OLED TV ย่อมาจาก ORGANIC LIGHT EMITTING DIODE เป็นเทคโนโลยีการแสดงผลภาพใหม่ล่าสุด เม็ดพิกเซลสามารถเปล่งแสงสีออกมาได้ด้วยตัวเอง ให้ระดับสีดำที่ดำสนิท 100% ให้ระดับคอนทราสต์สูงมาก พร้อมสีสันที่สดอิ่มแวววับ “คุณภาพของภาพดีเยี่ยมสุด” ในนาทีนี้

ในอดีตอาจมีข้อจำกัดเรื่องการเบิร์นอินหรือภาพค้างติดหน้าจอ หากเปิดภาพนิ่งไว้เป็นเวลานานอยู่บ้าง ทว่าตอนนี้ OLED TVรุ่นใหม่สามารถจัดการปัญหานี้ได้ดีขึ้นมากแล้ว หากใช้งานทีวีแบบปกติทั่วไป เช่น ดูหนังหรือดูรายการทีวี ปัญหานี้ก็แทบจะไม่เกิดขึ้น

OLED TV เหมาะกับ….??

1) ท่านที่จริงจังกับคุณภาพของภาพแบบ“ไปให้สุด” แถมให้มุมมองรับชมที่กว้าง ดูเฉียงๆ ภาพยังสีสด

2) ดูหนังในห้องมืด เพราะสร้างระดับความดำได้ 100% พื้นหลังดำสนิทอย่างแท้ทรู ส่งผลให้แสงสีดูป๊อปอัพเจิดจรัสมาก

3) ห้องสว่างแบบปกติก็ให้ภาพที่สวยโดดเด้ง ไม่ว่าจะดูหนังหรือรายการทีวีทั่วไป

4) เล่นเกมคอนโซลที่มีภาพเคลื่อนไหวและสลับฉากอยู่เป็นช่วงๆ

 OLED TV ไม่เหมาะกับ…??

1) ต่อกับคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ก แล้วใช้เป็นจอมอนิเตอร์ทำงานหรือเล่นเกม เช่น เปิด POWER­POINT หรือหน้า DESKTOP ค้างไว้

2) เป็นจอ DISPLAY แสดงผลภาพนิ่งเป็นระยะเวลานาน เช่น จอแสดงตารางการบินในสนามบิน หรือจอแสดงเมนูในร้านอาหาร

QLED TV ย่อมาจาก QUANTUM DOT LIGHT EMITTING DIODE TV โดยพื้นฐานเป็นจอ LED LCD TV แต่อัพเกรดประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีQUANTUM DOT ที่ช่วยส่งผลให้สีสันและความสว่างเหนือชั้นกว่า LED TV ทั่วไป โดยระดับสว่างสูงสุดของรุ่นท็อปๆ ก็มักทะลุเกิน 2000 NITS

ซึ่งถือว่าสว่างสุดฤทธิ์ หากเทียบกับ LED TV ทั่วไป ซึ่งจะอยู่ราว 300-1000 NITS และ OLED TV ที่สว่างสุดประมาณ 700 NITS จุดเด่นนอกเหนือจากความสว่างอันซูซ่าคือ ไม่มีปัญหาเรื่องเบิร์นอิน จึงสามารถใช้งานทีวีได้ “ยืดหยุ่นทุกรูปแบบ” อย่างไม่ต้องกังวลใจ 100% WORRY FREE

QLED TV เหมาะกับ…?

1) ดูในห้องสว่างมาก เช่น ไม่มีม่านคุมแสงและห้องสว่างปกติ สู้ได้ทุกสภาพแสง แถมให้ค่าปริมาตรสีหรือ COLOR VOLUME ที่สูง สีจึงสดไม่ซีดเซียว ไม่ว่าจะเร่งความสว่างหน้าจอให้สูงเท่าไหร่ก็ตาม

2) ห้องมืดสนิทหรือห้องแสงสลัวก็ยังใช้ได้ดี แม้โครงสร้างหลอดไฟแบ็คไลต์จะเป็น EDGE

 LED หรือ FULL LED ก็ดี แต่ก็ยังมีฟีเจอร์ LOCAL DIMMING ที่ช่วยเปิด-ปิด-หรี่ หลอดไฟเป็นโซน สามารถถ่ายทอดระดับความด􀄞ำอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ แต่ก็ยังไม่ถึงขึ้นดำสนิท 100%

3) เล่นเกมคอนโซลและเกมคอมพิวเตอร์ทุกรูปแบบ เปิดค้างคืนไว้ยังได้

4) ต่อเป็นมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์ เพราะเปิดภาพนิ่งหรือสไลด์โชว์แช่ไว้นานแค่ไหนก็ไม่ต้องกลัวเบิร์นอิน

ข้อจำกัดของ QLED TV

1) โครงสร้างพื้นฐานยังเป็นจอ LED LCD จึงต้องใช้หลอดไฟ LED BACKLIGHT ในการกำเนิดแสงสว่างให้แต่ละเม็ดพิกเซล

2) มุมมองการรับชมกว้างขึ้นก็จริง แต่ก็ยังมีองศาที่จำกัดอยู่ เจอมุมเฉียงโหดๆ ก็มีสีซีดให้เห็น

สรุป

OLED TV และ QLED TV เป็นจอภาพที่ใช้เทคโนโลยีที่ต่างกัน มีจุดเด่นและข้อจำกัดคนละแบบ

ขอให้ท่านเลือกชนิดทีวีให้ “เหมาะกับลักษณะการใช้งาน” ของท่านที่สุด และพร้อมเรียนรู้ที่จะใช้ทีวีแต่ละชนิดให้ “ถูกทาง” เพื่อบรรลุจุดหมายปลายทางของการใช้ทีวีนั่นก็คือ “ความสุขอย่างยั่งยืน” ในการรับชมคอนเทนต์โปรดนั่นเอง!. VDP

จอ VA และ IPS ต่างกันอย่างไร? แล้วซื้อแบบไหนดี?

จอ LED LCD TV ในตลาดปัจจุบันนี้ หลักๆ มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่… จอ VA และ IPS ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นเฉพาะตัว วันนี้เรามาทำความรู้จักและข้อแตกต่าง ระหว่างจอทั้งสองชนิดนี้ รวมถึงฟันธงแนะนำให้เหมาะสมกับการใช้งานจริงของท่าน!

VA ย่อมาจาก VERTICAL ALIGNMENT แปล เป็นไทยความหมายตรงตัว โครงสร้างเม็ดพิกเซลเป็น แบบ “แท่งตรงเรียงต่อกัน” แดง-น้ำเงิน-เขียว โรงงาน หลักที่ผลิตแล้วใช้กันแพร่หลายคือ SAMSUNG DIS­PLAY ที่เกาหลีใต้ นิยมใช้เป็นทั้งจอทีวีและมอนิเตอร์

จุดเด่น

1) ภาพสว่างใส เปิดโปร่ง สดชื่น

2) รายละเอียดในที่มืดดี

3) คุมระดับความดำทั่วจอได้ดี

ข้อจำกัด

1) มุมมองการรับชมไม่กว้างนัก

IPS ย่อมาจาก IN-PLANE SWITCHING มี โครงสร้างการเรียงพิกเซลเป็นรูปทรง “บั้งยศ ทหาร” ทำให้มีมุมมองการรับชมที่กว้าง โรงงานหลัก ที่ผลิตคือ LG DISPLAY ที่เกาหลีใต้ ถูกใช้อย่างแพร่ หลายทั้งทีวี มอนิเตอร์ และโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน

โครงสร้างพิกเซลของจอ VA เป็นแท่งตรงเรียงต่อกัน

จุดเด่น

1) ภาพสีสันเข้มข้น

2) มุมมองการรับชมกว้าง

3) เป็นจอแข็ง เอานิ้วลูบไม่เกิดลายน้ำ

ข้อจำกัด

1) รายละเอียดในที่มืดและการคุมความดำยัง เป็นรอง

เดี๋ยวนี้เขาพัฒนาแล้ว?

ข้อจำกัดของจอทั้งสองแบบก็ถูกปรับปรุงให้ ดีขึ้นตามลำดับ อย่างจอ VA ที่มีมุมมองการรับชม ไม่กว้างนัก พวกรุ่นท็อปๆ อย่าง QLED TV ที่ใช้จอ VA ก็มีการใช้ METAL ALLOY QUANTUM DOT ชนิด ใหม่ที่เคลือบโลหะ มีมุมกระจายแสงกว้างขึ้น ส่งผลให้ มุมมองรับชมกว้างขึ้น

ส่วนจอ IPS ก็ปรับปรุงเรื่องระดับความดำด้วย การอัพเกรดหลอดไฟแบ็คไลต์ให้สามารถทำLOCAL DIMMING หรือการเปิด-ปิด-หรี่ หลอดไฟ LED เป็นกลุ่มๆ ให้สัมพันธ์กับฉากมืดและสว่างเพื่อเสริม ความดำเฉพาะจุดให้ดูเนียนขึ้นแทน

แต่ขอย้ำอีกทีว่า เทคโนโลยีเสริมเหล่านี้จะมี เฉพาะรุ่นมิดเอ็นด์ถึงไฮเอ็นด์เท่านั้น เพราะต้นทุน มันสูง พวกรุ่นเริ่มต้นแทบหมดสิทธิ์

หน้าจอทั้งสองชนิดมีข้อดีที่เป็นเอกลักษณ์และ ข้อจำกัดในแบบฉบับของมัน

ฉะนั้นจงเลือกสิ่งที่ “เข้ากันดี” การใช้งานจริง ของท่านมากที่สุด

เลือกให้เหมาะกับการใช้งาน?

ขอยกตัวอย่างการใช้งานจริงจากบ้านผมเอง

ห้องนอน: ผมดูทีวีจากบนเตียงในมุมตรงซะ ส่วนใหญ่ และดูในทุกสภาพแสงทั้งปิดไฟสนิท ไฟสลัว และเปิดไฟ เคสนี้ผมเลือกจอ VA ตอบโจทย์ที่สุด ให้คุณภาพได้ดีที่สุด

ห้องนั่งเล่น: ผมดูทีวีจากโซฟามุมตรง และ บ่อยครั้งจากโต๊ะกินข้าวที่ตั้งเฉียงเยื้องออกไป เช่นนี้ จอ IPS จะยืดหยุ่นและตอบโจทย์การใช้งานมากกว่า

หวังว่าข้อมูลและเคสตัวอย่างข้างต้นจะช่วยให้ ท่านเลือกซื้อทีวีที่ “เข้ากันดี” กับลักษณะการใช้งาน จริงที่บ้านของท่าน เพื่อที่จะได้เสพภาพจากศักยภาพ สูงสุดของทีวีครับ. VDP