กองบรรณาธิการ

เมื่อสักระยะหนึ่งที่ผ่านมา ทีมงานผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เครื่องเสียงของบริษัท Deco 2000 จำกัด ประกอบด้วย… คุณกฤต ฮ้ อเผ่าพันธุ์ ,คุณทศพล วงศ์ วิบูลสิน (หมูหวาน) และ คุณเฉลิมเกียรติ สุธนเมธี ได้เดินทางไปเทรนนิ่ง ณ โรงงานของ ผู้ผลิตลำโพง Wilson Audio ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งการไปครั้งนี้มี เรื่องราว ที่น่าสนใจมาก ทางนิตยสาร AUDIOPHILE/VIDEOPHILE จึงได้บันทึกเป็นวิดีโอสัมภาษ์ สามารถติดตามชมได้ ที่ https://www.youtube.com/watch?v=x­G2qyIpqdv8&t=220s

สำหรับบทความนี้เป็นการนำข้อมูลบางส่วนจากในวิดีโอคลิปมา เรียบเรียงเป็นฉบับย่อ เพื่อถ่ายทอด ประสบการณ์ครั้งสำของทีมงาน Deco 2000 ครับ

วัตถุประสงค์ ของการไปที่โรงงานของ

Wilson Audio ครั้งนี้

หลักๆ ก็คือไปเรียนรู้ว่า Wilson Way เป็นอย่างไร เขาอยากจะถ่ายทอดยังไงบ้าง Wilson Audio ไม่ได้เป็นบริษัทที่เน้นตั้งเป้า ในเรื่องของยอดขาย แต่ต้องการถ่ายทอด ผลงานของเขาในด้านที่เป็นศิลปะออกมาให้ ผู้ฟังที่มีความชื่นชอบดนตรีได้ฟัง ดังนั้น จึงมีกระบวนการสำหรับทำความเข้าใจใน ผลิตภัณฑ์ ซึ่งรวมไปถึงการเซ็ตอัพต่างๆ จึงต้อง มีความพิเศษ ทาง Wilson เลยจัดคอร์ส เทรนนิ่งขึ้นมา เพื่อให้ตัวแทนจำหน่ายได้เข้าใจ ในผลิตภัณฑ์อย่างถ่องแท้

ลำโพง Wilson ไม่ได้ทำออกมาเพื่อให้ ลูกค้านำไปใช้งานในลักษณะตั้งเฉยๆ เป็น เฟอร์นิเจอร์ หรือว่าตั้งสวยๆ แต่ว่าเขาต้องการ ให้เอาลำโพงไปเสพดนตรี เพราะฉะนั้น เรื่องราวที่พวกเราได้ไปเรียนรู้ก็เพื่อจะนำมา ถ่ายทอดว่า สิ่งที่คุณ Dave Wilson หรือบริษัท Wilson Audio ต้องการจะให้นักเล่นในไทยได้ สัมผัสก็คือ ความแม่นยำของเสียง และการ ฟังเพลงได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เรียกว่า Wilson Way ก็คือเป็นวิธีที่ดำเนินไปในทางที่ ถูกต้อง

เทิร์นเทเบิล คือ สินค้าตัวแรกของ Dave Wilson
Sheryl Lee Wilson (ภรรยาของ Dave Wilson) และ Daryl C. Wilson (บุตรชายซึ่งเป็น CEO คนปัจจุบัน)

การเทรนนิ่ง

เริ่มต้นตั้งแต่เล่าถึงประวัติ ความเป็นมา เขาเริ่มต้นได้ด้วยอะไร อุปกรณ์ชิ้นแรกที่เขาใช้ในการออกแบบ ลำโพง หรืองานแรกๆ ที่เขาทำแล้วงาน ที่เป็นฝีมือของ Dave Wilson มีอะไร บ้าง เป็นการแนะนำต่างๆ จริงๆ แล้ว บริษัทนี้ค่อนข้างเหมือนกับเป็น ครอบครัวครับ แล้ว ประสบการณ์ชีวิต ของ Dave หลายๆ อย่างก็สอนเราได้ นะครับ นอกจากนั้น ก็เป็นเรื่องของวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการ ทำงานต่างๆ รวมถึง ลักษณะการใช้งาน ของอุปกรณ์การ ออกแบบครับ

ลำโพงของ Wilson จะใช้ วั สดุพิเศษที่ แตกต่าง จากทั่วไป เขาบอกเราไหมครั บว่าทำไมถึงเลือก ใช้วัสดุพิเศษต่างๆ เหล่านี้

ไดรเวอร์ลำโพงที่สั่งผลิตเป็นพิเศษ

มีอยู่เซ็กชั่นหนึ่งเกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุมา ทำตัวตู้ ซึ่งเขาก็มีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การทดสอบลักษณะคุณสมบัติของไม้หรือวัสดุที่นำมา ทำตัวตู้ เขาก็จะเอามานั่งเคาะให้ดูกัน แล้วมีภาพมา อธิบายว่า ถ้าคุณใช้ plywood เสียงจะเป็นยังไง มีความถี่อะไรมั่ง จนมาถึงวัสดุ W Material มีลักษณะเฉพาะ ตัวยังไง อะไรที่เขาคิดว่า หลัก การในการทำตู้ลำโพงของเขาที่ จะถ่ายทอดเสียงออกมาได้ บริสุทธิ์ใช่ไหมครับ เพราะ ฉะนั้น เขาก็ให้ดูเลยว่า ไม่ใช่ว่า อะลูมินั่ม เขาไม่เคยลองนะ เซรามิกเขาก็เคยลอง เขายังให้ ความเห็นว่า ถ้าไม่ได้มีวัสดุ W Material อะไรอย่างนี้ MDF ก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะอะไร คือเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่เขาศึกษา มาแบบลงลึก แล้วก็ละเอียดนะครับ ส่วนดอก ลำโพงก็มีการระบุถึง OEM ว่าเขาไปทำอะไร ปกติดอกลำโพงพวกนี้ เราเคยเห็น แต่พอไปดู แล้วถอดชิ้นส่วนออกมา เห็นแม่เหล็กยาวเป็น พวง แชมเบอร์ที่เราดูปุ๊บก็รู้ว่าเป็น Special order มันไม่ใช่ของที่คุณไปเดินโรงงาน แล้ว บอกว่า ผมอยากเอาแบบนี้บ้าง มันไม่ได้ครับ เพราะว่าในนั้นจะมีตั้งแต่การใช้เลเซอร์ ตรวจวัดอะไรบางอย่าง มันหลายอย่างที่เป็น องค์ความรู้ของเขาครับ ทำให้เห็นว่า เขาเทสต์ หมดจริงๆ เทสต์หมดจทุกอย่าง แล้วก็จะลาม ไปถึงเรื่องการวัดตู้ลำโพงด้วย เราไปเห็นห้องที่ เป็นห้องไร้เสียงสะท้อน วัดกราฟตามวิธีการ ของเอ็นจิเนียร์ที่เขาทำกัน พอวัดเสร็จ ถ้าพูด กันตรงๆ คือ กราฟสวยๆ ใครก็ทำได้ แต่ว่า กราฟที่เขาวัดกันมาเสร็จแล้ว เขาก็อยาก ทดสอบการใช้งานในชีวิตจริง มันจะเป็นยังไง บ้าง เขาก็เอาไปวางทดลองในห้องต่างๆ แล้ว ห้องเหล่านั้นก็ไม่ได้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แบบ บางห้องเป็นเหมือนห้องนั่งเล่นทั่วไป เขาเทสต์ ให้เห็นว่า ลำโพงของเขาจะต้องผ่านเงื่อนไข ต่างๆ ไม่ใช่แค่ผ่านที่ห้องแล็บ เป็นรายละเอียด ปลีกย่อยที่เราเห็นได้แต่ละสเตปเลยว่า ของมัน ไม่ได้ทำมาแค่ให้สเปกสุดยอด หรืออะไรที่ออก มาแล้วใช้งานในชีวิตประจำวันไม่ได้ เขาก็ไม่ได้ ทำอย่างนั้น

ภายในโรงงานของ Wilson Audio

Wilson Audio เน้นเรื่องของ การเซ็ตอั พลำโพงเป็นสำคั ญไปครั้งนี้มีการเทรนนิ่งเรื่ องนี้ ยังไงบ้าง

ในส่วนเซ็กชั่นของการ เซ็ตอัพลำโพง การเซ็ตอัพนี่ไม่ใช่ เรื่องของตำแหน่งเฉยๆ นะครับ เขาให้ความใส่ใจในทุกจุด เริ่มต้น ตั้งแต่การขันน็อตลำโพง และไม่ใช่ แค่เทสต์ว่า ลำโพงขันน็อตเสร็จแล้วก็ส่งลูกค้า แต่เขาได้เก็บข้อมูลไว้ว่า ลำโพง แต่ละตัว แต่ละรุ่น ใช้แรงขันเท่าไหร่ ถึงให้ผล ที่ดีนะครับ ก็คือการเซ็ตอัพลำโพง มันไม่ใช่ แค่ว่าเราเอาลำโพงไปวางในตำแหน่งที่ถูกต้อง มันต้องเริ่มตั้งแต่ขันน็อต เขาบอกว่า คู่มือ ลำโพงของเขาละเอียดมาก มีถึงการเช็กแรงขัน ของแต่ละน็อต เพราะการขนส่งลำโพงมันอาจ จะมีการสั่น การคลาย ทำให้ผลของลำโพงที่ เขาเทสต์ไว้ไม่ได้เป็นไปตามที่เขาต้องการ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่เราไปเซ็ตอัพ เราจะต้อง เริ่มตั้งแต่เช็คน็อตนะครับ รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ แม้แต่การติดตั้งขา ทุกอย่างพวกนี้ เขาสอน เทคนิคหมด ไม่ใช่ว่าเอาไปวางๆ อย่างนั้น แล้วเรื่องการเซ็ตอัพตำแหน่งลำโพงก็อาจจะ ต้องเอามา apply กันอีก เพราะว่าเขาสอน ในหลักการเริ่มต้นของการเซ็ตอัพ Wilson ให้ ก็จะเป็นไอเดียที่ว่า การโทอิน การหา position ในห้องนั้นๆ ด้วยเครื่องมือง่ายๆ ซึ่งคุณ Dave Wilson เป็นคนคิดค้นขึ้นมาเอง ด้วยวิธีที่ง่ายๆ ใครก็ทำเองได้นะครับ อย่างเช่น การพูด ด้วยเสียงต่ำๆ ของตัวเอง แล้วเดินหาจุด เพื่อทดสอบเสียงสะท้อนในห้องว่า ตรงไหนที่ เสียงค่อนข้างเป็นธรรมชาติที่สุดในห้อง อันนี้ก็ คือวิธีง่ายๆ ที่เขาสอนด้วย เราจะได้มีไกด์ไลน์ ในการเซ็ตอัพตำแหน่งลำโพง แล้วสามารถไป แนะนำลูกค้าได้ เรื่องการเซ็ตอัพพวกนี้ ทาง Wilson ไม่มีความลับนะครับ เขายินดีถ่ายทอด ให้ทุกคนเอาไปปรับใช้ได้

ห้องไร้เสียงสะท้อนสำหรับทดสอบลำโพง

เครื่องมือสำหรับการทดสอบลำโพง ทาง Wilson ออกแบบขึ้นมาเองหรือเปล่าครับ

จริงๆ อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ ที่ Wilson ใช้ก็มีขาย แต่คุณจะลงทุนซื้อมาใช้ หรือเปล่า อย่างเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน ตู้ลำโพงที่เป็นเลเซอร์ยิงเข้าไป คุณก็สามารถ ไปซื้อ Gun Laser ไปซื้อมาวัดได้ หรือ ซอฟต์แวร์ ทุกอย่างมีขายหมด ในการทดสอบ ก็จะได้ผลออกมาเป็น raw data ว่ามีการสั่น เท่านี้ๆ แต่การที่คุณจะวิเคราะห์ raw data ที่ มีความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องเสียง มันต้องใช้ ความรู้ ประสบการณ์ ความสนใจ คนอื่นๆ ก็ เลยมองว่ามันเป็นจุดที่เล็กๆ แต่ที่ Wilson เขาไม่ได้มองข้าม มันเลยดูเหมือนกับว่าบริษัท อื่นอาจจะไม่ได้ทำแล้วก็อย่างเช่นเรื่อง Timing domain ก็ปรากฏว่าเป็นเรื่องที่ Dave ค้นพบ มาตั้งนานแล้ว เพราะเขารู้สึกว่า Timing ของ เสียงเป็นเรื่องที่มีตัวตน เป็นเรื่องจริง เกี่ยวข้อง กับการรับรู้มนุษย์ แล้วเมื่อไม่นานมานี้ วงการ แพทย์ก็มีการตีพิมพ์บทวิจัยเรื่องเกี่ยวกับ Timing ที่ Dave เจอเมื่อ 20 – 30 ปีก่อน แล้ว กำลังเป็นหัวข้อที่กำลังวิจัยกันว่า การเดินทาง ของเสียงถึงหูคนมีผลจริงๆ ต่อการรับรู้ของการฟัง ไม่ใช่แค่เป็นเรื่อง frequency response

คุณภาพเสียงของลำโพง Wilson เมื่อถึงจุดสมบูรณ์ จะเป็นยังไงครับเขาได้บอก ไหมว่า พอเซ็ตอัพหรือว่าแม็ตชิ่งอะไรเรียบร้อยแล้วเสียงที่ได้จะเป็นแบบนี้

จากที่ผมฟังกันมา ก็คือ… ถ้าซิสเต็มกับ ลำโพงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดแล้ว มันจะ เหมือนการจำลองเวทีดนตรีมาให้เราฟัง นักเล่นเครื่องเสียงส่วนใหญ่จะติดกับการไปนั่ง เพ่งเสียงร้อง เสียงกีตาร์ ต้องอยู่ตรงนี้ หรือว่า นักร้องเตี้ยสูงอะไรอย่างนั้น ซึ่งหลักการที่เขา ต้องการไม่ใช่อย่างนั้น เขาต้องการให้เรานั่ง เฉยๆ เหมือนเรานั่งชมดนตรีอะไรสักอย่างหนึ่ง ถ้ามันถูกต้อง เดี๋ยวชิ้นดนตรีต่างๆ จะแสดงออก มาให้เราเห็นเอง โดยที่เราไม่ต้องไปเพ่ง การเพ่งนี่มันเหมือนเราจะจับผิด ซึ่งที่เราต้อง เพ่งเพราะเราไม่ได้ยิน แต่ถ้าทุกอย่างถูกต้อง มันจะออกมาเอง และทำให้เรารู้สึกเอ็นจอยกับ ดนตรีได้หลากรูปแบบขึ้น

คุณเฉลิมเกียรติ ขณะกำลังเทรนนิ่ง
คุณกฤต และคุณเฉลมิเกยีรติกบัลำโพง Wamm ที่บ้านของ Dave Wilson

คนทำงานที่ Wilson Audio มีบุคลิกยังไงครับ

เนื่องจากบริษัทอยู่ที่ยูทาห์นะครับ คนแถวนั้นเขาเคร่งศาสนาหน่อย แต่ว่าด้วย ลักษณะนิสัยของเขา ทำให้เขาเป็นคนที่ warm และเขาเป็นคนที่รักเพื่อนพ้อง สิ่งที่เรารู้สึกได้ ว่าเวลาเขาพูดกับเรา เขาถามอะไรเรา มันเป็น ความรู้สึกแคร์ มันเป็นอะไรที่เรารู้ได้ว่า นี่คือ ธุรกิจที่เราอยากทำด้วย เพราะว่ามันไม่ได้มี อะไรที่ปิดบังแอบแฝงนะครับ แล้วมันก็สะท้อน ค่ากลับไปถึงตัวธุรกิจที่เขาทำของเขาเป็นแบบ Authentic Excellency ก็คือเป็นความ สุดยอด เป็นของจริง เขาไม่ได้ทำตามหลักการ การตลาดที่ในหนึ่งปีต้องออกกี่รุ่น target profit เท่าไหร่ มันไม่ใช่ จะออกลำโพงออกมา แต่ละรุ่น เขาก็ทำไปเรื่อยๆ จนคิดวามันดี สมควร เหมาะสมที่จะออก เขาถึงจะออกมา นี่คือเป็นลักษณะธุรกิจที่ต่างจากทั่วไปที่เราจะ รู้สึกได้ว่า นี่คือของจริง

Wilson Audio มี secret ในเรื่องของ การออกแบบ หรือเขามีสูตรอะไรเฉพาะ

มันไม่เฉพาะ แต่ผมมองว่าอย่างลักษณะ ของลำโพง เราสามารถออกแบบได้หลายแบบ หลายรูปทรง แล้วแต่คุณจะไปทางไหน แต่ว่า Wilson เขาตั้งมาเลยว่า ลำโพงของเขาจะเป็น ที่เลื่องชื่อในเรื่อง Timing ซึ่งจะส่งผลให้คนรับ รู้ถึงไดนามิกได้ดีเยี่ยม จากนั้นมันก็จะเป็นการ เอาความรู้ของแต่ละคนมาพัฒนา แล้วก็ใส่ เข้าไป มันจะเหมือนกับเขาใส่ใจในผลิตภัณฑ์ และใช้คำว่า “ไม่ปล่อยผ่าน” ดีกว่า คือมีอะไร ที่น่าจะไปได้อีก มีอะไรที่น่าจะเปลี่ยนแล้ว ดีกว่า เขาบอกเลยว่า ให้เชื่อใจเถอะว่า เขาลอง หมดแล้ว

มีโอกาสไปบ้านของ Mr. Dave Wilson ไหมครับ

ไปครับ ได้รับเกียรติอย่างยิ่ง บ้าน Dave ก็คือบ้านของคุณ Dave Wilson ตอนที่เราไป เขาใช้ลำโพงรุ่น WAMM Master Chronosonic ซึ่งเป็นลำโพงตัวท็อป ณ ปัจจุบันนี้ ราคาก็ 20 กว่าล้าน การที่ได้ไปสัมผัสลำโพงที่บ้าน ของเขา เหมือนมีความเป็นกันเองของ ครอบครัวด้วย เพราะปกติไม่ได้เปิดให้คนทั่วไป เข้าไป เขาต้องการให้เราได้ฟังประสบการณ์ การฟังเพลงที่มันยอดเยี่ยม เขาก็เลยเปิดบ้าน ให้เราเข้าไป เพื่อที่จะโชว์ศักยภาพของซิสเต็ม อย่างเพลงที่บอกว่ารู้สึกเหมือนมีคลื่นเสียงมา โดนร่างกาย ก็เพิ่งรู้สึกกับลำโพงคู่นั้นจริงๆ เซ็ตนั้นจริงๆ เพราะว่าอย่างบางเพลงตีกลอง สแนร์ รู้สึกว่าหนังตากระดิกตามจังหวะกลอง มันมีฟิลลิง มีความแรงของเสียงออกมา ได้จริงๆ ทำให้ฟังเพลงแล้วรู้สึกว่า เราไม่ต้อง ทำอะไรแล้ว เรานั่งฟังเฉยๆ เราไม่ต้องไปเพ่ง อะไรทั้งนั้น และไม่เพียงแต่เฉพาะดนตรีที่อัด มาแบบออดิโอไฟล์นะครับ เขาจะเปิดเพลงให้ ฟังหลายๆ รูปแบบ ซึ่งก็ค่อนข้างแตกต่างจาก ที่เราเคยฟังกันมากๆ ตอนฟังอัลบั้ม Kodo เสียงตีกลอง มันอาจจะหมายถึงคำว่า

“แรงปะทะ” ที่เราได้ยินมานานก็ได้ ความรู้สึก เหมือนเราไปยืนใกล้ๆ กลองเชิดสิงโต ถ้าเรา เคยไปดูพวกเชิดสิงโต แล้วมีตีกลองมีตีฉาบ เราจะรู้สึกเลยว่า มันเป็นแบบนี้ เวลาเราฟังเพลง ด้วยลำโพงด้วยซิสเต็มที่มัน complete จริงๆ มันจะอารมณ์อย่างนั้นเลย

ภาพแห่งความทรงจำ

การได้ไปสัมผัสถึงโรงงานของ Wilson Audio ได้ทราบถึงเบื้องหลังการผลิตต่างๆ ได้ให้มุมมองในด้านใดบ้าง

ได้เรื่องพวกความเชื่อมั่น เพราะจะเห็นว่า ทุกจุดของเขาไม่มีจุดไหนที่จะปล่อยให้ผ่าน เลยไป โดยที่ไม่มีการตรวจเช็ค คือเขาจะ ใส่ใจทุกขั้นตอน ใส่ใจตั้งแต่การขันน็อตเลย การเทสต์อุปกรณ์ต่างๆ แล้วก็ในขณะที่เขาผลิต ลำโพง เขาก็ยังมีการทดลองอะไรบางอย่าง ซึ่งผลที่ได้มา เขาก็เอามาปรับใช้กับลำโพงใน รุ่นใหม่ๆ หรือเก็บเป็นข้อมูลเอาไว้ แล้วก็อีก เรื่องหนึ่ง เรื่องของความผูกพันในองค์กร ของเขา คือถ้าองค์กรมีความผูกพันกันนะครับ ทีมงานก็สามารถทำอะไรก็ได้ให้สำเร็จ อย่างง่ายๆ. ADP

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 269