ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว

ได้เวลากลับมาเล่าเรื่อง Blue Note ต่อ หลังจากเฉไฉไปเขียนเรื่องอื่นเสียบ้าง 

นักสะสมแผ่นเสียง Blue Note ส่วนมาก มักสนใจสะสมแผ่นออริจินั่ลของอัลบั้มในช่วง 1500 Series (มีทั้งหมด 99 แผ่น) ซึ่งถือเป็ นอัลบั้มในตำนานของวงการเพลงแจ๊ส และมีราคาแพงมากในปัจจุบัน และช่วง 4000 Series อีกประมาณร้ อยกว่าอัลบั้ม (ที่นิยมสะสมกันจริงๆ ในซีรีส์นี้ ผมคิดว่ามีประมาณร้อยต้นๆ จากทั้งหมดประมาณ 435 อัลบั้ม) โดยบางท่านอาจถอยไปสะสมแผ่น 10 นิ้วในช่วง 5000 Series อีกด้วย (เรียกว่า “The Modern Jazz Series” มีทั้งสิ้น 70 อัลบั้ม) เพราะ Artwork ของปกในชุดนี้สวยงามและ Unique และแผ่นสภาพดีก็หายากมาก เพราะสมัยโน้นพิมพ์มาไม่กี่ร้อยแผ่นต่อชุด (อย่างมากก็หลักพัน) แม้เพลงส่วนใหญ่ในชุดนี้จะถูกรวมมาไว้ใน 1500 Series แล้วตั้งแต่ Blue Note เริ่มออกซีรีส์นี้ในปี 1956 หรือ พ.ศ. 2499 พ้องกับยุค “โก๋หลังวัง” ที่เพลงร็อกแอนด์โรลกำลังรุ่งเรืองในกรุงเทพฯ 

เท่าที่ผมสังเกตจากการนำอัลบั้มเก่ามาทำขายใหม่ (Re-issue) ทั้งในรูปแผ่นเสียง เทปคาสเซ็ตต์ แผ่นซีดี ดาวน์โหลด และสตรีมมิ่งนั้น พบว่าอัลบั้มในชุด 1500 Series ได้ รับการนำมาทำใหม่บ่อยที่สุด รองลงมาคืออัลบั้มลำดับต้นๆ นับจากหมายเลข BLP 4000 ไปอีกประมาณร้ อยกว่าชุดใน 4000 Series โดยอัลบั้มในชุด 5000 Series ก็ได้รับความนิยม นำมาทำใหม่บ้างเหมือนกันเพียงบางอัลบั้ม ยกเว้นแต่ในญี่ปุ่นที่นำมาทำใหม่จนครบ และทำหลายรอบ หลายเวอร์ชันด้วย (ทำใหม่ทั้งแบบ 10 นิ้ว 12 นิ้ว และแบบหมุนเร็ว Speed 45RPM หรือรวม 10 นิ้ว สองอัลบั้มเป็น 12 นิ้วอัลบั้มเดียว ตลอดจนเพิ่มเพลงที่ค้นพบใหม่จากเทปรีลดั้งเดิมที่เรียกว่า Unissued Version ด้วย) 

ทว่า Blue Note ยังมีอีกซีรี่ส์หนึ่งที่น่าสะสม คือ 7000 Series (บางทีก็เรียกว่า Dixieland 7000 Series) เพราะนอกจาก Artwork ของปก หน้าจะสวยงามเข้าชุดกันแล้ว บทเพลงที่บันทึกอยู่ในร่องเสียงสมัยนั้นก็สวยงามและหาฟังยากด้วย มันเป็นบทเพลงแจ๊สในยุคก่อนบีบ็อพและฮาร์ดบ็อพ 

เพลงฮิตในยุคนี้คือ Summertime ที่บรรเลง โดย Sidney Bechet ถือเป็นเพลงฮิตเพลงแรกที่ขายได้เป็นประวัติการณ์ของ Blue Note ส่งผลให้ Sidney Bechet กลายเป็นศิลปินเอกประจำค่าย Blue Note ต่อมาอีกถึง 12 ปี 

ท่านผู้อ่านลองหา Summertime ในเวอร์ชันนี้มาฟังดูก่อน ถ้าชอบก็ค่อยหาแผ่นยุคนั้นมาสะสม 

The SP Days ยุคแผ่นครั่ง 

Blue Note ก็เหมือนกับค่ายเพลงอื่นๆ ที่เริ่มจากการอัดแผ่นครั่งขนาด 12 นิ้ว สปีด 78 (คือหมุน 78 รอบต่อนาที) แล้วก็พัฒนามาเป็ น แผ่นสปีด 33 (คือหมุน 100 รอบต่อ 3 นาที) โดยเริ่มจากแผ่น 10 นิ้วก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนมาเป็ น 12 นิ้ว อย่างในปัจจุบัน 

แผ่นเสียงแผ่นแรกของ Blue Note เป็น แผ่นครั่ง 12 นิ้ว สปีด 78 ของนักเปียโนแจ๊ส ที่ชื่อ Mede Lux Luwis บรรจุเพลง Melancholy และ Solitude รหัส BN 1 ออกเมื่อปี พ.ศ. 2482 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 โดยหลังจากนั้น Blue Note ก็ออก Series BN จนถึง BN 53 (ทั้งหมด 51 แผ่น เพราะ BN 51 และ BN 52 ไม่ทำออกขาย) เพลงในยุคนี้ ของ Blue Note ส่วนใหญ่เป็นเพลงสวิงตามเทรนด์ของยุคสมัย (ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ครั้งยังทรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอฯ ได้เริ่มสนพระทัยในเพลงแจ๊สซึ่งก็คือเพลงสวิงและ Dixieland ในยุคนั้นนั่นเอง) 

ศิลปินคนสำคัญของค่ายที่เรารู้จักดี ก็มีเช่น Meade Lux Lewis, Sidney Bechet, Albert Ammons, Pete Johnson, James P. Johnson, Edmond Hall, Art Hodes, Ike Quebec, และ Benny Mortons เป็นต้นแผ่นเสียงยุคนี้สงสัยว่าจะออกขายโดยไม่ได้พิมพ์ปก เพราะเท่าที่เห็นตกทอดมา จนถึงปัจจุบันก็ไม่เคยเห็นว่ามีปกเหลืออยู่เลย หรือไม่ก็อาจชำรุดผุพังไปแล้วตามกาลเวลา ผู้อ่านท่านใดที่ เคยเห็นว่ามันมีปกหรือมีอยู่ในครอบครอง โปรดแจ้งให้ทราบก็จะเป็นพระคุณมากครับจะได้ ถ่ายรูปมาตีพิมพ์ไว้ ให้เป็นคุณูปการต่อคนรุ่นหลังสืบไป 

ในช่วงไล่เลี่ยกันนั้นเอง Blue Note ก็ออก แผ่นครั่ง Series 10 นิ้ว โดยใช้รหัสเลข 3 ตัวนำหน้า เริ่มตั้งแต่ BN 501 ของ Frank Newton Quintet และ J.C. Higginbotham Quintet และไปจบที่ BN 573 (Sidney Bechet’s Blue Note Jazzmen) แล้วก็ข้ามไปใช้ รหัสเลข 4 ตัวอีก 3 แผ่น โดยเริ่มที่ BN 1201 – BN 1203 แล้วก็ข้ามไปอีกทีที่ BN 1564 ไล่เรียงไปจนถึง BN 1629 แล้วก็ยังมี SP 1200 Series อีก 3 แผ่น คือ BN 1201 จนถึง BN 1203 เป็นเพลงของ Thelonious Monk และ Clyde Bernhardt 

แผ่นเสียงยุคนี้ บางชุดออกจำหน่ายในรูป “อัลบั้ม” มีลักษณะสมุดปกแข็งสวยงาม ข้างในบรรจุแผ่นเสียงเป็นชุดๆ ประมาณ 3 แผ่นถึง 5 แผ่น แล้วแต่ผลงานของศิลปินแต่ละคน 

ยุคหลังของแผ่นครั่งนี้เอง ที่ศิลปินซึ่งต่อมากลายเป็นคนสำคัญอย่าง Bud Powell, James Moody, Tadd Dameron, Thelonious Monk, Howard McGhee, Wynton Kelly, Gil Melle, Dizzy Gillespie, Lou Donaldson, Art Blakey, และ Miles Davis ได้เข้ามาบันทึกเสียงกับ Blue Note โดยเริ่มเนื้อหาและจังหวะแบบ Bebop และ Hard Bop 

ยุคแผ่นครั่งของ Blue Note นั้น กินเวลาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2482 จนถึง 2495 นักสะสมแผ่นเสียงเรียก ยุคนี้ของ Blue Note ว่า “The SP days” และเรียก แผ่น Blue Note กลุ่มนี้ว่า “SP Collection” แผ่นยุคนี้ หาสภาพดียากมาก แม้ราคาเฉลี่ยในตลาดของสะสม ปัจจุบันยังไม่แพงมากเท่าแผ่น LP ยุคหลังก็ตาม 

“ปกยุคแรกของ 7000 Series ฝีมือ Paul Bacon,
John Hermensader และ Martin Craig”

แผ่น BN-1 นับเป็นแผ่นที่นักสะสมหากันมาก เพราะเป็ นแผ่นแรกในประวัติศาสตร์ ของ BLUE NOTE แผ่นล็อตแรกของหมายเลขนี้ เท่าที่ ผมเคย เห็นมี อยู่สามแบบด้ วยกั นแบบแรกบน Label จะเป็ น สีชมพู/ดำซึ่งเป็น Label ยุคแรกสุดของ Blue Note และหายากมากๆ ต่อมาจะเป็นเหลือง/น้ำเงิน ส่วนแบบหลังเป็นสีขาว/น้ำเงิน ในแบบที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบันผมไม่แน่ใจว่าสองอันหลังนี้ อันไหนมาก่อนมาหลัง แต่นักสะสมก็นิยมเก็บด้วยกันทั้งคู่

นอกจากนั้นก็มี บรรดาแผ่นของศิลปิน Hard Bop นั่นแหละ ที่นิยมเก็บกันแต่ที่หากันมากก็เห็นจะมีชุดสมุด “อัลบั้ม” ทั้งหมด 5 อัลบั้มด้วยกัน คือของ Sidney Bechet, Ike Quebec, John Hardee, Art Hodes และ Hot Jazz at Blue Note ซึ่งจัดทำมาอย่างประณีตงดงาม ตั้งแต่ปกหน้าจนถึงปกหลัง 

แผ่นเสียงสะสมในยุคนี้ ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องการดูตำหนิ เพราะเข้าใจว่าไม่เคยมีการ Re-issue เหมื อนแผ่น Vinyl ยุคหลังจากนี้ ของ Blue Note ดังนั้น แผ่นครั่งทั้งหมดที่ยังคงเหลือ อยู่ในตลาดนักสะสมปัจจุบันจึงเป็นแผ่น “พิมพ์เดิม” ทั้งสิ้นไม่ต้องเสียเวลามาดูตำหนิอื่น เช่น บ้านเลขที่ (Address) บน Label แผ่นเสียง หรือตำหนิอื่นที่สลักลงบน Dead Wax เพื่อเอามา “ยัน” กัน ว่าแผ่นไหนมาก่อน มาหลังเหมือนกับแผ่นยุคต่อมา 

“แผ่นเสียงแผ่นแรกของ BLUE NOTE พิมพ์ปั๊มแรกเพียง 50 แผ่น โดยมีตราแรกเป็นสีชมพู/ดำต่อมามีการพิมพ์ซ้ำจึงเปลี่ยนสีตราเป็นเหลือง/น้ำเงิน แล้วค่อยเปลี่ยนมาเป็นสี ขาว/น้ำเงิน ดังเช่นที่ใช้ในปัจจุบัน 

Dixieland 7000 Series 

Blue Note เริ่มออกแผ่น LP ขนาด 10 นิ้ว ปั๊มด้วยไวนิลครั้งแรกด้วยอัลบั้ม Sidney Bechet with Wild Bill Davison (หมายเลข BLP 7001) เมื่อปี 1951 นับเป็นการประเดิม 7000 Series ที่ออกต่อเนื่องมาอีกประมาณ 3 ปี รวมแล้ว 29 แผ่น (หมายเลข BLP 7001 – BLP 7030 เว้นหมายเลข BLP 7030 ของ Sidney Bechet ชุด Olympia Concert, Paris 1954, Vol.2 ที่บันทึกเสียงเรียบร้อย แล้วแต่ไม่ได้ ทำเป็นแผ่นเสียงออกจำหน่าย) 

LP จากซีรีส์นี้ ส่วนมากเป็นการรวบรวมเพลงเก่าที่เคยบันทึกเสียงในรูปแผ่นครั่งนำมาออกใหม่ ในรูปแผ่นไวนิล แต่เพิ่มการออกแบบปกและพิมพ์ปกอย่างสวยงาม ทว่าก็มีหลายอัลบั้มที่ได้ ทำการบันทึกเสียงสำหรับ LP ชุดนี้ โดยเฉพาะ คือนับแต่ อัลบั้ม The Fabulous Sidney Bechet And His Hot Six With Sidney De Paris (BLP 7020) เป็นต้นมา (ยกเว้น 7021 และ 7023) ผู้อ่านที่สนใจรายละเอียดอัลบั้มในซีรีส์นี้ สามารถคลิกดู ได้ที่ลิงก์นี้ https://rateyourmusic.com/list/diction/ labels___blue_note___dixieland_7000_series/ 

ผมเองชอบแผ่นเสียงในซีรีส์นี้ เพราะปกของมันผมว่ามีเสน่ห์ โดยเฉพาะเมื่อนำมาวางเรียงกันเป็นกลุ่มๆ มันเป็นยุคที่ใช้ทั้งภาพถ่ายและกราฟฟิกผสมกันเช่นเดียวกับปกของ 5000 Series (ซึ่งผมจะกล่าวถึงในตอนอื่น) ที่ปกของมันมีความเป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนปกในช่วง 1500 Series ต่อเนื่องมาถึงยุคต้นของ 4000 Series ที่เน้นใช้รูปถ่ายศิลปินมาขึ้นปก 

“ตัวอย่างอัลบั้มแผ่นครั่งในยุคแรก พิมพ์ปกแข็งอย่างงาม พร้อมซองในใส่แผ่นเสียงชุดละ 3 – 5 แผ่น ทั้งหมดในชุดนี้เป็นแผ่นขนาด 10 นิ้ว”

ปกของ 29 อัลบั้มในยุคนี้ได้รับการออกแบบ โดยศิลปิน 3 ท่าน คือ Paul Bacon, John Hermensader, และ Martin Craig รูปถ่ายศิลปินบนปกทั้งหมดถ่ายโดย Francis Wolff หุ้นส่วนคนหนึ่งของ Blue Note Records ณ ขณะนั้น (ดูรูปปกแผ่นเสียงประกอบ) 

หมายเหตุ: ได้มีการปรึกษาหารือในหมู่มิตรสหายที่นิยมสะสมแผ่นเสียง Blue Note และได้ความว่า เราอาจจะร่วมกับนิตยสาร Audiophile และนิตยสาร Fine Art จัดงานเสวนาพูดคุย ว่าด้วยศิลปะบนปกแผ่นเสียง Blue Note เร็วๆ นี้ ซึ่งในงาน ท่านจะได้พบกับนักสะสม ชั้นแนวหน้าของไทย รวมถึงผู้รู้จริงในเรื่องแจ๊สและงานศิลปะแขนงต่างๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ และความคิดเห็นอย่างอิ่มเอม และหากมีผู้สนใจจำนวนพอสมควรแก่การขยายขอบเขตออกไป เราก็จะได้พิจารณาขยายวงไปสู่ศิลปะบนปกแผ่นเสียงค่ายอื่นๆ ต่อไป 

อย่าลืมว่า ศิลปินที่ร่วมออกแบบปกแผ่นเสียง Blue Note ตั้งแต่สมัยแรกและต่อมานั้น ล้วนเป็นศิลปินใหญ่ที่ต่อไปได้ มีชื่อเสียงขึ้นถึ งระดับโลกก็หลายคน ไม่ว่าจะเป็น Andy Warhol, Gil Melle, Reid Miles, Burt Goldblatt, Paul Bacon, John Hermensader, Francis Wolff เป็นต้น

“Alfred Lion (คนซ้ายสุด) และ Francis Wolff (คนขวาสุด) ถ่ายร่วมกับ Dextor Gordon ศิลปินคนสคัญของ Blue Note” 

ถ้าจะมีใครสักคนที่บ้าแจ๊สพอจะจับเรือจากบ้านเกิดข้ามทวีปไปนิวยอร์กในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 ของเรา โดยไม่มีญาติพี่น้อง งาน หรือที่พักพิงไว้ รองรับเรียกว่า ไปตายเอาดาบหน้าโดยแท้ยอมทำงานเป็นกุลีท่าเรือในตอนกลางวันพอตกเย็นก็นำเงินค่าจ้างรายวันไปซื้อตั๋วเข้าฟังแจ๊สตามคลับและคาเฟ่ แล้วค่อยหาที่หลับนอนในสวนสาธารณะ Central Park แบบหลบๆ ซ่อนๆ ยอมอนาถาเพื่อให้ได้ฟังแจ๊สที่ตัวเองคลั่งไคล้ ใหลหลง… เขาผู้นั้นย่อมต้องเป็น Alfred Lion 

ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2471 หรือ 1928 ชายหนุ่มชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่เพิ่งอายุย่าง 19 ปี ได้ ตัดสินใจทิ้งเบอร์ลินบ้านเกิด มุ่งสู่นิวยอร์ก เพื่อแสวงหาดนตรีแจ๊สที่เขาหลงใหลมาได้ สัก 3 ปีแล้ว เขารู้สึกว่าเบอร์ลิน ณ ขณะนั้น ยังหาแผ่นเสียงฟังยาก อย่าว่าแต่วงแจ๊สที่สามารถเล่นสดได้ดี 

ทว่า ความพยายามครั้งนั้นล้มเหลว หลังจากเขามาอยู่นิวยอร์กได้ไม่นาน และอาศัย Central Park เป็นที่หลับนอน ก็ถูกเล่นงานโดยคนงานท่าเรือด้วยกันเพราะคนเหล่านั้นคิดว่าเขามาแย่งงาน คนอเมริกันทำ… ฟังแล้วคุ้นๆ เหมือนสมัยนี้ สมัยของประธานาธิบดีทรัมป์ 

เขาต้องจำใจกลับบ้าน แต่ก็ได้ย้อนกลับมาใหม่ในอีกเกือบสิบปีข้างหน้า เพราะหลังจากนั้น 3 ปี เขากับแม่ต้องระเห็จออกจากเยอรมนีด้วยกลัวภัยนาซี โดยพวกเขามุ่งหน้าสู่อเมริกาใต้ ขายแรงงานหลายทาง เพื่อออมและหวังจะโยกย้าย มานิวยอร์กซึ่งก็สำเร็จในอีกหลายปีถัดมา 

“Ike Quebec ศิลปินที่มีความสคัญกับ Blue Note มากในระยะต้น เพราะเป็นผู้ชักนศิลปินแจ๊สชั้นยอด ทั้งหมดในวงการ มาให้รู้จัก กับ Alfred Lion และเป็นที่มาซึ่งแผ่นเสียงสคัญๆ ที่ตกทอดมาถึงนักสะสมรุ่นเรา (รูปนี้ถ่ายที่ห้องบันทึกเสียงของ Van Gelder ซึ่งถือเป็น Session แรกที่ Blue Note ย้ายมาบันทึกเสียงกับ RVG ซึ่งผมจะเขียนถึง ในคราวต่อไป” 

จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อเขาได้ไปฟังคอนเสิร์ตแจ๊สที่คาร์เนกีฮอล และได้ฟัง Albert Ammons กับ Meade Lux Lewis สวิงจนเขาประทับใจมาก เขาตัดสินใจชวนศิลปินทั้งคู่มาเข้าห้องอัด เมื่อเวลาบ่ายสองโมงของวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2482 จึงเป็นอันว่า Blue Note อุบัติขึ้น ณ บัดนั้น ด้วยดนตรีจาก Session นั้น ที่เขาสั่งปั๊มเป็นแผ่นครั่ง 78RPM ขนาด 12 นิ้ว จำนวน 2 แผ่น (BN 1 และ BN 2) ออกขายอย่างละ 50 ชุด และที่ต้องเป็นแผ่น 12 นิ้ว เพราะเขาปล่อยให้ศิลปิน ทั้งคู่ผลัดกันด้นโซโลยาวไปตามอารมณ์ (ตอนแรก กะว่าจะเป็นแผ่นขนาด 10 นิ้ว) โดยครั้งนั้น เขาได้จัดเตรียมอาหารและของว่างให้กับศิลปินด้วย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเป็นกันเองระหว่างทีมงาน กับศิลปิน ซึ่งกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อมาของ Blue Note Records 

เขาประกาศในใบปลิวโฆษณาขายแผ่นว่า Blue Note จะเป็นค่ายเพลง Hot Jazz ที่มีจุดยืนอย่างมั่นคงในการเน้นคุณค่าของเนื้อแท้แห่งดนตรี โดยตัวดนตรีเอง และจะเฟ้นหาศิลปินระดับคุณภาพ โดยไม่ขอไปตามกระแส และจะไม่มุ่งเอาผลประโยชน์ ในเชิงการค้าเป็ นหลักเด็ดขาด… แล้วเขาก็ยึดมั่นจุดนี้ได้ตลอดอาชีพของเขา ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ Blue Note รักษาคุณภาพได้อย่างมั่นคง จนได้รับยกย่องจากนักฟังทุกรุ่นกระทั่งบัดนี้ แม้ Blue Note จะเป็นเพียงค่ายเพลงอินดี้เล็กๆ ในวงการแจ๊สก็ตาม 

วิธีการของเขาได้ผลเกิดปากต่อปากในหมู่ผู้ฟังและนักวิจารณ์ ประเภทคุณภาพ ช่วยให้เขาขายแผ่นชุดแรกได้ จนต้องสั่งปั๊มเพิ่ม แม้จะในวงแคบ แต่ก็ล้วนเป็นผู้ฟังประเภทคุณภาพ เขาจึงตัดสินใจเดินหน้าต่อ (แม้ตอนนั้นเขายังทำงานประจำอื่นอยู่) ด้วยการเรียกบันทึกเสียงครั้งที่ สองในอีกสามเดือนต่อมา โดยนัดศิลปินคือวง Port of Harlem Jazzman มายังห้องอัดตอนตีสี่ครึ่ง เพราะอารมณ์สดๆ ยังต่อเนื่องมาจากคลับยังไม่ได้นอน และอีกสองเดือนต่อมา เขาก็อัดวงนี้อีกรอบ โดยจ้าง Sidney Bechet มาแจมด้วย ผลลัพธ์ คือ Summertime กลายเป็นเพลงฮิตติดตลาดขึ้นมาทันที ถือเป็นฮิตแรกของค่าย ส่งผลให้ Sidney Bechet กลายเป็ น ศิลปินหลักของ Blue Note ต่อมาอีก 12 ปี 

ปลายปีนั้น Francis Wolff เพื่อนสมัยเด็กของเขาได้หนีนาซีมานิวยอร์กด้วยคน และได้งานเป็นช่างภาพประจำร้านถ่ายรูป เลยมาร่วมทำBlue Note ด้วยกันตอนกลางคืน 

พวกเขาสองคนช่วยกันปลุกปั้น Blue Note ในช่วงตั้งไข่ จนสามารถเช่าออฟฟิศห้องเดียวเล็กๆ ได้ (ณ West 47st Street) กระทั่ง Alfred ถูกเกณฑ์เข้ากองทัพตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ธุรกิจจึงต้องพัก ระหว่างนั้นเขาได้สร้างงานแจ๊สแผ่นครั่ง ระดับคุณภาพไว้หลายชุด เช่นงานของ Earl Hines (ซึ่งวงการแจ๊สเรียกสไตล์ การบรรเลงของศิลปินท่านนี้ ในเวลาต่อมาว่า Stream-of-consciousness คือพรั่งพรู ออกมาจากกระแสสำนึก ณ ขณะนั้นๆ), Edmond Hall Celeste Quartet, Charlie Christian, Israel Crosby เป็ นต้ น

และแล้วโชคชะตาก็เป็นใจ เพราะสงครามทำให้ ความต้องการซื้อแผ่นเสียงเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แผ่นของ Blue Note ก็ขายได้กับเขาด้วย ทำให้เงินทองเข้ามาพอสมควร พวกเขาจึงกลับมาทำแผ่นอีกครั้งในช่วงปลายปี 1943 โดยย้ายที่ทำการมาสู่ห้องที่ใหญ่ขึ้นณ “767 Lexington” ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นบ้านเลขที่ที่มีความสำคัญมากสำหรับนักสะสมแผ่นเสียงในยุคปัจจุบัน 

หลังสงครามความนิยมในดนตรีแจ๊สแบบเดิม คือ  Big Band และ Swing ลดลงมาก แทนที่ด้วย Bebop ซึ่งกำลังมาแรงมากในขณะนั้น 

กระแสดังกล่าว ทำให้เขาทั้งสองต้องรอดูท่าที กลับไปตั้งหลักเพื่อเปลี่ยนแนวเพลง และเฟ้นหาศิลปินระดับคุณภาพกลุ่มใหม่ โชคดีที่เขาสนิทกับ Ike Quebec ศิลปินท่านหนึ่งที่เคยออกแผ่นครั่งกับค่าย Ike จึงช่วยแนะนำศิลปินรุ่นใหม่ระดับคุณภาพที่มากด้วยความคิดสร้างสรรค์ แต่ยังไม่ดังโดย Alfred กั บFrancis ก็เชื่ อและตั ดสิ นใจหั นเหแนวดนตรี สู่Bebop (ส่งผลถึงการพัฒนาแนวดนตรี Hard Bop ซึ่ง Blue Note ได้ เป็นหัวหอกสำคัญในเวลาต่อมา) 

ในช่วงนี้เองที่ Blue Note ได้ค้นพบเพชรเม็ดงามของแวดวงแจ๊ สและสนับสนุนพวกเขาให้ ได้บันทึกเสียงเป็นการบันทึกเสียงครั้งแรกของ พวกเขาด้วย ยกตัวอย่างเช่น Thelonious Monk, Bud Powell, Fat Navarro, Tadd Dameron, Art Blakey, James Moddy, Horace Silver, Lou Donaldson, Clifford Brown, Wynton Kelly, Elmo Hope, Kenny Drew, Tal Farlow, Kenny Burrell ซึ่งศิลปินเหล่านี้ล้วนกลายเป็น ผู้มีชื่อเสียงก้องโลกในเวลาต่อมา แม้ขณะนั้น แผ่นเสียงของบางท่านจะขายไม่ดีเลย อย่างของ Thelonious Monk เป็นอาทิ 

นับว่าเขาทั้งคู่เป็น Producer ที่ มองการณ์ ไกล และเข้าใจศิลปะอย่างมาก่อนการณ์ค่อนข้างมาก 

ปี 1951 เป็นจุดเปลี่ยนที่พวกเขาตัดสินใจ ละทิ้งแผ่นครั่งหันมาออกอัลบั้ม LP ขนาด 10 นิ้ว โดยชักชวนศิลปินรุ่นใหม่มือดี มาร่วมออกแบบปก ไม่ว่าจะเป็น John Hermansader, Paul Bacon, Martin Craig และต่อมาก็ยังมี Andy Warhol, Gil Melle, Reid Miles, Burt Goldblatt โดยการ ถ่ายภาพยังคงเป็นฝีมือของ Francis Wolff เสมอมา 

จากนั้นไม่นาน พวกเขาก็ได้รู้จักกับ Rudy Van Gelder ซาวด์เอ็นจิเนียมือดี ผ่านการแนะนำของ Reid Miles อีกทั้งยังได้ว่านเครือของศิ ลปิน แจ๊สมือดีรุ่นใหม่เข้ามาอยู่ในเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น Kenny Dorham, Hank Mobley, Doug Watkins โดยที่เขาเหล่านี้จะมาร่วมกับ Art Blakey และ Horace Silver สร้างเป็นวง The Jazz Messenger อันโด่งดังในเวลาไม่ช้า

ถึงตอนนี้ Blue Note ก็พร้อมแล้วที่จะโบยบิน ยุคต่อไปจะเป็นยุคที่พวกเขาเหล่านี้ร่วมกันสร้างสรรค์งานแจ๊สชั้นเยี่ยมไว้ ในร่องเสียง Blue Note ทิ้งไว้ให้ พวกเรารุ่นหลังได้รื่นรมย์ มาจนถึงบัดนี้ ผมจะได้เล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป. ADP

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 271