KEF (Kent Engineering & Foundry) มรดกตกทอดของ Raymond Cooke วิศวกร BBC และผู้ก่อตั้งแบรนด์ลำโพงอังกฤษระดับตำนาน ที่ครองใจคนรักเสียงเพลงยาวนานกว่า 60 ปี นอกเหนือจากดีไซน์ที่กลมกลืนได้ทุกการตกแต่ง ยังมาพร้อมน้ำเสียงที่โอ่อ่าเปิดกว้าง เป็นธรรมชาติ มีรายละเอียดสมจริงและแม่นยำเหนือกว่าลำโพงทั่วๆ ไป หัวใจสำคัญ คือ นวัตกรรมเอกสิทธิ์ Uni-Q Driver Array ที่พัฒนาต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของวงการ เพื่อให้มั่นใจว่า นี่คือจุดสูงสุดของคุณภาพเสียงที่จะทำได้ ณ ช่วงเวลานั้น

ทำไมเราถึงรู้ว่าเสียงโน้ตเปียโนของนักดนตรีกำลังเล่นอยู่ในห้อง? สมองและหูคนเราอาศัยกฎที่เรียกว่า precedence effect รวมสิ่งที่หูได้ยินในช่วง 50 มิลลิวินาทีแรกเข้าด้วยกัน และหลัง 50 มิลลิวินาทีเป็นเสียงสะท้อน เพื่อระบุสิ่งที่ทำให้เกิดเสียงขึ้นได้โดยอัตโนมัติ นี่คือสิ่งที่ KEF นำมาใช้พิจารณาหลักการกระจายเสียงของลำโพงภายในห้องฟัง โดยลำโพงจะต้องถ่ายทอดสัญญาณเอาต์พุตได้ตรงกับอินพุตที่ข้ามาอย่างไม่ผิดเพี้ยน มีการตอบสนอง off-axis ที่ให้แอมพลิจูดราบเรียบตลอดช่วงความถี่เสียงดนตรี เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเสียงตรงและเสียงสะท้อนที่เป็นธรรมชาติ

นั่นเป็นที่มาของการคิดค้น Uni-Q Driver Array งานวิศวกรรมไดรเวอร์สุดท้าทายที่ผสานการทำงานของทวีตเตอร์และมิดเรนจ์เป็นหนึ่งเดียวกันได้สำเร็จ โดยติดตั้งทวีตเตอร์ไว้ใกล้บริเวณขดลวดของว้อยส์คอยล์ เพื่อขจัดปัญหาเรื่อง time alignment พร้อมอะคูสติกส์เวฟไกด์ที่ช่วยให้การตอบสนอง off-axis ตลอดย่านความถี่ทั้งมิดเรนจ์และทวีตเตอร์ใกล้เคียงกันที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ร่วมกับครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์กที่ออกแบบมาอย่างดี ทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของเสียงต่ำสุด รับรู้ถึงเสียงดนตรีได้อย่างสมจริง

ตลอดระยะเวลา 30 ปี KEF พัฒนาต้นแบบของ Uni-Q Driver Array ออกมามากกว่า 50 ตัวอย่าง ซึ่งในแต่ละเจนเนอเรชั่นล้วนถูกออกแบบสำหรับผลิตภัณฑ์หรือรุ่นที่ต้องการอย่างเฉพาะเจาะจง โดยเหล่าวิศวกรด้านเสียงที่มีพรสวรรค์มากที่สุดในโลก ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าอยู่ตลอดเวลา เพื่อแสวงหาสิ่งที่ดีกว่า และดีที่สุด…

Uni-Q เจนเนอเรชั่น 1
ปี 1988

กำเนิดของ Uni-Q เริ่มต้นในปี 1988 ทางบริษัท KEF ได้ดีไซน์และจดสิทธิบัตรตัวขับเสียงร่วมที่มีทวีตเตอร์ 1 นิ้ว ติดตั้งอยู่ตรงกลางวูฟเฟอร์ 8 นิ้ว ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้แม่เหล็กอัลลอยด์นีโอไดเมียม / เหล็ก / โบรอน ซึ่งเป็นวัสดุที่ก้าวล้ำมากในยุคนั้น ถูกนำไปใช้ในลำโพง flagship รุ่น C95 ใน C ซีรี่ส์ของ KEF เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นลำโพงตั้งพื้นแบบสามทาง ใช้ Uni-Q ทำงานร่วมกับวูฟเฟอร์ 8 นิ้วหนึ่งตัวติดตั้งอยู่ภายใน ผลิตในสหรัฐอเมริกาภายใต้การดูแลของ KEF ประเทศอังกฤษ

Uni-Q เจนเนอเรชั่น 2
ปี 1989

ปีถัดมา Uni-Q ถูกปรับปรุงโดยเปลี่ยนขนาดกรวยมิดเรนจ์ให้เล็กลงเป็น 6.5 นิ้ว และติดตั้งแบบสมมาตรร่วมกับมิดวูฟเฟอร์ 6.5 นิ้ว สองตัว เพื่อลดพื้นที่หน้ากว้างของลำโพง ทำให้สเตริโออิมเมจดียิ่งขึ้น ถูกใช้ใน Reference ซีรี่ส์ของ KEF รุ่น Model 105/3 ที่ออกแบบเป็นลำโพงตั้งพื้นแบบสี่ทาง ร่วมกับเทคโนโลยี coupled-cavity เบสโหลดดิ้ง ซึ่งใช้วูฟเฟอร์ 8 นิ้วสองตัวติดตั้งภายในตู้ ทำให้ได้เสียงเบสที่ลงลึกเกินตัว ได้รับการโหวตให้เป็น ‘Best import Speakers’ จากสื่อญี่ปุ่นในปี 1992

Uni-Q เจนเนอเรชั่น 3
ปี 1994

ขอบเซอร์ราวด์แบบ low-profile ถูกนำมาใช้ เพื่อได้ให้การตอบสนองความถี่สูงราบรื่นยิ่งขึ้น ร่วมกับตัวมิดเรนจ์กรวยโพลีโพรไพลีน 6.5 นิ้ว และ ทวีตเตอร์โดมผ้า 1 นิ้ว ติดตั้งในลำโพง Model Four แบบสี่ทางของ Reference ซีรี่ส์ ร่วมกับมิดวูฟเฟอร์ 6.5 นิ้ว สองตัว และวูฟเฟอร์ 10 นิ้ว สองตัว ที่ติดตั้งแบบ coupled-cavity อยู่ภายในตู้ นี่คือลำโพงหกไดรเวอร์ที่ตอกย้ำความโด่งดังของ KEF สะท้อนความเรียบง่ายอย่างมีระดับ และให้คุณภาพเสียงน่าทึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งระดับไฮเอ็นด์ยุคเดียวกัน

Uni-Q เจนเนอเรชั่น 4
ปี 1997

ขอบเซอร์ราวด์ low-profile ของ Uni-Q รุ่นสี่ จะถูกหล่อเข้ากับตัวกรวยเพื่อปรับปรุงด้านเม็คคานิกส์และได้การตอบสนองของย่านความถี่กลางที่ราบรื่นยิ่งขึ้นตามมา นอกจากนี้ยังมาพร้อมเวฟไกด์กระจายเสียงทวีตเตอร์ช่วยยกระดับคุณภาพเสียงความถี่สูงให้ราบรื่นและเป็นธรรมชาติ ถูกนำมาใช้ในลำโพงวางหิ้งแบบสองทางไซส์คอมแพ็ค KEF Q15 ซึ่งเป็นลำโพงไซส์เล็กที่สุดจาก Q ซีรี่ส์ ใช้ Uni-Q Driver Array กรวยโพลีโพรไพลีนแบบใสขนาด 6.5 นิ้ว และ ซอฟท์โดมทวีตเตอร์ 3/4 นิ้ว ที่นักเล่นนิยมนำไปจัดซิสเต็มร่วมกับอินทิเกรตแอมป์และซีดีเพลเยอร์

Uni-Q เจนเนอเรชั่น 5
ปี 2001

เป็นครั้งแรกที่มีการนำทวีตเตอร์โดมไทเทเนียม 1 นิ้ว ทรง elliptical profile มาใช้ใน Uni-Q ด้วยเทคนิคการสร้างแบบจำลองจากคอมพิวเตอร์ โครงลำโพงอะลูมิเนียมหล่อที่แดมปิ้งอย่างพิถีพิถัน ขอบยางเทอร์โมพลาสติกหลอมเข้ากับตัวกรวย และระบบมอเตอร์แบบ ultra-low distortion ทำให้บรรลุผลแห่งการถ่ายทอดเสียงร้องที่มีความชัดถ้อยชัดคำ ใช้กับลำโพงวางหิ้งรุ่นใหญ่สุด Model 201 ที่ออกแบบเป็นสี่ทาง ประกอบด้วย Uni-Q Driver Array, ไฮเปอร์ทวีตเตอร์ 3/4 นิ้ว และ วูฟเฟอร์ 6.5 นิ้ว ที่ให้พลังเสียงเบสสุดแม่นยำ

Uni-Q เจนเนอเรชั่น 6
ปี 2006

คีย์หลักของการอัพเดตคือ เทคโนโลยีสิทธิบัตร “Stiffened Dome”   ทวีตเตอร์โดมไทเทเนียมที่ประกอบด้วยรูปทรงต่างกันสองส่วน ขับเคลื่อนด้วยระบบ vented motor ระบายอากาศ ให้การเคลื่อนตัวแบบลูกสูบที่แม่นยำอย่างน่าทึ่ง สร้างเสียงความถี่สูงกระจ่างชัด นุ่มนวล ส่งให้ KEF Model 207/2 ลำโพง flagship แบบสี่ทาง ซึ่งใช้  Uni-Q ร่วมกับไดรเวอร์ 10 นิ้ว สามตัว คว้ารางวัลจากหลายสื่อ รวมถึง John Atkinson จากสำนัก Stereophile ยกให้เป็นหนึ่งในลำโพงฟูลเรนจ์ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยทดสอบมา เสียงกลางระดับ “midrange to die for!”

Uni-Q เจนเนอเรชั่น 7
ปี 2006

KEF พัฒนา Uni-Q Driver Array ขนาด 4.3 นิ้ว โดยเสริมโครงยึดไดรเวอร์มิดเรนจ์กรวยโพลีโพรไพลีนเพิ่มความแกร่ง เพื่อให้ได้การเคลื่อนตัวแบบลูกสูบที่ราบรื่น ลดความเพี้ยนให้เหลือน้อยที่สุด ติดตั้งในโครงสร้างตู้เทคโนโลยี Sealed Suspension เป็นที่มาของ KEF ‘EGG’ KHT3000 ซีรี่ส์ ซึ่งให้เสียงยอดเยี่ยม แม้เล่นในระดับความดังสูงในระบบ 5.1 แชนเนล และยังฟังเพลงได้อย่างยอดเยี่ยม ทาง The Absolute Sound ให้นิยามว่า เป็นงานวิศวกรรมที่ชาญฉลาด มีทั้งความสวยงามและคุณภาพเสียงที่โดดเด่นตามแบบฉบับของ KEF

Uni-Q เจนเนอเรชั่น 8
ปี 2007

ลำโพง ‘EGG’ ของ KEF ถูกยกระดับด้วย Uni-Q Driver Array ขนาด 4.5 นิ้ว ที่มาพร้อม Tangerine Waveguide เวฟไกด์ทรงประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยรีดความไวและเพิ่มมุมกระจายเสียง  ส่งผลให้ได้น้ำเสียงที่สะอาดและตอบสนองราบรื่นยิ่งขึ้น ทำให้ KEF KHT3005SE กลายเป็นชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ที่น้ำเสียงกระจ่างชัด เปี่ยมรายละเอียด สนามเสียงโอบล้อมกลมกลืนกันทุกแชนเนล ให้เบสที่ลึก ประณีต หนักแน่นและทรงพลัง แม้ในพื้นที่ห้องขนาดใหญ่ เป็นซิสเต็มสุดโปรดของ What Hi-Fi? ในพิกัดราคา 1,200 ปอนด์ นานหลายปี

Uni-Q เจนเนอเรชั่น 9
ปี 2009

Uni-Q เปลี่ยนมาใช้กรวยแบบไฮบริดทำจากลิเธียม / แมกนีเซียม / อะลูมินั่มอัลลอยด์ และโครงยึดไดรเวอร์ที่ทำจากโพลิเมอร์ผลึกเหลว ซึ่งใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมการผลิตที่มีความแม่นยำสูง ทำให้ได้เสียงย่านเสียงกลางตอนบนที่แม่นยำอย่างน่าเหลือเชื่อ และนำไปใช้ในโปรเจ็กต์ ‘BLADE’ ลำโพงแบบ Single Apparent Source รุ่นแรกของโลก ที่เปิดโอกาสให้ทีมวิศวกรแสดงฝีมืออย่างเต็มที่ เพื่อแสดงเทคโนโลยีและพลังแห่งนวัตกรรมของ KEF โดยไม่มีข้อปัจจัยด้านราคาเข้ามาเกี่ยวข้อง จนสร้างกระแสฮือฮาไปทั่ววงการ หลังเปิดตัวครั้งแรกที่ Munich High End Show

Uni-Q เจนเนอเรชั่น 10
ปี 2010

นำเทคโนโลยีจากโปรเจ็กต์ BLADE มาประยุกต์ ปรับดีไซน์ของ Tangerine Waveguide ใหม่ โดยเพิ่มการคัปปลิ้งระหว่างทวีตเตอร์และอากาศหน้าตัวโดม เพื่อปรับจูนอะคูสติกส์การเปล่งเสียงของทวีตเตอร์ เพิ่มความเป็น point source, ได้ความไวและการการกระจายตัวของเสียงที่ดีกว่าเดิม ใช้ใน KEF Q300 ลำโพงวางหิ้งรุ่นใหญ่อนุกรม Q ซีรี่ส์ (2010) ทาง secret of hometheater and high fidelity ยกให้เป็นลำโพงที่เหมาะกับดนตรีทุกประเภท โดยเฉพาะออเครสตร้า ให้เสียงไวโอลินหรือเชลโล่ที่สะอาดไร้การบิดเบือน

Uni-Q เจนเนอเรชั่น 11
ปี 2014

ปรับปรุงการแดมปิ้งของ cone neck ส่วนเชื่อมต่อระหว่างตัวกรวยและวอยซ์คอยล์ ตัดการสั่นกวนไม่พึงประสงค์ เพิ่มการตอบสนองที่ราบรื่น ยอมให้ส่งผ่านเฉพาะสัญญาณคลื่นความถี่จากตัวไดรเวอร์เพียงอย่างเดียว ถูกติดตั้งแบบ D’Appplito ร่วมกับไดรเวอร์กรวยอะลูมิเนียม 5 และ 6.5 นิ้ว สี่ตัว ในลำโพงตั้งพื้นแบบสามทาง KEF REFERENCE 5 ที่ John Atkinson จากสำนัก Stereophile นิยามว่า… ให้เสียงกลางบริสุทธิ์ไร้สีสันปนเปื้อน เสียงต่ำที่หนักแน่น แต่ชัดเจน เสียงสูงหวานนุ่มนวล ให้เวทีเสียงที่มั่นคงและมีขอบเขตที่ชัดเจน

Uni-Q เจนเนอเรชั่น 12
ปี 2018

เพิ่ม gap damper ระหว่างช่องทวีตเตอร์เพื่อมซึมซับเสียงใดๆ ที่เล็ดรอดอยู่ภายในช่องว่างวงแหวนระหว่างทวีตเตอร์และกรวยมิดเรนจ์ ผลลัพธ์คือ การตอบสนองความถี่สูงที่ราบรื่นไปอีกขั้น พร้อมปรับปรุงรายละเอียดและความชัดเจน ซึ่งเป็นที่มาของลำโพง KEF ที่จัดวางไดรเวอร์แบบ D’Appplito รุ่น R11 จาก R ซีรี่ส์ (2018) ที่ได้แรงบันดาลใจจาก REFERENCE 5 ทาง The Absolute Sound ให้นิยามว่า.. เป็นลำโพงที่ให้เสียงดุจมีเวทย์มนต์ โดยไม่จำเป็นต้องมีห้องฟังหรูหรา น้ำเสียงกลมกลืนสมจริงอย่างน่าทึ่ง ให้ประสิทธิภาพสูงลิบ เมื่อเทียบกับราคา

Uni-Q เจนเนอเรชั่น 12 พร้อม MAT
ปี 2020

การมาถึงของ Metamaterial Absorption Technology (MAT) ฟีเจอร์ใหม่นี้ช่วยลดความถี่ส่วนเกินที่ปนเปื้อนในน้ำเสียงและความผิดเพี้ยนได้อย่างน่าตะลึง, เสริมแกร่งหลังโครง Tangerine Waveguide, ออกแบบ gap damper ใหม่, และปรับปรุงระบบมอเตอร์มิดเรนจ์ เป็นที่มาของ LS50 Meta ลำโพงของ KEF ที่ใช้วัสดุ Meta รุ่นแรกของโลก ต่อยอดจาก LS50 อันลือลั่นในปี 2012 ไปอีกระดับ ทั้งเรื่องของการนำเสนอรายละเอียดแผ่วเบาและพลังเสียงย่านสูง เสมือนหน้าต่างที่เปิดกว้างยิ่งขึ้น โดยไม่กระทบเนื้อหาสาระของดนตรีแม้แต่น้อย

และนี่คือ Uni-Q Driver Array นวัตกรรมเอกสิทธิ์หนึ่งเดียวที่จะพบได้เฉพาะในลำโพง KEF เท่านั้น. ADP

KEF “Listen and Believe”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
บริษัท วีแกดซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
โทร. 02-692-5216
Line OA: @kefthailand
Facebook: KEF Audio Thailand