ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ห้อง Dedicated Home Theater ก็หมายถึง… ห้องดูหนังภายใน บ้านที่ถูกทำขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อเป็นห้องสำหรับ ดูหนังจริงๆ สำหรับใครก็ตามที่มีความชื่นชอบ หลงใหลในการดูภาพยนตร์ภายในบ้าน ห้องแบบนี้ ไม่ได้หมายถึงห้องนั่งเล่นหรือห้องอรรถประโยชน์ ขนาดใหญ่ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายอย่าง ในห้องเดียวกัน อาทิ ใช้ทั้งนั่งเล่น ดูละคร ดูหนัง เล่นเกม หรือแม้กระทั่งกินข้าวในห้องนี้แบบที่ ฝรั่งเขาเรียกห้องแบบนี้กันว่า Multipurpose Room แต่ห้อง Dedicated Home Theater จะ มีการวางแผนและออกแบบอย่างละเอียด ตั้งแต่ ขั้นตอนการสร้างห้องเพื่อให้สมาชิกภายในบ้าน ได้รับประสบการณ์การดูหนังที่สุดยอด ทั้งภาพและเสียง ซึ่งในปัจจุบัน ถ้าจะพูดถึง ห้อง Dedicated Home Theater ก็มักบรรจุ เทคโนโลยีด้านภาพและเสียงอย่างทันสมัย เอาไว้ด้วย อย่างเช่น…

 • จอภาพที่มีขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นจอทีวี หรือจอโปรเจ็กเตอร์แบบ 4K ที่มีความละเอียด มากกว่าระบบภาพแบบ 1080p มากกว่าสองเท่า รวมถึงบางห้องอาจจะรองรับการ streaming ภาพยนตร์แบบ 4K HDR จากผู้ให้บริการหนัง ออนไลน์ที่มีอยู่อย่างมากมาย การที่ภาพมีราย ละเอียดมากขนาดนี้จึงทำให้ห้อง Dedicated Home Theater สามารถใช้จอขนาดใหญ่แบบ เต็มฝาผนังได้สบาย ถูกใจคอหนังจอยักษ์แบบ IMAX มาก แน่นอนว่าการจะทำห้องแบบนี้ได้ ต้องมีการคำนวณขนาดจออย่างถูกต้องเหมาะ สมเข้ากับเครื่องโปรเจ็กเตอร์ที่ใช้ ตำแหน่ง ของจอสูงขนาดไหน ระยะนั่งดูต้องห่างเท่าไหร่ เครื่องโปรเจ็กเตอร์ต้องแขวนห่างจากจอเท่า ไหร่ รวมถึงเก้าอี้ที่ใช้ในห้อง ไม่ว่าจะทำที่นั่งดู แบบเป็นแถวเดียวหรือหลายแถว ก็ต้องหาเก้าอี้ ดูหนังแบบที่นั่งแล้วให้ความสบาย ไม่ส่งผลเสีย ต่อ acoustics ของเสียงในห้อง

 • ระบบเสียงต้องทำให้ดูหนังแล้วรู้สึกว่า อินเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในหนัง โดยเฉพาะใน ปัจจุบันเป็นยุคของระบบเสียงแบบ Immersive Sound ไม่ว่าจะเป็นระบบเสียงแบบ Dolby Atmos, DTS-X หรือ Auro3D ถ้ามีการ ออกแบบ จัดวางลำโพงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ก็จะเอื้อให้ผู้ชมได้สัมผัสกับประสบการณ์เสียง แบบสมจริงได้ดีมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนที่เป็นแค่ ระบบ 2.1 หรือ 5.1 แชนเนลเท่านั้น

• มีการออกแบบสิ่งแวดล้อมในห้องไว้ อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นระบบแสงไฟภายใน ห้องที่นอกจากให้ความสวยงามแล้ว ต้องค􀄞ำนึง ถึงประโยชน์ใช้สอย ความสะดวกในการเปิดปิด การหรี่ไฟ เนื่องจากห้อง Home Theater ในขณะที่ดูหนังห้องต้องมืดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ภาพจากจอภาพมีความสมบูรณ์ ระบบ ระบายอากาศระบบทำความเย็นก็ต้องคำนึงถึง เสียงที่อาจจะดังมากเกินไปจนรบกวนเสียงของ ห้องโดยรวม หรือที่เรียกกันว่า noise floor รวมถึงระบบไฟฟ้าของระบบเหล่านี้ก็ต้องระวัง ในเรื่องเข้าไปกวนกันกับระบบไฟฟ้าของระบบ เครื่องเสียงที่ใช้อยู่

• มีการจัดการกับระบบเสียงรบกวนทั้งจาก ภายนอกห้องเข้าไปภายในห้อง หรือเสียงจาก ภายในห้องออกไปกวนส่วนอื่นๆ ภายในบ้าน ซึ่งต้องมีการวางแผนกันตั้งแต่ก่อนจะสร้างห้อง ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเป็นผนังหลายๆ ชั้น มีการบุด้วยวัสดุกันเสียงแบบต่างๆ ภายในผนัง การตัดตอนเสียงความถี่ต่ำที่จะออกไปตาม โครงสร้างแข็งที่ต่อกัน โดยการใช้วัสดุพวกยาง หรือ isolation clip เพื่อแยกโครงสร้างภายใน ห้องออกจากโครงสร้างอื่นๆ ของบ้าน เหล่านี้ก็จะ ทำให้เสียงที่อยู่ในห้องมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และเสียงภายในห้อง Home Theater ก็จะ ไม่ออกไปกวนข้างนอก

• อาจจะออกแบบให้ห้อง Dedicated Home Theater มีความสวยงาม มีการสร้างเป็น Theme ของห้องขึ้นมาว่า เจ้าของห้องอยากจะ สื่อแนวคิดอะไรออกไป เช่น บางห้องเจ้าของห้อง มีความชื่นชอบในภาพยนตร์บางเรื่อง หรือชอบ ตัวละครบางตัวในภาพยนตร์ ก็จะแต่งห้องให้ เป็น Theme ของภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ที่พบได้ บ่อยๆ ก็คือแนว Super Hero ที่ชื่นชอบ ไม่ว่าจะ เป็น Batman, Superman, Captain America เป็นต้น สำหรับในเมืองไทย ผมก็เริ่มเห็นทำห้อง ในลักษณะแบบนี้มากขึ้น คิดว่าอีกหน่อยคงได้รับ ความนิยมเช่นเดียวกับในต่างประเทศ ที่ถึงกับมี การประกวดห้องในลักษณะแบบนี้อยู่เป็นประจำ

พูดถึงห้องแบบ Dedicated Home Theater ที่ผ่านมา ผมได้ไปเยี่ยมชมห้องดูหนังของ พี่หมออิ๊ด พี่ชายใจดี ซึ่งพี่หมออิ๊ดนับว่าเป็นนักเล่นเครื่องเสียง มาอย่างโชกโชน ไม่ว่าจะเป็นระบบ 2 Ch, ระบบ Multi Channel ก็เล่นมาอย่างยาวนานเป็น สิบๆ ปีแล้ว ตอนนี้ก็ได้ปรับปรุงห้องฟังใหม่ เปลี่ยนระบบต่างๆ บุผนัง เสริม Baffle ในห้อง ใหม่หมด ผมจึงขอน􀄞ำเอาประสบการณ์ที่ได้รับ จากการเข้าเยี่ยมชมห้องที่เรียกได้ว่าเป็นห้อง Home Theater ระดับสุดยอดอีกห้องหนึ่งใน ประเทศไทย มาบอกเล่าให้กับผู้อ่านนิตยสาร Audiophile/Videophile กันครับ

พรมที่ถูกสั่งทอเป็นพิเศษสำหรับห้องนี้โดยเฉพาะ

ห้องนี้ ผมเคยมาเยี่ยมเมื่อหลายปีมาแล้ว ตอนนั้น พี่อิ๊ด ยังใช้ห้องนี้เป็นห้องฟังทั้ง 2 Ch และเป็นห้อง Home Theater ร่วมกัน ตัวห้องเอง ถูกสร้างขึ้นอย่างแข็งแรงมาก เพราะออกแบบ มาให้เป็นห้องดูหนังฟังเพลงตั้งแต่แรก แค่ประตู เข้าห้องก็หนาเกือบๆ 20 ซม. ไปแล้ว เป็นประตู ที่กันเสียง เมื่อเปิดประตูเข้ามาในห้องแล้ว รู้สึกถึงความเงียบสงัดดีมาก ผนังโดยรอบของ ห้องหนาเป็นฟุต พี่อิ๊ดบอกว่า ห้องนี้สามารถทำความเงียบได้ถึงระดับเฉลี่ย NC 25 (Noise Criteria) เลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็น noise floor ที่ต่ำ มีเสียงรบกวนจากภายนอกเข้ามาน้อยมาก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับทำเป็นห้องดูหนังเพื่อให้ ผู้ชมได้สัมผัสถึงเสียงเบาๆ ที่เขาบันทึกมา รูปร่างของห้องเป็นห้องสี่เหลี่ยมที่มีด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน เพื่อเหตุผลในเรื่อง room mode ในห้อง โดยถ้า ไม่นับรวมส่วนแยกของห้องที่ออกไปเป็น mini bar และห้องเก็บอุปกรณ์ ส่วนแคบที่สุดกว้าง 4.78 เมตร ที่กว้างที่สุดกว้าง 5.02 เมตร ด้านยาว ของห้อง ส่วนที่ยาวที่สุดยาว 7.05 เมตร เพดาน ทำเป็นสโลปมีความสูงอยู่ระหว่าง 3.05 – 3.42 เมตร ดูจากขนาดคร่าวๆ แล้ว ก็นับได้ว่าห้องนี้ มีขนาดที่ใหญ่พอสมควรเลยทีเดียว เมื่อเดินเข้า มาสิ่งแรกที่ทุกคนจะสะดุดตาก็คือ พรมสีแดง มีลายเป็นรูปฟิล์มหนัง พรมผืนนี้เห็นว่าสั่งทอ เป็นพิเศษเพื่อให้เข้ากันกับ theme ของห้อง ที่แสดงถึงความชอบ ความหลงใหล ในการชม ภาพยนตร์ของเจ้าของห้องนั่นเอง ด้านหลังและ ด้านข้างของห้องจะทำเป็นห้องต่อยื่นออกไปอีก โดยทำเป็นประตูซ่อนไว้ที่ผนัง มองผ่านๆ ไปก็ จะดูไม่ออกว่าเป็นประตูไปยังห้องเล็กๆ อีกห้อง หนึ่ง โดยด้านหลังต่อออกไปเป็นห้องเล็กๆ ที่มี mini bar ตั้งอยู่ ทำจำลองเหมือนร้านขายขนม ในโรงภาพยนตร์ มีตู้ไฟแขวนอยู่ ดูแล้วทำให้รู้สึก เหมือนกับว่าเรากำลังอยู่ในโรงภาพยนตร์จริงๆ ส่วนด้านข้างก็จะต่อออกไปเป็นห้องเก็บแผ่น บลูเรย์ เก็บเครื่องมือช่างเล็กๆ น้อยๆ เก็บพวก สายไฟสายสัญญาณบ้าง รวมถึงเป็นด้านหลัง ของ rack ที่ใช้วางอุปกรณ์เครื่องเสียง ทำให้เวลา ต่อสาย เปลี่ยนสาย สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องมุดเข้าไปหลังเครื่องเหมือนบางห้องที่เวลา จะเปลี่ยนสายที ต้องมุดเข้าไปอย่างยากลำบาก บางทีก็ต่อสายผิดบ้างถูกบ้าง เสียบสายไม่ตรง ทำให้ขั้วต่อหลังอุปกรณ์เครื่องหรือหัวของสาย ต่างๆ บุบไป เสียไป ก็เห็นมาเยอะแล้ว

อุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ในห้องนี้ แต่ละตัว เรียกได้ว่ามีแต่ตัวท็อป หรือไม่ก็เป็นรุ่นเรือธงของ แต่ละยี่ห้อกันเลย เริ่มจากลำโพงกันก่อน ลำโพง ในห้องนี้ใช้ระบบลำโพงของ Meyer Sound ทุกตัว เริ่มจากลำโพงหน้าซ้าย กลาง และหน้าขวาเป็นรุ่น Acheron Designer เป็นลำโพงที่อยู่ ในสายการผลิต CINE-STUDIO Series ของ Meyer Sound ลำโพงตระกูลนี้เป็นลำโพง Active ทั้งหมด เนื่องจาก Meyer เชื่อว่า การที่มี Power Amplifier ข้างในทำให้ลำโพงมี ความเป็น linearity สูง ไม่ต้องกังวลเรื่อง Power Amp ไม่ match หรือแรงขับไม่พอ ไม่เข้ากัน กับตัวลำโพง โดย Amp ที่ใช้กับลำโพงตัวนี้ จะใช้ 2 ตัวต่อลำโพง 1 ตู้ แยกกันระหว่างแอมป์ ของ Tweeter และ Woofer ทำให้ได้กำลัง เต็มที่ ซึ่งลำโพงตัวนี้สามารถทำความดังได้ถึง 130dB โดยแทบไม่มีความเพี้ยน ทำให้ถ้าเราเปิด ความดังในระดับ reference level จะมี head room เหลือเฟือ โดยลำโพงตัวนี้ถูกออกแบบมา ใช้สำหรับห้อง Sound design suites, Small theatres, Private Theatres, Re-recording stages, Post production facility ที่มีระยะ นั่งฟังอยู่ที่ 2 – 5 เมตร

ตำแหน่งนั่งฟังตามคำแนะนำของผู้ผลิตลำโพง

ลำโพง Surround ทั้งหมดในห้องนี้มีอยู่ถึง 18 แชนเนล วางลำโพงเพื่อให้สามารถใช้ได้กับ ระบบเสียง Dolby Atmos, DTS-X, Auro 3D โดย Ear-level layer จะเป็นลำโพงหลัก 7.1 แชนเนล เพิ่มเติมในส่วน Front wide ทั้งด้าน ซ้ายและขวา ลำโพง Surrond ด้านข้างมีอยู่ 4 แชนเนล ส่วนด้านหลังเป็นลำโพง Surround Back ตามปกติ ส่วนในระดับ Upper level จะเป็นลำโพงเพดานสำหรับ Dolby Atmos 8 แชนเนล และก็จะเป็นลำโพง Voice of God สำหรับ Auro 3D อีก 2 แชนเนล โดยลำโพง Surround ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Upper level หรือ Ear-level layer จะเป็นลำโพง Meyer Sound รุ่น HMS-5 ยกเว้นลำโพง Surround Back ที่เป็นลำโพง monitor ตัวใหม่ล่าสุด ของ Meyer Sound คือรุ่น Amie ที่ทำไว้แบบ นี้เจ้าของห้องให้เหตุผลว่า บางทีอยากฟังแค่ ลำโพง Amie เป็น 2 แชนเนลก็สามารถทำได้ โดยหันหลังกลับมาก็สามารถเลือกฟังเฉพาะลำโพง Amie 2 ตัวด้านหลังได้เลย ส่วนตำแหน่ง การวางลำโพงต่างๆ ก็วางตำแหน่งตามแผนผัง ดังรูป ซึ่งแปลนตำแหน่งลำโพงห้องนี้ได้ให้ Arnaud Laborie เจ้าพ่อ 3D sound ที่เป็นทั้งผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Trinnov Sound เป็นคน approved ตำแหน่งลำโพงต่างๆ ให้เลยทีเดียว

มาถึงลำโพงที่สำคัญอย่างยิ่งในระบบ Home Theater อีกอย่างก็คือ ลำโพง Subwoofer ซึ่งห้องนี้ใช้ ทั้งหมด 4 แชนเนล จำนวน 4 ตู้ ติดตั้งใน Configuration รูปแบบ Bass Management มี 2 ตู้หน้าวางอยู่ระหว่าง ลำโพงหน้าซ้ายกับลำโพง Center และอีกตัว วางระหว่างลำโพงหน้าขวากับลำโพง Center อยู่ด้านหลังจอรู (Acoustically Transparent Screen) โดยเป็น Meyer Sound รุ่น X-800C ที่แต่ละตู้มี driver ขนาด 18 นิ้วอยู่สองตัว น้ำหนักตัวตู้ร้อยกว่ากิโลกรัมต่อตู้ ตอบสนอง ความถี่ที่ 20Hz – 200Hz สามารถทำความดังได้ สูงสุด 136dB กันเลย และที่น่าสนใจ อีกสองตู้ ที่เหลือคือเป็น Subwoofer ใหม่ล่าสุด รุ่น Amie-Sub ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากเหมือนรุ่น X-800C แต่ละตู้มี driver แบบ long-excursion cone ขนาด 15 นิ้วอยู่ 1 ตัว น้ำหนักตัวตู้อยู่ที่ 33.5 กิโลกรัม เห็นตัวเล็กๆ เบาๆ แบบนี้ สามารถ ทำความถี่ลงลึกได้ถึง 22Hz – 160Hz เลยนะครับ และที่สำคัญคือ ห้องนี้เอาซับวูฟเฟอร์ Amie 2 ตัวนี้ แขวนไว้บนเพดานด้านหลัง ใกล้ๆ กับ ลำโพง Ceiling แชนเนล หลังจากถามเหตุผลว่า ทำไมถึงต้องแขวนซับวูฟเฟอร์ไว้บนเพดาน แบบนี้ด้วย ปกติไม่ค่อยเห็นมีใครทำกันเลย พี่อิ๊ด ได้ตอบว่า เคยทำห้องที่แขวนซับวูฟเฟอร์แบบนี้ มาสองสามห้องแล้ว ที่ห้องนี้ต้องใช้การแขวนก็ เพราะหลังจากวัด frequency response ของ ความถี่ต่ำแล้ว พบว่าห้องนี้มี dip หรือมีหลุมอยู่ ซึ่งน่าจะเกิดจากตำแหน่งที่เป็น room mode ของห้อง ทำให้เกิดการ cancellation กันของ ความถี่ต่ำบางย่าน แต่เมื่อลองยกซับวูฟเฟอร์ ขึ้น ไว้บนเพดานแบบนี้แล้วปรากฏว่า หลุมที่ว่านี้ได้ หายไป ทำให้ frequency response ที่เกิดขึ้น มีความราบเรียบขึ้นเป็นอย่างมาก แต่กว่าจะได้ ตำแหน่งตรงนี้นั้นก็หาตำแหน่งยกขึ้นยกลงอยู่ หลายรอบเหมือนกัน ซึ่งเจ้าของห้องเองก็ไม่ได้ แจ้งว่าหมดคนงานยกขึ้นยกลงกันไปกี่คน อิ อิ…

อุปกรณ์เครื่องเสียงต่างๆ ที่ใช้อยู่ในห้องนี้

แน่นอนว่า ห้องนี้ตำแหน่งลำโพงถูกวางไว้ โดยเจ้าของบริษัท Trinnov ตัว Pre-Processor ที่ใช้คงเป็นตัวอื่นไปไม่ได้ นอกจาก Trinnov Audio รุ่น Altitude32 ที่รองรับจำนวนแชนเนล แยกอิสระ หรือที่เรียกกันว่า discrete channels ได้ถึง 32 แชนเนล โดย Pre-Pro ตัวนี้ทำหน้าที่ จัดการระบบเสียงทั้งหมดในห้องนี้ ไม่ว่าจะ เป็นการ configuration ลำโพง การปรับแต่ง เสียงต่างๆ โดยใช้โปรแกรม loundspeaker/ room optimizadtion อันชาญฉลาดของ Trinnov ร่วมกับไมค์วัดเสียงของเขาเองที่ ออกแบบมาเฉพาะ เพื่อแก้ไปปัญหา acoustics ต่างๆ ของห้อง โดยพี่หมออิ๊ดได้โชว์ให้เห็นความ สามารถต่างๆ ของ Pre-pro ตัวนี้ว่าสามารถปรับ แต่งทุกอย่างได้ตามที่เราต้องการ การวัดเสียง และปรับเสี ยงก็ทำได้ ออกมาแม่ นยำแน่ นอนมาก พอหลังจากทำการปรับแล้ว ก็ทำการวัดค่าต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบให้เป็นชัดๆ ว่า หลังจากทำการ ปรับแล้วมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ซึ่งพอ เห็นกราฟก่อนปรับและหลังปรับแล้วนั้น เรียกได้ ว่าความเรียบ ความ smooth ของ frequency response รวมถึงกราฟ impulse response, กราฟ phase response ทำได้น่าทึ่งมาก นอกจากนี้ก็ยังสามารถทำ preset ได้หลายค่า ว่าต้องการเก็บค่าแบบไหนไว้บ้าง เวลาเลือกก็แค่ กดปุ่มบน iPad เลือกได้ทันที เรียกได้ว่า Pre-pro ในสมัยนี้ก้าวหน้ากว่า Pre-pro ในยุคไม่กี่ปีก่อน อย่างมากมาย ต่อจาก Pre-processor สัญญาณ เสียงจาก Trinnov Altitude32 ก็จะส่งต่อไปยัง Galileo GALAXY 408 Network Processor โดยตัวนี้เป็นตัว DSP ควบคุมลำโพง Meyer Sound ผ่าน iPad ทาง Network แต่สำหรับ ลำโพงเซอราวด์ HMS-5 ทุกตัว ยกเว้น Amie จะใช้ MPS-488HP Power Supply เป็นตัว จัดการเรื่องสัญญาณเสียงและระบบไฟทั้งหมด

ระบบภาพในห้องนี้ใช้โปรเจกเตอร์ของ JVC รุ่น DLA-X7900 ซึ่งเป็นโมเดลใหม่ล่าสุด จากทาง JVC รับข้อมูลจาก Oppo UDP-205 Ultra HD Blu-ray Player โดยผ่าน Lumagen Radiance Pro UltraHD Series ก่อน ถ้าใคร สงสัยว่า Lumagen Radiance Pro คืออะไร นึกถึงง่ายๆ มันก็เปรียบเสมือน EQ ในระบบเสียง ที่ใช้ในการจัดการ ปรับแต่งค่าต่างๆ ของเสียง แต่ตัวนี้ใช้สำหรับภาพ ก็คือสามารถทำได้หมด ไม่ว่าจะเป็นการปรับ Grayscale, การปรับสี Color Gamut, ปรับค่า EOTF หรือค่า Gamma ของภาพ ฯลฯ เรียกได้ว่าปรับได้ละเอียดกว่าการ ปรับที่มีในทีวีหรือเครื่องโปรเจกเตอร์ แต่ปัญหา คือ การปรับค่อนข้างยุ่งยาก เหมาะสำหรับ นักเล่นภาพประเภท hard core ที่ชอบปรับได้ เยอะๆ หรือมืออาชีพเสียมากกว่า แต่ถ้าปรับ ได้ลงตัวแล้ว ภาพที่ได้ออกมาถือว่าเป็นภาพที่ดี มีความถูกต้องของสี มีความสวยงามเป็น ธรรมชาติมาก อย่างเช่นภาพที่ผมได้เห็นในห้องนี้

คราวนี้ถึงเวลาที่จะมานั่งทดสอบเสียงที่ได้ จากห้องนี้กันบ้าง เริ่มจากแผ่นมาตรฐานที่ใช้ ทดสอบเสียง Immersive Sound แบบ Dolby Atmos แผ่น Dolby Atmos Demonstration disc โดยแทร็กแรกที่ลองเป็น Amaze คลิปนี้ เน้นไปที่บรรยากาศโดยรอบในช่วงแรกที่มีแมลงอยู่ ซึ่งระบบในห้องนี้ให้ focus ของเสียงแมลง ให้ ความโอบล้อมของบรรยากาศได้ดี ส่วนในตอน ที่เป็นเสียงฟ้าร้อง พลังงานจากซับวูฟเฟอร์ ทั้งหมดที่อยู่ในห้อง เรียกได้ว่ามากันแบบเต็มๆ สั่นสะเทือนไปทั้งเก้าอี้ แต่ตัวห้องกลับนิ่ง ไม่มี การกระพือของผนังหรือฝ้าเพดานแต่อย่างไร แบบนี้เรียกได้ว่าห้องนี้เอาอยู่ เสียงเม็ดฝนที่ ตกลงมาจากเพดานให้ความรู้สึกเสมือนอยู่กลาง สายฝนจริง รายละเอียดเม็ดฝนนี่มีมาให้เป็น เม็ดๆ ที่ผมมีความรู้สึกว่าเหมือนเม็ดฝนมันใหญ่ กว่าห้อง Home Theater ทั่วไปที่เคยไปฟังมา ต่อมาก็ได้ลองแทร็ก Leaf ที่อยู่ในแผ่นเดียวกัน คลิปนี้เป็นการโชว์ความต่อเนื่องของเสียง เมื่อใบไม้ปลิวผ่านสิ่งกีดขวางต่างๆ เรียกได้ว่า ห้องนี้ให้ความต่อเนื่องของเสียงแบบเนียนๆ เลย อาจจะเพราะใช้ลำโพง surround ต่างๆ กว่า 20 แชนเนล ที่วางตำแหน่งอย่างเหมาะสม ร่วมกับ การประมวลผลของ Pre-processor ที่สามารถdecode เสียงออกมาแบบ discrete ได้ทุก แชนเนล ความต่อเนื่องของเสียงจึง smooth มาก ทีเด็ดตอนท้ายของคลิปนี้อยู่ที่ตอนใบไม้แตะ ลงบนพื้นน้ำนั้น จะได้ยินเสียงน้ำกระเพื่อมอยู่ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของผู้ฟังอย่างชัดเจน ใครที่มีคลิปตัวนี้ ลองไปฟังดูได้ครับตอนท้ายของ คลิป เช่นเดียวกับการได้ลองแทร็ก Helicopter Demo ที่แสดงศักยภาพของลำโพงเพดาน ทั้ง 8 ตัวได้อย่างต่อเนื่อง เหมือนมี Helicopter ลำใหญ่มาบินเวียนเป็นวงกลมอยู่บนหัวจริงๆ หลังจากนั้นก็ได้ลองคลิปตัวอย่างจากระบบเสียง ต่างๆ ทั้งจาก DTS-X, Auro 3D อีกหลายคลิป ซึ่งแต่ละตัวให้ความรู้สึกโอบล้อมตัวของเสียงได้ ดีมาก ทำให้ผู้ฟังรู้สึกถึงความเป็น 3 มิติของ เสียง มีการเคลื่อนตัวของเสียงได้อย่างชัดเจน จนเหมือนแทบจะจับต้องวัตถุได้

การลองภาพยนตร์ได้คัดเอาแต่ฉากเด็ดๆ ที่แสดงศักยภาพของความถี่ต่ำ และเสียงแบบ Immersive Sound ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นฉาก การต่อสู้ของคนเหล็กใน Terminator Genisys ที่เวลาปล่อยหมัดใส่กันแต่ละที เสียงเบสนี่ หนักแน่น รุนแรง แต่ด้วยความโดดเด่นในเรื่อง Phase coherence ของลำโพง Meyer Sound จึงทำให้เสียงความถี่ต่ำที่ออกมามีความแน่น กระชับ ฉับไว นับได้ว่าซิสเต็มนี้ให้เสียงเบสที่ มีคุณภาพดีมาก หลังจากได้ทดลองภาพยนตร์หลายเรื่อง ก็มาทดสอบ clarity ของเสียงใน คอนเสิร์ตและเพลงอีกหลายแทร็ก เช่น เสียง ของ Micheal Bluble ในคอนเสิร์ตของ David Foster ชุด Hit Man เสียงของ Lady Gaga และศิลปินอีกหลายท่านในอีกหลายคอนเสิร์ต สรุปได้ว่าเสียงคนร้องที่ร้องออกมา เสียงมี ความสดใส ชัดเจน สมจริง ไม่มีอาการแตกพร่า หรือเพี้ยน ในขณะที่นักร้องเปล่งเสียงออกมา เต็มที่แบบดังๆ แต่อย่างไร หลังจากนั้นก็ได้ ฟังการจำลองเสียงImmersive Sound จากแหล่งเสียงที่เป็นแค่ 2 แชนเนล โดยใช้ ระบบเสียง Auro 3D Upmixing ขึ้นไป ซึ่ง นับได้ว่าทำได้ดีกว่าที่คิดไว้มาก ไม่มีความรู้สึก ว่าเป็นเสียงที่ก้องๆ ฟังดูหลอก ทำให้คิดว่าน่า เสียดายถ้าในอนาคตระบบนี้ไม่ได้รับความนิยม และหายไป เพราะผมว่า แนวคิดในการจำลองเสียง Immersive Sound ของเขาก็ถือว่าดีเลย เพียงแต่ระบบกลไกการตลาดกับธุรกิจ บางทีก็ ไม่เอื้อกับของดีๆ เหมือนกัน สำหรับห้อง Dedicated Home Theater ห้องนี้ของพี่หมออิ๊ด ขอแนะนำเลยว่า ถ้าใคร อยากได้ประสบการณ์เกี่ยวกับเสียง Immersive Sound ที่ดี ระบบเสียงที่สุดยอด ห้องฟังที่ สามารถทำให้ภาพและเสียงแสดงศักยภาพได้ เต็มที่ ทั้งยังมีความสวยงาม ยังไงต้องลองมา สัมผัสประสบการณ์อันสุดยอดนี้ด้วยตัวเอง ดูครับ ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณ พี่หมออิ๊ด อีกที ที่อนุญาตให้ผมและกลุ่มเพื่อนๆ ได้เข้าเยี่ยมชม ห้อง Home Theater ในวันนั้นด้วยครับ. VDP

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 255