งาน BAV SHOW 2018 เมื่อต้น เดือนกันยายนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ไปบรรยายเนื้อหาเรื่อง IMAX Enhanced ซึ่ง ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมชมงานอย่างมากมาย แต่ก็มีผู้สนใจบางท่านไม่สามารถ เข้าร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าวได้ และถามเข้ามาหลายคนว่า อยากให้เขียนเกี่ยวกับ เรื่องนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่และมีหลายท่านให้ความสนใจ ถึงแม้ว่าของจริงยังไม่ ได้ออกมา มีเพียงแต่การนำเสนอในงาน CEDIA 2018 ครั้งที่ผ่านมา บทความในฉบับนี้ ผมเลยจะเอาเรื่องนี้มาพูดถึงอีกครั้ง ทั้งในเรื่องข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประสบการณ์ที่ผมได้ไปสัมผัส IMAX Enhanced จริงๆ ว่าเสียงและภาพที่ได้ออก มาจะเป็นอย่างไรกันบ้าง

ก่อนหน้าที่จะไปถึงเรื่องของ IMAX Enhanced ก็ขอปูพื้นในเรื่องของโรงภาพยนตร์ IMAX กันก่อนว่า ทำไมโรงภาพยนตร์ IMAX ถึงมีความพิเศษมากกว่าโรงภาพยนตร์โดยทั่วไป เริ่มจากระบบเสียงก่อน ระบบเสียงของ IMAX นั้น เขามีระบบของเขาเองซึ่งไม่เหมือนโรงภาพยนตร์ ทั่วๆ ไป อาจจมีจำนวน channel 6-12 channels ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงภาพยนตร์ โดยพื้นฐานก็จะเป็น front left, center, right, surround และ Sub-bass ตามปกติ แต่ในบางโรงภาพยนตร์ ที่มีขนาดใหญ่ๆ หรือมีจอสูงมากๆ ก็อาจจะมี channel เพิ่มเข้ามาอีกเพื่อความต่อเนื่อง ของเสียง เช่น center channel ที่อยู่สูงขึ้นไป หรือเรียกว่า The Voice Of God อีก channel หนึ่ง ที่ต้องมีก็เพราะเนื่องจากว่า จอสูงหลาย สิบเมตร ความต่อเนื่องในแนว Vertical จะไม่มี ถ้าไม่มี center heigh ตรงนี้ อย่างฉากที่จรวดกำลังทะยานจากฐานขึ้นไปสู่ท้องฟ้า เสียงมันก็จะต้องออกจากด้านล่างของจอภาพแล้วค่อยๆ ไล่ขึ้นไปขอบจอภาพ เป็นต้น

แผนผังภายในโรงภาพยนตร์ IMAX โดยทั่วไป

 ที่ทำเช่นนี้ได้ก็เพราะว่าหนังที่ฉายในระบบ IMAX ทางผู้ผลิตหนังจะ re-mix เสียงขึ้นมา ใหม่ โดยเฉพาะเพื่อให้เข้ากับระบบของ IMAX ซึ่งไม่เหมือนกับการ mix สำหรับโรงหนังทั่วๆ ไป ในการ mix เสียงสำหรับ IMAX นั้น เขาจะทำที่มาตรฐานความดัง 85dBc (C weighted) ซึ่งถือว่าค่อนข้างดังกว่าหนังทั่วๆ ไปที่อาจจะอยู่ ประมาณ 70 – 80dBc ส่วนช่วง Peak โรง IMAX ก็จะทำได้ถึง 118dBc ทั้งนี้เพราะเขาแน่ใจว่า อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับโรง IMAX

สามารถคุมความดังขนาดนี้ได้โดยไม่มี Distor­tion ทำให้ sound engineer สามารถ re-mix ให้เสียงเป็นไปตามต้องการได้มากขึ้นกว่า โรงทั่วๆ ไป ซึ่งเขาเรียกการ mix สำหรับ IMAX โดยเฉพาะนี้ว่า Digital Re-mastering (DMR)

การ re-mix ใหม่ของหนังในโรงภาพยนตร์ IMAX
เรียกว่า Digital Re-mastering (DMR)

 บางท่านที่เคยสัมผัสเสียงใน IMAX อาจจะ คิดว่าความถี่ต่ำคงลึกมาก ความจริงแล้ว ความถี่ต่ำในโรง IMAX จะอยู่ที่ 23Hz และ roll off ลงไป ที่ 20Hz ที่ -3dB โดยมาตรฐานหนังที่บันทึกมา ปกติก็อยู่ที่ 20Hz – 20kHz แต่การที่ทำให้เรา รู้สึกว่าเสียงมันสนุก มันเหมือนว่าเสียงเบสลึกมากกว่าปกติก็เพราะว่าโรงที่ได้มาตรฐานเหล่านี้ เขามี Dynamic Range ที่กว้างมากๆ noise floor จะต่ำ Headroom จะสูง เพราะอุปกรณ์ ถูก Custom made มาสำหรับห้องนั้นๆ โดยเฉพาะ ซึ่ง IMAX เขาผลิตลำโพง ผลิต Power Amplifier ผลิต Subwoofer จากโรงงานของ IMAX เอง ตามลักษณะห้องแต่ละห้องเลย อย่าง Amplifier ที่ใช้ก็มีกำลังขับตั้งแต่ 12000 – 20000 วัตต์กันเลยทีเดียว ทำให้กำลังสำรอง เพื่อขับลำโพงต่างๆ มี headroom เหลือเฟือ วิศวกร IMAX เขาบอกว่า เขาไม่ได้ผลิตรถที่วิ่ง ได้ 60 ไมล์ต่อชั่วโมง ให้วิ่งที่ 60 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่เขาผลิตรถที่วิงได้ 120 ไมล์ต่อชั่วโมง เพื่อให้ วิ่งที่ 60 ไมล์ต่อชั่วโมง จะได้มีกำลังสำรองเหลือๆ ไว้สำหรับต้องเล่นในช่วง Peak และหมดปัญหา เรื่อง Distortion

ลำโพงของ IMAX เป็น full range ทุก channel แม้กระทั่ง surround โดยลำโพง ถูกออกแบบเป็นพิเศษที่เรียกว่า Proportional Point Source Sound Technology เพื่อเพิ่ม sweet spot ไม่ให้อยู่แต่เฉพาะตรงกลาง อย่างเดียว คนที่อยู่ใกล้ลำโพงกับไกลลำโพง ก็ยังได้ยินเสียงใกล้เคียงกัน เพราะเทคโนโลยีนี้ ใช้การออกแบบปาก Horn ของลำโพงให้ได้ตาม ที่ต้องการ

ลำโพง surround ที่สงสัยว่าทำไมมีแค่ สองตัว อันนี้เป็นความตั้งใจของ IMAX ที่ต้องการ ให้ล􀄞ำโพงสามารถทำให้เกิด Phantom Image วิ่งไปตามตำแหน่งต่างๆ รอบๆ ห้องตามต้องการได้ ส่วน subwoofer ที่ใช้เพื่อเป็นแหล่งกำเนิดเสียง ความถี่ต่ำก็จะสร้างเสียงที่ให้ครบทั้ง powerful, fast, tight, deep และ clean ตามสไตล์ของ โรงภาพยนตร์ IMAX เลย

ในทุกวันก่อนการเปิดฉายหนัง ทาง IMAX ก็จะมีการ Calibrate เสียงก่อนทุกครั้งเป็น เวลาร่วมชั่วโมง โดยการ tuning เสียงใน ห้องก็ใช้ระบบ Audyssey ที่ออกแบบมา เฉพาะ IMAX ทำการ customised EQ curve ตามแบบของ IMAX โดยเฉพาะ วิศวกรก็จะ ทำการปรับ Acoustic วัดเสียงในห้องให้ได้ตาม รูปแบบมาตรฐานทั้ง FFT, RTA, Phase, Impulse response และอื่นๆ แล้วก็จะมีไมค์ที่วางไว้ในตำแหน่งต่างๆ ของห้องเพื่อวัดลำโพง แต่ละตัวส่งข้อมูลไปยัง Toronto แบบ Real-time ซึ่งที่นั่นจะมี Super-computer คอยตรวจสอบ การทำงานของอุปกรณ์ทุกอย่าง โดยมีเจ้าหน้าที่ ทำงานตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืนเพื่อที่จะ monitor โรง IMAX ทุกโรงในโลกให้ได้เสียงตามมาตรฐาน เท่ากัน สมมติว่ามี driver บางตัวเสีย ทางศูนย์ ก็จะสามารถสั่ง remote มาให้เพิ่ม gain ของ driver ตัวอื่นๆ ได้ทันที แล้วค่อยส่งช่างเทคนิค มาเปลี่ยนให้ภายหลัง เขาบอกว่า บางที IMAX รู้ก่อนเจ้าของโรงหนังเสียอีกว่ามีอุปกรณ์เสีย ทั้งนี้เขาบอกว่าเพื่อให้ได้คุณภาพเสียงของ IMAX ที่เหมือนกันทุกๆ โรงทั่วโลก

ในทุกวันก่อนเปิดฉายหนังก็จะมีการ calibrate ทั้งภาพและเสียงก่อน

คราวนี้ก็คงพอเห็นภาพกันบ้างนะครับ ว่าทำไมโรง IMAX ภาพและเสียงจึงต่างจาก โรงภาพยนตร์ทั่วไป ต่อไปก็เข้าเรื่องเสียทีว่า IMAX Enhanced คืออะไร? ก็อย่างที่พอรู้ กันว่าเป็นโปรแกรมใหม่ที่ร่วมมือกันระหว่าง IMAX Corporation (NYSE: IMAX) และ DTS เพื่อเสนออีกแนวทางหนึ่งของภาพและเสียง ภายในบ้าน โดยจะมีทั้งผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมกับภาพยนตร์หรือสารคดีภาพระดับ 4K HDR ที่มีการ re-mastered ใหม่สำหรับ โรงภาพยนตร์ IMAX แล้วใช้เทคโนโลยีด้านเสียง ของ DTS เพื่อนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาสู่ในบ้าน ทำให้ผู้บริโภคได้สัมผัสประสบการณ์ immer­sive ทั้งภาพและเสียงภายในบ้านได้ใกล้เคียงกับ ที่ผู้กำกับหนัง หรือคนทำหนังตั้งใจสร้างขึ้นมาได้ มากขึ้น (filmmaker intended)

มาถึงรายละเอียดในแต่ละส่วนที่ทาง IMAX Enhanced แนะนำไว้…

เริ่มจากด้านภาพก่อน ถ้าเป็นห้องที่ ไม่สามารถควบคุมแสงได้ดี เช่น มีประตู หน้าต่าง เยอะ หรือเป็นห้องนั่งเล่นที่ใช้ทำกิจกรรมของ ครอบครัวอย่างอื่นด้วย จอแสดงผลแนะนำเป็นจอทีวีแบบ OLED หรือ LED โดยตำแหน่ง จอภาพที่ดีก็ควรอยู่ระดับเดียวกับสายตา แต่ถ้า ติดเรื่องตำแหน่งการวางจอภาพตรงบริเวณนี้ก็ สามารถอะลุ้มอล่วยให้ติดขึ้นสูงกว่าระดับสายตา ได้เล็กน้อย ส่วนระยะที่ครอบคลุมสายตาในแนวระนาบแนะนำไว้ที่กว้าง 40 องศา หรือมากกว่า สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างหนึ่งสำหรับการใช้ทีวี เป็นจอแสดงภาพก็คือ เรื่องของสิ่งแวดล้อมของ แสง ไม่ควรมีแสงที่เป็นลักษณะส่องเข้าตรงๆ ยัง จอภาพ แสงในสิ่งแวดล้อมควรเป็นแสง diffuse ที่สะท้อนจากสิ่งอื่นจะดีกว่า

IMAX Enhanced เป็นการร่วมมือกันของทาง IMAX Corporation และ DTS

สำหรับคนที่ต้องการได้อรรถรสการดูภาพที่ ได้บรรยากาศ immersive มากขึ้นเหมือนดูหนัง ในโรงภาพยนตร์ IMAX การใช้โปรเจกเตอร์ก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ เรื่องของแสง จากสิ่งแวดล้อม เพราะว่าการใช้งานโปรเจกเตอร์ ห้องยิ่งมืดเท่าไหร่ ภาพก็จะดีมากขึ้นเท่านั้น การเลือกพรม สีผนัง ล้วนมีผลกระทบต่อ contrast ของภาพ ห้องที่มีผนังแบบไม่สะท้อน และสีใน โทนมืด มักให้ผลดีกว่า และห้องก็ต้องมีที่ว่าง เพียงพอสำหรับติดจอโปรเจกเตอร์ขนาดใหญ่ รวมถึงสถานที่วาง ที่แขวนโปรเจกเตอร์ไว้ด้วย

การใช้โปรเจกเตอร์ทำให้ได้บรรยากาศใกล้เคียงกับโรงภาพยนตร์ IMAX มากขึ้น

จอภาพของโปรเจกเตอร์สามารถใช้ได้ทั้ง จอติดถาวรแบบ fix หรือจอแบบมอเตอร์เลื่อน ขึ้นลง แล้วแต่ความสะดวกของเจ้าของห้อง รวมถึงขนาดความใหญ่ของจอภาพก็ต้องคำนึง ถึงความชอบของเจ้าของห้องด้วย ส่วนระยะนั่ง ห่างก็คำนวณได้จากความสูงของจอภาพ หรือ สามารถใช้โปรแกรมช่วยคำนวณขนาดจอภาพ ความสว่างของภาพที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้ เช่นเดียวกัน จอที่ใช้ แนะนำให้ใช้จอในอัตราส่วน 1.78:1 หรือใหญ่กว่าได้ถ้าต้องการ เกรนของ จอภาพแนะนำไว้เป็น 1.3 แต่ถ้าจะใช้จอที่มี เกรนมากกว่านี้ก็ต้องคำนึงถึงตำแหน่งนั่งดูที่อยู่ off-axis ว่า สูญเสียความสว่างไปมากไหม เพราะ จอที่เกรนสูงขึ้น บางทีเขาจะใช้เทคนิคในการ focus แสงให้มาอยู่ตรง on-axis ทำให้ตำแหน่ง นั่งดูที่อยู่ off-axis มืดลง และสิ่งที่แนะนำในการติดตั้งโปรเจกเตอร์อีกอย่างก็คือ การใช้ function ปรับแก้ keystone ที่มีอยู่ในเครื่องโปรเจกเตอร์ ทั้งแนวดิ่งและแนวระนาบ เพราะการปรับค่าใน function นี้จะเป็นการซูมภาพในบางส่วน ทำให้ ภาพที่ออกมาไม่ใช่เป็น pixel by pixel ทำให้ ความคมชัดของภาพลดลงไป ดังนั้นควรพยายาม ติดตั้งให้โปรเจกเตอร์อยู่กลางจอให้ได้มากที่สุด แต่ถ้าภาพออกมามีเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูบ้าง ก็ไม่เป็นไร ปล่อยไว้ได้เลยจะให้ผลที่ดีกว่า

IMAX Enhanced แนะนำให้ใช้จอโปรเจกเตอร์ใน
อัตราส่วน 1.78:1 หรือใหญ่กว่า เกรนของจอภาพ 1.3

ต่อมาก็เป็นเรื่องของ AV Receiver และ Processor ใครที่ต้องการให้ได้สัมผัสเสียง immersive มากยิ่งขึ้น ก็คงต้องใช้เครื่องแบบนี้ ร่วมกับลำโพงที่วางไว้ทั้งในระดับแนวราบและ แนวดิ่ง ยิ่งถ้าได้ทำในห้องที่สร้างมาเฉพาะ เพื่อเป็น Dedicated theater ด้วยแล้วก็จะ เหมาะมาก เพราะห้องเหล่านี้มีการออกแบบ ที่คำนึงถึงขนาดสัดส่วนห้อง วัสดุที่ทำผนัง พื้น เพดาน และตำแหน่งที่เหมาะสมของวัสดุที่ใช้ ทำต่างๆ เพื่อให้ได้ห้องที่ใช้เป็นห้อง Home Theater เป็นวัตถุประสงค์หลัก สำหรับตำแหน่ง การวางลำโพงเพื่อที่จะกำหนด configuration ในเครื่อง AV Receiver หรือ Processor ของ IMAX Enhanced ตอนนี้ที่แจ้งไว้มีอยู่สามแบบ คือ… 5.1.4 ซึ่งเป็นแบบเริ่มต้นมีการวางตำแหน่ง ลำโพงแนวระนาบอยู่ 5 channels ลำโพงใน แนวดิ่ง หรือ ceiling channels อีก 4 ตัว และ ใช้ subwoofer 1 ตัว นอกจากนี้ ทาง IMAX Enhanced ก็ได้แนะนำข้อพิจารณาเพิ่มเติมถึง เรื่องของขนาดสัดส่วนของห้อง วัสดุที่ใช้ทำผนัง ว่าเป็นแบบไหนกันบ้าง ความสูงของเพดานและ วัสดุที่ใช้ทำเพดาน แข็งแรงพอไหม รวมถึงชนิด ของพื้น และมีอะไรปิดพื้นเพิ่มเติมไหม ส่วนถ้า ใครต้องการให้เสียงเบสมีพลัง มี impact มาก ขึ้น เขาก็แนะนำให้ใช้เป็นระบบ 5.2.4 ซึ่งการใช้ subwoofer 2 ตัวก็ทำให้การวาง subwoofer สามารถวางแล้วลดความรุนแรงของ room mode ภายในห้องได้ แต่ก็ต้องระวังเพิ่มมาก ขึ้นในเรื่องของโครงสร้างของห้อง ระบบไฟฟ้า ระบบ HVAC (Heating, Ventilation, Air Conditioning) และที่สำคัญในเรื่องของการสั่นและการกั้นเสียงออก (Vibration/Isolation) นอกจากนี้ ถ้าใครต้องการเป็นระบบ Full IMAX Experience ก็แนะนำให้ทำเป็น 7.2.4 ไปเลย จะเป็น configuration สูงสุดของ IMAX Enhanced ที่รองรับได้ในตอนนี้ โดยลำโพง front height จะอยู่ที่ 30-55 องศา ส่วนลำโพง rear height ก็จะอยู่ที่ 125-150 องศาจากตำแหน่งนั่งฟัง ซึ่งถ้าจำได้ มันก็คือค่าเดียวกับลำโพงเพดานของ ระบบ dolby atmos นั่นเอง แบบนี้ก็แสดงว่า ใครที่เคยติดตั้งลำโพงในระบบ dolby atmos แบบ 7.2.4 ก็สามารถใช้ตำแหน่งลำโพงเดิม ได้เลย ถ้าต้องการเล่นระบบ IMAX Enhanced

ลำโพง main ที่จะนำมาใช้ใน IMAX Enhanced แนะนำให้เลือกลำโพงที่มีการ กระจายเสียงที่กว้างเพื่อเพิ่มตำแหน่ง sweet spots ความไวของลำโพง (sensitivity) อย่าง น้อยก็ประมาณซัก 89dB สามารถตอบสนอง ความถี่ต่ำถึง 70Hz หรือน้อยกว่า ลำโพงทุกตัว มีโทนเสียงที่เข้ากัน (tone/timbre matched) เพื่อให้เวลาแพนเสียงมีความ smooth ต่อเนื่อง ส่วนลำโพง subwoofer แนะนำไว้อย่างน้อย สองตัว และต้องหาตำแหน่งวางที่ถูกต้องจะได้ ช่วยลดการเกิดการหักล้างของคลื่นความถี่ต่ำภายในห้อง เนื่องจาก standing wave (minimize nulls) และถ้าจะให้ดี subwoofer ควรจะต้อง ลงลึกได้ถึง 20Hz

ลำโพง main ที่ใช้ใน IMAX Enhanced ควรจะตอบสนองความถี่ต่ำถึง 70Hz Sensitivity 89dB
สำหรับ Soundbar ก็จะมีการสนับสนุนในอนาคต

การใช้ลำโพงแบบยิงขึ้นเพดานเพื่อให้เสียง สะท้อนลงมาสร้างบรรยากาศเหมือนลำโพง เพดาน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Up-firing speaker ก็สามารถใช้ได้ในระบบ IMAX Enhanced เช่นกัน แต่ต้องระวังนิดหนึ่งว่า เพดานควรเป็นแบบเรียบ และไม่ควรมีความสูง เกิน 10 ฟุต เพื่อไม่ให้มีปัญหาการสะท้อน ของเสียง ส่วนการใช้ Soundbar ก็จะมีการ สนับสนุนในอนาคตอันใกล้ ซึ่งการใช้ Soundbar นี้ก็จะเหมาะสำหรับห้องที่วางลำโพงแบบเต็ม ระบบได้ยาก ทั้งจากขนาดห้อง งบประมาณ ที่จำกัด หรือเป็นห้องพ่วงห้องที่ใช้ระบบใหญ่ อยู่แล้ว เหล่านี้การใช้ลำโพงแบบ Soundbar ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งในตอนนี้มีหลายบริษัทที่ให้การสนับสนุน IMAX Enhanced บริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ก็ได้แก่… Sony, Denon, Marantz รวม ถึง Studio ชื่อดังอย่าง Sony Pictures และ Paramount ก็ประกาศออกมาว่าให้การสนับสนุน IMAX Enhanced แล้ว โดย Sony หัวเรือใหญ่และเป็นเจ้าใหญ่ของทั้งทีวีและ โปรเจกเตอร์ก็ได้ประกาศรุ่นของทีวีและโปรเจ็กเตอร์ที่สนับสนุน IMAX Enhanced ออกมาแล้ว

อุปกรณ์ที่รองรับ IMAX Enhanced จะมีสติกเกอร์ติดไว้เรียบร้อย

ส่วนทางด้านแผ่นหนัง IMAX Enhanced ณ ขณะที่ผม เขียนต้นฉบับนี้ (ตุลาคม 2561) ยังไม่มีการประกาศออกมา อย่างเป็นทางการ มีแต่กำหนดการเปิดตัวแผ่นสารคดี Ultra HD Blu-ray สองแผ่นแรกออกมาในวันที่ 11ธันวาคม 2561นี้ ซึ่งจะ เป็นสารคดีธรรมชาติเรื่อง A Beautiful Planet และ Journey to the South Pacific เป็นสารคดีของ IMAX แท้ นอกจากจะ เป็นแผ่น IMAX Enhanced สองแผ่นแรกแล้ว ก็ยังเป็นสองแผ่น แรกที่ใช้ระบบภาพแบบ HDR10+ อีกด้วย

แผ่น Ultra HD Blu-ray สองแผ่นแรกของ IMAX Enhanced

ช่วงนี้ก็คงจะมีข่าวคราวที่ update เกี่ยวข้องกับ IMAX Enhanced ออกมาอยู่เรื่อยๆ ก่อนที่จะเข้ามาสู่ในบ้านผู้บริโภค อย่างจริงๆ แต่ระบบนี้จะดีไหม จะสู้กับระบบอื่นได้ไหม ก็คงต้อง ติดตามกันต่อไป ยังไงถ้ามีอะไรใหม่ๆ น่าสนใจเกี่ยวกับ IMAX Enhanced ผมก็จะเอามาให้ได้อ่านกันอีกเรื่อยๆ ครับ Stay Tune!. VDP

Announced Hardware: IMAX Enhanced TVs

Sony MASTER Series A9F OLED
Sony MASTER Series Z9F LED
Sony A8F OLED (2017 model)
Sony A1E OLED (2017 model)
Sony X900F LED (2017 model)
Sony VPL-VW995ES projector
Sony VPL-VW695ES projector
Sony VPL-VW295ES projector
Sony VPL-VW285ES projector (2017 model)
Sony VPL-VW385ES projector (2017 model)
Sony VPL-VW675ES projector (2017 model)
Sony VPL-VW885ES projector (2017 model)
Sony VPL-VZ1000ES projector (2017 model)
Sony VPL-VW5000ES projector (2017 model)

ส่วนเครื่อง AV Receivers และ Processors ที่สนับสนุนก็ได้แก่…

Announced Hardware: IMAX Enhanced AVRs

Denon AVR-X8500H (already available; firmware update
for full certification due in October)
Denon AVR-X6500H (October)
Denon AVR-X4500H (October)
Marantz AV8805 (already available; firmware update
for full certification due in October)
Marantz AV7705 (October)
Marantz SR8012 (October)
Marantz SR7013 (October)
Marantz SR6013 (October)

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 261