ชานนท์
ชานนท์ จุทัยรัศม์ 

STEP EVER CLOSER TO REALITY!! 

หลังจากเปิดตัว OLED TV เครื่องแรกของโลก (XEL-1 มาพร้อมขนาดจอภาพ 11 นิ้ว) เมื่อปี 2008 ก็หายหน้าไป จากตลาด OLED TV อยู่พักใหญ่ๆ ทว่าในปี 2017 Sony กลับมาทวงคืนบัลลังก์อีกครั้งได้อย่างเต็มภาคภูมิด้วย รุ่นเรือธง A1 และพยายามตอกย้ำความสเร็จอีกครั้งด้วย “A8F” รุ่นใหม่ล่าสุดประจปี 2018 นี้ 

โลกนี้ไม่มีสิ่งใดเพอร์เฟกต์ มันอาจจะดีในช่วงเวลา หนึ่ง แต่ด้วย “พัฒนาการ” จึงทให้มีของใหม่ที่ดีกว่า และ หน้าที่ของผู้ผลิตที่ดีก็คือ การปรับปรุงสินค้าให้ดียิ่งขึ้น เรื่อยๆ หากทได้ย่อมประสบความสเร็จ และได้ไปต่อ… ถึงแม้การวางตแหน่งรุ่น A8F ของ Sony ทให้เป็นรองในแง่ของความพรีเมียม เมื่อเทียบกับ A1 (ปัจจุบันยังคงเป็นรุ่นเรือธงของแบรนด์จวบจนถึงวันนี้) แต่ในเมื่อเป็นสินค้า เทคโนโลยี “รุ่นใหม่” ย่อมได้เปรียบในหลายแง่มุม จุดเด่น ของ A8F มีอะไรบ้าง เดี๋ยวมาพิสูจน์กันครับ 

DISCREETLY DESIGNED FOR THE SCREEN 

ขอย้อนกลับไปดูดีไซน์ของ A1 สักหน่อย “ความพิเศษ” ในอีกมุมหนึ่งก็มาพร้อมความซับซ้อนที่สร้างความยุ่งยากเวลาติดตั้งอยู่บ้าง ที่ชัดเจนเลย คือ โครงสร้างขาพับด้านหลังที่ทั้งหนาและหนัก เวลาเคลื่อนย้ายจึงทำได้ค่อนข้างลำบาก ต้องพับขาเก็บให้เข้าที่ และหาจุดจับยึด (ที่มีไม่มากนัก) ให้มั่นคง หากจับยกผิดที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างทีวีได้ ลำดับถัดมา เมื่อยก A1 มาถึงจุดตั้งวาง คือ กางขาออก โดยจะกินพื้นที่ความลึกของชั้นวางพอตัว ที่ประมาณ 33.9 ซม. ซึ่งมากกว่าความต้องการของทีวีปกติทั่วไปอยู่สักหน่อย แต่ประเด็นเหล่านี้คงไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เพราะคงไม่มีใครยกย้าย ตำแหน่งทีวีกันบ่อยๆ เตรียมการครั้งแรกทีเดียวก็คงตั้งยาว 

มาดูที่ดีไซน์ของ A8F กันบ้าง การเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ ส่วนหนึ่งมาจาก ความต้องการปรับปรุงแก้ไขปัญหาความยุ่งยากในการติดตั้งที่ผ่านมาของ A1 หลายท่านเห็น A8F แล้ว อาจไม่รู้สึกหวือหวาตื่นเต้นเท่ากับรูปลักษณ์ของ A1 แต่เชื่อว่ายังดูพรีเมียมบนพื้นฐานของความเรียบง่าย (Minimalist Design) จากวัสดุและรูปทรงที่ให้ความกลมกลืนเข้ากับสภาพแวดล้อมตามคอนเซปต์ “Slice of Living” 

ฐานตั้งถูกเปลี่ยนมาใช้รูปแบบ แผ่นโลหะบางเฉียบรองรับแนบชิด ใต้ส่วนล่างของจอภาพ มองเผินๆ ในบางมุมก็เหมือนว่าจอทีวีตั้งอยู่ บนพื้นชั้นวางตรงๆ ภาพลักษณ์ดูคล้าย “One Slate” ของ A1 อยู่ เหมือนกัน 

ผลพลอยได้สำคัญของการ เปลี่ยนโครงสร้างฐานตั้งเป็นลักษณะนี้ คือ การประกอบ ติดตั้งที่ทำได้ง่ายกว่ารูปแบบฐาน ตั้งบานพับของ A1 แถมน้ำหนักเบา ไม่เทอะทะ กินเนื้อที่ชั้นวางไม่มาก ต้องการความลึกเพียง 25.5 ซ.ม. 

ฐานตั้งของ A8F ยังทำให้จอทีวีตั้งตรง (1) ไม่ได้บังคับเอนหลัง 5 องศา แบบ A1 ซึ่งไม่ว่าเอนหลังหรือตั้งตรงก็เป็นทั้งข้อดีและข้อเสียในเวลาเดียวกัน ขึ้นกับระดับความสูงของชั้นวางและระยะรับชม แต่รูปแบบตั้งตรงดูบริหาร จัดการในสภาพการติดตั้งใช้งานทีวีโดยทั่วไปได้ง่ายกว่า 

และเมื่อจะแขวนผนังก็เพียงถอดฐานรองรับออก โครงสร้างโดยรวมของ จอทีวีมีความบางเพียง 7.6 ซ.ม. ดูแนบชิดกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับผนัง มากยิ่งขึ้น 

จำนวนอินพุตหลักเท่ากับ A1 คือ HDMI In 4 ช่อง (รองรับ ARC ที่ HDMI In 3), USB 3.0 1 ช่อง, USB 2.0 2 ช่อง, Analog Video Input (3.5mm Composite) 1 ช่อง, Digital Audio Out (Optical) 1 ช่อง, Audio/Headphone Out (3.5mm) 1 ช่อง, DVB-T2 Antenna In และ Ethernet (LAN) In พร้อม Wi-Fi & Bluetooth 4.1 Built-in, ส่วนสายไฟยึดติดมาจาก โรงงาน ไม่สามารถถอดแบบ A1 ที่เป็นมาตรฐาน IEC
ที่พิเศษ คือ การคำนึงถึงโครงสร้างปิดบังซ่อนสายโดยเป็นแบบฝาครอบรวม 3 ชิ้น เพื่อความ เป็นระเบียบเรียบร้อยดูสะอาดตาที่ด้านหลังของทีวี โดยภายในมีโครงสร้างจับยึดสามารถ ร้อยสายสัญญาณทั้งหมดไปออกที่ฐานเพียงจุดเดียวไม่รกรุงรัง 

JUST TALK, A FUN WAY TO EXPLORE NEW WORLDS WITH ANDROID TV! 

อ้างอิงช่วงเวลาทดสอบ ระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งมาพร้อมกับ A8F ยังคง เป็น Android 7.0 Nougat ไม่ต่างจาก A1 หรือรุ่นอื่นๆ ของ Sony ที่วาง จหน่ายในปี 2017 ดังนั้น จุดเด่นจากความสามารถพื้นฐาน Android TV จึงเหมือนเดิม ทั้งในแง่ศักยภาพความยืดหยุ่น เมื่อเชื่อมต่อร่วมกับ Smartphone ผ่านฟีเจอร์ Chromecast Built-in อันโดดเด่น รวมไปถึง Miracast (Screen mirroring) และ Video & TV SideView จนวนแอพ มากมาย อันรวมไปถึงเกมหลากหลายเหนือกว่าระบบ Smart TV อื่นใด แถมยังเชื่อมต่อกับ PS4 Controller เพื่อใช้ควบคุมเกมต่างๆ ได้ถนัดมือยิ่งขึ้นด้วย 

หากถามว่ามีลูกเล่นอื่นใดที่เพิ่มเติมความโดดเด่นให้ A8F แตกต่าง จากรุ่นปี 2017? คตอบคงไม่พ้น “Google Assistance” ความสามารถ ที่เพิ่มขึ้น คือ ระบบฯ Android TV สามารถรับคสั่งเสียงที่มีความซับซ้อนขึ้น ถึงขั้นถ่ายทอดคสั่งต่อไปควบคุมอุปกรณ์ในระบบ Smart Home Devices ได้หลากหลาย (2) 

Google Home Speaker อุปกรณ์เสริมชิ้นสำคัญสำหรับระบบ Google Assistance ที่ติดตั้ง มาพร้อมกับ A8F สามารถใช้โต้ตอบรับคำสั่งเสียงขั้นสูง เพื่อควบคุมอุปกรณ์ Smart Home Devices ที่มีความซับซ้อนได้ 

การสั่งงาน A8F ด้วยเสียงสามารถดำเนินการผ่านรีโมตคอนโทรล ที่มีไมโครโฟนฝังมาในตัวดังเช่นที่คุ้นเคยกันมาก่อนหน้านี้ รองรับการค้นหา (Search) ด้วยคำพูด หรือสั่งเปิดใช้งานแอพความบันเทิงต่างๆ ที่ติดตั้งกับ ทีวี อย่างไรก็ดี การโต้ตอบรับคำสั่งเสียงเพื่อใช้ควบคุมสั่งการอุปกรณ์ Smart Home Devices อื่นๆ ที่มีความซับซ้อน แนะนำว่าควรมีอุปกรณ์เสริม อย่าง Google Home Speaker จะทำได้สะดวกและมีศักยภาพที่ดีกว่า 

คุณภาพของภาพ 

ในรุ่นนี้ Sony ยังคงเลือกใช้ 4K WRGB OLED Panel เช่นเดียวกับ A1 รวมไปถึงส่วนประกอบสคัญอย่างชิพประมวลผล X1 Extreme จึงไม่แปลก ที่ศักยภาพด้านภาพแทบจะเหมือนกับรุ่น A1 พิสูจน์ได้ด้วยผล Lab Test 

โหมดภาพโรงงาน เมื่อรับชม SDR Content เหมือนกับ A1 ทุกประการ เช่นเดียวกับผลลัพธ์ก็เรียกว่าใกล้เคียงจนแทบแยกไม่ออก แต่ถึงกระนั้น Sony ได้ทการเพิ่มเติมอีกหนึ่งตัวเลือกโหมดภาพให้กับรุ่นใหม่ 65A8F โดยตั้งชื่อ เรียกว่า “Dolby Vision” (3) 

โหมดภาพที่สามารถใช้อ้างอิงในแง่ความถูกต้องของสีสันที่ใกล้เคียง มาตรฐานอุตสาหกรรมภาพยนตร์ (SDR) มีอยู่หลายโหมด ทั้ง Cinema Pro, Cinema Home ฯลฯ ไปจนถึง Game และ Graphics (2 โหมดนี้ เหมาะใช้ งานเมื่อเชื่อมต่อ Game Console หรือ PC) (4) โดยอุณหภูมิสีวัดได้อยู่ที่ราว 6400K ในหลายๆ โหมดภาพ อันเป็นผลจากตัวเลือก Color Temperature = Expert1 

ผลการทดสอบโหมดภาพ Cinema Pro เมื่อรับชม SDR Content เปรียบเทียบระหว่างก่อน (Pre) และหลังปรับภาพ (Post Calibration) ซึ่งผลลัพธ์หลังดำเนินการให้ความเที่ยงตรงดี ตามมาตรฐาน Sony

Expert1 ให้ดุลสีติดอมเขียวเล็กน้อย แต่ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีใกล้เคียง มาตรฐาน D65 และหากจะนำไปใช้อ้างอิงกับงานที่จริงจังอย่าง Photo Processing หรือ Video Editing สามารถคาลิเบรตสีเพิ่มเติมผ่าน 2P/10P White Balance ได้ ผลลัพธ์เข้าใกล้เพอร์เฟกต์มากยิ่งขึ้น 

ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทำการไฟน์จูนในส่วนของ Color Management System เช่นเคย ทว่าด้วยความเชี่ยวชาญของวิศวกร Sony หากทำการ ไฟน์จูนค่าภาพในจุดอื่นจนเที่ยงตรงดีแล้ว ผลลัพธ์จะส่งผลให้ CMS ดีขึ้น ตามไปด้วยครับ ซึ่งขอบเขตสี (Color Space) ของ 65A8F ขณะรับชม SDR Content จะทำได้ครอบคลุม 96.6% (Pre) – 99.9% (Post) เมื่ออิงมาตรฐาน Rec.709/sRGB 

อีกหนึ่งความยอดเยี่ยมของชิพประมวลผล X1 Extreme คือ “ภาพเคลื่อนไหว” ที่ทำได้ไหลลื่นเป็นธรรมชาติดีมาก และกรณีที่ต้องการ แทรกเฟรมเพิ่ม สามารถดำเนินการผ่านตัวเลือก Motionflow โดยระดับ True Cinema ดูเป็นธรรมชาติใกล้เคียงต้นฉบับ แต่หากต้องการความ ไหลลื่นเพิ่มมากขึ้น Standard ก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีเช่นเดียวกัน (artifacts น้อยมากสำหรับปริมาณการแทรกเฟรมเพิ่มระดับนี้) 

มาดูศักยภาพด้านการแสดงผล HDR Content ของ A8F ดูบ้าง หากอ้างอิงช่วงที่ทำการทดสอบ (พ.ค. 2018) รุ่นนี้รองรับ HDR10 และ HLG แต่ยังไม่รองรับ Dolby Vision โดยทาง Sony เคลมว่าจะให้อัพเดตเฟิร์มแวร์ ให้รองรับเร็วๆ นี้ 

โหมดภาพที่แนะนำสำหรับการรับชมภาพยนตร์ HDR หากอิงเรื่องของ ความบิดเบือนผิดเพี้ยนของสีสันที่ต่ำที่สุด ยังคงเป็น Cinema Pro หรือ Cinema Home เช่นเคย ดุลสีติดอมเขียวนิดๆ เหมือนเวลารับชม SDR แต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ในส่วนของระดับความสว่าง (HDR Peak Brightness; 10% Window) ของทั้ง 2 โหมดนี้ วัดได้ราว 730 nits (ต่ำกว่า Vivid เพียงเล็กน้อย ที่ 752 nits แต่ให้สมดุลสีดีกว่า) ที่พิเศษเห็นจะเป็นขอบเขตสี ที่ทำได้กว้างขวางทำลายสถิติรุ่นปี 2017 โดยทำได้ครอบคลุม 99.6% DCI-P3 เลยทีเดียว (หย่อน 100 ไปนิดเดียวเท่านั้น) ผลลัพธ์ในจุดนี้ หาก Sony จะส่ง A8F ไปสอบเทียบก็คงผ่านมาตรฐาน “Ultra HD Premium” ได้สบาย ไม่เป็นที่กังขาใดๆ 

ผล Lab Test จาก HDR Picture Modes ข้างต้น ยังทำให้พบว่ารุ่นใหม่ A8F มีศักยภาพที่สูงกว่า A1 (5) ทั้งความสว่างและขอบเขตสี ถึงแม้การใช้งาน จริงมีความแตกต่างจากภาพที่เห็นไม่มากนักก็ตาม 

การสังเกตว่าขณะนี้ 65A8F กำลังแสดงผล HDR อยู่หรือไม่ สามารถดูได้จากสัญลักษณ์ HDR ที่หน้าเมนู Picture ตรงมุมขวาบนครับ 
ผลการทดสอบขอบเขตสี (Pre Color Space) ในโหมด HDR ของ 65A8F พบว่าสามารถทำลายสถิติ 4K/UHD HDR TV ที่ออกมาก่อนในปี 2017 ทุกรุ่น โดยทำได้ครอบคลุมถึง 99.6% DCI-P3
ผลการทดสอบโหมดภาพ Cinema Home เมื่อรับชม HDR10 Content เปรียบเทียบระหว่างก่อน (Pre) และหลังปรับภาพ (Post Calibration) ทั้งนี้หากดำเนินการปรับภาพในโหมดการรับชม แบบ SDR แล้ว จะส่งอานิสงส์ให้ดุลสีในโหมด HDR เที่ยงตรงขึ้นด้วย (ในโหมดภาพเดียวกัน จะอิง White Balance ค่าเดียวกัน) 

คุณภาพเสียง 

Acoustic Surface จากรุ่น A1 ถือเป็นนวัตกรรมทีวีของ Sony ที่สร้างเสียงฮือฮาแก่วงการเป็นอย่างมาก ถัดจากเรื่องของรูปลักษณ์ที่สะดุดตา และบัดนี้เทคโนโลยีด้านเสียงดังกล่าวได้ถูกถ่ายทอดมายังรุ่น A8F เช่นเดียวกัน 

Acoustic Surface ของ A8F ไม่ได้ลอกรุ่นพี่ A1 มาตรงๆ ทว่ามีการ ปรับปรุงบางจุด การติดตั้งอุปกรณ์กเนิดเสียงผ่านแรงสั่นสะเทือนที่เรียกว่า Actuator จนวนฝั่งละ 2 ชุดเท่าเดิม ทว่าปรับเปลี่ยน Bass woofer ที่ติดตั้งอยู่ด้านหลังจอภาพให้มีขนาดที่เล็กลง แต่เพิ่มจนวนเป็น 2 ชุด พร้อมท่อจูนเบส (Bass-reflex) แบบคู่ 

จากการทดสอบพบว่า ในแง่ของปริมาณและความลึกของเสียงความถี่ต่ำอาจจะเป็นรองรุ่น A1 อยู่เล็กน้อย ทว่าเสียงเบสของรุ่น A8F มีความกระชับ ฉับไวกว่า จึงให้ความกลมกลืนจากการตอบสนองที่รวดเร็วเท่าทันเสียงกลาง แหลมของ Actuator ได้ดีกว่า นอกจากนี้ การเซ็ตอัพในหลายๆ สภาพ การติดตั้งก็พบว่า ลดโอกาสเกิดปัญหาเบสบวมได้ดีขึ้นด้วย ในบางสถานการณ์ จึงพบว่าให้เสียงที่ชัดเจนขึ้น เพราะไม่มีปริมาณเบสส่วนเกินที่ก่อให้เกิด ความคลุมเครือ แนะนให้ลองเล่นกับตัวเลือก TV Position ในเมนู Settings เพื่อจูนปริมาณเสียงเบสเพิ่มเติมดูด้วยครับ 

คงไม่เป็นที่กังขาในเรื่องของ “พัฒนาการ” ที่ทาง Sony ใส่มาให้กับ 4K/UHD HDR OLED TV รุ่นใหม่อย่าง A8F ได้อย่างโดดเด่น ในขณะที่ข่าวดี คือ ระดับราคาที่ต่ำกว่ารุ่น A1 เมื่อตอนเปิดตัว จึงถือเป็นหนึ่งทีวีตัวเต็งประจปี 2018 ที่ถ่ายทอดศักยภาพด้านภาพและเสียงได้อย่างยอดเยี่ยมเทียบเคียง ระดับรุ่นเรือธงในปี 2017 ทว่าสามารถเอื้อมถึงได้ง่ายยิ่งขึ้นครับ. VDP 

ราคา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 
จัดจำหน่ายโดย บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด 
โทร. 0-2715-6100

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 256