ธรรมนูญ

Up to date IDEA
เรื่องคาใจของ Ultra-Fi ที่คนนอกไม่มีวันรู้
“Audiophile’s Smart Music Storage and Stream go Roon ready” with NEW Melco EX Series

Covid ระบาดหนักทั่วโลก ในบ้านเราก็สาหัส ออกจากบ้านแต่ละครั้งถึงกับวิตกจริต Lockdown ตัวเอง WFH ดีที่สุด คงต้องใช้ชีวิตแบบ New Normal กันไปยาวๆคนเล่นเครื่องเสียงน่าจะปลอดภัยสูงสุด เพราะชอบปลีกวิเวกเก็บตัวรักษาระยะห่าง อยู่แต่ในห้องฟังไม่ต้อนรับใครสักปีสองปี 555

นักเล่นเครื่องเสียงไม่ว่าแนวใดจะใส่ใจในทุกรายละเอียด ส่องทุกอณูของอุปกรณ์ใน Hi-Fi chain
เรื่องแบบนี้คนนอกไม่มีวันรู้ …จะชี้เป้าให้ทราบ

บทความส่วนแรก เรื่องคาใจของ Ultra-Fi ไฮไลต์อยู่ที่ “Server หรือ คลังแสง” Weakest Link ที่หลายคนมองข้าม
Smart Storage ทุกวันนี้ก้าวหน้าไปไกล

ส่วนที่ 2 Melco + Roon ready ซึ่งอาจเป็น Solution ที่ตามหา

Audiophile/Videophile ยุคที่ยังเป็นนิตยสารมีคอลัมน์ชื่อ audiophile go digital หมายถึงนักเล่นเครื่องเสียงที่หันหัวมาเล่นไฟล์ ส่วนเครื่องเสียงแนวดิจิทัลออดิโอก็ประเภท File base ตั้งแต่สตรีมไฟล์ในเครื่องยัน Streaming service ส่วน Ultra-Fi นั้น ขยับขึ้นไปอีกขั้น พวกนี้เก็บทุกเม็ด เอ๊ย! ต้องเรียกว่าทุก “Bit” สินะ สั้นๆ Ultra-Fi ก็คือ “คนเล่นไฟล์สายบริสุทธิ์นิยม” ผู้แสวงหาความเป็นที่สุดเล่นเครื่องเสียงระดับ High End ขึ้นไปจนถึง Ultra Hi-End ราคาหลักล้าน

เรื่อง “ค้างคาใจ”

“ดีพอหรือยัง สุดหรือยัง ดีกว่านี้ได้หรือไม่” ความต้องการนี้ ทุกกลุ่มเหมือนกันหมด
“ไฟล์ที่มีอยู่ก็เยอะนะ ได้มาจากร้านค้าเป็น TB เชียว”
“ฟังกี่ชาติถึงจะฟังครบ จะฟัง Streaming service เพื่ออะไร เสียงสู้ CD ยังไม่ได้เลย”
“ไฟล์ที่มีอยู่เล่นได้บ้างไม่ได้บ้าง rip มายังไงแว้ มาไงก็ไม่รู้ ตกลงของแท้หรือเปล่าเนี่ย”
“มาอีกแล้ว DSD ดีกว่า PCM จู่ๆ ดันสู้ Tidal ยังไม่ได้เลย”
“นี่ก็มาอีกเสียง Stream เทพ Qobuz ดีซู้ดดดด”
“วังวนก็หวนกลับมา ให้แน่จริงก็ต้องซื้อ Qobuz download file สิ เสียงดีกว่า Qobuz Stream”
“เจาะลงไปอีกว่า ไฟล์จาก Online Store ค่ายไหนเสียงดีกว่า”
บลาๆๆ แล้วจะจบตรงไหน 555

แคบลงมา งั้นก็ต้องโฟกัสที่ไฟล์สิ

>>ไฟล์แท้ดีน่ะดีแน่นอน แต่เก็บดีแค่ไหน จะปลอดภัยมั้ย กลัวนักก็ Back up ไว้สิ จะจบแค่นี้เหรอ
>>เคยเอะใจบ้างมั้ยว่า Storage ส่งผลต่อคุณภาพเสียงอย่างมาก
>>แหม!! Vinyl มีตั้งหลายชนิดน้ำหนัก 120, 180, 200 แกรม แผ่นซีดีก็ยังมีคุณภาพที่ต่างกัน
>>ทำไม Sony SD Card ทำมาเพื่อ Audio Grade ราคาแพงลิบ ยังขายได้ แล้ว HDD หรือ SSD
จะให้คุณภาพเสียงต่างกันไม่ได้
>>HDD vs SDD >> Audio grade SSD ก็ย่อมมีความต่างเช่นกัน โอย!! เยอะ

ทว่า ไม่ต้องถึงกับวิตกจริตมากนักหรอก Media น่ะมีผลแน่ แต่อาจไม่มาก เมื่อเทียบกับการจัดการของ Storage (NAS) อันหมายถึง Hardware + Software ตรงนี้ต่างหากคือ key point

สรุป!! ยังไงก็ฟันธงว่า Storage เป็น Weakest link ที่เราจะโฟกัสกัน

“เสียงจะดีที่สุด เท่ากับจุดด้อยของระบบ”

วลีนี้ยังใช้ได้เสมอ นักเล่นเครื่องเสียงไม่ว่าแนวใดจึงใส่ใจในทุกรายละเอียด

เหล่า Audiophile นอกจากจะใส่ใจแอมป์, ลำโพง, เครื่องเล่น ยังลามไปถึงแผ่นซอฟต์แวร์ที่ Press ต่างกัน
มีห้องฟังแยกเอกเทศเพื่อฟังความแตกต่างของอุปกรณ์ ซึ่งรวมถึงสายไฟ, สายลำโพง, สายสัญญาณ
แล้วยังไหนจะเครื่องกรองไฟ, ปลั๊กราง, ชั้นวาง, ตัวรองประเภท Isolator สารพัด

กระทั่งฟิวส์ภายในเครื่องก็สามารถแยกแยะว่าให้เสียงต่างกันได้ จึงไม่แปลกที่จะถึงคิวของสาย LAN, Network Switch, PSU, Clock และอื่นๆ ซึ่งก็ไม่ใช่ “ITEM ลับ” อีกต่อไป เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อคุณภาพเสียงทั้งสิ้น แน่นอนว่าสำหรับคนเล่นไฟล์คงต้องรวม Storage และ NAS ให้อยู่ใน item ที่ต้อง “ส่อง” ด้วย ทว่าที่ผ่านมากลับมองข้ามกันไป

Download still alive!!

ไฟล์ Download ยังมีชีวิตอีกยาวนานมั้ย (อ้างอิงจาก RIAA Report)
Physical >> Streaming (File base) >> (Download & Cloud Services)
File download รุ่งเรืองในช่วงต้นของปี 2010 เป็นต้นมา ช่วงนั้น Streaming เหมาจ่ายเพิ่งจะเตาะแตะ แต่เมื่อ 5 ปีย้อนหลังมานี่ Digital Download แผ่วลง ถูกเบียดโดย Streaming Cloud Services สัดส่วนพอๆ กับสื่อดนตรีแบบฟิสิคัล อย่างไรก็ตามมั่นใจว่า Digital Download จะยังอยู่ แต่มีคนเล่นเฉพาะกลุ่มไม่ต่างอะไรกับไวนิล

“My Precious” – ของรักของหวง

นักเล่นเครื่องเสียงที่เล่นไฟล์เพลงมีของดีที่เป็นไฟล์ Hi-res (เน้น… จากแหล่งที่เชื่อถือได้) ถือเป็นที่สุดของตัวต้นทางเพื่อ File base player ซึ่งต้องยอมรับว่าคุณภาพเสียงเหนือกว่า Streaming Services

แน่นอนว่า สำหรับนักเล่น Ultra-Fi ก็คงมีการซื้อไฟล์ Hi-res เก็บไว้ไม่น้อย

ว่าแต่ว่า… รักเครื่องเสียงควรต้องเตรียม “เงินเดือน” ไว้จ่ายค่า Software ด้วยใช่มั้ย
จะใช่เหรอ… ซื้อเครื่องเล่นแพงๆ แต่ไม่อยากจ่ายเงินซื้อ Software (ไฟล์เพลง) อันที่จริง ที่ถูกต้อง
ต้องเห็นใจศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานมาให้ฟัง เพราะไฟล์เพลงที่ร้านค้า copy ให้นั้น ที่ชอบอาจมีไม่กี่ชุด
ที่เหลือจะกลายเป็นขยะ เพราะไม่รู้ที่มาที่ไป พฤติกรรมเช่นนี้เป็นเรื่องไม่ถูกต้องและผิดกฎหมาย อาจถูกฟ้องร้องได้
“อย่าไปทำ” เลยแนะนำให้ซื้อไฟล์เพลงจาก Online Store อย่าง HDTracks, Qobuz, nativeDSDmusic, e-Onkyo หรือ Linn

Record ถ้าไม่อยากจ่ายเยอะ ก็ยอมจ่ายค่าสมาชิก Tidal สักปีสองปี ก็น่าจะเหลือเฟือ

Japanese’s culture

คนญี่ปุ่นมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม ละเอียดอ่อน จะเก็บทุกอย่างไว้อย่างดี OBI หรือใบปิด ก็ยังเก็บเลย สินค้ามือสอง จากญี่ปุ่นนั้นซื้อได้เลย ยังเนี้ยบเสมอ แนวคิดเดียวกันเลย แม้แต่ Digital file ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น เรียกว่า “บริสุทธิ์นิยม” จะดีกว่า มิเพียงเพราะมีค่า การเก็บไฟล์ใน Audiophile Storage ที่มีการบริหารจัดการอย่างดีเยี่ยม เรียกว่า เริ่มจาก Foundation กันเลยทีเดียว “มิเพียงเพื่อความปลอดภัย แต่จะส่งผลต่อคุณภาพเสียง อย่างที่สุด” และนี่คือเหตุผลหลัก (Source First) ที่ไม่อาจปฎิเสธ คลังแสงไฮเอ็นด์จากญี่ปุ่นจึงยังแข็งแกร่ง และคงอยู่ แถมมีการพัฒนาต่อยอดไม่หยุดนิ่งเสียด้วย

คลังแสง?

Server ทำงานโดยอาศัย Hardware + Software ทำงานบนมาตรฐาน UPnP/DLNA
ปัจจุบันมีอยู่สองประเภทใหญ่ๆ คือ…

  1. Store and Share
    คอมพิวเตอร์ หรือ NAS จะทำตัวเป็น Storage ที่จัดการด้วย Twonky/ MinimServer เพื่อแชร์
  2. Store & Stream (Music Server/Player) – UPnP/DLNA
    ในอดีต Player Software ในกลุ่ม CAS (Computer as Source) เช่น iTunes หรือของฟรีอย่าง Foobar ส่วนที่ต้องจ่ายเงินก็มี Jriver, Audirvana+ หรือแม้กระทั่ง Roon ก็สามารถทั้งเล่นทั้งแชร์ได้ ซึ่งเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น ถือว่ายืนหนึ่ง ส่วน Melco ก็คือหนึ่งใน Hardware ที่สามารถทำหน้าที่ Store & Stream และเป็น Roon Ready ด้วย ซึ่งนาทีนี้แทบไม่มีใครที่ไม่รู้จัก แล้วทำไม Melco ไปเกี่ยวอะไรกับ Roon

ROON

แยกการทำงานเป็น 3 ส่วนประกอบกัน คือ…

  1. Roon Core* – Music Server & Music Player (ผนวก Tidal & Qobuz) เก็บ แชร์ได้ เล่นก็ได้ Any Platform
    & Anywhere Storage Managed แปลความว่าสามารถลงแอพพลิเคชั่นได้ในทุกแพลตฟอร์ม เช่น Windows,
    MAC, Linux รวมถึงมีโปรดักต์ของตัวเองที่เรียกว่า Roon Nucleus
    *สามารถจัดการไฟล์เพลงที่เก็บอยู่ที่ใดก็ได้ในวง LAN เดียวกัน โดยต่อ DAC ได้เลย
  2. Roon End Point (Audio Device) หมายถึงเครื่องเล่นที่ผนวกฟีเจอร์ที่กำลังฮอต “Roon-Ready”
  3. Roon Remote – Roon app (Control Point) ใช้ควบคุมแบบไร้สายบนสมาร์ทโฟน แท็บเลต หรือคอมพิวเตอร์

MELCO: Audiophile’s Smart Storage

MELCO (Maki Engineering Laboratory Company) เรียกตัวเองว่าเป็นผู้ผลิต True audiophile source components ในวงการเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ เป็นผู้ผลิตจากแดนอาทิตย์อุทัย ก่อตั้งเมื่อปี 1975 เปิดตัวเทิร์นเทเบิ้ลตัวแรกเมื่อปี 1980 ในอังกฤษ เรียกว่าอยู่ในสายอะนาล็อกมาก่อน ต่อมาสู่ยุค IT เฟื่องฟู แตกแขนงธุรกิจเพื่อผลิตคลังแสงและอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องและเชื่อมต่อ สำหรับ Network ประสิทธิภาพสูงที่ชื่อ Buffalo IT

ตั้งแต่ปี 2014 แยกแผนกมาเป็นสาย Audiophile เพื่อออกแบบสำหรับคนเล่นเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ประเภท File Base
ในยุค Streaming ครองโลก ซึ่ง IT กับ Hi-Fi แยกกันไม่ออก
จึงมีผลิตภัณฑ์ที่มากด้วยความสามารถออกมาเพื่อสนองความต้องการของตลาด Network Audio ที่เปิดกว้าง
ต่อมาได้แยกตัวเป็นเอกเทศเมื่อปี 2016 โดยใช้ชื่อว่า MELCO ออกแบบโดยใช้อุปกรณ์ Audio Grade

คุณภาพสูงสุด ไร้ซึ่งการประนีประนอม ทั้งยังประกอบด้วยมือโดยผู้ชำนาญการที่เรียกว่า Takumi (Master)
ในโรงงานของ MELCO ที่ Nagoya

MELCO: EX series

ประกอบด้วยพี่ใหญ่ รุ่น N1 EX , น้องรอง N10 EX และ N100 EX ที่ผ่านมาทาง Audiophile เคยรีวิวสินค้าในเซ็ตนี้ในซีรี่ส์ก่อนไปแล้ว ครั้งนี้จึงไม่นำเสนอแบบ full reviews นะครับ สามารถย้อนกลับไปหาอ่านได้ในเว็บไซต์ www.audiophile-videophile.com โดยครั้งนี้จะขออัพเดตฟังก์ชั่น Roon Ready เท่านั้น

Check-in

N1-EX

Front Display จะแสดงผลข้อมูลของ Meta data ที่จัดการโดย SongKong + Minimserver หรือ Twonkyซึ่งตั้งค่าได้

Controlled

นอกจากสวิตช์ปิด-เปิด, ก็มีปุ่มควบคุม 4 ปุ่ม จากซ้ายไปขวา คือ… Back (Home) > Menu & Select > Up-Down
> Back

ไฮไลต์อยู่ที่ขั้ว USB 2.0 ทำขึ้นพิเศษเพื่อ USB DAC ตัวเก่งของคุณ ส่วน USB ที่เหลือก็คือ USB 3.0 เพื่อโหลดข้อมูลจาก CD Loader อีกช่องก็เพื่อ Expansion และสุดท้ายสำหรับ Back Up

Key Features

Melco ออกแบบให้เป็น Smart Storage & Stream และมีฟังก์ชั่นที่ครอบคลุมทุกอย่าง ใช้ง่าย ไม่ชอบคอมพิวเตอร์ก็เล่นได้ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ได้หลายอย่างได้ในตัวเดียว ไมว่าจะ Store – Stream – GigaSW – Rip – Download- Back Up & Expand

Store-Share & Stream โดยใช้ Roon แล้วต่อเข้ากับ USB DAC ได้ตรงๆ ก็จะกลายเป็น Player ที่มีความสามารถเป็น Roon Endpoint ชั้นดีได้เลย

GIGA Dual Ethernet port ติดตั้งมาให้เพื่อแชร์ port ให้กับ Player แต่ถ้าไม่พอใช้งานก็สามารถซื้อ Melco S100 มาเพิ่มได้

ถ้า Add on Melco D100 (CD Loader) ก็สามารถ Rip หรือ Play แผ่นซีดีได้เลย

สามารถ Download ไฟล์ Hi-res จาก Online Store ได้ตรงๆ เช่น HIGHRESAUDIO, OTOTOY, e-onkyo music, mora เป็นต้น ยิ่งอยู่ในญี่ปุ่นจะสะดวกมาก

Expand & Back Up ถ้ากลัวว่าพื้นที่หน่วยความจำไม่พอ หรือหน่วยความจำภายในจะเสีย (โอกาสน้อยมาก) ก็ควรต้องเพิ่มตัวช่วย เช่น E100 ก็จะได้ทั้งเพิ่ม หรือ Back Up ข้อมูลไว้ ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ

Under the case

ควบคุม เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อคุณภาพ Sound Quality สูงสุด ไม่ว่าจะเล่นด้วย Player ใดๆ ด้วย Fanless Operation ใช้งานได้ยาวนานโดยไม่ต้องปิด ให้ความสงัด เสียงสะอาดเป็นธรรมชาติ ไร้หมอกควันเสียงเปิดมีไดนามิกส์ มีรายละเอียดดีที่สุด

Melco Intelligent Music Library (MIML)

N1 EX พิถีพิถันไร้ซึ่งการประนีประนอมในอุปกรณ์ทุกชิ้น ตั้งแต่ Chassis อะลูมินัมทั้งตัว มี 2 สี อุปกรณ์ภายในทุกตัวเป็น Audio Grade พร้อมภาคจ่ายไฟชั้นดี ทำงานอิสระ 2 ชุด และมี Capacitor Bank 2 ชุดหน่วยความจำที่ติดตั้งมาคือ Selected Audio graded SSD 4TB และ HDD 5TBแถมด้วย GIGABIT Dual Ethernet Ports ชั้นดี ตรงนี้ก็ประหยัดค่า Audiophile Switch + PSU ไปได้แล้ว เฉพาะ

Network Switch + PSU ก็หลายหมื่นแล้วนะ

Format Support

N1 EX และ N100 EX รองรับไฟล์ทุกฟอร์แมต รองรับไฟล์ Hi-res ในทุกตระกูล ตั้งแต่ PCM จนถึง DXD, DSD11.3 (Octo DSD) เล่นได้ sampling rate เท่าที่ความสามารถของ DAC จะไปได้ถึง

go Roon-Ready

เมื่อกระแส Music Streaming มาแรงซะขนาดนั้น ลูกค้า Melco ก็เล่น Roon จู่ๆ Melco ก็ปรับกระบวนยุทธ์ โดยเพิ่มความสามารถของผลิตภัณฑ์ Smart Music Store & Stream ด้วย Hardware & Software ที่ดีเยี่ยมผนวกประสิทธิภาพของ Roon พันธมิตรที่แข็งแกร่ง ทำให้ Melco อยู่ในหนึ่งของสมาชิก Roon-Ready เป็น RAAT (Roon Advance Audio Transport) กลายร่างเป็น Roon End Point โดยสมบูรณ์ แหล่มมะ..

Then

ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพที่มีอยู่เดิมให้กับผลิตภัณฑ์ ประโยชน์จะตกอยู่กับ Melco user ใครที่ใช้ USB DAC ค่าตัวหลายแสนเสียบตรงกับ Roon Core ไม่ว่าจากแพลตฟอร์มใดๆ ส่วนใหญ่ก็มักมีค่าตัวหลักหมื่นทั้งสิ้น เมื่อย้ายไปเสียบจาก Melco ซึ่งทำหน้าที่ Roon Endpoint ดังนั้น DAC ตัวนั้นก็จะถูกเลื่อนชั้นไปเสียบจาก RAAT เป็นราคาเรือนแสนกันเลยทีเดียว ค่อยสมศักดิ์ศรีหน่อยโดยที่เจ้าของ Melco รุ่นก่อนหน้านี้ยังสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้วยการอัพเดต Firmware เวอร์ชั่น 4.10 ทางออนไลน์ กลายร่างไปเป็น Roon Ready ได้เช่นกัน

แล้วทำไม? ไม่อัพเกรดเป็น Roon Core เสียเลย !!

มีคำตอบที่มีเหตุผลประกอบดังนี้ การที่จะทำตัวเป็น Roon Core ต้องเพิ่ม Hardware และการทำงานของมัน ถ้าจัดการไม่ดีอาจก่อปัญหาได้ อุตส่าห์วิจัยพัฒนาออกมาได้หมดจดขนาดนี้ จะมาสร้างปัญหาทำไม รนหาที่เปล่าๆ อีกอย่างไม่อยากขัดแย้งกับ Roon ด้วย สู้เป็นพันธมิตรดีกว่า ทางใครทางมันดีที่สุด ข้อสำคัญ Melco ไม่ต้องการสร้างความสับสนให้กับการตลาดผลิตภัณฑ์ของตัวเอง

How to

ทริคที่คนเล่นไฟล์ทราบกันดี คลังแสงควรอยู่ใกล้เครื่องเสียงมากที่สุด เพื่อที่จะสามารถใช้อุปกรณ์ Item ที่ไม่ลับ
“สาย LAN, Network Switch ดีๆ” นั้น ยังใช้ได้เสมอ จริงอยู่ว่าตราบใดที่อยู่ในวงเน็ตเวิร์กเดียวกันก็จะเล่นได้เสมอ
แต่ผลอาจไม่เท่ากัน

ไม่ว่าคุณจะใช้ Roon Core ตัวใดๆ อุปกรณ์ทุกตัวจะต้องอยู่บนเน็ตเวิร์กวงเดียวกัน ต่อด้วยสาย LAN จากนั้นก็ต่อ
>>Melco N1 EX กับ USB DAC และแอมป์ ในที่นี้ผมใช้อินทิเกรตแอมป์ แค่นี้จบ

อ้อๆ มีทริคง่ายๆ ควรจะย้ายไฟล์สุดรักสุดหวงทั้งหมดไปไว้ในหน่วยความจำของ Melco แล้วต้องไม่ลืมว่า Roon
สามารถจัดการบริหารไฟล์ที่ใดก็ได้ในวงเน็ตเวิร์กเดียวกัน ก็ให้ Roon บริหารจัดการไฟล์บน Melco ก็ทำง่ายๆ
โดย add Library ของ Roon ตามวิธีด้านล่างนี้

Setting

  1. Store ข้อมูลบน Melco ใช้ User/Password >> nobody>>nobody พยายามไม่สร้าง sub folder
    ซับซ้อนเกินไปนัก
  2. Roon Core Setting >> Storage >> add folder (Network Share \host\share )
  3. Melco Setting >> USB >> Controller Mode >> ‘ROON ready’ เมื่อตั้งค่าตรงนี้แล้ว แอพ MELCO Music
    HD จะไม่สามารถเล่นได้ อย่าได้แปลกใจนะครับ

(เมื่อเลือกการใช้งาน Roon Ready แล้ว UPnP/DLNA จะใช้ไม่ได้)

Result

Melco คลังแสงฉลาดตัวนี้กลายเป็น RAAT (Roon Advance Audio Transport) ชั้นดีไปทันที อานิสงส์ของการจัดการป้องกันปัญหาในทุกมิติ ได้เสียงเนื้อแท้จาก DAC ตัวเก่งของคุณ

Roon Core จัดการเล่นไฟล์ใน Melco ส่งสัญญานเสียงให้ DAC ตัวเก่ง Weiss Medea+ DSD ได้ขับขานเต็มประสิทธิภาพของมัน สบายใจไปสิ

แอพ MELCO MUSIC HD แม้ใช้งานค่อนข้างสะดวก แต่เสียงและความสะดวกสบายยังห่าง Roon เยอะจะไม่กลับไปใช้อีกเลย

Who เพื่อใคร?

ใครก็ตามที่มีไฟล์ “ของดี ราคาสูง มากกว่า 200-300 อัลบั้มขึ้นไป แต่ยังเก็บแบบบ้านๆ” สมควรต้องถอย Melco มาเก็บของรักของหวง ค่าตัวกับมูลค่า Content เทียบกันไม่ได้เลย จ่ายน้อยกว่าสายไฟหนึ่งเส้นเสียด้วยซ้ำ

เจ้าของ USB DAC ค่าตัวแรง แต่ยังเสียบ USB ตรงๆ จาก Roon Core อยากให้ลองเปลี่ยนมาเล่นวิธีนี้

Melco user บางท่านอาจไม่เคยเล่น Roon หรือแม้บางท่านใช้ Roon อยู่แล้ว แต่ไม่เคยใช้วิธีนี้ จะเป็นอีกทางเลือกที่เสมือนเล่นผ่าน Network Bridge ชั้นดีเลยทีเดียว ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมา บอกเลยว่าให้ความแตกต่างแน่นอน

Wrap Up

จัดการเรื่องคาใจที่ต้นตออย่างชาญฉลาดด้วยการผนวกศาสตร์และศิลป์ ส่งผลโดยรวมอย่างดีเยี่ยม “น้อยแต่มาก” จบในชิ้นเดียว ขจัดเรื่องคาใจในกลุ่ม Ultra-Fi แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ชนิดไม่ต้อง “เอ๊ะ” ลืมอะไรไปอีกมั้ยทำงานเงียบกริบ ให้ประสิทธิภาพสูงสุด แม่นยำ เที่ยงตรง รูปลักษณ์ไฮเอ็นด์
เข้าพวกกับเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ตัวอื่นอย่างไม่เคอะเขิน

***Extreme (Store – Share & Stream >> Roon -GIGA sw- Rip&Play – Download-Expand)
Keywords ที่ต้องจำไว้
“It’s not a Miracles out of nowhere”


ไม่ใช่เรื่องฟลุค เกิดจากประสบการณ์ในแวดวงไฮเอ็นด์ และพื้นฐานแนวคิด “บริสุทธ์นิยม” แบบญี่ปุ่น จึงเกิดเป็น
Melco Intelligent Music Library คุณสมบัติล้ำๆ ที่ไร้คู่แข่ง ให้คุณได้เปิดประสบการณ์กับ Roon Advance Audi
Transport บน Melco ที่การเล่น Digital Stream “จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป”
มิเพียงเพื่อเก็บ แต่ทำหน้าที่ Music store & Stream ได้อย่างมีระดับ
หาใช่ Nobody สำหรับ Melco N1 EX แต่จะเป็น Somebody ในหมู่ Ultra-Fi ทันที. ADP

Melco EX Series ราคา 89,000 – 400,000 บาท (ขึ้นอยู่กับ option ที่เลือก)
นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย Livingsound
โทร. 081-852-1771