นักเขียน : ปฤษณ กัญจา :

ห้องฟังเพลงที่มีบรรยากาศโปร่งโล่งสบายกับซิสเต็มเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ในรูปลักษณ์คลาสสิก

ความสุขจากการฟังเพลงในห้องนี้นอกจากคุณภาพของชุดเครื่องเสียงแล้วบรรยากาศที่ดีก็มีส่วนช่วยส่งเสริมด้วยเช่นกัน

เมื่อมองย้อนกลับไป ถ้าปี 2554 น้ำไม่ท่วมบ้าน วันนี้คงอาจจะยังไม่มีห้องฟังเพลงที่มีบรรยากาศ ดีๆ แบบนี้ก็เป็นได้ ผมกำลังพูดถึงห้องฟังเพลงของ “พี่หมี – กฤติพล สิงขรณ์” ที่น่านั่งฟังเพลง เป็นที่สุด ด้วยเพดานที่โปร่ง ฝั่งขวาเป็นกระจกโล่งให้แสงส่องผ่านเข้ามาได้ จึงไม่เป็นการเกินเลยไป ที่จะบอกว่า เฉพาะสิ่งแวดล้อมก็ทำให้มีความสุขเวลาที่ได้อยู่ในห้องฟังเพลงนี้แล้วครับ

พี่หมีมีชุดเครื่องเสียงตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ ม.5 คุณพ่อซื้อให้ ยี่ห้อ Kenwood ที่มีเครื่องซ้อนๆ กันห้าชั้น มีเครื่องหนึ่งเป็นอีควอไลเซอร์ ที่สมัยนั้นฮิตกันมาก ฟังเพลงจากเทปคาสเซ็ตต์ แต่หลังจากชุดนั้น ตั้งแต่ ม.5 จนถึงมหาวิทยาลัย พี่หมีก็ไม่ได้ฟังแล้ว เพราะเข้าสู่ช่วงวัย รุ่น มาซื้อเครื่องเสียงอีกทีตอนเริ่มท?ำงาน เป็นเครื่องเสียงไทย ยี่ห้อ Magnet เพาเวอร์แอมป์รุ่น MA-400 ปรีแอมป์หลอดรุ่น PV-01 คราว นี้ฟังจากซีดี แต่อย่างที่เกริ่นในตอนต้น พอปี 2554 น้ำท่วมบ้าน จึงขาย ชุดเครื่องเสียง Magnet ให้กับเพื่อนไปในราคาถูกๆ

หลังจากสร้างบ้านใหม่เสร็จ พี่หมีก็คิดว่าจะเริ่มกลับมาฟังเพลงอีก ครั้ง ก็ไปตระเวนฟังเครื่องเสียงตามร้านเครื่องเสียงต่างๆ ก็มีโอกาสมา เจอร้าน Sound Box ตอนแรกก็ไม่รู้จะเล่นอะไร ทางร้านก็บอกว่า “ถ้า พี่จะฟังเพลงนะ พี่เล่นแผ่นเสียงเถอะ” พี่หมีก็เลยสนใจแผ่นเสียงตั้งแต่ นั้นมา

แต่ก่อนหน้าที่จะมาเป็นซิสเต็มนี้ ก็ซื้อยี่ห้อ YBA มาฟังก่อน แล้ว ก็ฟังจากแผ่นเสียง ปีเดียวเปลี่ยนเครื่องเล่นแผ่นเสียง 2 ตัว ตัวแรก Pearaudio แล้วก็เปลี่ยนมาเป็น Bergmann Magne ที่เปลี่ยนก็เพราะ อยากลองไปเรื่อยๆ ว่าจะเป็นยังไง พี่หมีบอกว่า “ผมว่ามันยังไม่จบ หรอก ดูแล้วก็ยังคิดว่าจะไปเรื่อยๆ”

จากชุด YBA ที่เป็นโซลิดสเตท เมื่อเปลี่ยนมาเป็นเครื่องเสียงหลอด ของ Nat Audio พี่หมีบอกว่า “ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าหลอดกับทรานซิสเตอร์ แตกต่างยังไง เพราะเพิ่งฟังประมาณหนึ่งเดือน เท่าที่ฟังไดนามิกยังมา ไม่เท่ากับทรานซิสเตอร์ แต่ก็อาจจะเป็นที่เซ็ตอัพด้วย” เพราะวันที่ผม ไปเยี่มห้องฟังของพี่หมีนั้น “คุณสุดใจ บุ้งเครือ” (โมทย์) และ “คุณ ธงชัย เพ็งกระจ่าง” (ธง) ก็เข้าไปไฟน์จูนอุปกรณ์ปรับอะคูสติกส์ของ Acoustic System เพื่อให้เสียงลงตัวมากขึ้น จากที่ฟังตอนแรกจังหวะ ของดนตรีมันไม่ได้ พอค่อยๆ ปรับทั้ง Phase Correction และ Diffu­sor จังหวะก็เริ่มลงตัวขึ้น รวมถึงน้ำหนักของเสียงก็ดีขึ้น ทำให้ภาพรวม ของเพลงมีความน่าฟังมากขึ้น

ปัญหาหนึ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เสียงทั้งระบบยังไม่ได้เต็ม ประสิทธิภาพก็คือ เดิมห้องฟังนี้มีการทำชั้นวาง build-in ไว้ก่อน เมื่อ ใช้ลำโพงขนาดใหญ่อย่าง Fischer & Fischer รุ่น SN 770 ตำแหน่ง ของลำโพงจึงอาจจะไม่ใช่จุดที่ดีที่สุด รวมถึงตอนนี้ซิสเต็มทั้งหมดยัง ต้องวางใกล้ๆ กัน ทำให้รู้สึกอึดอัดอยู่บ้าง แต่จากนี้ไม่นาน พี่หมีมี โครงการจะรื้อชั้น build-in ออกไป ทำให้มีพื้นที่มากขึ้น การขยับ ตำแหน่งลำโพงเพื่อหาจุดที่ดีที่สุดในห้องนี้จึงทำได้สะดวกขึ้น

ในความเห็นส่วนตัวของผม ซิสเต็มที่ใช้งานในห้องฟังของพี่หมี ตอนนี้ ในด้านคุณสมบัติพื้นฐานของแต่ละเครื่องอยู่ในระดับไฮเอ็นด์ แล้ว เหลือแค่เพียงการไฟน์จูนเพื่อรีดเอาคุณภาพเสียงที่แท้จริงออกมา ซึ่งเป็นเรื่องต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะต้องรอให้ทุกองค์ประกอบอยู่ ในจุดที่มีความคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือภาษาเราๆ ก็คือ รอให้ ทุกอย่างนิ่งก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ ขยับ ปรับโน่น ปรับนี่ ใจเย็นๆ เหมือน ดื่มไวน์ ซึ่งผมเชื่อว่า ในที่สุด ห้องฟังนี้ก็จะมีความสมบูรณ์ลงตัวในด้าน ของคุณภาพเสียงอย่างแน่นอนครับ

ช่วงปีหลังๆ มานี้ ผมได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เวลาในการ ไฟน์จูนซิสเต็มเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของคุณภาพเสียงให้ออกมาดีเท่าที่สุด ภายใต้ปัจจัยของชุดเครื่องเสียงและอะคูสติกส์ของห้องฟัง และพบว่า… ไม่มีสูตรสำเร็จเพื่อให้ได้เสียงที่ดี การอดทนรอเป็นสิ่งจำเป็นครับ และ รับรองว่าไม่เสียเวลาสูญเปล่า ถ้าสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และท้ายที่สุด… เราจะได้ความสุขจากเสียงเพลงที่มีคุณภาพ คุ้มค่ากับ งบประมาณที่ลงทุนไป จริงๆ ครับ. ADP

อุปกรณ์ปรับอะคูสติกส์ของ Acoustic System มี ความสำคัญอย่างมากในการดึงประสิทธิภาพของซิสเต็ม ออกมาให้ได้มากที่สุด ภายใต้ข้อจำกัดของสถานที่ที่ไม่เอื้อ ให้การเซ็ตอัพตำแหน่งลำโพงทำได้อย่างสะดวก อุปกรณ์ เหล่านี้จะช่วยไฟน์จูนระบบเพื่อให้เสียงมีโทนัลบาลานซ์ที่ ดี รวมถึงทำให้เสียงปลดปล่อยออกมาอย่างเป็นอิสระ มี ไดนามิกที่เป็นจริง

เครื่องเล่นแผ่นเสียง Bergmann รุ่น Magne ระบบ Airbearing turntable และโทนอาร์มแบบ lineair tracking airbearing เป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ออกแบบครบถ้วนทั้งศาสตร์และศิลป์

ภาพบน: “คุณสุดใจ บุ้งเครือ” (โมทย์) และ “คุณธงชัย เพ็งกระจ่าง” (ธง) มือเซ็ตอัพรุ่นใหม่ของ Sound Box บริการด้วยใจเกินร้อย พร้อมฝีมือที่กำลังแกร่งกล้าขึ้นเรื่อยๆ

ปรีแอมป์และเพาเวอร์แอมป์จาก Nat Audio ออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ผนวกเข้ากับความคลาสสิกของหลอดสุญญากาศ

โฟโนสเตจจาก Sugden Audio ชื่อนี้ไม่ต้องบรรยายสรรพคุณมาก ด้วยน้ำเสียงที่สะอาด อิ่มหวาน คือความโดดเด่นที่ครองใจคนเล่นมานานกว่า 5 ทศวรรษ

ชุดเครื่องเสียง

เทิร์นเทเบิล : Bergmann รุ่น Magne หัวเข็ม : Benz Micro รุ่น Wood SL โฟโนสเตจ : Sugden Audio รุ่น PA-4 ปรีแอมป์ (หลอด) : NAT Audio รุ่น Magnetic

เพาเวอร์แอมป์ (หลอด, โมโนบล๊อก) : NAT Audio รุ่น Transmitter ลำโพง : Fischer & Fischer รุ่น SN 770 สายโฟโน : Tellurium Q รุ่น Black Diamond

สายสัญญาณ RCA : Tellurium Q รุ่น Black Diamond 2 ชุด สายลำโพง : Tellurium Q รุ่น Black Diamond + Jumpers สายไฟ AC : Tellurium Q รุ่น Black และ NAT Audio รุ่น AC Coupler Black Signature อุปกรณ์ปรับอะคูสติค : Acoustic System : Resonator Gold = 1 ชิ้น, Resonator Silver = 2 ชิ้น, Resonators Basic (Copper) = 1 ชิ้น , Diffuser = 3 ชิ้น, Phase Corrector = 1 ชิ้น, Interface = 2 ชุด

นิตยสาร Audiophile Videophile ฉบับที่ 262