผนังด้านหลัง ผนังด้านข้างนั้นก็ยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่ สำหรับ Totem Signature One เรื่องลำโพงล่องหนถือเป็นเรื่องปกติและธรรมดามากๆ ทีเดียว แต่ที่ผมรู้สึกแตกต่างจาก Totem SKY คือ เวทีเสียงของ Totem SKY นั้น วางไปด้านหลัง แต่สำหรับ Totem Signature One ลำโพงโอบล้อมมาทางข้างหน้าได้มากกว่า

การวางลำโพงหน้าตรงกับการวางลำโพงแบบโทอิน ในตอนที่เซ็ตอัพ ผมลองทั้งสองแบบ การวางหน้าตรง สนามเสียงที่เกิดขึ้นทั้งด้านกว้างและด้านลึก ได้ไม่เท่ากับการวางลำโพงแบบโทอิน การวางโทอินให้ความถูกต้องของเสียง และ Texture ของชิ้นดนตรีออกมาถูกต้องมากกว่าส่วนหนึ่งของการวางลำโพงหน้าตรงเพื่อหลบความคมชัดของย่านความถี่เสียงสูง แต่เรื่องนี้ต้องบอกว่าหากได้สายลำโพงเส้นใหญ่ และสามารถเซ็ตอัพให้เฟสลงตัวกัน แทบแยกไม่ออกเลยว่าทวีตเตอร์ไม่ใช่โดมผ้าไหม เอ็นเนอร์ยี่ของย่านความถี่เสียงสูงนั้น ทำให้เสียงเนียนละเอียดมากๆ ที่สำคัญคือ การวางลำโพงแบบโทอิน ลำโพงล่องหนหายจมลงไปในสนามเสียงได้ดีกว่ากันเยอะ

เมื่อหันมาฟังเสียงร้องกันบ้าง ผมเริ่มต้นจากแผ่นไทยธรรมดาคือ แผ่นซีดี “ที่สุดของแจ้ 16 เพลงคลาสสิก” แผ่นซีดีราคา89 บาท ผมไม่ค่อยชอบเพลงไทยรีมาสเตอร์มากนัก ช่วงหลังมักจะเจอประเภทยกเกนเสียงให้สูงขึ้น เสียงชัดขึ้น แต่คม และเนื้อเสียงบาง แผ่นดีๆ ก็มี แต่หลังๆ ขอบาย ขอฟังของเก่าที่เคยมีอยู่แล้วดีกว่าเพราะผมเชื่อว่ามีนักเล่นที่ยังฟังเพลงไทยกันอยู่อีกมากทีเดียว ผมคนหนึ่งล่ะที่เป็นหนึ่งในนั้น บางครั้งก็เบื่อแผ่นพวกออดิโอไฟล์เหมือนกันครับ

แผ่นซีดีพี่แจ้ชุดนี้ไม่ได้บันทึกเสียงดีอะไรหรอก นะครับ แต่เป็นแผ่นซีดีที่ฟังบ่อย เพราะผมเองก็แฟนเพลงพี่แจ้ อยู่ในยุคของพี่แจ้ ฟังพี่แจ้มาตลอด สิ่งที่ลำโพง Totem Signature One ถ่ายทอดออกมาคือ ให้เสียงที่เป็นพี่แจ้มากยิ่งขึ้น คือมีน้ำเสียงที่เป็น ธรรมชาติอย่างที่เสียงพี่แจ้ควรจะเป็นจริงๆ บางครั้ง เรื่องแบบนี้ก็อธิบายยากเหมือนกัน มันต่างจากลำโพง Harbeth P3ESR ไหม ก็แตกต่างกันครับ เสียงร้องของ พี่แจ้จากลำโพง Harbeth P3ESR เหมือนเสียงพี่แจ้ชัด และขึ้นขอบนิดหน่อย เหมือนเราวาดรูปแล้วเอาปากกาRotring ไปกดเส้นทับอีกครั้งให้ดูรูปที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่สำหรับ Totem Signature One เหมือนภาพที่ คมชัดด้วยลายเส้น ด้วยสีของภาพที่ระบายสีลงไปนั่นเอง ไม่ต้องไปปรุงแต่งอะไรอีก เนื้อเสียงของพี่แจ้ มีความเป็นธรรมชาติมากๆ บ่งบอกถึงช่วงวัยของพี่แจ้ ได้เป็นอย่างดี ความนุ่มนวลของเสียงพี่แจ้ตอนวัยหนุ่ม กับช่วงมีอายุมากยิ่งขึ้นจะแตกต่างกัน ผมเคยไปทาน ข้าวร้านพี่แจ้หลายครั้ง ชอบเสียงของพี่แจ้ในวัย ตอนนี้มากกว่าเหมือนเสียงที่ผ่านการบ่มเพาะจาก ประสบการณ์ได้เป็นอย่างนี้ แต่จากแผ่นซีดีชุดนี้ Totem Signature One ถ่ายทอดความเป็นพี่แจ้และ เสียงดนตรีออกมาครบถ้วน ไม่ได้รู้สึกว่ามีการปรุงแต่ง อะไรใดๆ แต่เปรียบเสมือนมอนิเตอร์ Totem Signature One ก็เป็นมอนิเตอร์ที่เที่ยงตรงมากๆ (ลองฟัง คลิปเสียงจาก https://youtu.be/Ype875ZAYjk) 

แผ่นซีดี Etta Cameron And Nikolaj Hess With Friends ในชุด “ETTA” จากแทร็กแรกในเพลง What A Wonderful World ก็บ่งบอกอะไรได้ เกือบทั้งหมดแล้ว 

ความแตกต่างแรกที่ผมได้ยินชัดเจนก่อนเลย นั่นก็คือ ไดนามิกเสียงของ Alto Saxophone ตอนต้นเพลง ผมรู้สึกว่ามวลเสียงและไดนามิก ดีกว่าเมื่อก่อนมากๆ มวลเสียงเข้ม กระชับและมีการ ผ่อนคลายอย่างอิสระมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เทียบกับ ลำโพงวางขาตั้งหลายคู่ ทั้ง Harbeth P3ESR และที่เคย ทดสอบราคา2 แสนกว่ามวลเสียงและความกระชับ ในเสียงของ Alto Saxophone แตกต่างจาก Totem Signature One คือไม่ให้มวลเสียงข้นเท่านี้ อาจจะ บางกว่าเล็กน้อย ความกระชับมวลเสียงนั้นก็ใกล้เคียง กัน แต่ของ Totem Signature One ดูจะกระชับ และให้มวลเสียงที่ใหญ่มากกว่า

เรื่องที่ถือว่าเป็นซิกเนเจอร์ของลำโพง Totem Signature One 
ก็คือ ลักษณะอาการความรู้สึกว่า ลำโพงล่องหน

บรรยากาศเสียงลมนั้น Totem Signature ให้ออกมาชัดเจนมากกว่าเรนจ์เสียงจากเสียงลมของ Alto Saxophone ผมรู้สึกว่าเรนจ์เสียงตรงนี้ Totem Signature One ตอบสนองให้เรนจ์เสียงที่กว้างกว่าก่อนค่อนข้างมากทีเดียว หลังจากนั้นก็จะมีเสียงดนตรี อื่นๆ ตาม ทั้งเสียงเพอร์คัสชั่น เสียงฉาบ และอื่นๆ มวล ไดนามิก รายละเอียด ความพลิ้วกังวานของเสียง เหล่านั้น ถ่ายทอดออกมาได้ครบและดีมากๆ ผมชอบที่ Totem Signature One ถ่ายทอดเสียงออกมาได้เป็น อิสระ เสียงกระจ่ างชัด ไม่อึมครึม ทุกเสียงทุกอย่างเปิด โปร่งใส รายละเอียดออกมาเป็นเม็ดๆ 

เสียงร้องของ Etta ก็อวบอิ่ม หนักแน่น ลงลึก และผ่อนคลาย ไม่ได้ฟังแล้วอึดอัดเลย รายละเอียดของ เสียงร้อง ทั้งเสียงร้อง เสียงหลบ คีย์เสียงร้องที่แตกต่าง กันออกไป ยามที่ขึ้นเสียงสูงขึ้นมารายละเอียดตรงนี้ มากมายนัก และ Totem Signature One ก็ถ่ายทอด ออกมาได้อย่างชัดเจน ละเอียดและเนียนมากๆ ฟังแล้ว รู้สึกเพลินและอินไปกับเสียงเพลงได้มากทีเดียว สร้าง ความรู้สึกร่วมกับเพลงได้อย่างมาก ความพลิ้วกระจ่าง ของย่านเสียงสูงก็ไม่ได้รู้สึกว่ากำลังฟังจากทวีตเตอร์ โดมโลหะแต่อย่างใด (ลองฟังคลิปเสียงได้จาก https:// youtu.be/8vmn5CN7XEI) 

อย่างที่บอกตอนต้นครับ การใช้สายลำโพงขนาด โตนั้น นอกเหนือจากแม็ตช์เหมาะสมกันดีระหว่าง แอมป์กับลำโพงแล้ว ยังช่วยให้ย่านเสียงสูงจาก Totem Signature One สะอาด เนียน ไดนามิกของเสียงและ รายละเอียด ดีขึ้นอย่างมากทีเดียว แทบไม่รู้สึกว่ากำลัง ฟังโดมทวีตเตอร์โลหะ แต่เสมือนว่าเสียงแหลมมาจาก โดมผ้าไหม ไม่ได้เรียวบางหรือมีอาการริงกิ้งจาก โดมโลหะเลย ไม่ได้รู้สึกว่าเสียงแหลมจะรุกเร้ามีเนื้อเสียง ที่เรียวเล็กลง การใช้สายลำโพงเส้นใหญ่และเส้นเล็ก แค่ลองฟังเทียบจากเสียงแหลมจะพบว่าเสียงแตกต่าง กันมากมายจริงๆ หากต้องการให้ย่านเสียงสูงสมบูรณ์ มากๆ ผมจึงแนะนำให้ใช้สายลำโพงขนาดใหญ่ครับ 

The Best of the Year 2018 

จริงๆ สำหรับลำโพง Totem Signature One แทบไม่ต้องสรุปอะไรมากเลย ทั้งเนื้อหาข้างต้น และลิงก์คลิปที่ลงประกอบ สามารถตอบในตัวเองได้อยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องเร็วเกินไป เพราะถ้าให้ผมบอก ณ ตอนนี้ Totem Signature One คือ The Best Forever of 21st Century เลยทีเดียว ไม่ต้องแนะนำให้ลองฟัง หากต้องการลำโพงมอนิเตอร์แท้ๆ และกำลังจะเป็นอีกตำนานที่นักเล่นต้องกล่าวถึงไปอีกหลายสิบปี ในราคาต่ำกว่าแสน ไม่มีตัวเลือกอื่นใด จิ้มลงไปที่ Totem Signature One ตัวเลือกเดียวเลยครับ. ADP 

ราคา 85,000 บาท 
นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท เดโค 2000 จำกัด 
โทร. 0-2256-9700

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 256