ปฤษณ

สายลำโพงเส้นสุดท้ายในชีวิต!!!

>>ถ้าเราเล่นเครื่องเสียงมานานพอก็จะทราบดีว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงมีมากมาย บางครั้งก็ทำเอาสับสนไปหมดว่าจะบริหารจัดการอย่างไร ถึงพอจะใจชื้นว่า เสียงดนตรีที่เราฟังนั้นมีความใกล้เคียงจากต้นทางมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ว่าต้นทางนั้นมาจากแผ่นเสียง, แผ่นซีดี, ไฟล์เพลงจากฮาร์ดดิสก์ หรือเพลงที่สตรีมจากผู้ให้บริการทั้งหลาย

>>และถ้าเราเล่นเครื่องเสียงมานานพอ แล้วคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ก็จะทราบว่า อุปกรณ์เครื่องเสียงหลัก ตั้งแต่… Turntable, CD Player, Network Player, Music Server, DAC, Pre-amplifier, Power Amplifier, Integrated Amplifier, Speakers ต่างมีคุณภาพในการถ่ายทอดเสียงที่มีมาตรฐานในระดับที่ดี พูดง่ายๆ ว่า… ณ ปัจจุบันนี้ไม่มีเครื่องไหนที่เสียงไม่ดี เพียงแต่อาจจะต่างกันในบุคลิกเสียง หรือความชอบของคนเล่นที่แตกต่างกัน

>>ทว่า… อุปกรณ์เหล่านี้ ถ้าอยู่ตัวคนเดียวก็ไม่มีเสียง ต้องทำงานร่วมกัน ถึงจะมีเสียง

>>แล้วอะไรล่ะ ที่จะนำพาให้เครื่องเสียงเหล่านี้สามารถถ่ายทอดเสียงของแต่ละเครื่องออกมาได้ คำตอบก็คือ… สายเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง หลักๆ ก็มี… สายนำสัญญาณ และ สายลำโพง (ส่วนสายไฟไม่ได้เชื่อมต่อระหว่างเครื่อง)

>>ดังนั้น เส้นทางเดินของเสียงจึงเริ่มจากเครื่องเล่นต้นทาง ผ่านสายนำสัญญาณ เข้าสู่ปรีแอมป์ ผ่านสายนำสัญญาณ เข้าสู่เพาเวอร์แอมป์ ผ่านสายลำโพง เข้าสู่ลำโพง เกิดเป็นเสียงให้เราได้ยิน

>>ส่วนถ้าใช้อินทิเกรตแอมป์ ก็เริ่มจากเครื่องเล่นต้นทาง ผ่านสายนำสัญญาณ เข้าสู่อินทิเกรตแอมป์ ผ่านสายลำโพง เข้าสู่ลำโพง    

>>ดังนั้น ถ้าอยากได้ยินเสียงเดิมๆ ของแต่ละเครื่อง ทั้งสายนำสัญญาณและสายลำโพง ต้องทำตัวเป็นเหมือนสายพานลำเลียงสัญญาณเท่านั้น ไม่ต้องไปแต่งเติมอะไรให้กับสัญญาณที่เดินทางผ่านมา แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่อย่างนั้น เพราะสายนำสัญญาณและสายลำโพง ผลิตจากวัสดุต่างๆ เพื่อที่ทำหน้าที่เป็นตัวนำสัญญาณ ซึ่งวัสดุที่ว่านั้นต่างก็มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ทั้งนำสัญญาณและลดทอนสัญญาณ ซึ่งผู้ผลิตสายยี่ห้อต่างๆ ล้วนรู้เรื่องนี้ดีอยู่แล้ว

>>เพราะฉะนั้น เป้าหมายหลักของผู้ผลิตสายนำสัญญาณและสายลำโพง ก็คือ… ทำสายที่ไม่จะไม่ไปลดทอนสัญญาณที่เดินทางผ่านเข้ามา หัวใจหลักของสายทุกยี่ห้อก็มีแค่นี้จริงๆ พูดแบบบ้านๆ ก็คือ… สัญญาณเข้ามา 100 ก็ต้องออกไปครบ 100 นั่นเอง

>>จริงๆ ที่เขียนเกริ่นมายาวขนาดนี้ก็เพื่อจะบอกว่า… สายลำโพงยี่ห้อ Supra รุ่น Sword Excalibur Rhodium Edition ที่จะพูดถึงครั้งนี้ ก็มีวัตถุประสงค์หลักในการออกแบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นเช่นกัน

>>ผมจะไม่ขอเล่ารายละเอียดทางเทคนิคอะไรมากมายนะครับ เพราะสามารถไปหาอ่านในบทความทั้งของไทยและต่างประเทศ ที่มีการทดสอบไว้แล้ว สำหรับผม… ไม่ว่าจะเป็นสายประเภทไหนก็ตาม วิธีการเดียวที่จะรู้ถึงประสิทธิภาพว่าเป็นจริงตามแทคโนโลยที่คิดค้น การเลือกวัสดุตัวนำ รวมทั้งเทคนิคในการเชื่อมต่อคอนเน็กเตอร์ต่างๆ … คือ… การนำมาฟังกับซิสเต็มที่ใช้งานจริง ฟังจริง ซึ่งถ้าผลลัพธ์ออกมาไม่ดีก็ไม่ได้หมายความว่า สายเส้นนั้นไม่ดี แต่อาจมีบางคุณสมบัติที่ไม่แม็ตชิ่งกับซิสเต็มของเรา

>>อย่างไรก็ตาม ถ้าสายเส้นนั้นดีจริง มักไม่ค่อยเกี่ยงซิสเต็ม เพราะจะสามารถถ่ายทอดคุณภาพเสียงออกมาได้ดีกับทุกซิสเต็ม คำว่า ไม่แม็ตชิ่ง จึงไม่ค่อยพบในสายประเภทนี้

>>สายลำโพง Supra รุ่น Sword Excalibur Rhodium Edition เป็นสายลำโพงที่อยู่ในกลุ่มนี้ครับ

>>ผมใช้ลำโพง Harbeth รุ่น Monitor 30.2 รุ่นพิเศษ 40th Anniversary Edition เป็นปลายทาง โดยเริ่มต้นทางจากPioneer BDP-LX70A เครื่องเล่นบลูเรย์ระดับสูงรุ่นแรกๆ ของ Pioneer ต่อสัญญาณออกด้วยสายนำสัญญาณ Belden รุ่น 8402 ออกมาเข้าอินทิเกรตแอมป์ Myriad รุ่น MI-120 จะเห็นว่าตั้งแต่ Pioneer, Belden, Myriad เป็นอุปกรณ์ที่ธรรมดามากๆ ซึ่งถ้าคิดในลักษณะที่ว่า… สัญญาณต้นทางเป็นยังไง สัญญาณที่ออกไปก็จะเป็นอย่างนั้น ใครที่เห็นอุปกรณ์ในซิสเต็มก็คงส่ายหัว และคิดว่าคงไม่เท่าไหร่ ซึ่งในตอนแรก ผมก็คิดแบบนี้ครับ เพราะที่ผ่านมา อุปกรณ์สามชิ้นนั้น ไม่นับลำโพง Harbeth เมื่อใช้กับสายลำโพงทั่วไป คุณภาพเสียงที่ได้ยินก็โอเค ตามอัตภาพของระดับอุปกรณ์

ทว่าจริงๆ แล้ว กลับกลายเป็นว่า ผมยังไม่เคยได้ฟังประสิทธิภาพที่แท้จริงของอุปกรณ์พื้นๆ สามชิ้นนั้นมากกว่า

>>ผมจะไม่ดราม่า หรือเขียนเกินเลยไป เพราะสิ่งที่ได้ยินจากการนำสายลำโพง Supra รุ่น Sword Excalibur Rhodium Edition มาเชื่อมต่อเข้าไปในซิสเต็ม สามารถบ่งบอกประสิทธิภาพที่แท้จริงของอุปกรณ์พื้นๆ ของผม

>>ถ้าวัตถุประสงค์หลักของการออกแบบสาย คือ… การนำสัญญาณได้เที่ยงตรงที่สุด โดยไม่ไปลดทอนสัญญาณ ผมกล้าพูดว่า… สายลำโพง Supra รุ่น Sword Excalibur Rhodium Edition ได้ไปถึงจุดนั้นแล้ว

>>คุณสมบัติต่างๆ ในการผลิตสายลำโพงเส้นนี้ ไม่ว่าจะเป็น Bifilar-wound litz 5N OFC conductors, twisted and shielded for minimal interference, PE insulation, CNC-milled cable splitter with ground connection, XL-Annorum earth conductor, solid copper rhodium-plated connectors. เหล่านี้… ทำงานได้ผลจริง

>>ในตอนแรกที่ผมจะเขียนบทความนี้ ผมกะว่าจะเขียนเรื่องคุณภาพเสียงด้วย ซึ่งเป็นกระบวนการของการเขียนบทความทดสอบ แต่พอลงมือเขียนจริง ผมตัดสินใจที่จะไม่เขียนเกี่ยวกับคุณภาพเสียง เพราะผมเชื่อว่า ซิสเต็มแต่ละซิสเต็มต่างมีคุณภาพเสียงที่แตกต่างกัน เอาเป็นว่า… ถ้าคุณเป็นนักเล่นเครื่องเสียง เชื่อแน่ว่า… ย่อมรู้ภาษาเครื่องเสียงที่ใช้อธิบายคุณภาพเสียงในลักษณะต่างๆ ผมจะให้คะแนนของสายลำโพง Supra รุ่น Sword Excalibur 90% จาก 100% ในทุกเรื่อง ส่วน 10% ที่เหลือนั้น เผื่อเอาไว้เวลาที่ผมมีโอกาสได้ฟังพวกสายในระดับ Extreme Hi-End แล้วให้ประสิทธิภาพดีกว่า Supra จะได้ไม่เกิดการหลังชนฝา 555

>>อ่านมาถึงตอนนี้ ใครจะว่าผมว่าเขียนมาทำไมแบบนี้ ผมก็ไม่ว่าอะไรครับ เพราะแค่อ่านมันไม่ได้ช่วยอะไรมากกับการรับรู้ประสิทธิภาพอันเหนือกว่าจะคาดคิดของสายลำโพง Supra รุ่น Sword Excalibur Rhodium Edition จะให้รู้จริงต้องสัมผัสด้วยหูของคุณเอง

>>ถ้าคุณสนใจสายลำโพงเส้นนี้จริง ติดต่อขอยืมทาง บริษัท โคไนซ์ฯ ไปทดลองฟังกับซิสเต็มของคุณ จะตกลงยิมกันยังไงก็คุยกันดูครับ ตามเบอร์โทรศัพท์ด้านล่างนี้

>>จริงๆ วิธีการนี้ใช้ได้กับเครื่องเสียงทุกประเภทนะครับ ของมันต้องลองฟังด้วยหู บททดสอบอ่านไว้เป็นแนวทางเท่านั้นครับ

>> ณ ตอนนี้ ผมยกให้สายลำโพง Supra รุ่น Sword Excalibur Rhodium Edition เป็นสายลำโพงที่ผมชอบที่สุด เมื่อพิจารณาทั้งด้านเทคโนโลยี, ตัวนำที่ใช้, วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ร่วม, เทคนิคในการเชื่อมต่อคอนเน็กเตอร์ ผมว่าเนี้ยบ พิถีพิถัน มาตรฐานสูง เทียบกับราคาจำหน่าย ,,, “คุ้มค่าที่สุดครับ”

ราคา 85,000 บาท

นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย
บริษัท โคไนซ์ อิเล็คโทรนิค จำกัด
โทร. 02-276-9644