…เหตุผลดีๆ ที่ทำให้ Pachanko Labs: Constellation Mini SE คือ ROON Core สุดร้อนแรง

นิยามอีกบทของ HIGH END DIGITAL TRANSPORT ที่ปังปุริเย ขายดีสุด

ประสบการณ์ครั้งใหม่ของ High End CAT ซึ่งสวมจิตวิญญาณ Roon ที่สายสตรีมเล่นกันใน พ.ศ. นี้ ทั้งนี้ก็เพื่อรับฟังเสียงจาก Digital Streaming ที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป..

BEST Value to Upgrade.

สำหรับใครก็ตามที่ใช้ Roon อยู่แล้ว แนะนำว่าสมควรขยับขึ้นอีกสเตปไปเป็น Pachanko Labs: Constellation Mini SE ถือเป็น CAT รุ่นกลาง อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไฮเอนด์เมืองน้ำหอม เป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ ทีเดียว

ยิ่งเมื่อติดปีกด้วย Diretta อันเป็น Protocol ใหม่ในการส่งผ่านข้อมูลดิจิทัลในการสตรีมมิ่ง ทำให้ได้ความสงัดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่งผลต่อคุณภาพเสียงดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด หนีห่าง Roon Core ทั่วไปในระดับค่าตัวใกล้เคียงกันขึ้นไปอีก เป็นอะไรที่คุ้มค่าในการต่อยอดมาก

*โดยที่ Pachanko Labs เป็น High End CAT แบรนด์แรกแบรนด์เดียวเท่านั้นที่ติดตั้ง Diretta ได้ในปัจจุบัน

อยากรู้ว่า อะไร ทำอย่างไร ใช้ยังไง เสียงดีขึ้นอย่างไร?… ต้องตามมา

สวัสดีครับทุกคน

audiophile go digital อรรถคดีที่ว่าด้วยเรื่องราวในแวดวงดิจิทัลออดิโอแบบออนไลน์ บอกเล่าเรื่องราวของไฮไฟแห่งยุคสมัย สำหรับผู้สนใจติดตาม ไม่ยอมตกเทรนด์มาแล้วครับ

High End CAT… TODAY

Make for ..!

สำหรับใครก็ตาม ผู้ที่ต้องการความแตกต่าง ต้องตามมา

High End CAT ยุคนี้มีค่าตัวให้เลือกตามกำลังทรัพย์ ใช้งานง่าย ติดตั้งแบบ Plug and Play ไม่ต้องเซียนก็เล่นได้ เสถียร ไม่กวนใจ สวย คงคุณค่า ใช้งานได้ยาวนาน ค่าตัวหลักหมื่น ยันเรือนล้าน

ไม่อาจปฏิเสธได้ว่านาทีนี้ CAT หรือ Computer Audio Transport นั้นร้อนแรงขึ้นเมื่อตัวตึง Roon ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาลไปแล้ว จึงเป็นจิตวิญญาณทำให้ High End CAT กลับมาร้อนแรง ไม่แปลกที่พันธมิตรค่ายเครื่องเสียงน้อยใหญ่พากันสนับสนุน Roon กันทั้งสิ้น ทั้ง Roon Endpoint / Roon Ready ซึ่งมีอยู่นับร้อย และยังมีอีกเพียบไม่นับที่นำเสนอ Roon Core ไฮเอนด์ในแบรนด์ของตัวเอง ที่เรียงหน้าเข้ามาให้ลิ้มลองกัน

หนึ่งในนั้นก็คือ Pachanko Labs บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสก่อตั้งในปี 2013 โดยกลุ่มคนสี่คนที่เป็นทั้ง audiophile, music lover, Engineers ที่มีความหลงใหลในดิจิทัลออดิโอซึ่งให้ความแตกต่างอย่างไม่เคยได้ยินมาก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อรังสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อนักแสวงหาผู้ต้องการความแตกต่าง ก็กลุ่มไฮเอนด์นั่นเอง ออกแบบ ผลิต ประกอบด้วยมือจากฐานผลิตใน La réunion เร-อูว์-นี-ยง บนเกาะในมหาสมุทรอินเดียแถวมาดากาสการ์ เป็นสมาชิก EU กลุ่มแรกๆ ซึ่งมีอายุครบ 10 ปีไปแล้ว นำเข้าและจำหน่ายโดยคุณชายสายสตรีม ทอมมี่แห่ง Prestige HiFi ซึ่งได้ปักหมุดแจ้งเกิดในตลาดเมืองไทยเมื่อปลายปีที่แล้ว โดยเมื่อปีที่แล้วเขียนคำอธิบายถึง Pachanko Labs Constellation ไว้สำหรับตัวเริ่มต้นว่า: Pachanko Labs Constellation Mini CAT (Computer Audio Transport) เป็น High End Roon Core ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็น Roon ที่เสียงดีมากๆ และต้องใช้งานง่าย สะดวกและคุ้มค่าที่สุด

Pachanko Labs ทำยอดขายทะลุเป้าในเมืองไทยและ Prestige HiFi เป็นดีลเลอร์ที่แอ็กทีฟมาก จนปัจจุบันได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Regional Dealers ที่จะดูแลการตลาดในแถบอาเชียน เช่น ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์ไปแล้ว

ทบทวนกันนิดว่า PACHANKO Labs Constellation จากตัวเริ่มต้น สู่รุ่นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ดังนี้

  • PACHANKO Labs Constellation Mini 
  • PACHANKO Labs Constellation Mini SE*
  • PACHANKO Labs Constellation Reference
  • PACHANKO Labs Constellation SE
  • PACHANKO Labs Constellation Masterpiece

Pachanko Labs: Constellation MiNi SE***

Chapter 2 High End Roon Core

เปิดหัวไว้ว่าเป็น Best Value to Upgrade สำหรับใครก็ตามที่ใช้ Roon เป็นลำดับต้นๆ อยู่แล้ว มาฟังเหตุผลกัน

Pachanko Labs: Constellation Mini SE อีกระดับของ CAT จาก Pachanko Labs ซึ่งก็ Windows base Computer ที่ถูก customization / optimization ทั้ง software และ hardware มาเพื่อให้เป็น High End Roon Core ปรับแต่งมาเพื่อให้ได้ latency ที่ต่ำที่สุด ออกแบบวงจรและอุปกรณ์ภายในมาอย่างดีเลิศ ใช้ Hardware พรีเมียมเกรด  อุปกรณ์ทั้งหมดเป็น Static และยังติดตั้งอุปกรณ์ Damping กับอุปกรณ์ภายในทั้งๆ ที่ปราศจากอุปกรณ์เมคคานิกส์จากการเคลื่อนไหวใดๆ ประมาณว่าเป็น Static parts ทั้งหมด เช่น Fanless (ไร้ซึ่งพัดลมระบายความร้อน) จาก CPU และ Graphic card ที่คือตัวร้าย ก็เพราะถูกออกแบบให้ No graphic card ก็ไร้ซึ่งการ์ดจอนั่นเอง RAM ใช้ SSD สำหรับ OS ทำให้เปิดเครื่องได้ไว รวมถึง SSD Memory storage สามารถติดตั้งได้ ไร้ซึ่ง Sound card รวมถึงออกแบบภาคจ่ายไฟภายในให้รองรับภาคจ่ายไฟจากภาคนอกด้วย ทั้งหมดย่อมส่งผลต่อคุณภาพเสียงโดยรวมด้วย อุปกรณ์ภายในประกอบร่างกับเคสอะลูมินัมอโนไดซ์มีให้เลือก 2 สี ให้กลายเป็น Hardware (Body) ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ณ ราคานั้นๆ แม้เป็น CAT ก็ต้องจัดการกับกระบวนการเกี่ยวกับคุณภาพเสียงเช่นเดียวกับเครื่องเสียงไฮเอนด์ เช่น isolation สัญญาณเสียงดิจิทัลกับ audio processes เช่นตัดการรบกวน Low jitter, Noise management มี Galvanic Isolation ขจัดปัญหากับระบบ Ground loop รวมถึง Graphene shield เป็นการจัดการกับการรบกวนใดๆ ของ EMI (Electro Magnetic Interference ) ซึ่งคือปัญหาใหญ่ที่ต้องจัดการให้หมดจด

ต้องเข้าใจนะว่า CAT ก็คือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จะทำงานได้ด้วย OS หรือชุดปฏิบัติการนั่นเอง Pachanko Labs ทุกรุ่นติดตั้ง OS เป็น Windows 10 แต่ได้จัดเต็มแบบ Fully Tweak BIOS เพื่อให้ได้ Latency ต่ำที่สุด คุณภาพเสียงที่ดีเยี่ยมเช่นเครื่องเสียงไฮเอนด์  สิ่งสำคัญที่ทำให้ Pachanko Labs CAT แตกต่างจาก computer ทั่วไปและ NUC ที่ทำหน้าที่เป็น Roon Core ในตลาดดื่นๆ คือตรงนี้ โดยเสนอสิ่งที่ต้องว้าว คือการออนไลน์เพื่อ “fine tune” หรือ “customization” หน้างาน โดยทาง Pachanko Labs จะ remote access เข้ามาเพื่อ Config. ปรับแต่ง Pachanko Labs CAT ให้ได้พารามิเตอร์เหมาะสมกับฟีเจอร์โดยเฉพาะกับ DAC ตัวโปรดที่ใช้อยู่ ก็เพื่อผลลัพธ์ดีที่สุด

Pachanko Labs Constellation Mini SE ใช้โปรเซสเซอร์เป็น Intel 4-Core, 8GB RAM สิ่งที่แตกต่างจากรุ่น Constellation Mini คือ Mini SE ใช้โครงสร้างเป็นแบบ NVME PCIE 4.0 for system ที่รองรับความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่สูงขึ้น เป็น SATA architecture ใช้ระบบระบายความร้อนแบบ Fanless ใช้ Heat Pipe technology ทำด้วยท่อทองแดงบริสุทธิ์เป็นตัวถ่ายเทความร้อนออกจาก CPU เครื่องจึงทำงานเงียบสนิท ไร้การรบกวนใดๆ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพเสียงอย่างมีนัยยะ ถึงตรงนี้ต้องดีพอมากแล้ว ต้องติดตามถ้าจะไปต่อ

Up Level

ปกติจะพบว่านักเล่นเครื่องเสียงมักมีอาการ “คัน” ที่จะอัพเกรดชุดเครื่องเสียงอยู่เรื่อยๆ อัพเครื่อง อุปกรณ์พวกปลั๊กรางเครื่องกรองไฟ สายลำโพง สายสัญญาณ ตัวรอง ชั้นวาง ดูจะเป็นเรื่องธรรมดาไป ยุคดิจิทัล จะรู้จัก UPnP, dLNA ซึ่งเป็นโปรโตคอลในการส่งผ่านข้อมูลดิจิทัลในวงเน็ตเวิร์ก ซึ่งพอมีอะไรให้อัปบ้างอย่างพวกสาย LAN เน็ตเวิร์กสวิตช์ เร้าเตอร์ และภาคจ่ายไฟหรือแม้แต่ Clock ก็เป็นที่รู้กันว่าดุุสุด จนมาถึงนาทีนี้มีเรื่องใหม่ให้ลองเล่นเรียกว่า Diretta เป็น โปรโตคอลใหม่ ใช้เทคนิคการจัดการแก้ปัญหานอยส์บนเน็ตเวิร์กต่างจาก UPnP, dLNA ที่ให้ผลลัพธ์ดีจนต้องทึ่งว่าพี่ยุ่นคิดได้ไง

เรื่องเกิดขึ้นเมื่อคุณชายสายสตรีมทอมมีเล่าประสบการณ์การฟังอย่างตื่นเต้นและถามผมว่า “พี่อยากลองฟัง Diretta Effect ไหม” จริงๆ อ่านหลักการก็เชื่อนะ รู้ว่าต่าง “มีความแตกต่างกันมากไหมกับ dLNA” คำตอบ… พี่ก็ “ลองเลย” ซิ ” มา มาเลยบังเอิญก็ใช้ Pachanko Labs: Constellation Mini เป็นหลักอยู่แล้ว หลังจากได้รับอุปกรณ์ 2 ชิ้นจากทอมมี่ กล่องหนึ่ง คือ OLIO.SPEC Canario Bridge DUB เรียกว่า Diretta USB Bridge และอีกตัวหนึ่งคือ Pachanko Labs: Constellation Mini SE เป็น CAT (Computer Audio Transport) ที่ติดตั้ง Diretta มาด้วยนั่นเอง

ย้ำอีกทีว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้ Pachanko Labs CAT แตกต่างจาก computer และ NUC ที่ทำหน้าที่เป็น Roon Core ทั่วไปในตลาดอยู่แล้ว ข้อเด่นอีกอย่างที่ไม่มีตัวอื่นทำได้คือทำตัวเป็น Diretta Host ซึ่งเป็นโปรโตคอลใหม่ในการส่งผ่านข้อมูลดิจิทัล ซึ่งแตกต่างจาก dLNA โดยสิ้นเชิง ย้ำ Pachanko Labs CAT จึงเป็น ROON Core ตัวเดียวในตลาดอย่างเป็นทางการที่สามารถทำได้ในขณะนี้

Diretta คืออะไร

Diretta เป็นการทำงานร่วมกันทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษโดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพเสียงของ CAT ในระบบปฏิบัติการ Windows platform เพื่อปรับปรุงคุณภาพเสียงสำหรับอุปกรณ์เครื่องเสียงไฮเอนด์ จะทำงานผ่าน “Bridge” ซึ่งเป็นตัวกลางที่เพิ่มเข้ามาในเส้นทางจากส่วนหน้า หมายถึง Roon Core ซึ่งติดตั้ง Software ให้ทำตัวเป็น Host ผ่าน Hardware คือ Bridge (Diretta Target) ต่อพ่วงไปยังส่วนหลังคือ DAC ของวงจร Front End ในระบบเสียงนั่นเอง
***บนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ MegaTech กล่าวอย่างถ่อมตนว่า พวกเขาไม่คิดว่า Diretta จำเป็นต้องดีกว่าระบบส่งกำลังอื่นๆ เสมอไป เพียงแต่ขอเสนอวิธีอื่นในที่นี้ก็ทำงานคล้ายกัน ด้วยโปรโตคอลการส่งผ่าน Diretta เป็นการปรับปรุงคุณภาพการเล่นของระบบสตรีมมิ่ง โดยจะได้รับคุณประโยชน์จากเครื่องเล่นเดิมเต็มประสิทธิภาพ จากเพลงที่ฟังอยู่บ่อยๆ ให้น่าฟังมากขึ้นไปอีก ซึ่งผลที่ได้ก็เกิดจาก Diretta นี่เอง

Diretta ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อลด NOISE และ In Rush Current ระหว่างการส่งข้อมูลขณะแลกเปลี่ยนข้อมูลเพลงระหว่างเครื่องเล่นและเซิร์ฟเวอร์ การประมวลผลข้อมูลจะดำเนินการปรับคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการทำงานของ CPU ในฝั่ง Roon Core ให้ทำงานลดลง ข้อมูลจะถูกส่งเป็นแพ็กเกจเล็กๆ ผ่านในช่วงเวลาปกติและสั้นๆ ถี่ๆ ไปยัง Diretta target แบบ Synchronous ที่ต้องใช้ Hardware ในการทำงานเป็น “Bridge” ที่จะขอขยายต่อไป

วิธีนี้ พบว่าสัญญาณรบกวนสามารถลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยการส่งข้อมูลจำนวนน้อยๆ อย่างต่อเนื่อง แทนที่จะประมวลผลข้อมูลจำนวนมากเป็นระยะๆ Diretta ช่วยลด Noise อันเป็นผลกระทบของการประมวลผลสัญญาณดิจิทัลต่อสัญญาณอะนาล็อกในอุปกรณ์ DAC โดยการเฉลี่ยข้อมูลที่ส่งไปยัง USB DAC สิ่งนี้ให้ผลดี มีข้อได้เปรียบอย่างมากในด้านคุณภาพเสียงเหนือโปรโตคอลในการส่งสัญญาณมาตรฐานเช่น DLNA, UPnP หรือ OpenHome สิ่งนี้จะช่วยให้ไดนามิกส์ดีขึ้น ส่งผลให้คุณภาพเสียงน่าฟังขึ้นอย่างไม่เคยได้ยินมาก่อน

What?

“Bridge” หรือ Network Bridge คืออะไรกันแน่ มันไม่มีหน้าที่ถอดรหัสหรือสตรีมการเล่นและการควบคุมแบบดิจิทัลใดๆ เป็นเพียง “ทางเชื่อม” คำว่า Bridge อาจไม่ใช่ศัพท์เครื่องเสียงดั้งเดิม “สะพาน หรือทางเชื่อม” ในมุมของ ดิจิทัลออดิโอจะมีความหมายเป็น “Network Bridge” นั่นเอง

Roon Bridge ก็รวมอยู่ในสถาปัตยกรรมของ Roon ด้วย Roon ให้คำจำกัดความของ Bridge ว่าเป็น “ตัวกลาง” ระหว่าง Core และ DAC Core มีหน้าที่ในการประมวลผล ส่วน Bridge มีหน้าที่รับผิดชอบ เล่น และ DAC ทำหน้าที่ถอดรหัสซึ่งไม่มีการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง Core และ Bridge แต่ต้องอยู่ใน Digital domain เดียวกันเท่านั้น

ในที่นี้เรียกว่า Diretta USB Bridge ที่จริงแล้วสิ่งนี้ก็ชัดเจนอยู่แล้ว เพียงแต่การทำงานของ Diretta ไม่ได้วิ่งบนเน็ตเวิร์ก UPnP/DLNA โปรโตคอลเดิมเท่านั้น ทว่าเป็นโปรโตคอลใหม่ที่ทำงานแตกต่างกันในทำนองเดียวกันกับ Diretta ก็ใช้ Bridge เช่นเดียวกันนั่นเองเพียงแต่มี Diretta Host ซึ่งก็คือเป็น Pachanko Labs CAT นั่นเอง

How?

หลักการพื้นฐานคือ “บริโภคพลังงานจำนวนเล็กน้อย” ส่งผลต่อความผันผวนของการใช้พลังงานจึงมีน้อย
จากการวิจัยพบว่า การรบกวนที่เกิดจากแหล่งจ่ายไฟจะส่งผลต่อคุณภาพเสียง ซึ่งนักเล่นหูทองทั่วโลกทุกคนต่างรู้ดี  การใช้ตัวเก็บประจุและตัวเหนี่ยวนำคุณภาพดี ออกแบบฟิลเตอร์ความถี่ต่ำที่ดีที่สุดเพื่อกรองสัญญาณรบกวนความถี่สูง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ Megatech ทำนั้นไม่ได้อยู่ที่ฝั่งฮาร์ดแวร์หรือฝั่งอะนาล็อก แต่เป็นการเฉลี่ยจำนวนข้อมูลใน Digital package ที่ประมวลผลแต่ละครั้งเพื่อลดความผันผวนของการใช้พลังงาน

หาก Roon Music server ถือเป็น Host และปลายทางก็คือ Diretta target จึงย้ายมาต่อที่ DAC แทนเป็นปลายทางซึ่งถือเป็นเป้าหมายของ Front End ของชุดเครื่องเสียงนั่นเอง

…สิ่งที่ Diretta ต้องทำคือ

1. เฉลี่ยแพ็กเกจข้อมูลที่ส่งแต่ละครั้ง
2. ส่งบ่อย ส่งถี่ ส่งบ่อยๆ
3. เนื่องจากปริมาณข้อมูลที่ส่งแต่ละครั้งมีน้อย Target end จึงประมวลผลข้อมูลได้ง่ายกว่า 
4. Host และ Target จะบรรลุการทำงานแบบ Synchronization
5. การส่งถูกควบคุมโดยบัฟเฟอร์ไปที่ Target
6. การใช้พลังงานของอุปกรณ์ Target ต่ำลง

ขั้นตอนข้างบนจึงเป็นการลดนอยส์ออกจากเครือข่ายการส่งผ่านข้อมูลดิจิทัลอย่างได้ผลที่สุดนั่นเอง

Megatech กล่าวว่าความเร็วในการส่งข้อมูลของ Diretta ถูกกำหนดโดย Host ดังนั้นฝั่ง Target จะไม่เปลี่ยน Speed จุดประสงค์ของการซิงโครไนซ์ USB คือเพื่อจัดการกับการซิงโครไนซ์ของการส่งข้อมูล ไม่ใช่ข้อมูลเฉลี่ยเป็นแพ็กใหญ่และจะส่งแพ็กเกจขนาดเล็กลงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการลดการใช้พลังงานลง

Megatech ยังทำ Diretta Hardware ให้กลายเป็นแผงวงจรที่เรียกว่า Diretta Lucia ซึ่งช่วยให้ผู้ผลิตที่เป็นพันธมิตรกัน และสนใจร่วมมือกันสามารถใช้แผงวงจรได้โดยตรง เพื่อสร้าง Diretta Bridge โดยมีแผงวงจร Lucia อยู่ข้างใน ในที่นี้คือ OLIO.SPEC Canario Bridge DUB ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีพันธมิตรเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ก็เป็นค่ายญี่ปุ่นแทบทั้งนั้น ในขณะที่ฟากของ Host กลับมี Pachanko Labs ถูกเลือกเป็นพันธมิตรระดับ Pioneer

Hook Up

Host (ในนิยามของ Diretta) ที่ใช้ร่วมกับ Target คือ Pachanko Labs: Constellation Mini SE ซึ่งก็คือ CAT (Computer Audio Transport) ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ สำหรับการเล่นเพลงโดยเฉพาะ ซึ่งได้รับการปรับให้เหมาะสมอย่างมากในแง่ของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ไม่มี Clock ไม่มีพัดลม จึงไร้ซึ่งเสียงรบกวน ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ที่ Custom เพื่อปรับให้เหมาะสมที่สุด และ low latency ที่สุด ในแง่ของแหล่งจ่ายไฟ (12V) ก็ไม่ได้อัปเกรดหรอก จริงๆ PSU หรือแหล่งจ่ายไฟ Pachanko Labs ก็มี Steller linear power supply สำหรับซื้อแยกด้วยนะ

อาจเป็นเพราะ HOST ที่ใช้เป็น Pachanko CAT ซึ่งตัวมันเองเสียงก็ดีมากอยู่แล้ว เพียงแค่เชื่อมต่อ Constellation Mini SE ด้วย LAN Cable กับ OLIO.SPEC Canario Bridge DUB ทำหน้าที่ Target ผ่าน USB cable โดยตรงไปยังราชัน DAC แห่งโปแลนด์ Lampizator: BALTIC-4 DAC ใช้หลอด 5 หลอด เสียงดีมากด้วย ลากไปเข้าแอมป์เจ้าถิ่น เซ็ตอัปก็ไม่ยาก ที่ ROON app. ก็เลือก Audio Output… Pachanko Diretta (ASIO) ก็แค่นั้น

ShowTime

ฟังอัลบั้มสตูดิโออัลบั้มคือ Clair Marlo: Let it Go(DSD) โอ้วเสียงดีมาก ต่อด้วยบันทึกการแสดงสด “Musica Nuda: Live a’ FiP และ Norah Jones: Til We Meet again ได้บรรยากาศการแสดงสด ณ จุดนั้นทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักร้อง นักดนตรี ผู้ชม จนถึงผู้ฟังผมเอง ทั้งๆ ที่มีเพียง Pachanko Labs: Constellation Mini SE และ OLIO.SPEC Canario Bridge DUB หรือ Diretta USB Bridge ในฐานะ Diretta Target ให้บรรยากาศแสดงสดนั้น ให้อารมณ์เพลงมีชีวิตชีวามาก ทำให้เสียงมีความเข้มข้นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้องหรือดับเบิ้ลเบส เปียโนชัดเจนจะแจ้งกว่า เสียงร้องก็คุ้นเคยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ฟังได้ไหลลื่นฟังสบาย มีความยึดหยุ่นมากขึ้นแต่ก็มีโฟกัสชัด และยิ่งมีโฟกัสชัดเจนขึ้นเมื่อใช้ Diretta ซึ่งจะนำความสงัดคืนกลับมา

เครื่องติดแล้วก็ต้องตามด้วย Ozzy Osbourne: Patient Number 9 อัลบั้มใหม่ของป๋าอ๊อซหน่อยซิ อัลบั้มนี้อุดมไปด้วยขุนขวานที่มาแจมกันสนุกมือ บอกเลยว่ามันมาก แม้ไม่ใช่อัลบั้มที่บันทึกดีมากมาย แต่เปิดดังมาก ก็ไม่มีอาการรกหูเลยซักนิด

Def Lepard: Drastic Symphonies อัลบั้มใหม่ที่ฟังจนหลอน เสียงดนตรีออร์เครสตรามีรายละเอียด เมโลดี้สวิงตัวได้อิสระตามต้องการ ไดนามิกส์ค่อยเบา ขึ้นๆ ลงๆ กระแทกกระทั้นที่รุนแรง เบสและกลองของดนตรีร็อกเมทัล กลมกลืนกลายเป็นแนวซิมโฟนิกเมทัลได้อย่างเนียนกริบ คาดไม่ถึงที่บางแทร็กขึ้นเนิบๆในตอนต้นจังหวะอินโทรของเพลงจะเล่นเบาๆ จังหวะง่ายๆ แต่พอถึงช่วงดุก็ดุจริง เพลง Gad of Wars ทิมปานีที่โหมโรงในธีมที่นำเสนอโดยวง Symphony แท้จริงแล้ว จะพบว่าการเคาะของจังหวะกลองของ Rick Savage สแนร์จะสดใสกว่าเดิมนี่เป็นของสมันไปเลย แม้ดนตรีจะกระหน่ำ รุกเร้าแต่คงไว้ซึ่งน้ำเสียงที่นุ่มนวลของเสียงเส้นสายที่พลิ้วไหวยอดเยี่ยมจริงๆ มีความแตกต่างระหว่างเสียงของทิมปานีที่ไม่มี Diretta หากไม่มี Diretta จะได้ยินไหม?

ถึงจะไม่ตั้งใจฟังก็ยังพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อฟังดนตรีแนวออร์เครสตราจะพบว่าในจุดที่บอบบางที่สุดที่เครื่องดนตรีมีระดับความดังเบาๆ ยังปรากฏรายละเอียดเล็กๆ นี้ ซึ่งจริงๆ ก็มีอยู่แล้วและมีอยู่จริง ก็จะถูกเปิดให้ฟังออกจนหมดจด แต่หากไม่มี Diretta ก็ยากที่จะพบหรือได้ฟังฮาร์โมนิกเล็กๆ ของโน้ตดนตรีนี้ได้ง่ายๆ ซึ่งก็หมายถึงต้องลงทุนไปกับอุปกรณ์อื่นๆ อีกหลายเงินทีเดียวนา จุๆ อย่าบอกใคร

Wrap Up

ช่วงรีวิวผมฟังเพลงทุกวัน ยิ่งฟังจริงจัง จะรู้เลยว่า Pachanko Labs: Constellation Mini SE กับ Diretta ช่างเป็น Roon Core ที่วิเศษจริงๆ เสียงสดใสมาก ให้เสียงดนตรีเร้าใจและมีจิตวิญญาณของอัลบั้มเพลงโปรดที่ยอดเยี่ยม ไม่เรียกว่าฟังเพลงเพราะเรียบๆ ลื่นๆ แต่แสดงออกถึงแก่นแท้ของดนตรีด้วยเสียงที่สดใส มีสีสัน ฉับไว คล่องแคล่วว่องไวขณะดนตรีโหมกระหน่ำ อะไรที่ทำให้ฟังสนุก ก็จิตวิญญาณของนักดนตรีไง

บอกเลยว่าเป็นประสบการณ์ครั้งใหม่ Pachanko Labs: Constellation Mini SE กับ OLIO.SPEC Canario Bridge DUB ซึ่งก็คือ Diretta USB Bridge คู่หูทั้งสองอยู่ในโฮมสตูดิโอมาระยะหนึ่งแล้ว ในฐานะผู้ใช้มิวสิกเซิร์ฟเวอร์ซึ่งจะไม่ใช่คอม MAC, Windows อื่นใด แม้ในช่วงเวลาทดสอบก็มีเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นเพิ่มเติมสำหรับเปรียบเทียบบ้าง แต่ด้วยจรรยาบรรณจะไม่นำมาเทียบหรอก แม้เราจะอาจเทียบเสียงของ Constellation Mini SE ตัวมันเองกับที่ติดตั้ง Diretta ซึ่งจะสะอาดและให้รายละเอียดมากกว่า อาจทำให้ขั้นตอนการเปรียบเทียบการทดสอบ A/B ยุ่งยากไปไหน ยิ่งฟังก็จะพบว่ายังมีข้อแตกต่างตรงที่จุดเล็กที่สุด บอบบางที่สุด และมักถูกมองข้ามได้ง่ายที่สุดในการเดินทางบนเน็ตเวิร์กที่อาจหลงทางไปแก้ตรงอื่นซะงั้น เมื่อใช้ OLIO.SPEC Diretta USB Bridge นอกจากนี้แล้ว โปรโตคอลใหม่การถ่ายโอนข้อมูลดิจิทัล แต่สิ่งที่ได้รับมากที่สุดคือควรต้องโฟกัสที่เพลง ไม่ใช่แค่เสียง สนใจดนตรีมากขึ้น จะสังเกตเห็นความแตกต่างในงานดนตรีได้ไหมต่างหาก ส่วนเรื่องเสียงนั้น ปล่อยไปเลย !

ในขณะที่ Constellation Mini SE ให้เสียงเดิมค่อนข้างน่าพอใจอยู่แล้ว แต่หลังจากเพิ่ม Diretta Target  จะพบการเปลี่ยนแปลงที่จะให้เสียงมีชีวิตชีวามากขึ้นไปอีก ให้เบสสะอาดกว่า ฟังได้ถึงความละเมียดละไม ละเอียดอ่อนมากขึ้น ประมาณว่าเสียงมีความใสขึ้น โน้ตดนตรีโปร่งมีช่องไฟขึ้น มีสเกลฟังได้เป็นเลเยอร์ชัดเจนขึ้น ในขณะที่เนื้อเสียงแน่นขึ้น แต่ก็นุ่มนวลขึ้นอย่างมีนัยยะ ความชัดเจนและอิมเมจเสียงจะดีขึ้น แม้ความแตกต่างของเสียงแท้จริงแล้วไม่ใช่จะต่างมากขนาดนั้น ถ้าตั้งใจฟังก็ได้ยินแน่นอน เมื่อฟังจริงๆ ก็ค้นพบองค์ประกอบเล็กๆ ที่ซ่อนไว้ รู้สึกอิ่มเอมเล่นเอาขนลุกกันเลยทีเดียว 

สิ่งที่ Diretta เพิ่มคืออะนาล็อกบิตให้ดนตรีเป็นอะนาล็อกมากขึ้น ประมาณว่าทำให้ดิจิทัลสตรีมเสียงเป็นอะนาล็อกมากขึ้น โดยไม่เสียข้อมูล ไม่เสียรายละเอียด ไม่เสียอิมเมจ แต่ให้เสียงชิ้นดนตรีสมจริงกว่า จับต้องได้มากกว่า รายละเอียดดีขึ้น ทำให้เพลงน่าฟังยิ่งขึ้น แม้ลงทุนไม่มากนัก แต่ “ผลลัพธ์ของการผนวกรวมกันนี้ ทำให้การลงทุนอัพเกรด Roon core กับ Diretta คือความคุ้มค่ามากจริงๆ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับอุปกรณ์เชื่อมต่อในชุดเครื่องเสียงชนิดไม่มีอะไรเทียบได้” ทำให้รู้สึกได้ว่าใกล้เคียงกับประสิทธิภาพของอุปกรณ์ค่าตัวสูงกว่ามันอีก เกินคุ้มที่สุด

ถ้าต้องการ Up Level การเล่นสตรีมให้เหนือขึ้นไปอีกขั้น เชื่อเหลือเกินว่าถ้าได้อ่านบทความข้างต้นมาคงมีใครบางคน “คัน” บ้างล่ะ ก็ขจัดปัญหาตรงประเด็นอะไรเช่นนี้ ทีนี้รู้หรือยัง ที่ทำไม Pachanko Labs ถึงเป็น Roon Core ตัวตึงในยุคนี้ ด้วยเพราะงบประมาณในการอัปเกรดมีมูลค่าไม่สูงนัก แต่ก็พอประมาณราวกว่าครึ่งแสนไปกับ Diretta Software License และ Diretta Target รวมถึงสาย LAN อีกหนึ่งเส้น…

ใครก็ตามที่เป็นเจ้าของ DAC เทพตัวโปรดและเล่น ROON อยู่แล้ว ถ้าคิดจะขยับอย่ามองใกล้ๆ ไปให้ไกลนิดหนึ่ง ก็คงต้องจับ Constellation Mini SE หรือสูงกว่านั้นไปเลย พร้อมกับให้จัด Diretta Host Plug-in ซอฟต์แวร์ พร้อมกับ Diretta Target OLIO.SPEC Diretta USB Bridge ซึ่งก็ไม่ได้จ่ายมากขึ้นนัก บางทีอาจคุ้มกว่าอัปเกรดอุปกรณ์อื่นเสียด้วยซ้ำ ไหนๆ แล้วก็จัดเต็มไปกับ PSU ด้วยเลย เชื่อว่าต้องสุดแน่นวล. ADP

Constellation Mini SE, 1TB SSD with Pachanko Labs Stella Serenity SATA
ราคา 141,000 บาท

Pachanko Diretta Host add-on
ราคา 10,000 บาท

Olio.Spec Canarino Bridge DUB (Diretta Target), 5V psu not included
ราคา 40,000 บาท

นำเข้าและจำหน่ายโดย Prestige HiFi
โทร.
063-638-4498
LINE ID: TMY168-2

ผู้เขียน: ธรรมนูญ ประทีปจินดา
Audiophile/Videophile Reviewer
อดีตที่ปรึกษาฝ่ายวิศวกรรมสนับสนุนการผลิตโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำ
ผู้เฝ้าติดตามความเป็นไปของดิจิทัลออดิโอ ตาไม่กะพริบ