หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “Reference Level” หรือภาษาไทย บางทีก็เรียกว่า “ความดังระดับอ้างอิง” คนเล่น Home Theater จำนวน หนึ่งก็เชื่อว่าการฟังเสียงในห้อง Home Theater ต้องเปิดดังระดับ Reference Level เท่านั้น ถึงจะทำให้ดูหนังสนุก เช่นเดียวกับได้ฟังในโรงภาพยนตร์ หรือในห้อง Post Production ที่ทำการมิกซ์เสียงจริงๆ

วันนี้ลองมาดูกันว่า Reference Level มันมีความหมายถึงอะไร และบ่งบอกถึงอะไรบ้าง แล้วมีความจำเป็นขนาดไหนที่จะต้องฟังความดัง ระดับนี้ในห้อง Home Theater ในบ้านของเรา

ก่อนหน้าที่จะเข้าไปถึงเรื่อง Reference Level จะมาพูดถึงความรู้ พื้นฐานเรื่องการได้ยินของมนุษย์กันก่อน โดยทั่วไปมนุษย์สามารถได้ยินเสียง ที่มีความถี่อยู่ระหว่าง 20Hz – 20,000Hz และสามารถรับรู้ความดังของเสียง ที่มี Dynamic Range อยู่ที่ 120dB จากความดังของเสียงต่ำสุดที่ได้ยิน จนถึงความดังสูงสุด (ทั้งสองอย่างนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับอายุ และประสิทธิภาพของ อวัยวะที่รับรู้เสียงด้วย แต่จะไม่พูดถึงในที่นี้) ซึ่งระดับความดังและ Dynamic Range ของเสียงที่มนุษย์ได้ยินนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับระดับความถี่เสียงด้วย มนุษย์ เราไม่ได้สามารถรับรู้ความดังที่เป็น Dynamic Range 120dB ตลอดย่าน ความถี่ 20Hz – 20,000Hz แต่จะมี Dynamic Range กว้างที่สุดอยู่ที่ความถี่ ระดับกลาง ทำให้มนุษย์สามารถแยกแยะระดับความดังว่า เสียงนี้ดังมากกว่า เสียงนี้ได้ดีที่สุดในช่วงความถี่ระดับกลางประมาณ 1,000 – 2,000 Hz และ จะลดความสามารถลงในความถี่ที่สูงขึ้นและความถี่ต่ำลงกว่านี้

Dynamic Range ที่มนุษย์ได้ยินในช่วงความถี่ 20Hz – 20,000Hz

 ลองดูจากกราฟรูปที่ 1 จาก www.cochlea.org จะเข้าใจมากขึ้น ในแกน x ของกราฟเป็นความถี่ Hz แกน y เป็นระดับความดัง dB กราฟแสดง ภาพโดยรวมของความถี่ที่มนุษย์ได้ยิน โดยมีระดับเส้นต่ำสุด สูงสุดของพื้นที่ สีเขียวที่แสดงถึงระดับความดัง หรือ Volume ที่มนุษย์สามารตอบสนอง ถึงความแตกต่างของเสียง ดังนั้น เส้นล่างจะหมายถึงระดับความดังต่ำสุด ที่มนุษย์สามาถรับรู้ได้ว่า เสียงมีความค่อยความดังของเสียงที่ต่างกัน ถ้าต่ำกว่า เส้นนี้หมายถึงว่าจะแยกไม่ออกแล้วว่า เสียงนี้เบาหรือดังกว่าอีกเสียง ส่วน Curve เส้นบนหมายถึงระดับเสียงสูงสุดที่สามารถแยกแยะได้ คือถ้ามี ระดับเสียงที่สูงกว่านี้ แม้ว่าเราจะเพิ่ม Volume ของเสียงเข้าไปอีก ก็ไม่สามารถ บอกได้ว่าเสียงมีความดังมากขึ้น จากกราฟก็สามารถบอกได้เลยว่า มนุษย์ มีความไวต่อความดังของเสียงในช่วงความถี่กลางถึงสูง มากกว่าความถี่ต่ำ

ถึงแม้ว่าเสียงมีระดับความดัง หรือ Sound Pressure Level (SPL) ระดับเดียวกันทุกย่านความถี่ แต่สมองของมนุษย์ก็อาจจะรับรู้ว่าเสียงมี ระดับความดังไม่เท่ากันในแต่ละความถี่ โดยเฉพาะในความถี่ต่ำ ในเรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์สองท่าน Fletcher และ Munson ได้ทดลองเปรียบเทียบ ระหว่างระดับความดังของลำโพงเป็น dB ในความถี่ต่างๆ เทียบกับการรับรู้ การได้ยิน จากผลการทดลองเกิดเป็น Fletcher-Munson Curve ที่แสดงถึง dB ในแต่ละความถี่ที่จะทำให้คนฟังแล้ว เสียงมีความดังเท่ากันทุกความถี่

Fletcher-Munson Curve แสดงถึง dB ในแต่ละความถี่ที่จะทำให้ฟังแล้วเสียงมีความดังเท่ากันทุกความถี่

ลองมาดูในเส้นสีฟ้าแต่ละเส้น จะเห็นว่า Curve ของเส้นสีฟ้าจะสูงใน ความถี่ต่ำ แสดงถึงว่า ถ้าอยากให้คนรั บรู้ความดังเท่ากั บในความถี่สูง ระดับ ความถี่ต่ำต้องมี SPL ที่สูงขึ้น มาลองดูตัวอย่างที่เส้นสีแดงที่มีความดัง 80dB ตรงความถี่ 1,000Hz ลองไล่มาดูตรง 30Hz จะเห็นได้ว่าต้องใช้ SPL สูงขึ้น มาเป็น 90dB ถึงจะมีความรู้สึกถึงความดังเท่ากับตรง 1,000Hz ดังนั้น เราจึงเห็นคนปรับเสียงหรือคนฟังชอบที่จะปรับให้ Volume ของเบสมีค่า สูงกว่าความถี่กลางหรือความถี่สูง รวมถึงการทำ EQ Curve แบบต่างๆ ก็มัก ยึ ดหลั กที่มี Curve ด้านความถี่ ต่ำยกขึ้ นสู งกว่าความถี่อื่ นๆ และด้ วยเหตุ ผลนี้จึงเป็นที่มาว่า ทำไม Reference Level ของ Low Frequency Channel ถึงมีความดังมากกว่า Main Channel อยู่ 10dB

Reference Level ของ LFE Channel มีความดังมากกว่า Main Channel อยู่ 10dB

พูดถึงคำว่า Reference Level ในที่นี้มันก็คือ การปรับความดังของ เสียงที่ใช้สำหรับงาน Movie Production ตั้งแต่ในห้อง Dubbing Stage หรือใน Post Production House ต่างๆ เพราะการกำหนดมาตรฐานระดับ ความดังให้เหมือนกันมีความจำเป็นมาก ถ้าต้องมีการส่งต่อการ Mix เสียง ในหลาย Production House เพื่อให้ในแต่ละที่มีความดังที่มีระดับเหมือนกัน มีความสมดุลของเสียงเบส เสียงกลาง เสียงสูงในภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็น เสียงพูด เสียง Effect เสียงที่สร้างบรรยากาศล้อมรอบตัวผู้ฟังตามที่ผู้กำกับ หรือคนทำหนังต้องการให้ได้ยิน ดังนั้น ในแต่ละ Production House จึงต้องทำให้เสียงออกมามีระดับเสียงต่างๆ เหมือน หรือใกล้เคียงกันมากที่สุด การ Mix เสียงจึงจะมีประสิทธิภาพ เกิดความผิดพลาดได้น้อย

โดยในบทความนี้จะใช้มาตรฐานของ Dolby และ THX Reference Level เป็นแนวทาง เพราะว่ามีหลักการคล้ายๆ กัน และเป็นอะไรที่คนเล่น Home Theater มักจะคุ้นเคย เป็นมาตรฐานที่พบได้ทั่วไปทั้งอยู่ภายในบ้าน (Consumer Electronics Certification) ในโรงภาพยนตร์ (Cinema Certification) และมาตรฐานในสตูดิโอทำภาพยนตร์ต่างๆ (Studio Certification)

THX ได้กำหนด Reference Level โดยปรับให้อุปกรณ์เครื่องเสียง เมื่อมีสัญญาณ Pink Noise ที่เข้ามา -20dB จากเสียงดังสุดที่บันทึกไว้ เมื่อเล่นก็จะได้เสียงที่มีความดัง SPL อยู่ที่ 85dB ออกมาในตำแหน่งนั่งฟัง เหตุผลที่ THX เลือก 85dB เป็น Reference Level ของความดังเฉลี่ย ของภาพยนตร์ก็เพราะว่าจะได้มีเนื้อที่ความดังเหลืออีก 20dB จนถึงระดับ ความดังสูงสุดที่บันทึกมาที่ 105dB เพื่อเป็นเนื้อที่สำหรับใส่พวก Special Effect, เสียงระเบิด หรือเสียง Dynamic Sound อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับ เล่าเรื่องราวในภาพยนตร์

แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Input Signal กับระดับความดังของลำโพง Main ที่ออกมา
แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Input Signal กับระดับความดัง
ของ LFE Channel ที่ออกมา

สำหรับช่องเสียงของ low frequency effects (LFE) ก็จะมี SPL เพิ่มขึ้นอีก 10dB ตามเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วว่า หูของมนุษย์รับรู้ความถี่ ต่ำได้ไม่เหมือนความถี่ในช่วงอื่นๆ ดังนั้น เมื่อเวลา Calibrate -20dB Input Signal ก็ จะเป็ น95dB SPL ที่ ตำแหน่ งนั่ งฟั งความดังสู งสุ ดของระบบสำหรั บความถี่ต่ำก็จะเป็น 115dB ตรงตำแหน่ง Input Signal 0dB

แต่ในห้อง Home Theater จะต่างออกไปบ้างเล็กน้อย เพราะการ รับรู้ความดังในโรงภาพยนตร์กับในห้อง Home Theater ต่างกัน ถึงตรงนี้ ผมขอเหล่าหน่อย เนื่องจากจำได้ว่าเคยสงสัยเหมือนกัน โรงภาพยนตร์ที่ดูๆ อยู่ เขาเปิดดังกันขนาดไหน เราจะได้เอาความดังเท่ากันไปเปิดในห้อง Home Theater ที่บ้าน เผื่อจะได้ดูหนังสนุกเหมือนกัน ผมก็เลยเอาเครื่อง SPL Meter ไปวัดความดังเป็น dB ที่โรงภาพยนตร์ แล้วเอาความดังนี้มาปรับระดับ Volume ให้ในห้อง Home Theater มีความดังเท่ากันในฉากเดียวกัน ผลที่ได้คือ… ในห้อง Home Theater รับรู้ได้ว่าดังกว่าในโรงภาพยนตร์ ทำให้ตอนนั้นงงมาก เนื่องจากความดังก็ระดับเดียวกัน แต่ทำไมความรู้สึก ถึงเหมือนกับว่าเสียงดังกว่า ทั้งที่ระดับ Frequency Response ในห้อง Home Theater มีค่า RTA และ FFT ก็ถือได้ว่า Smooth ไม่ได้ผิดปกติ ผมได้เก็บความสงสัยนี้และได้พยายามหาสาเหตุต่างๆ จนได้มาอ่านเจอ บทความของ Mark Seaton นักออกแบบลำโพงชื่อดังชาวอเมริกัน ที่ได้ อธิบายไว้อย่างชัดเจนไว้ว่า เครื่องวัด SPL Meter โดยทั่วไปจะอ่านค่าการ ตอบสนองของความดัง SPL ในห้องๆ หนึ่งไม่เท่ากับอีกห้อง ถ้าห้องมีขนาด ต่างกัน เนื่องจากว่าระบบการได้ยินระดับความดังเสียงของหูคนเราโดยทั่วไป จะถูกกำหนดจากระดับเสียงที่เทียบกับช่วงระยะเวลา พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าช่วง ระยะเวลาของเสียงที่สัมผัสหูนานขึ้นโดยที่ความดังหรือ Intensity ของเสียง เท่ากัน คนรับจะรับรู้ว่าเสียงที่สัมผัสหูนานกว่า 5 – 10 เท่ามีความดังมากกว่า ในขณะที่เครื่องวัด SPL Meter จะ fix เวลาคงที่ตามที่ตั้ง ดังนั้น ปัจจัยที่มี ผลต่อเวลาของเสียงไม่ว่าจะเป็น Room Acoustics, Distortion ของเสียง, การบีบอัดของเสียง, ระบบเครื่องเสียง, แหล่งกำเนิด ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแต่มี ผลต่อการรับรู้ความดังของมนุษย์ โดยเฉพาะในส่วนของ Room Acoustics จะมีผลเด่นสุด ดังนั้นจึงทำให้ค่า SPL ที่วัดโดย Sound Level Meter ถึงแม้มีค่าเท่ากันในโรงภาพยนตร์กับห้อง Home Theater แต่การรับรู้ ความดังของเสียงจึงไม่เท่ากัน จึงทำให้ THX กำหนดความดังของ Reference Level ห้อง Home Theater ต่ำกว่าในโรงภาพยนตร์ และ Pink Noise ที่ฝังอยู่ในเครื่อง Pre-processor, AVR ในห้องฟังภายในบ้าน หรือห้อง Home Theater ที่เป็น THX Certified จะอัดมาอยู่ที่ระดับ ความดัง -30dB (เทียบกับ Full Scale) ความดังของลำโพงแต่ละ Channel เมื่อวัดด้วย SPL Meter จึงต้องมีความดังอยู่ที่ 75dBc ในตำแหน่งนั่งฟัง ส่วน LFE ตัว Pink Noise จะถูกอัดมาในเครื่องให้มีความดังมากกว่าลำโพง ใน Channel อื่นๆ 10Db อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องชดเชยเพิ่มให้เป็น 85dBC ปรับให้เป็น 75dB เหมือน Channel อื่นๆ ได้เลย ที่ทำมาแบบนี้ก็เพราะจะ ได้ไม่สับสนว่าอันหนึ่งต้อง 75dB อีกอันต้อง 85dB เอาให้เหมือนกันหมด ทุก Channel เลยที่ 75dB ก็สะดวกดี และการที่ไม่ใช้การปรับความดังของ Pink Noise ในระดับ Peak Level 105dB เพราะเวลา Calibrate จะมี เสียงที่ดังเกินไปเป็นอันตรายต่อหู ทั้งซิสเต็มในบางห้องอาจจะไม่สามารถทำเสียงดังถึงระดับ 105dB ได้ หรือทำได้แต่มีความเพี้ยนมาก THX จึงแนะนำให้ปรับที่ 75dB โดยเครื่อง AVR หรือ Processor ที่ได้ THX Certified

เหล่านี้ได้ทำการตรวจสอบแล้วว่า ถ้าปรับให้แต่ละ Channel มีความดัง เท่ากันที่ 75dB แล้ว เมื่อเร่งความดังจนถึงระดับความดังสูงสุด 105dB บนเครื่อง THX Certified AVR เสียงแต่ละ Channel ก็ยังมีความดังที่เท่ากัน และเมื่อลดความดังลงมา ความสัมพันธ์ของเสียงแต่ละเสียงก็ยังให้เป็นไป ตามที่ผู้กำกับหรือคนทำหนังต้องการอยู่

กราฟแสดงความดังของเสียงต่างๆ ในธรรมชาติ

สำหรับความดังของเสียงต่างๆ ในธรรมชาติ ก็เช่นความดังที่ 85dB ประมาณความดังของเสียงบน ท้องถนน หรือในภัตตาคารที่มีคน พูดคุยกันอยู่เต็มไปหมด เสียงพูดคุย กันปกติก็อยู่ที่ 60dB เสียงกระซิบ ก็ประมาณ 30dB หรือเสียงที่มีคน ตะโกนใส่หูก็อยู่ที่ประมาณ 110dB สำหรับการฟังในห้อง Home Theater บางคนอาจจะอยากได้ความดัง โดยเฉลี่ยทั้งเรื่องอยู่ที่ 85dB SPL เหมือนใน Mixing Studio ที่เขาแนะนำเป็นมาตรฐานไว้ ซึ่งในทางปฏิบัติ แล้ว บางทีคน Mix เสียงก็ไม่ได้ฟังอยู่ที่ระดับนั้นจริงๆ เพราะเขาต้องทำงาน แบบนี้ทั้งวันทั้งคืน การฟังในระดับนี้จะทำให้หูเกิดการล้ามากเกินไป ผมเคย คุยกับ Sound Engineer หลายท่าน และบางทีก็เคยถามว่า จริงๆ แล้ว ในห้อง Mix เสียง ตัวเขาเองฟังที่ความดังเท่าไหร่ ส่วนมากก็จะพบคำตอบว่า เขาไม่ได้ Mix ดังเต็มที่แบบ 85dB ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย คล้ายๆ กับที่ผม เจอคำให้สัมภาษณ์ของ Tim Hoogenakker ที่ทำงานเป็น Re-recording Mixer ชื่อดังของ Formosa Group บริษัททำงานด้านเสียงทั้งงานด้าน Recording, Re-recording, Editing, Re-editing, Mixing, Remix, Mastering, Remastering รวมทั้งเป็น Sound Supervision ให้กับ ภาพยนตร์ชื่อดังๆ หรือภาพยนตร์รางวัลดีเด่นด้านเสียงมาหลายเรื่อง ผลงานที่คุ้นๆ กันก็เช่น Star Trek Beyond, The Conjuring 2, Batman V. Superman Dawn of Justice, The Revenant, John Wick, Game of Thrones หรือแม้กระทั่งหนัง 6 รางวัล Oscar ที่เป็นรางวัลด้าน Sound Editing, Sound Mixing อย่าง Mad Max: Fury Road เหล่านี้ล้วนก็มีชื่อ ของ Formosa Group เข้ามาเกี่ยวข้อง

Tim Hoogenakkerได้ให้สัมภาษณ์ว่า ปกติเวลาเขา Mix เสียงเพื่อใช้ใน ห้อง Home Theater หรือห้องในบ้านที่มีขนาดต่างจากโรงภาพยนตร์มาก เขาจะชอบ Mix ที่ระดับ 80 – 81dB SPL ที่เขาลดลงมา ก็เพราะใน การดูหนังจริงๆ ในบ้าน คนส่วนมากไม่มีใครฟังดังขนาดนั้น แถมเมื่อดู นานๆ ในห้องที่มีขนาดเล็กจะทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบาย ยิ่งถ้าต้องนั่งฟังนานๆ ต่อเนื่องกันหลายชั่วโมง โดยเฉพาะตอนดึกๆ คงไม่อยากให้เสียงไปรบกวน คนอื่น และด้วยสภาพ Acoustics ในโรงภาพยนตร์กับในบ้านต่างกันมาก ปริมาณอากาศในห้องดูหนังมีมากกว่า ทำให้ลำโพงที่ออกแบบมาสำหรับ ในโรงภาพยนตร์เกิดการผลักอากาศได้ความดันเยอะ เกิด Impact ได้สูง กว่าในห้อง Home Theater ดังนั้น การ Re-recording Mixing เพื่อใช้ฟัง ภายในห้อง Home Theater ที่ดีก็ต้องพยายามให้รายละเอียดต่างๆ หรือ เสียง Impact, Dynamic ที่สร้างบรรยากาศ อารมณ์ของหนังต่างๆ ยังครบ ดูแล้วได้อารมณ์เช่นเดียวกับดูในโรงหนังอยู่ แม้จะเปิดเบากว่าความดังที่อยู่ในโรงภาพยนตร์ปกติก็ตาม ได้ฟังแบบนี้ก็ทำให้สบายใจได้ว่า ถึงแม้ไม่ได้ฟัง ดังระดับ Reference Level เท่าในโรงภาพยนตร์ ความสนุก ความตื่นเต้น ต่างๆ ในหนังก็ไม่ได้ลดลงไปมากมายนักอย่างที่เรากลัว

Tim Hoogenakker เมื่อ Re-recording Mixing ภาพยนตร์ลงแผ่น Blu-ray
เขาชอบ Mix ที่ระดับ 80 – 81dB SPL
การเร่ง Volume ของเสียงให้มากเกินไปในการชมภาพยนตร์แทนที่จะทำให้ดูหนังสนุกขึ้นอาจจะกลายเป็นความทรมานแทน

นักเล่นบางท่านก็ให้ความสำคัญกับ Reference Level จนเกินไป จนลืมนึกถึงปัจจัยอื่นรอบข้าง เอะอะอะไรก็ต้องให้ดังถึง Reference Level หรือต้องดังกว่านั้นเพื่อความมันและสนุกของภาพยนตร์ จนลืมนึกไปถึง เรื่องของ Dynamic Range ของเสียงว่า การที่จะดูหนังให้สนุกตื่นเต้นนั้น การมี Dynamic Range ของเสียงกว้างก็จะทำให้ดูหนังสนุกขึ้น แต่การที่มี Dynamic Range ของเสียงกว้าง ไม่ได้หมายถึงความดังสูงสุดของเสียง อย่างเดียว มันยังรวมถึงความดังน้อยที่สุดที่เราสามารถได้ยินในห้องด้วย ซึ่งก็เกี่ยวข้องโดยตรงกับความเงียบของห้อง (Noise Criteria, NC) การที่เรา เปิดดังจนถึง Reference Level หรือเลยจาก Reference Level ในห้อง Home Theater ถ้าอุปกรณ์เครื่องเสียง Acoustics ในห้องไม่เอื้ออำนวย ยิ่งเปิดดังมากขึ้น สิ่งที่จะได้ยินคือ ความเพี้ยน ความหนวกหู และหูขอมนุษย์ก็จะไม่ได้รับรู้ด้วยว่าเสียงได้ดังขึ้น Dynamic Range ของเสียงก็ไม่ได้ เพิ่มขึ้นอย่างที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น ถ้าเป็นแบบนี้ การเพิ่ม Dynamic Range ของเสียงอีกทางหนึ่งก็คือต้องไปเพิ่มในส่วนที่เบาที่สุดของเสียงที่ได้ยิน โดยให้เสียงในห้องฟังมีความเงียบมากขึ้นหรือลด Noise Floor ของเสียง ในห้องฟังลง เมื่อเสียงในห้องมีความเงียบมากขึ้น Dynamic ของเสียงก็จะ กว้างขึ้น รายละเอียดเสียงแผ่วเบาต่างๆ ที่ถูกอัดมาก็ได้ยินมากขึ้น ทำให้ได้ บรรยากาศของเสียงรายล้อมมีความสมจริงใกล้เคียงกับที่ผู้กำกับต้องการให้ เราได้ยิน และเป็นการเพิ่ม Dynamic ของเสียงด้วย การลด Noise Floor ก็ทำได้หลายวิธี ตั้งแต่วิธีง่ายๆ เช่น การจัดการกับเสียงกวนที่หลุดเข้ามา ในห้องตามช่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปิดช่องที่เชื่อมต่อระหว่างห้องฟังกับ ข้างนอก การชีลด์ขอบช่องประตูหน้าต่าง การอุดช่องตามปลั๊กไฟฟ้าที่จะ ทำให้คลื่นเสียงเข้ามาในตัวห้อง การติดผ้าม่านเพื่อกั้นเสียงที่จะเข้ามา จนไป ถึงวิธีที่ยุ่งยากมากขึ้น เช่น การตัดตอนเสียง (Decoupling) เพื่อให้ห้อง Home Theater ของเราลอยแยก (Isolate) จากโครงสร้างอื่นๆ ในบ้าน เป็นต้น เหล่านี้ก็จะเป็นการเพิ่ม Dynamic Range ของเสียงให้มากขึ้น ทำให้ ดูภาพยนตร์ได้สนุกมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องไปเร่ง Volume ให้เสียงภายในห้อง ดังจนเกินไป ทั้งยังเป็นการถนอมหูของเราให้ใช้งานได้นานขึ้นด้วย

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวของ Reference Level ในห้อง Home Theater ที่บางคนมองแต่ด้านเพิ่มความดังของเสียงให้ได้ตาม Reference Level อย่างเดียว เพื่อที่จะให้ดูหนังได้มันมากขึ้น ทั้งที่ความจริงยังมีเรื่องของ Dynamic Range และ Noise Floor ของเสียงภายในห้องฟังที่ลืมนึกถึงไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีบทบาทสำคัญต่อเสียงที่ออกมา และเกี่ยวข้องสัมพันธ์ โดยตรงต่อความสนุกสนาน ความตื่นเต้นในการชมภาพยนตร์ทั้งนั้น. VDP

ห้องที่ออกแบบมาดี มี Noise Floor ต่ำ ไม่ต้องเปิด Volume ให้เสียง
ดังมากก็ให้ความสนุกสนานตื่นเต้นร่วมไปกับภาพยนตร์แล้ว

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 269