MR. SHIROKAZU YAZAKI เป็นนักออกแบบเครื่องเสียงระดับมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จในญี่ปุ่นมานานกว่า 40 ปี โดยได้มีส่วนร่วมในการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องเสียง HI-END ของบริษัทชั้นนำในญี่ปุ่นหลายแห่ง รวมถึงเป็นอดีตผู้ดูแลรับผิดชอบด้านศูนย์วิจัยและพัฒนาเครื่องเสียง PIONEER ก่อนที่จะทำการก่อตั้ง SPEC CORPORATION มาจนถึงปัจจุบัน

จุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจในการออกแบบแอมป์คลาส D

ในช่วงปลายปี 1998 – 1999 ผมได้ทำหน้าที่เป็น GENERAL MANAGER ของแผนกออกแบบทางวิศวกรรมที่บริษัท PIONEER ในส่วนของ DVD PLAYER โดยผมมีความสนใจในด้าน AUDIO SYSTEM และทำงานอดิเรกในการออกแบบระบบและวงจรขยายเสียงต่างๆ อยู่แล้ว ในช่วงเวลานั้นผมได้รู้จักกับ MR. JUN HONDA ซึ่งเป็นวิศวกรหนุ่ม จากแผนกวิศวกรรมอีกแผนกหนึ่ง โดยที่เราทั้งสองนั้นมีความสนใจในเพลง JAZZ เป็นอย่างมาก แม้ว่าอายุของเราทั้งสองนั้นต่างกันถึง 17 ปี ด้วยเหตุนี้ MR. HONDA ได้กลายเป็นเพื่อนสนิท และได้มาเยี่ยมที่บ้านผมเป็นประจำ

MR. HONDA นั้น ชอบในเสียงของ ลำโพง JBL เป็นอย่างมาก ซึ่งซิสเต็มของผมนั้นก็มีแนวเสียงที่ใกล้เคียงกับของ MR. HONDA โดยซิสเต็มของผมนั้นประกอบไปด้วย ลำโพง ALTEC 414 และ HORN + TWEETER ของ ONKEN 

จากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 2000 ทาง PIONEER ได้ส่งผมไปทำงานในส่วนการผลิต ซึ่งเป็นฐานการผลิตในประเทศอินโดนีเชีย และ MR. HONDA ได้ตัดสินใจลาออกจากบริษัท และย้ายไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่ง MR. HONDA ได้เข้าทำงานในบริษัท INTERNATIONAL RECTIFIER (IR) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงมากในด้าน SEMICONDUCTOR และ POWER MODULE 

และ 5 ปีหลังจากนั้น MR. HONDA ได้ทำการพัฒนาภาคขยายเสียงแบบ CLASS D ซึ่งบริษัท IR ได้นำสู่ออกท้องตลาดในเวลานั้น ในช่วงปี 2007 ผมได้มีโอกาสไปดูงานที่อเมริกา และได้พบกับ MR. HONDA อีกครั้ง โดยในครั้งนั้น 

MR. HONDA ได้ขอร้องให้ผมช่วย REVIEW แอมป์ CLASS D ที่เขาเป็นผู้ออกแบบ เมื่อผมได้ทำการทดสอบระบบแอมป์ของ MR. HONDA ผมพบว่า เสียงของ CLASS D มีความแตกต่างจากแอมป์ SEMICONDUCTOR ทั่วไป โดย CLASS D ของ MR. HONDA มีเสียงที่ใกล้เคียงกับแอมป์หลอดที่ผมชอบ ผมรู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างมาก หลังจากนั้น ผมได้เริ่มทำการพัฒนาแอมป์ที่ใช้หลักการของ MR. HONDA ซึ่งผมพบว่า ถ้ามีการออกแบบที่ถูกต้องแล้ว เราสามารถที่จะทำให้แอมป์มีเสียงดีเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ผมพบว่า CLASS D ของ MR. HONDA จะต้องได้รับการออกแบบระบบ LOW PASS FILTER ให้ดีเป็นพิเศษ ซึ่งทำการ CUT OFF ที่ 400kHZ และพบว่า CAPACITOR ที่สามารถที่ให้เสียงที่ดีในวงจร LOW PASS FILTER นี้ เป็น CAPACITOR เก่าของ WESTCAP 

ผมได้เกษียณจาก PIONEER ในปี ค.ศ. 2009 และได้เริ่ม SPEC CORP ในปี ค.ศ. 2010 ซึ่งในช่วงเวลานั้น ผมได้ทำการพัฒนาระบบแอมป์ CLASS D ของ MR. HONDA เป็นที่เรียบร้อย โดยหลังจากนั้น ผมได้ติดต่อบริษัท ARIZONA CAPACITOR ซึ่งเป็นบริษัทที่นำเครื่องจักรและเทคโนโลยีของ WESTCAP มาผลิตใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อจาก บริษัท WESTCAP มาเป็น ARIZONA CAPACITOR ซึ่งผมและหัวหน้าวิศวกรของ SPEC ได้ว่าจ้างให้ บริษัท ARIZONA CAPACITOR ทำการผลิต CAPACITOR ในแบบที่เราต้องการ ซึ่งมีอยู่ 3 แบบ คือ… RED CACTUS, GREEN CACTUS และ BLUE CACTUS 

หลังจากนั้น ผมได้ทำการติตด่อบริษัทในญี่ปุ่นซึ่งผลิต CAPACITOR แบบ MICA โดยมีความพิเศษในการใช้ RUBY มาเป็นส่วนประกอบแทนที่จะเป็น SILVER หรือที่เรียกว่า SILVER MICA โดย CAPACITOR แบบ RUBY MICA นั้นให้เสียงที่ดีและมีึความเป็นธรรมชาติอย่างมาก ผมสามารถเลือกใช้ CAPACITOR ต่างๆ เหล่านี้ในการออกแบบระบบเครื่องเสียงเพื่อให้ได้เสียงตามต้องการ

อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่เป็นตัวกำหนดคุณภาพและแนวเสียงของแอมป์ CLASS D ก็คือ INDUCTOR (ตัวเหนี่ยวนำ) ในภาค LOW PASS FILTER ซึ่งในช่วงนั้นผมได้ติดต่อกับบริษัทที่สามารถผลิต INDUCTOR ที่มีคุณภาพดีให้ผมได้ ด้วยอุปกรณ์ทั้งหลายเหล่านี้ทำให้แนวเสียงของแอมป์ของผมมีความเป็นธรรมชาติ ฟังสบาย และไม่รู้สึกเครียดหรือล้า

และวงจรส่วนที่สำคัญอีกส่วนในวงจรขยายเสียง คือ วงจรในส่วนของ POWER SUPPLY ผมได้ติดต่อเพื่อนของผมที่ทำงานใน NICHICON CAPACITOR ซึ่งทาง NICHICON CAPACITOR ได้ทำการออกแบบและผลิตตัวเก็บประจุแบบ ELECTROLYTIC CAPACITOR ที่มีความต้านทานภายในต่ำ(ESR) และมีคุณภาพสูงให้กับ SPEC โดยเฉพาะ แม้ว่าบริษัทของผมไม่ได้ใหญ่โตอะไรก็ตาม เนื่องจากเพื่อนผมคนนี้ชอบแนวเสียงและมีรสนิยมในการฟังแบบเดียวกัน เขาจึงสามารถช่วยออกแบบตัวเก็บประจุเพื่อใช้เป็นตัวกำหนดแนวเสียงที่เป็นธรรมชาติในแบบที่พวกเราชอบได้ 

โดยในแอมป์ของ SPEC รุ่นล่าสุด RSA-777EX นั้น เราได้ใช้ CAPACITOR รุ่น HIBIKI ที่ทาง NICHICON CAPACITOR เป็นผู้ผลิตให้ และได้เสียงที่พิเศษมากยิ่งขึ้น

คำว่า REAL SOUND ในการออกแบบเครื่องเสียงสำหรับผมนั้น ไม่ได้ต้องการที่จะได้ยินเสียงที่ดีแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ผมต้องการที่จะได้รับรู้อารมณ์และความไพเราะของดนตรีที่ถูกเล่นออกมาจากเครื่องเสียงเหล่านั้นด้วย 

REAL SOUND ตาม CONCEPT ของ SPEC นั้น เราพยายามที่จะนำเสียงดนตรีที่แท้จริงสู่ผู้ฟัง ผมต้องการให้ผู้ที่ได้ฟังเสียงดนตรีจากเครื่องเสียง SPEC ได้รับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึก และมิติเสียงที่ไพเราะ สมจริง อย่างไรก็ดี ในการออกแบบเครื่องเสียง HI-END สมัยใหม่ทั่วไปนั้น ผู้ออกแบบส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับเนื้อเสียงที่ชัดเจน และค่าทางไฟฟ้าต่างๆ ที่วัดได้ หากแต่ไม่ได้ให้ความสนใจกับอารมณ์และความรู้สึกในการฟังเพลงเท่าไรนัก ถ้าเราได้ฟังเครื่องเสียงที่ถูกออกแบบและผลิตสมัยในก่อนเราจะได้รับรู้ถึงอารมณ์เพลง และความรู้สึกสบายในการฟังได้มากกว่า 

สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ในการออกแบบ SOLID STATE POWER AMPLIFIER ทั่วไปในปัจจุบันมีความแตกต่างจากเครื่องเสียงในอดีต (VINTAGE) โดยเฉพาะเครื่องเสียงแบบหลอด ซึ่งเครื่องเสียงแบบ SOLID STATE นั้น ในภาค OUTPUT จะประพฤติตัวเหมือนแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า (CURRENT SOURCE) ในการขับลำโพง แต่ในทางกลับกันนั้น เครื่องเสียงหลอดในภาค OUTPUT จะประพฤติตัวเหมือนแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้า (VOLTAGE SOURCE) ที่สำคัญ… ในเครื่องเสียงแบบ SOLID STATE ภาค PRE AMP หรือ PRE STAGE อื่นๆ ส่วนใหญ่จะออกแบบวงจรทำการขยายแรงดันไฟฟ้า (VOLTAGE) มาทุก STAGE จนถึงในส่วนของภาค OUTPUT จะทำการเปลี่ยนจากแรงดันเป็นกระแส ซึ่งทำให้เกิดการล่าช้าของการแปลงสัญญาณ และทำให้การฟังรู้สึกไม่ผ่อนคลาย และให้เสียงที่ไม่มีความหนาและอุ่นเหมือนวงจรแบบหลอด ซึ่งใช้หม้อแปลงในส่วนของ OUTPUT ในการจัดการกับแรงดันไฟฟ้าเพื่อให้สามารถขับลำโพงได้ 

ข้อเสียเปรียบของวงจรแบบ SOLID STATE ทั่วไปอีกข้อหนึ่ง คือ… วงจรในส่วนของ NEGATIVE FEEDBACK โดยวงจร SOLID STATE ทั่วไปนั้นจะถูกกระทบเป็นอย่างมากจาก COUNTER-ELECTROMOTIVE FORCE ซึ่งเป็นกระแสที่ VOICE COIL ของลำโพงสร้างขึ้นย้อนกลับไปที่วงจรขยาย ทำให้การ FEEDBACK สัญญาณนั้นไม่ได้สามารถทำได้ตามการคำนวณ อย่างไรก็ดี หากกล่าวถึงข้อเสียของเครื่องขยายเสียงแบบหลอดก็คือ เรื่องของประสิทธิภาพที่ต่ำและน้ำเสียงส่วนใหญ่จะขึ้นกับคุณภาพของหม้อแปลง OUTPUT ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นตัวจำกัดความสามารถในการขยายความถี่ที่สูงและต่ำมากๆ 

หากแต่ในแอมป์ CLASS D ของทาง SPEC สามารถทำการแก้ปัญหาด้านที่เป็นจุดด้อยในวงจรขยายทั้งสองแบบที่กล่าวมาได้ทั้งหมด ซึ่งแอมป์ CLASS D ที่ทาง SPEC ออกแบบนั้น ได้เลือกใช้ชิ้นส่วนและวงจรที่คัดเลือกมาเป็นอย่างดี ทำให้สามารถถ่ายทอดน้ำเสียงที่มีความใกล้เคียงกับเครื่องเสียงแบบหลอด และสามารถขับลำโพงที่ขับได้ยากอีกด้วย ด้วยเหตุที่ประสิทธิภาพของแอมป์ CLASS D สูงเป็นอย่างมาก ในทางทฤษฎีนั้น ENERGY CONSUMPTION ของเครื่องขยายเสียงแบบ CLASS D จะมีประสิทธิภาพสูงถึง 96% ซึ่งในทางกลับกัน แอมป์คลาสอื่นๆ เช่น CLASS AB ประมาณ 70% และในส่วนของ CLASS A ประมาณ 25 – 40% ซึ่งทำให้เครื่องขยายเสียงแบบ CLASS D กำเนิดความร้อนน้อย และส่งผลต่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีความทนทาน และสามารถที่จะมีอายุยืนยาวขึ้น

ในส่วนของเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ทาง SPEC ได้ทำการออกแบบ และนำมาแสดงในวันนี้ ทาง SPEC ได้เริ่มจำหน่ายเครื่องเล่นแผ่นเสียงรุ่นนี้ ซึ่งเป็นรุ่นใหญ่และรุ่นเดียวมาตั้งแต่ ปี 2014 โดยผมได้เป็นผู้ออกแบบในส่วนของ MECHANIC ทั้งหมด เนื่องจากผมจบมาทางด้าน MECHANICAL ENGINEERING โดยตรง ซึ่งหลักใหญ่ในการออกแบบตัวเครื่องเล่นแผ่นเสียงนี้ เราจะใช้ด้ายเป็นตัวส่งกำลังจากฝั่งมอเตอร์มาที่ตัว PLATTER (STRING DRIVE) ซึ่งมีความแตกต่างจากการใช้สายพานในการส่งกำลัง โดยที่การใช้ด้ายในการส่งกำลังจะสามารถส่งกำลังได้อย่างฉับไว และทำให้สามารถถ่ายทอดคุณภาพเสียงออกมาจากเครื่องเล่นได้อย่างสมจริง 

ทั้งนี้ ถ้าคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างเส้นด้ายและสายพาน จะเห็นได้ว่าเส้นด้ายมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า และยิ่งกว่านั้น ทาง SPEC ก็ได้เลือกใช้ DC MOTOR ของทาง MAXON ซึ่งเป็นผู้นำในด้านการผลิตและค้นคว้าเกี่ยวกับ DC MOTOR จากประเทศ SWITZERLAND โดย MOTOR นี้เป็นแบบ CORELESS ซึ่งสร้างแรงสั่น และ NOISE น้อยเป็นอย่างมาก ทำให้การขับเคลื่อนนั้นราบเรียบมาก และนอกจากนี้ยังได้เลือกใช้ไม้ที่สามารถกำจัดแรงสั่นสะเทือนได้เป็นอย่างดีมาทำงานร่วมกัน ทำให้ปัญหาในเรื่องของทำงานที่ไม่นิ่ง หรือสัญญาณรบกวนนั้นมีน้อยมาก 

นอกจากนี้ ทาง SPEC เองก็มีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะใช้สำหรับเครื่องเสียงบ้าน หรือเครื่องเสียงรถยนต์ โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของทางบริษัท SPEC ตามนี้ HTTP://SPEC-CORP.CO.JP/E/ หรือติดต่อมาทาง SENTIMENTAL STUDIO ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ SPEC ในประเทศไทย

GMP-8000EX
ความคิดเห็นเกี่ยวกับ MUSIC STREAMING

ถ้าพูดถึง MUSIC STREAMING แล้ว ทาง SPEC เองก็ได้มีการจำหน่าย NETWORK PLAYER ซึ่งจะวางขายเฉพาะในญี่ปุ่น ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีด้าน STREAMING ได้ถูกพัฒนาและใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ผมเองก็ยังคิดว่า ในการออกแบบนั้นยังมีส่วนที่ต้องปรับปรุงในหลายๆ ด้าน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการจัดการด้านสัญญาณรบกวนทำได้ยาก และอาศัยอุปกรณ์และเทคนิคอื่นๆ มาก ซึ่งในขณะนี้ทาง SPEC ได้มีความพยายามที่จะใช้สีพิเศษที่ใช้ทางการทหารมาปรับใช้กับการออกแบบ NETWORK PLAYER ของ SPEC โดยได้เรียนรู้จากข้อดีที่ทำการใช้สีแบบนี้ในการเคลือบอุปกรณ์บางส่วนใน แอมป์ RSA-F33REX เพื่อทำการลดสัญญาณรบกวน และให้ผลที่ดีเป็นอย่างมาก

พูดถึงอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่กำลังจะมาในอนาคต ทาง SPEC เองได้เริ่มทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องขยายเสียงรุ่นใหม่ที่มีกำลังขับมากขึ้นเพื่อรองรับลำโพงที่ต้องการกำลังขับมากๆ จากการวิจัยกับ IR และ MR. HONDA นั้น ทาง SPEC พบว่า กำลังขับในช่วงประมาณ 100 วัตต์จะให้เสียงได้ดีที่สุด และด้วยความต้องการในตลาดที่มากขึ้น ทาง SPEC ได้เล็งเห็นจุดนี้จึงทำการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีที่สุด

ฝากถึงผู้อ่าน

อันที่จริง MR. SHIROKAZU YAZAKI นั้น นอกจากเป็น LEAD DESIGNER ของทาง SPEC แล้ว ตัวเขาเองยังเป็นผู้ชื่นชอบการฟังเพลง และ DIY เครื่องเสียง พร้อมทั้งปรับปรุงเครื่องเสียง VINTAGE เป็นอย่างมาก ซึ่ง YAZAKI SAN เองนั้น เป็นเพื่อนสนิทกับ JEFF DAY ที่เป็นนักเขียนของ POSITIVE FEEDBACK และเป็นเจ้าของ JEFF’S PLACE BLOG ที่มีนักเล่นเครื่องเสียงติดตามอ่านมากที่สุดคนหนึ่ง ทาง YAZAKI SAN จึงอยากให้ผู้อ่านติดตามผลงานของเขาได้จากใน http://jeffsplace.me ที่เขาได้เขียนเรื่องราวต่างๆ ส่งไปให้ JEFF บ่อยๆ นั่นเอง. ADP

* ข้อมูลของ ARIZONA CAPACITOR
http://www.spec-corp.co.jp/arizona/index.html

** ข้อมูลของ SPEC RUBY MICA
http://spec-corp.co.jp/e/audio/MC-DA/index.html

*** เทคนิคการออกแบบเครื่องเสียงของ SPEC
http://spec-corp.co.jp/e/technology/index.html

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 251