นักเขียน : สมบุญ ประธานชมรมคนรักหนังเก่า

มีหนังรักอมตะคลาสสิกเรื่องหนึ่ง เป็นความรัก ในแบบที่เรียกว่า โศกนาฏกรรมความรักได้อย่าง เต็มปากเต็มคำและยังคงอยู่ในความคิดถึงและ ความทรงจำของผู้ชมทั่วโลกมาจนถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือ หนังที่มีคำโปรย – คำโฆษณา ที่ว่า “ฟรังโก เซฟฟิเรลลี่ ผู้กำกับชาวอิตาเลียน สะกด สายตาผู้ชมทั้งโลก เมื่อเขาเลือกหนุ่มสาวคู่หนึ่ง ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักมารับบทนำใน โรมิโอกับจูเลียต ทว่ามันกลับกลายเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งใน ประวัติศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จด้านรายได้ มากมายเป็นปรากฏการณ์ อีกทั้งยังสามารถคว้ารางวัลสำคัญในระดับนานาชาติ และถูกเสนอชื่อชิง รางวัลออสการ์ประจำปี 1968 ถึง 4 รางวัล จากบท ประพันธ์ของเชคสเปียร์โลดแล่นสู่ภาพยนตร์อย่าง มีชีวิตชีวาด้วยองค์ประกอบศิลป์ระดับสุดยอด ทำให้เรื่องราวของความรักอันเป็นอมตะเรื่องนี้ ครองใจผู้ชมอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย” นี่เป็นคำโปรย คำโฆษณาที่อาจเรียกได้ว่าเป็นอมตะไม่เสื่อมคลาย เช่นกันครับ และผมเชื่อว่า ไม่ว่าเวลาจะผันผ่านไป อีกนานสักแค่ไหนก็ตาม หนังเรื่องนี้ก็จะยังคงอยู่ ในความคิดถึงและความทรงจำของผู้ชมทั่วโลก อย่างไม่เสื่อมคลายครับ

 ROMEO AND JULIET (1968) ในเวอร์ชั่นนี้ถูกยกย่องว่าเป็นเวอร์ชั่น ที่ดีที่สุดในโลก ดีกว่าทั้งก่อนหน้าและภายหลังที่มีการสร้างเป็นภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งยังถูกสร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบของละครเพลง, บัลเล่ต์, โอเปร่า, เพลงคลาสสิก อีกมากมายหลายต่อหลายครั้ง ตัวเนื้อหาของหนังเองก็ถูกนำไปดัดแปลงเป็นเรื่องราว ในลักษณะเดียวกัน เช่นในหนังเรื่อง WEST SIDE STORY (1961) หรือแม้กระทั่งใน หนังไทยอมตะคลาสสิกเรื่อง แผลเก่า (พ.ศ. 2520) ในเวอร์ชั่นที่ถูกยกย่องนี้ถูกสร้างสรรค์โดย ฟรังโก เซฟฟิเรลลี่ ผู้กำกับชาวอิตาเลียน ผู้กำกับท่านนี้ขึ้นชื่อในเรื่องของการชอบดัดแปลง บทประพันธ์ของ วิลเลียม เชคสเปียร์ มาสร้างเป็นหนังอาทิ THE TAMING OF THE SHREW (1967), OTELLO (1986), HAMLET (1990)

 โรมิโอกับจูเลียตเวอร์ชั่นนี้ ผู้ชมจะได้พบ กับบทบาทการแสดงของสองดารานำที่เต็ม ไปด้วยความหลงใหลในความรักแบบดูดดื่ม และลึกซึ้งถึงก้นบึ้งของหัวใจในระดับที่ เรียกว่าสุดๆ ในชีวิตของมนุษย์หนุ่มสาวคู่หนึ่ง และคำพูดคำจาในแบบที่เรียกว่าเป็นบทกวี อันแสนไพเราะเพราะพริ้ง, การถ่ายภาพที่ สวยสดงดงามภายใต้ครื่องแต่งกายของตัว ละครที่สะท้อนสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ในยุคสมัยนั้นออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม สมกับ รางวัลออสการ์ที่ได้รับ (เข้าชิงรางวัลออสการ์ ปี ค.ศ. 1968 จำนวน 4 รางวัล แต่ได้รับมา เพียง 2 รางวัล คือ 1. ถ่ายภาพยอดเยี่ยม 2. เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ส่วนอีก 2 รางวัล ที่ไม่ได้รับ คือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยม) และ โดยเฉพาะเพลงประกอบหนังที่หวานแหววสุดๆ และโด่งดังไปทั่วโลก จนถึงทุกวันนี้ก็ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของผู้ชมทุกคน สร้างสรรค์ โดยคอมโพสเซอร์ชื่อดังอย่าง นีโน โรต้า (ผู้สร้างสรรค์ดนตรี – เพลงประกอบภาพยนตร์ และได้รับรางวัลออสการ์จาก The God father ทั้ง 2 ภาค โดยเขาได้รับรางวัลออสการ์จากภาค 2) นั่นคือ เพลง WHAT IS YOUTH? ซึ่งต่อมาถูกนำทำนองเดิมไปใส่เนื้อเพลง ใหม่ในชื่อว่า A TIME FOR US ขับร้องโดยน้ำเสียงของนักร้อง ชื่อดังอย่าง จอห์นนี่ แมททิส และ แอนดี้ วิลเลี่ยมส์ (ผมเองชอบ สไตล์การร้องและน้ำเสียงของเขามากกว่าครับ ล่าสุดผมเพิ่งได้แผ่น ซีดีของเขามา มีชื่อเฉพาะที่หน้าปกว่า PRICELESS COLLECTION มีเพลงทั้งหมด 23 เพลง ประกอบไปด้วยเพลงในระดับหัวกะทิของ เขาทั้งสิ้น เช่น DANNY BOY, LOVE STORY, SPEAK SOFTLY LOVE , MOON RIVER, EL CONDOR PASA, THE TWELFTH OF NEVER, SUMMER PLACE, A TIME FOR US, BORN FREE ฯลฯ ได้แผ่นนี้มาฟังคุ้มจริงๆ ครับ ไพเราะเพราะพริ้งทุกเพลง ฟังเพลินทั้งวันเลยครับ 55)

ลองมาดูความหมายของเนื้อเพลง A TIME FOR US กันครับ ….

เวลาแห่งเรา
สักวัน… คงเป็นวันของเรา
เมื่อโซ่อุปสรรคหักสะบั้นลง
ด้วยความกล้าหาญที่เกิดจากอิสรภาพแห่งรัก
เป็นเวลาซึ่งความใฝ่ฝัน
ที่ถูกปฎิเสธมานานแสนนาน
จะลุกโชนขึ้นเมื่อเราเปิดเผยออกมา
ถึงความรักที่เราเก็บซ่อนไว้
ในวันที่เป็นเวลาแห่งเรา
ชีวิตที่มีความหมายจะเป็นของเราสองคน
ด้วยความรักที่เคยผ่านทั้งน้ำตา
และอุปสรรคเราจะฝ่าฟันไปด้วยกัน
อย่างมั่นใจในทุกสถานการณ์
แล้วสักวันคงเป็นวันของเรา
โลกใบใหม่ โลกที่เต็มไปด้วยความหวัง
สำหรับเธอและฉัน…

ช่างไพเราะเพราะพริ้ง ซาบซึ้งตรึงใจ ดำดิ่งลงสู่ห้วงเสน่หา สำหรับคู่รักหนุ่มสาวทั่วโลกนะครับ…

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับประวัติของ วิลเลียม เชคสเปียร์ ผู้ประพันธ์เรื่องราวอมตะแห่งความรักนี้กันก่อนนะครับ… วิลเลียม เชคสเปียร์ เป็นชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองสเตรตฟอร์ด อัพพอน เอวอน แคว้นวอร์วิคไชร์ และเข้าพิธีตั้งชื่อที่โบสถ์โฮทรินิติ้ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 1564 (นักวิชาการจึงอนุมานให้วันที่ 23 เมษายน เป็นวันเกิด ของเขา เพื่อให้พ้องกับวันตายของเขา คือ 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เชคสเปียร์มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1564 – 1616 ในรัชสมัยของ พระนางเจ้าเอลิซาเบธและพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ เขามีพี่น้อง ทั้งหมด 8 คน เชคสเปียร์เป็นบุตรคนที่ 3 มารดาชื่อ แมรี่ อาร์ เคน และบิดาชื่อ จอห์น เชคสเปียร์ เป็นช่างทำถุงมือ ซึ่งภายหลังได้ไต่เต้า ขึ้นมาจนได้รับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของเมือง หรือเทียบเท่ากับตำแหน่ง นายกเทศมนตรีในปัจจุบัน ในยุดนั้นสเตรตฟอร์ดมีโรงเรียนประจำที่มีชื่อเสียง และถือว่าได้มาตรฐานน่าเชื่อถือ แต่ว่าหลักฐานเกี่ยวกับ นักเรียนที่เข้าเรียนสูญหายไปหมดสิ้น จึงไม่สามารถจะยืนยันได้อย่าง แน่ชัดว่า เชคสเปียร์ได้เข้าเรียนที่นี่หรือไม่ แต่บางเอกสารก็บอกว่า เชคสเปียร์ได้เข้าเรียนเมื่ออายุ 7 ขวบ ทำให้เขาได้รับการอบรม สั่งสอนในเรื่องระเบียบวินัยอันเข้มงวด ได้เรียนภาษาลาตินอันเป็น ภาษาของชาวโรมันโบราณ ดังนั้น เชคสเปียร์จึงได้มีโอกาสศึกษา งานสำคัญๆ ของนักคิด นักเขียน นักปรัชญา ชาวโรมัน ซึ่งเป็น พื้นฐานอย่างดีสำหรับเขา

เชคสเปียร์แต่งงานเมื่ออายุ 18 ปี กับ แอนน์ แฮธาเวย์ ซึ่งมีอายุ มากกว่าเขา 8 ปี ทั้งคู่มีลูกด้วยกันสามคน ลูกสาวคนแรกเกิดในปี ค.ศ. 1583 ชื่อ ซูซานนา และอีกสองคนเป็นฝาแฝดชายหญิงเกิด ในปี ค.ศ.1585 ชื่อ แฮมเนอร์ และ จูดิธ สันนิษฐานกันว่าเชคสเปียร์

เดินทางเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในลอนดอน โดยยึด อาชีพเป็นนักแสดงและนักเขียนบทละคร ระหว่างปี ค.ศ. 1585 – 1592 แต่ไม่มีหลักฐาน แน่ชัดเกี่ยวกับชีวิตของเชคสเปียร์และ ครอบครัว แต่หลังจากปี 1592 ชื่อเสียงของ เขาก็เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ในปี ค.ศ. 1593 และ ค.ศ. 1594 เชคสเปียร์ ได้เขียนบท กวีขนาดยาว ชื่อ Venus Adonis และ The Rape of Lucrece ซึ่งเขียนอุทิศให้ เอิร์ล แห่ง เซาท์แธมตัน และเข้าร่วมก่อตั้งคณะละคร Lord Chamberlain’s Men เป็นทั้งผู้เขียน บทละครและนักแสดง ในคณะผู้ร่วมก่อตั้ง คณะละครมี ริชาร์ด เบอร์เบจ นักแสดงละคร โศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคร่วมอยู่ด้วย ในปี ค.ศ. 1599 ได้ย้ายคณะละครมาแสดง ประจำอยู่ที่โรงละคร GLOBE THEATRE ในย่านเซาทาร์ก ประสบความสำเร็จจนได้รับ พระราชูปถัมภ์ในปี ค.ศ. 1603 และรู้จักกันใน นาม The King’s Men ความสำเร็จในอาชีพ ส่งผลให้เชคสเปียร์ สามารถซื้อบ้านหลังใหญ่ ในสเตรตฟอร์ด และได้ย้ายกลับมาใช้ชีวิตหลัง เกษียณในราวปี ค.ศ. 1612 ที่นี่ จนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ.1616 เชคสเปียร์ ได้ทิ้งพินัยกรรมไว้หนึ่งฉบับ โดยยกมรดก ส่วนใหญ่ให้แก่ลูกชายและลูกสาวทั้งสองคน ส่วนภรรยาของเขา เชคสเปียร์ได้ยกเพียงเตียง นอนสำรอง (second – best bed) ให้ ซึ่งจน ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครเข้าใจปริศนาเตียงนอน ตัวนี้ นอกจากนี้ เขายังได้มอบเงินจำนวน หนึ่งให้แก่ เบอร์เบจ, เฮมมิงส์ และ คอนเดล หุ้นส่วนเพื่อนร่วมอาชีพที่อยู่ในคณะละคร เดียวกัน ผลงานบทประพันธ์และบทละคร ของเชคสเปียร์จะแสดงออกถึงความเข้าใจ ในธรรมชาติของมนุษย์ เป็นแนวความคิดและ อารมณ์ การดิ้นรนต่อสู้ของมนุษย์ทุกประเภท ตั้งแต่กษัตริย์ นักรบ โจร คนโง่ นักฆ่า และ เรื่องของความรัก เชคสเปียร์ได้แสดงให้ทุกคน ได้เห็นถึงความรู้อันเชี่ยวชาญในหลายวิชาของ เขา เช่น ด้านดนตรี ด้านกฎหมาย การทหาร การเมือง และคัมภีร์ไบเบิล (ขอขอบพระคุณ ข้อมูลจากเว็บไซต์ PANTIP กระทู้สนทนา โศกนาฏกรรมรำลึก + Romeo & Juliet)

“เมื่อสมาชิกหนุ่มสาวสองคนของ ครอบครัวที่มีความบาดหมางมาพบกัน ความรักต้องห้ามก็เกิดขึ้น” นี่คือปฐมบท หรือพล็อตหลักของเรื่องราวเนื้อหาในหนัง เรื่องนี้ครับ

เชคสเปียร์ รังสรรค์ขึ้นในปี ค.ศ. 1595 เรื่องราวของความรักอมตะนี้เกิดขึ้น ณ เมือง เวโรนา ประเทศอิตาลี ได้มีสองตระกูลใหญ่ คือ ตระกูลคาปุเล็ต และ มอนตาคิว ซึ่งมีเรื่อง ขัดแย้งกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ความรัก หวานปมขมกลืนนั้น เริ่มด้วยโรมิโอบุตรแห่ง มอนตาคิวได้แอบเข้าไปในงานเลี้ยงเต้นรำของตระกูลคาปุเล็ต และได้พบกับจูเลียต แล้วเพียงแค่ทั้งคู่ต่างสบตากัน ต่างก็ตกหลุมรัก ซึ่งกันและกันอย่างชนิดถอนตัวไม่ขึ้น แต่แล้ว ความรักครั้งนี้ดูเหมือนจะเป็นอุปสรรคอัน ใหญ่หลวง เพราะความบาดหมางกันของ ตระกูลทั้งสอง โรมิโอกับจูเลียตจึงลักลอบ แต่งงานกันอย่างลับๆ แต่เรื่องไม่คาดฝันก็ เกิดขึ้น และเป็นการสร้างรอยร้าวของตระกูลให้ มากยิ่งกว่าเดิม เมื่อเมอร์คิวชิโอเพื่อนรักของ โรมิโอเกิดการทะเลาะกับญาติผู้พี่ของจูเลียต และพลาดท่าเสียทีถูกสังหารจนเสียชีวิต โรมิโอโกรธมากจึงได้พลั้งมือฆ่าญาติของ จูเลียต นั่นทำให้โรมิโอได้รับคำตัดสินถูก เนรเทศออกนอกเมืองตลอดกาล ฝ่ายจูเลีย ตก็ถูกบังคับให้แต่งงานโดยที่เธอไม่ต้องการ เธอจึงพยายามหาทางที่จะหลีกหนีงานแต่งงานบาทหลวงจึงยื่นมือเข้าช่วย เนื่องจากเห็นแก่ ความรักของหนุ่มสาวที่มีให้แก่กัน โดยมอบ ยาวิเศษที่ทำให้หลับเหมือนสิ้นใจตายจากโลก นี้ไป หลังจากนั้นบาทหลวงก็ส่งม้าเร็วส่งสาร ถึงแผนการดังกล่าวแก่โรมิโอ แต่ก็ไม่ทันกาล โรมิโอสวนทางกับคนส่งสาร ด้วยความเข้าใจ ผิดคิดว่าจูเลียตตายจริงๆ จึงเสียใจมาก จึงดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย โรมิโอสิ้นใจเพียง ครู่เดียว จูเลียตก็กลับฟื้นขึ้นมา เธอเห็นคน รักตายอยู่เคียงข้างจึงใช้กริชของโรมิโอแทง ตัวเองตายตามคนรักไป พ่อแม่และญาติของ ทั้งสองตระกูลต่างพากันเศร้าโศกเสียใจกับ โศกนาฏกรรมในครั้งนี้ แล้วนับตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมาคนของทั้งสองตระกูลก็ได้เลิกการ ทะเลาะวิวาทบาดหมางต่อกัน แล้วความสุข สงบก็ได้เข้ามาแทนที่เมืองเวโรนาอีกครั้งหนึ่ง

บทบาทตัวละครโรมิโอนั้น เดิมผู้กำกับ เซฟฟิเรลลี่อยากได้ พอล แมคคาร์ทนีย์ หนึ่ง ในสี่เต่าทองแห่งวง THE BEATLES มารับ บทนี้ แต่ด้วยเหตุที่ ณ ช่วงเวลานั้น เขามีอายุ 25 – 26 ปีแล้ว ถ้าจะให้มารับบทเด็กหนุ่มอายุ 17 ก็จะดูเป็นการหลอกผู้ชมมากไปหน่อย แล้วเซฟฟิเรลลี่ก็ได้ค้นพบชายหนุ่มที่มีใบหน้า หล่องดงามราวถอดมาจากบทประพันธ์อย่าง เลียวนาร์ด ไวท์ติ้ง นักแสดงหนุ่มหน้าใหม่ สัญชาติอังกฤษ จากการคัดเลือกอยู่นานราว 3 เดือนจากชายหนุ่ม 300 คนที่เสนอตัวมา ให้เขาคัดเลือก ภายหลังโด่งดังจากหนังเรื่องนี้ ไวท์ติ้งถูกคาดหวังไปไกลถึงขั้นที่ว่าเขาจะ เป็นตัวตายตัวแทนคนต่อไปของอภิมหา นักแสดงและผู้กำกับอย่าง ท่านลอร์ด ลอว์เรนซ์ โอลิเวียร์ แห่งวงการภาพยนตร์โลก แต่แล้วหลังจากนั้นไม่นานเขาก็หันหลังให้ กับวงการภาพยนตร์ด้วยการไปโลดแล่นกับ วงการละครเวทีแทน ในส่วนของนางเอกจูเลียตนั้น เซฟฟิเรลลี่ทำการคัดเลือกจากหญิงสาวจำนวน 500 คน แล้วเขาก็ค้นพบ โอลิเวียร์ ฮัสซี่ นักแสดงสาวสัญชาติอาร์เจนติน่า วัย 15 ด้วยความสดใส สวยงาม ไร้เดียงสา แววตาที่บริสุทธ์สะอาด ทำให้เธอ คว้าบทนี้ไปครอง ทั้ง ไวท์ติ้ง และ ฮัสซี่ มีพลังในการแสดงที่เรียกว่าเคมีที่ เข้ากันได้ดีมากๆ ในรูปแบบที่เรียกว่า รักกันปานจะกลืนกินซึ่งกันและกัน ด้วยความสดของวัยสาว ฮัสซี่ เธอดูเด็กมากๆ นั่นทำให้ผู้ชมทั่วโลก สามารถสัมผัสได้ถึงความรักที่บริสุทธิ์ สะอาด ไร้เดียงสา ส่วนไวท์ติ้ง เองก็มีความหลงใหล คลั่งไคล้ในความรัก เหมือนกับเด็กได้ของเล่น มาใหม่ๆ และรักหวงแหนของนั้นเป็นอย่างมาก การที่หนังได้ 2 นักแสดง หน้าใหม่สดๆ ไม่เคยมีประสบการณ์การแสดงมาก่อน ทำให้หนังมี ความสดชื่น สดใส ผิดกับหนังที่ใช้นักแสดงมีชื่อเสียงอยู่แล้วมารับบท ซึ่งเรามักจะติดตาติดใจกับภาพจำในการแสดงของพวกเขาจากหนังเรื่อง ก่อนๆ หน้า ซึ่งอาจทำให้ขาดความสดใหม่ไปอย่างสิ้นเชิงได้ และความ สดใหม่นี่เองที่ส่งผลให้ฉากการฆ่าตัวตายของทั้งคู่นั้นทรงพลังที่สุด เรื่องหนึ่งเท่าที่โลกภาพยนตร์ได้บันทึกเอาไว้ ต้องคนที่รักกันมากขนาดนี้ เท่านั้น ถึงจะโน้มน้าวความรู้สึกของคนดู ให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า ทำไมฉัน ถึงต้องยอมตายเพื่อเธอ มีชีวิตอยู่ไม่ได้ถ้าขาดเธอไป ทั้งไวท์ติ้งและฮัสซี่ได้ รับรางวัลลูกโลกทองคำในสาขา Most Promising Newcomer – Male และ Most Promising Newcomer – Female แต่น่าเสียดายที่ผลงาน หลังจากหนังเรื่องนี้ก็ไม่มีหนังเรื่องไหนที่ทั้งสองจะทำได้ดีกว่านี้อีกเลย

“ดูหนัง ดูละคร แล้วย้อนดูตน” …ยังคงใช้ได้เสมอนะครับ เนื้อหา เรื่องราวของบทประพันธ์อมตะและถูกถ่ายทอดออกมาเป็นภาพยนตร์ และศิลปะในแขนงต่างๆ มากมายหลากหลายด้านเรื่องนี้ กับกาลเวลา ที่ผ่านมานับได้ 400 กว่าปี ผ่านยุคผ่านสมัยมาอย่างยาวนานและ หลากหลายมิติ ซึ่งในห้วงเวลาแต่ละยุคแต่ละสมัยนั้น มุมมอง ความคิด ทัศนคติ ของผู้คน-ผู้ ชมทั่วโลกย่ อมมีความแตกต่างหลากหลายกั นออกไป อย่างมหาศาลด้วยเช่นกัน สิ่งนี้นับเป็นเรื่องธรรมดาและเป็นธรรมชาติ นะครับ ภายใต้ความหลากหลายอย่างมากมายมหาศาลนั้น บางคนบางท่านก็อาจจะมีทัศนะ ความคิด ความเห็นที่ว่า “โรมิโอกับ จูเลียตนั้น เป็นเรื่องรวเก่ๆ ที่แค่เกี่ยวข้องกับคนโง่ๆ แค่เพียง สองคนเท่นั้นที่ไม่สนใจ ไม่แยแสกับเรื่องของตำแหน่งแห่งหนใน ทงสังคมและสิ่งรอบข้งทั้งหมดทั้งปวง แต่พวกเขสนใจแต่เพียงแค่ ได้รักและต้องกรที่จะตยตกไปตมกันก็เท่นั้นเอง…” …แล้วคุณผู้อ่านคอลัมน์ VINTAGE MOVIE ล่ะครับ มีทัศนะ มุมมองความคิด ความเห็น ต่อความรักของโรมิโอและจูเลียต อย่างไร? …แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ. VDP