สวัสดีครับผม ช่วงนี้ผมก็ติด project อยู่หลายอย่าง หลังจากไปออกงานโชว์เครื่องเสียงที่ Munich มา ไม่มีแม้แต่เวลาจะมาแชร์ประสบการณ์ให้ฟังว่า การไปออกบูธในงานเครื่องเสียงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เอาจริงๆ วันๆ ผมก็เฝ้าบูธไม่ได้ออกไปไหน เลยไม่ค่อยมีอะไรให้เล่าเหมือนคนเข้าชมงาน วันนี้เลยอยากจะมาเล่าเรื่องที่หลายๆ คนรอบตัวผมพูดถึงกันบ่อย ซึ่งก็คือเรื่อง clock นั่นเองครับ

Clock ในวงการเครื่องเสียงนั้นก็เป็นเรื่องที่มีอยู่มายาวนาน ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่อะไร แต่ทุกวันนี้คนที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการใช้ external clock ก็เงียบหายไปจากวงการเรื่อยๆ นักเล่นหน้าใหม่ที่เข้ามาบางท่านก็คิดว่า digital ส่งข้อมูลเป็น 0 กับ 1 ข้อมูลไม่ผิด ยังไงก็เหมือนกันหมด เรื่อง clock มีผลต่อระบบ digital audio อย่างไรบ้างนั้น จึงเป็นเรื่องที่เลือนหายไปตามกาลเวลา วันนี้… ผมก็จะนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่เพื่อรื้อฟื้นความทรงจำถึงความสำคัญของพื้นฐานของ digital audio อีกครั้งครับ

ระบบ digital นั้น concept หลักๆ มีอยู่ 2 ประเด็น คือ… ข้อมูล (data) กับช่วงเวลา (time domain) ระบบของ digital จะนำข้อมูลมาประมวลผลในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ และได้ผลลัพธ์ในรูปแบบ analog ตามเงื่อนไขที่เขียนไว้ในระบบ digital หากข้อมูลประมวลผลได้ถูกต้อง 100% ผลลัพธ์ที่ออกมาในรูปแบบ analog ก็ควรจะถูกต้องตามไปด้วย แต่ในความเป็นจริงมีบางอย่างที่คลาดเคลื่อนไป ไม่เป็นดังที่คิดไว้

ผมขอยกตัวอย่างการเล่นเพลงจาก CD ก่อนนะครับ CD ถูกบันทึกเป็น 16-bit ที่ sample rate 44,100 ใน 1 วินาที CD จะถูกอ่านข้อมูลแล้วส่ง sample frame ทั้งหมด 44,100 frame ไปประมวลผล ช่วงเวลาที่ส่งแต่ละ frame ไปประมวลผล คือ 1/44,100 วินาที หรือถ้านับเป็นหน่วยหนึ่งในล้านของวินาทีก็คือ 22.676ppm ถ้าเป็นพวกไฟล์ high-res หรือ

 DSD ก็จะยิ่งถี่กว่านี้อีกครับ แล้วปัญหาคือ เวลาที่ frame พวกนี้ส่งไปประมวลผล ไม่ได้มีช่วงเวลาที่ตรงเป๊ะ 100% บางทีก็มีมาเร็วไปบ้าง ช้าไปบ้าง แล้วแต่การออกแบบของแต่ละเครื่อง ช่วงเวลาที่เกิดความเหลื่อมล้ำนี้ เราเรียกกันว่า jitter (เริ่มจะคุ้นกันแล้วใช่ไหมครับ)

Jitter

Jitter นี้ คือช่วงที่ข้อมูลมาไม่ตรงกับ time domain ที่ระบุไว้ สมมติว่า… ข้อมูลนี้ต้องมาถึงในเวลา 3 วินาทีต่อมา พอทำงานจริงๆ พบว่าเจอข้อมูลนั้นที่เวลา 3.0002 วินาทีต่อมา บางทีก็เจอที่ 2.99997 วินาทีต่อมา พอข้อมูลมาไม่ตรงเวลา ก็อาจเกิด error ขึ้นมาได้ จึงต้องมีการจัดการบางอย่างเพื่อให้ระบบทำงานต่อไปได้ แต่ก็ไม่ 100% เท่าเดิม CD บางแผ่นที่ปั๊มคุณภาพสูง เช่น จาก Mobile Fidelity หรือแผ่นคุณภาพสูงนั้นก็เพื่อที่จะลดโอกาสเกิด jitter ลงมา ให้ข้อมูลอ่านเจอได้เที่ยงตรงต่อช่วงเวลามากยิ่งขึ้น ทำให้ได้ focus และ dynamics ที่คมชัดยิ่งขึ้น ในโลกของ high-res streaming การพัฒนา storage ไปใช้ SSD ก็ช่วยเพิ่มความเที่ยงตรงในการรับส่งข้อมูลได้ไม่น้อยเช่นกัน

จากที่ผมเรียนวิชา data communications ในมหาวิทยาลัยมา ได้ระบุว่า jitter มีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้…

1. Random Jitter – เป็น jitter ที่ไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และมีความเหลื่อมล้ำมากน้อยแค่ไหน มักจะเกิดขึ้นในการส่งถ่ายข้อมูลทั่วไป เปรียบเสมือน noise ในโลก digital ที่มีผลต่อ SNR แต่ไม่ทำให้เกิด frequency distortion ทำให้เกิดความเพี้ยนในช่วงความถี่ต่างๆ

2. Deterministic Jitter – เป็น jitter ที่สามารถคาดคะเนได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เวลาไหน มักจะเกิดขึ้นจากการส่งถ่ายข้อมูลที่มีการควบคุมพิเศษ เช่น asynchronous transfer ซึ่งสามารถลด random jitter ลงได้มาก แต่ก็แลกมาด้วยการ frequency distortion ที่ทำให้ความถี่เสียงเพี้ยนได้

การอัพเกรด HDD เป็น SSD หรือใช้ CD คุณภาพดีเป็นตัวเก็บข้อมูลก็จะช่วยลด random jitter ที่เกิดขึ้นได้ จากประสบการณ์ฟังที่ผมและเพื่อนๆ ได้สัมผัสมาจะพบว่าช่วยให้เสียงชัดเจนขึ้น นิ่งและสงัดขึ้น สามารถถ่ายทอดรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ และฟ้องชุดมากขึ้นด้วย บางคนที่เล่นไฟล์เพลงหลังจากเปลี่ยนไปใช้ SSD แล้วก็ต้องอัพเกรดระบบไฟใหม่ตามไปด้วย ภาคจ่ายไฟที่ดีก็ช่วยลด noise และให้ dynamics ที่ชัดเจนขึ้นด้วย

Clock

นอกจากการพัฒนาคุณภาพของ storage เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของช่วงเวลา หรือ jitter แล้ว เราสามารถลดความเหลื่อมล้ำนี้ที่ต้นทางลงได้ โดยการอัพเกรดตัว clock ในเครื่องเสียงด้วยเช่นกัน ระบบ time domain ในโลก digital นั้นทำงานได้โดยผ่านตัว clock ที่เป็นตัวจ่ายกำหนดช่วงของ time domain ซึ่ง clock ที่ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไปนั้นก็มีความเที่ยงตรงอยู่ที่ 100ppm ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันได้ เพราะอยู่ในช่วงที่จัดการได้ การอัพเกรด clock เพื่อเพิ่มความเที่ยงตรงของสัญญาณ ลดความเหลื่อมล้ำของ phase noise ก็จะช่วยให้ข้อมูลประมวลผลได้แม่นยำขึ้น clock จึงเป็นเหมือนเส้นเลือดของโลก digital เลยก็ว่าได้

ในโลกเครื่องเสียงเองก็มีบริษัทที่ใส่ใจเรื่องความแม่นยำของ clock และได้ผลิตอุปกรณ์ที่รองรับเทคโนโลยีนี้ออกมา อาทิ CD player, CD transport, DAC และ master clock ที่สามารถทำงานร่วมกันได้ บางบริษัทก็พัฒนาสินค้าที่ใช้ clock คุณภาพสูง เช่น Femto clock, OCXO clock ที่มีความแม่นยำสูงในอุปกรณ์ต่างๆ ตั้งแต่ CD Player ไปจนถึง Network Switch ซึ่งเรื่องการอัพเกรด clock ที่ตอนนี้ก็กำลังเป็นที่นิยมในตลาดเครื่องเสียงในเมืองนอกกันอยู่ไม่น้อย ต่อไปนี้ผมจะอธิบายอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบ clock ดังต่อไปนี้ครับ

Reclocker

เวลาเครื่องเสียงส่งสัญญาณ digital output จะมี digital signal มาพร้อมกับ clock signal ด้วย สัญญาณ clock signal จะนำมาจาก crystal/oscillator ในเครื่องมา reclock เป็นสัญญาณ clock สำหรับ digital output เช่นใน CD Player มี clock 22.579MHz ก็จะนำสัญญาณความถี่ดังกล่าวมา reclock เป็น 44100Hz ส่งไปพร้อมกับสัญญาณ digital output เครื่อง DAC ที่รับสัญญาณก็จะนำclock signal ที่ได้รับมาทำphase lock loop แปลงสัญญาณ digital data เป็น analog signal ออกไปยังเครื่องเสียงต่อ

จากการศึกษาที่พบว่า สัญญาณ clock จากต้นทางมี jitter อยู่ ก็ต้องการที่จะลด jitter ลงมา หลังจากส่งออกมาแล้วจึงเกิด concept reclocker ขึ้น reclocker คือเครื่องที่จะนำสัญญาณ digital มาเปลี่ยน clock signal ด้วย clock คุณภาพที่ดีกว่า แล้วส่งสัญญาณ digital ออกไปด้วย clock signal จากตัว reclocker เอง reclocker มักจะมี clock ในตัวเองด้วย และบางตัวสามารถรับ external clock มา reclock ใหม่ส่งได้เช่นกัน คุณสมบัติพื้นฐานของ reclocker มีดังต่อไปนี้

1. รับสัญญาณ digital audio ประเภทต่างๆ เช่น S/PDIF หรือ AES/EBU

2. เปลี่ยนสัญญาณ clock จากต้นทางด้วย สัญญาณ clock ตัวใหม่ที่ทขึ้นมา

3. ส่งสัญญาณ digital audio ออกไปใหม่ ในรูปแบบที่รับมา เช่น S/PDIF หรือ AES/

EBU

ในยุคหนึ่ง CD Player ก็นิยมระบบ reclocker กัน สมัยก่อนผมเห็น CD Player มี digital output ด้วย ผมก็งงว่าจะทำออกมาทำไม DAC ใน CD Player ก็น่าจะดีอยู่แล้ว ถ้าต่อ digital out ไปก็ไม่ได้ใช้ DAC ในตัว เลยไม่น่าจะทำออกมาได้ พอมาศึกษาดูดีๆ พบว่าในยุคนั้นกระแสการต่อ CD transport/DAC กำลังมาแรง การซื้อ CD Player ที่มี digital output ก็สามารถซื้อ DAC มาอัพเกรดต่อเพิ่มได้ในภายหลัง นอกจากนี้ก็ยังมี reclocker ที่รับสัญญาณ digital output จาก CD Player มาเปลี่ยน clock signal ใหม่ส่งเข้า DAC ไปด้วยในยุคนั้น

ปัจจุบันจะไม่ค่อยเห็น reclocker ในตลาดเครื่องเสียงบ้านแล้ว เพราะนิยมไปต่อ master clock กันแทน แต่ใน computer audio นั้นกำลังมาแรงมากครับ product ที่แจ้งเกิดอีกครั้งกับการ reclocking คือ iso regen จาก UpTone Audio ซึ่งนำสัญญาณ USB Audio มา regenerate จาก controller และ clock ที่ดีกว่าเดิม ทุกวันนี้ก็ขายดีแบบต่อคิวกันยาวหลายเดือนเลยล่ะครับ และคิดว่าคงขายดีไปอีกพักใหญ่ๆ เลยด้วย

เทคโนโลยีนี้มีข้อดีคือ ราคาไม่แพงและติดตั้งได้ง่าย นอกจากนี้ยังสามารถลด effect จาก random jitter ที่เกิดขึ้นได้ด้วย แต่ก็มีผลข้างเคียงคือ การ reclock ซ้ำซ้อน ซึ่งถ้าเทียบกับโลก analog ก็เทียบได้กับการต่อ pre ซ้อน pre อีกที การ reclock น้อยครั้งกว่าได้ก็จะดีกว่าในเชิงทฤษฎี แต่ถ้า clock ที่เปลี่ยนไปนั้นทำได้ดีกว่าชัดเจนโดยไม่เพี้ยน ก็คุ้มกว่าที่จะต่อครับ

Master Clock

หลังจากที่กระแส CD transport/DAC เริ่มเข้ามาในตลาดเครื่องเสียงบ้าน ทางผู้ผลิตก็ได้ผลักดันสินค้าที่เรียกว่า master clock ขึ้น สำหรับการอัพเกรดสัญญาณ clock ใน digital audio ปกติ reclocker จะรับสัญญาณ digital audio output มา reclock ใหม่ แล้วส่งสัญญาณที่ใช้ clock ใหม่ไป แต่ master clock จะไม่รับสัญญาณ digital output เข้ามาเลย ดังนั้น เครื่องเสียงจะต้องถูกออกแบบมาให้รองรับเทคโนโลยีของ master clock ด้วย

คุณสมบัติพื้นฐานของ master clock มีดังต่อไปนี้ครับ

1. สร้างสัญญาณ clock ขึ้นมาใหม่ อาจจะ เป็น word clock หรือ master clock

2. ส่งสัญญาณ clock ไปยังอุปกรณ์ที่รองรับ external clock input

เทคโนโลยีของ master clock นั้น ถือว่าเป็นที่สุดของเทคโนโลยีเรื่อง digital clock upgrade เลยก็ว่าได้ เพราะจะเกิดการ reclock ขึ้นแค่ครั้งเดียว คือจาก master clock แล้วส่งสัญญาณ word clock ไปยัง transport และ DAC ในกรณีที่ใช้ word clock signal ข้อดีของการต่อ word clock signal จาก master clock คือ ทั้งสองเครื่องจะใช้ time domain เดียวกัน จึงไม่มีกระบวนการ phase lock loop ขึ้น โอกาสที่จะเกิด jitter จากสัญญาณ clock ที่ต่างกันจึงลดลงไปได้มาก แต่สัญญาณ word clock นั้นมีความถี่ที่ 44.1-192k นำไปใช้ตรงๆ จึงมีโอกาสถูกรบกวนได้ง่าย การควบคุมตัวแปรต่างๆ ก็จะทำได้ยากพอสมควรที่จะทำให้ไม่เกิดความเพี้ยนขึ้น

หลังๆ มาจึงเริ่มมีการทำmaster clock ที่ส่งสัญญาณ master clock เต็มๆ ไปแทน อย่าง CD Player จะนิยมใช้ clock 22.5792MHz ก็จะส่ง clock ความถี่นั้นเข้าไปยัง CD Player ตรงๆ ให้ใช้ clock จาก master clock แทน clock ในตัว ถ้าเป็น CD transport/DAC ก็จะส่ง clock ไปยังทั้งคู่ โดยที่แต่ละเครื่องก็จะนำclock ไป reclock ใหม่ในเครื่องตัวเองต่อไป กระบวนการนี้มีข้อดีคือ ความเพี้ยนที่เกิดขึ้นจากการส่งสัญญาณต่ำกว่าแบบ word clock จึงสามารถให้คุณภาพเสียงที่คงเส้นคงวามากกว่าแบบ word clock ที่เกิดความเพี้ยนได้ง่ายกว่า โดยส่วนตัว ผมชอบแบบ word clock เพราะมีการ reclock ครั้งเดียว และใช้ clock จากจุดเดียวกัน แต่กว่าจะ setup ลงตัวได้ก็หาสาย clock มาลองอยู่หลายรุ่น จนต้องทำสายเองอยู่นานกว่าจะลงตัวได้

อีกประเด็นหนึ่งคือ ถ้าเป็นเมื่อก่อนเล่นแผ่น CD หรือ SACD ก็จะใช้ clock 44,100Hz ร่วมกัน จึงต้องการ clock source แค่ตัวเดียว แต่พอเล่นไฟล์ high-res ก็จะมี clock base 48,000Hz ด้วย เวลาสลับไฟล์เพลงจาก CD มา high-res ก็ต้องเปลี่ยน output frequency จาก master clock ตามไปด้วย ซึ่งก็ไม่สะดวกนัก จนบางคนถึงกับเลิกใช้ระบบ master clock เพราะเหตุผลนี้ก็มีครับ แต่ก็มีบางเครื่องที่ออกแบบให้รับส่งสัญญาณทั้ง 44,100Hz และ 48,000Hz ไปพร้อมกันเลย แล้วให้ปลายทางเลือกใช้สัญญาณเอาเองก็จะไม่มีปัญหานี้ครับ

ส่วนตัวผมเองก็แก้ปัญหานี้ โดยการ upsam­ple ไปเป็น DSD ด้วย Roon แล้วใช้ clock 44100Hz อย่างเดียวก็เล่นได้หมดเหมือนกันครับ ช่วงนี้ก็นิยม DSD upsampling ในเมืองนอกอยู่ไม่น้อยครับ ใครที่ต่อระบบ clock กับ computer audio แล้วมีปัญหาเรื่อง sampling rate สลับไปมาก็ลองใช้วิธีนี้ดูได้ครับ เดี๋ยวนี้โปรแกรมพัฒนาไปเยอะ ระบบ upsampling ใหม่ๆ ก็สามารถปรับได้ดีกว่าเมื่อก่อน อย่างผมเองเมื่อก่อนก็ไม่ชอบการ upsampling เลย แต่ทุกวันนี้มาฟัง Tidal Master upsampling ไปเป็น DSD นี่คุ้มมากๆ ครับ

Clock Generator

หลังจากพูดเรื่อง reclocker กับ master clock ไปแล้ว ต่อไปก็มาพูดถึงเรื่อง clock ที่เป็น clock อย่างเดียวกันบ้างนะครับ ตัวนี้ก็จะเป็น option เสริมสำหรับการอัพเกรด clock ในระบบต่ออีกทอดหนึ่ง หลายคนอาจจะงงว่า ในเมื่อ reclocker หรือ master clock ก็มี clock ที่ดีกว่าเดิมอยู่แล้ว จะต่อ clock เพิ่มไปอีกได้ยังไงกัน ตกลงพวก clock ต่างๆ นี้ ทำหน้าที่อะไรกันแน่ ผมขอสรุปสั้นๆ อีกที ดังต่อไปนี้ครับ

1. Reclocker – นสัญญาณ digital audio มา generate ส่งใหม่ด้วย clock ของ ตัวเองอีกที

2. Master Clock – จ่ายสัญญาณ clock ส่งไปในอุปกรณ์ที่รองรับ clock ในรูปแบบ ที่รองรับ

ตัว reclocker คือรับสัญญาณมายังไงก็ส่งต่อไปแบบนั้น หรือบางทีอาจจะส่งในรูปแบบอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกันได้ เช่น รับสัญญาณ Toslink มาจาก TV แต่ส่งออกมาเป็น Coaxial ไปยัง DAC อีกทีก็ได้ ส่วนตัว master clock จะส่งสัญญาณ clock signal ที่เครื่องเสียงรองรับ เช่น word clock signal ที่ตรงกับ sample rate ที่เล่น หรือ master clock signal ที่ส่งไปให้เครื่องที่รับสัญญาณนำไป reclock ใช้อีกที ทั้งสองเครื่องนี้ทำงานต่างกันโดยสิ้นเชิง

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทั้งคู่มีเหมือนกันคือ การนำclock ที่มีอยู่นำไปใช้ในส่งสัญญาณต่อ ซึ่ง product บางรุ่นก็สามารถต่อ external clock เพื่อรับ clock ที่มีความแม่นยำมากกว่านี้มาใช้งานต่อได้ แม้แต่ CD player หรือ DAC รุ่นใหม่ๆ ก็เริ่มเปิดรับ technology external clock เช่น 10MHz clock แล้วเช่นกัน ส่วน 10MHz clock คืออะไรนั้น เดี๋ยวผมจะอธิบาย clock signal รูปแบบต่างๆ ให้ฟังดังต่อไปนี้ครับ

1. Word clock – เป็นสัญญาณ clock ที่ใช้อ้างอิงความถี่หลังจากที่ผ่านกระบวนการ reclock มาแล้ว มักจะส่งจาก master clock ไปยังอุปกรณ์อื่นๆ หรือใช้เป็นสัญญาณ clock sync ระหว่างอุปกรณ์

2. Super Clock – เป็นเทคโนโลยีเก่าแก่ของ Digidesign ที่ต้องการจะรับสัญญาณ clock ที่ความถี่สูงนมากระจายส่งเครื่องต่างๆ ภายใน studio ได้คุณภาพที่ดี Superclock นี้มีความถี่เป็น 256 เท่า จึงสามารถนไปแจกจ่ายที่ 1-8x ได้โดยง่าย

3. Master Clock – เป็นสัญญาณ clock ที่มีค่าความถี่เหมือน clock ในเครื่องเสียง โดยมากมักมีความถี่อยู่ที่ประมาณ 22 – 24MHz หรือ 512 เท่าของ sample CD มักจะส่งเข้าเครื่องเสียงให้นไปใช้งานต่อหรือส่งไป master clock ให้แปลงเป็น word clock อีกที

4. 10MHz Clock – เป็นความถี่ที่นิยมเรียกกันว่า Atomic Clock ความถี่ 10MHz นี้ ถือว่าเป็น reference signal เพราะมักใช้ในการอ้างอิงกับสัญญาณดาวเทียม GPS จึงมีมาตรฐานที่มั่นใจได้ หลังๆ เริ่มนิยมมาใช้ในวงการเครื่องเสียงกัน

ตัว clock generator นี้สามารถ generate สัญญาณแบบไหนก็ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบในการใช้งาน ในที่นี้ผมจะขอ focus ถึง สัญญาณ 10MHz Clock ก่อน เพราะมีการใช้บ่อยในวงการเครื่องเสียง clock 10MHz นี้สามารถส่งไปยัง master clock หรือเครื่องเสียงที่รองรับได้ ในเครื่องก็จะมีวงจรที่นำสัญญาณ 10MHz มา generate ใหม่เป็นสัญญาณอื่นๆ เช่น word clock หรือ master clock ก็ทำได้เช่นกัน

ถ้าใครโชคดีได้เผลอไปฟังชุดที่ set up ระบบ clock แบบลงตัวเป็นอย่างดีแล้วก็ยากที่จะถอนตัว

นอกจากนี้ สัญญาณ 10MHz ยังมีความพิเศษอีกอย่างคือ มาตรฐานจะไม่ตรงกันหมดทุกเครื่อง โดยปกติสัญญาณ digital จะส่งออกมาในรูปแบบ sine wave แต่สัญญาณ 10MHz นี้จะส่งออกมาในรูปแบบ square wave โดยมีค่า impedance ที่ 50 – 75 ohm แล้วแต่ specifications ที่ระบุไว้บนเครื่อง ถ้าจะใช้สินค้าข้ามยี่ห้อกันก็ขอแนะนำให้ตรวจสอบ specs ของสินค้าก่อนให้ชัดเจน ส่วนมากที่ใช้กันในตอนนี้จะเป็น 50ohm ครับ

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว บางคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมเขาไม่เอา clock 10MHz มาใช้รวมแต่แรกเลยล่ะ ทำไมต้องมาทำแยกขายต่อพ่วงอีกที เป็นกลยุทธ์การตลาดรึเปล่า สาเหตุจริงๆ ก็คือ clock 10MHz นั้น แพงครับ อย่างที่ทำขายกันแบบถูกๆ ยังราคาหลักพันเหรียญ แถมซื้อไปแล้วพอเจอ clock 10MHz หลักแสนมา ก็ต้องกัดฟันซื้อต่อไปอีก เพราะดีกว่าเดิมชัดเจน เขาเลยต้องทำแยกให้อัพเกรดต่ออีกที เพราะราคาสูงเกินไป

ยิ่งตัว Rubidium Clock ยิ่งราคาแพง เพราะให้ความเสถียรที่สูงมาก ถ้าเน้นแต่ phase noise ต่ำมากอย่างเดียวอาจจะทำแบบดีๆ ขายได้ในงบแสนหนึ่ง แต่ถ้าต้องการความแม่นยำที่สูงจริงก็ต้องใช้ Rubidium clock ขึ้นไป ซึ่งค่า clock อย่างเดียวก็หลายหมื่นแล้ว ผมเคยสั่ง Rubidium clock อย่างดีตัวละ 7 หมื่นมาทำใช้เอง ก็หมดเป็นแสนเหมือนกันครับ นี่ยังไม่ใช่ที่สุดนะครับ ยังมี Cesium clock ที่แม่นยำกว่า Rubidium อีก ใน Hong Kong ก็มีคนสั่ง clock Cesium ตัวละ2-3 แสนที่ใช้ในกระสวยอวกาศมาทำใช้เองเหมือนกันครับ ผมเองได้ยินเขาเล่ามาแบบนี้ อยากฟังเป็นบุญหูสักครั้งเหมือนกันครับ หวังว่าสักวันจะมีวาสนาได้ฟัง

สรุป

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ผมคิดว่าผู้อ่านก็น่าจะได้ข้อสรุปในใจเหมือนกับที่ผมคิดต่อไปนี้แน่เลยครับ คือ… เรื่อง clock มันยุ่งยาก ซ้ำซ้อน ทำไมดูใช้ยากจัง อันนี้ผมก็เห็นด้วยครับ เพราะเวลา setup จริงๆ ก็มีรายละเอียดที่ต้องใส่ใจและต้องตั้งให้ถูกต้อง ถึงจะมีเสียงดังออกมาดีขึ้นได้ บางคนตั้งผิดต่อ clock ลอยๆ ไม่ได้ใช้มาเป็นปีๆ เลยก็มีครับ เท่าที่ผมสัมผัสมานั้น ผู้นำเข้ามีความรู้และประสบการณ์ในระบบ clock เป็นอย่างดี ถ้าระบบ clock setup โดยทีมงานของผู้นำเข้ามาโดยตรงก็ไว้วางใจได้หมดทุกร้านที่มีขายครับ ถ้าใครโชคดีได้เผลอไปฟังชุดที่ set up ระบบ clock แบบลงตัวเป็นอย่างดีแล้ว ก็ยากที่จะถอนตัวครับ มีช่วงนี้ที่กระแสเรื่อง clock เริ่มซาลงไปจากวงการ แต่พอเริ่มมี clock 10MHz เข้ามาในตลาด และมีอุปกรณ์ที่รองรับ clock นี้เข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตก็น่าจะต่อยอดไปได้ต่อครับ สักวันผมก็หวังว่าจะเห็น Pre/Processor ที่รองรับ clock 10MHz เหมือนกันครับ ถึงวันนั้น การดูหนังคงได้อรรถรสเพิ่มขึ้นอีกเยอะ ทุกวันนี้ผมยอมดูหนัง 2-channel เพราะนอกจากใช้ลำโพงตั้งพื้นในห้องเล็กแล้ว ก็มีเรื่อง clock นี่แหละครับ. ADP