เรื่อง: ปฤษณ กัญจา / ภาพ: ไวยวุฒิ เรืองพุ่ม
Bergmann: Magne T.T. System

การเล่นเครื่องเสียงของแต่ละคนอาจจะมีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกัน และไม่ใช่แค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น ทว่าหนทางที่เดินไปบนถนนสายเครื่องเสียงของแต่ละคนก็ไม่คล้ายกันเลย บางคนเล่นวนไปวนมา กว่าจะรู้ว่าตัวเองชอบแนวเสียงแบบไหนก็หมดหน้าตักไปไม่ใช่น้อย แต่บางคนมีโอกาสดีและจังหวะที่ดีก็ใช้เวลาน้อยในการเดินทางเป็นเส้นตรงสู่ในสิ่งที่ตัวเองชอบ ไม่ต้องเสียเวลาแวะตามรายทางเพื่อเสาะหาเครื่องเสียงที่ชอบและเครื่องเสียงที่ใช่สำหรับตัวเอง

Nat Audio: Signature Phono

คุณเต้ – ธีศิษฏ์ เชาวลิตถวิล นักเล่นเครื่องเสียง หน้าใหม่เป็นบุคคลที่อยู่ในกรณีหลัง คือพอซื้อเครื่องเสียงชุดแรกก็ได้ในสิ่งที่ชอบเลย นั่นเป็น เพราะรู้จักตัวเองว่าชอบเสียงแบบไหน และไม่ลังเลที่จะตัดสินใจเลือกทันที นั่นจึงทำให้ประหยัดทั้งเวลาและตัวเงินที่จะเสียไปกับ การลองโน่นลองนี่ เพื่อหาความเป็นที่สุด ทั้งๆ ที่มีโอกาสได้เจอสิ่งที่ตัวเองชอบไปก่อนหน้าแล้ว ซึ่งในที่สุดก็พบความจริงว่า… ที่ลองๆ มา กลับเสียเวลาเปล่าๆ พร้อมกับมานั่งเสียดายว่า รู้อย่างนี้ ตัดสินใจกับสิ่งที่ ตัวเองก็รู้ว่าชอบอยู่แล้วไปตั้งแต่ต้นก็จบ 

“ผมเริ่มต้นจริงจังในการฟังเพลงด้วยการเล่นหูฟัง เพราะห้องนอนเล็กคงใส่เครื่องเสียงไม่ได้ ก็เลยซื้อหูฟังมาใช้ ยี่ห้อ Stax แต่ก่อน หน้านั้นเคยมีชุดเครื่องเสียงแบบสเร็จรูปของ McIntosh ที่เป็นรุ่นฉลองครบรอบ 50 ปี

Harbeth: 30.2 40th Anniversary 

หูฟัง Stax ผมซื้อจากร้านมั่นคงฯ ส่วนแอมป์ขยายหูฟังสั่งจากเมืองนอก ยี่ห้อ Blue Hawaii โดยส่วนตัว ผมชอบฟังเสียงที่มีคัลเลอร์หน่อยๆ แต่หูฟัง Stax กับแอมป์หูฟัง Blue Hawaii คู่นี้เสียงจะออกไปทางเรียบๆ สหรับผม แต่ถ้าใครที่ชอบเสียงเป็นธรรมชาติน่าจะชอบ” 

คุณเต้เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้ ตัวเองเดินเข้ามาบนเส้นทางการเล่นเครื่องเสียง ซึ่งจะเห็นว่า คุณเต้ชัดเจน ในเรื่องแนวเสียงที่ชอบมาตั้งแต่ต้น และนี่เป็นเหตุผลที่ทให้การเลือกซื้อเครื่องเสียง ในโอกาสต่อมาไม่สะเปะสะปะ 

“พอดีน้องชายของผมไปซื้อลโพง ProAc กับอินทิเกรตแอมป์ Octave V80 แล้วห้องของน้องชายก็เล็กกว่าผมอีก ผมก็เลยคิดว่า ห้องเล็กๆ ก็ใช้ชุดเครื่องเสียงได้ ผมก็ปรึกษาพี่โจ้ ซาวด์บ็อกซ์ ดูว่าจะทำยังไง ถึงจะเอาเครื่องเสียงเข้าห้องผมได้ พี่โจ้ก็แนะนโพง Harbeth กับอินทิเกรตแอมป์ Nat Audio รุ่น Single (หลอด เอาต์พุต GM70) จริงๆ ที่ผมเลือกลโพง Harbeth มีที่มาจากแอมป์หูฟัง Blue Hawaii ฟิวส์ขาด แต่ว่าผมหาปัญหาไม่เจอ ผมก็เอาไปซ่อมที่ร้าน Bias Audio ทีนี้ ผมก็ถามคุณต้น (เจ้าของ Bias Audio) ว่า… ห้องผมเล็กมาก ผมไม่รู้จะเอาลโพงอะไรใส่ คุณต้นก็ให้ผมลองฟังลโพง Harbeth แล้วผมก็พบว่าเสียงร้องที่ผมชอบ ที่ผมตามหาก็แบบนี้แหละ” 

ประเด็นเรื่องการเลือกลโพงอาจถือว่า เป็นหัวใจหลักที่ทให้คุณเต้ไม่พลาด เพราะเมื่อรู้ว่าตัวเองชอบเสียงกลางในแบบของ ลโพง Harbeth ที่ถือเป็นจุดแข็งของ ลโพงยี่ห้อนี้ ก็ทให้การเลือกอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบง่ายขึ้น 

Nat Audio: Single (GM70) 

“ในที่สุด ผมก็ได้ Harbeth 30.2 40th Anniversary แต่ตอนแรกที่ได้มา ยังไม่มีแอมป์ ก็ยืม Octave V80 ของน้อง มาเล่นก่อน แล้วก็เล่นไฟล์เพลงจาก Macbook โดยใช้ Roon เป็นตัวเล่น หลังจากได้ฟังชุดนี้พอรู้เป็นแนวทางแล้ว พี่โจ้ก็ยกอินทิเกรตแอมป์ Nat Audio มาให้ลองที่บ้าน จากนั้นก็เสียบค้างไว้เลย (หัวเราะ)” 

การที่เราจะรู้ว่า เสียงของซิสเต็มที่เรา ชอบจริงๆ มีอยู่หนทางเดียวคือ “ฟัง” เสียง ของอุปกรณ์ทั้งหมดที่ทงานร่วมกัน มันเป็น ไปไม่ได้ที่จะมโนว่า… ลโพงรุ่นนี้ เมื่อเล่นกับแอมป์ตัวนี้ แล้วเสียงจะออกมาเป็นแบบ นั้นแบบนี้ เพราะในความเป็นจริง ปัจจัยที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเสียงของซิสเต็มหนึ่งๆ มีอยู่มากมาย การที่คุณเต้มีโอกาสได้ฟังเสียงจากซิสเต็มจริง ในสถานที่จริง จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะพบกับ แนวเสียงที่ตัวเองชอบ และเมื่อฟังแล้วยังไม่ชอบในคุณภาพเสียงของซิสเต็มที่เอามาลอง ก็ย่อมที่จะสามารถหาตัวเลือกอื่นๆ ที่ตรงกับความต้องการได้ 

“เครื่องเล่นแผ่นเสียงตอนแรกไม่ได้เล่น เพราะฟังเพลงจากไฟล์ High Resolution พวกไฟล์ DSD พวก Flac ฟัง MQA จาก Tidal แต่ตอนนี้ใช้เครื่องเล่นแผ่นเสียงของ Bergmann และก็เริ่มซื้อแผ่นเสียงมาฟัง ส่วนใหญ่เป็นดนตรีแจ๊สกับบลูส์ เริ่มติดแจ๊ส กับบลูส์ แล้วก็ชอบแจ๊ส Bebop” 

ท้ายที่สุด เมื่อได้ซิสเต็มเครื่องเสียงที่ให้คุณภาพเสียงถูกใจแล้ว ความเพลิดเพลิน ที่จะตามมาก็คือ การสะสมซอฟต์แวร์ แนวเพลงที่ชอบ ซึ่งถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการเล่นเครื่องเสียง อันที่จริง… เมื่อจบเรื่องซิสเต็มแล้ว ก็ไม่ควรเรียกว่าเล่นเครื่อง เสียงอีกต่อไป เพราะการเล่นเครื่องเสียง น่าจะหมายถึงการเปลี่ยนเครื่องบ่อยๆ เพราะเจ้าของสนุกและมีความสุขกับการเปลี่ยนเครื่อง ได้ฟังเสียงที่หลากหลาย ได้ความรู้ว่ายี่ห้อนั่น เสียงเป็นอย่างไร ยี่ห้อนี้ เสียงเป็นอย่างไร ถามว่าแบบนี้ จะดีหรือ เรื่องนี้ขอไม่ตอบครับ เพราะเป็น ความสุขส่วนบุคคล เราคงไม่สามารถไปวิจารณ์หรือกะเกณฑ์ความคิดของคนอื่นได้ แต่สหรับคุณเต้ ตอนนี้แฮปปี้มากๆ กับการฟังเพลงจากแผ่นเสียงและการตามล่า หาแผ่นเสียงอัลบั้มที่ต้อง Must Have ครับ 

Acoustic System: Diffusor 

ในวงสนทนาของคนเล่นเครื่องเสียง มักมีประเด็นเรื่อง เมื่อไหร่จะจบ จบในที่นี้ หมายถึง การได้เครื่องเสียงที่ถูกใจจริงๆ แล้วเลิกซื้อเครื่องเสียง กลับมาตั้งหน้าตั้งตา ฟังเพลง เลิกสนใจเรื่องเครื่อง ทว่า เท่าที่พอจะสรุปได้ก็คือ มันยาก คือจริงๆ ถ้าจะจบ มันก็จบได้ แต่ทีนี้พอจบแล้วจะเล่นอะไรต่อ เพราะฟังเพลงอย่างเดียว คุยกันไม่มันเท่าเรื่องเปลี่ยนเครื่องนี่ครับ 555. ADP 

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 271