ชานนท์

นักเขียน : ชานนท์ จุทัยรัศม์

 AVR ราคาเบาๆ รองรับ 4K HDR และ Dolby Atmos/DTS:X !!

ก่อนนี้มาตรฐานระบบภาพ HDR และระบบเสียงยุคใหม่ทั้ง Dolby Atmos/DTS:X ดูจะไขว่คว้า ได้ยาก ด้วยระดับราคาที่จำกัดเฉพาะรุ่นสูง แต่บัดนี้กำเงินหมื่นนิดๆ ก็ได้ AVR ที่มีความสามารถนี้ ครบแล้วครับ…

ยังคงเน้นความนุ่มนวลผ่อนคลาย ฟังได้นานไม่เครียดเช่นเคยฟังเพลงพ็อพแจ๊สใสๆ หวานๆ รับรองเพลินไปเลย

TX-NR474 ถือเป็น AVR ราคาสบายกระเป๋า โดยเป็นรุ่นสูงขึ้นจาก น้องเล็ก TX-SR373 หนึ่งระดับ แต่คุณสมบัติดูน่าสนใจกว่ามาก เพราะรองรับ HDR Video Pass-through ซึ่งรวมไปถึง Dolby Vison พร้อมภาคถอดรหัส เสียงยุคใหม่ครบทั้ง Dolby Atmos และ DTS:X อีกทั้งยังพ่วงความสามารถ ด้าน Network Audio อีกต่างหาก

ก่อนอื่นมาดูคุณสมบัติเปรียบเทียบกับเจเนอเรชั่นก่อนหน้า อย่าง TX-SR444 เพื่อดูว่ารุ่นใหม่ ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นบ้าง

ในส่วนของรูปลักษณ์ภายนอกด้านหน้าคงเดิมในแง่การจัดวางเลย์เอาต์ ปุ่มควบคุม แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลง คือ รุ่นใหม่ 474 จะเปลี่ยนช่องรับสัญญาณ ภาพและเสียง Analog AUX แบบ RCA ไปเป็น 3.5mm Analog Audio Input แทน ส่วนช่องรับสัญญาณ AccuEQ Setup Microphone ยังคงเดิม

ด้านหลังดูต่างไปจากเดิมพอควร อันที่จริงผมชอบแบบรุ่นก่อน (444) มากกว่านะ มองแล้วแยกแยะจัดกลุ่มช่องต่อได้ง่าย มีภาพประกอบดูชัดเจน กว่า แต่รุ่นใหม่ 474 อัพเกรดจุดเชื่อมต่อสายลำโพงเป็นแบบ Binding post ทั้งหมด และจัดวางเรียงแถวเดียวในแนวนอน ซึ่งช่วยให้การเสียบต่อสาย ลำโพงทำได้สะดวกขึ้น

ช่องรับสัญญาณอะนาล็อก อาทิ Video Component ที่ดูไม่มีความจำเป็น นักในปัจจุบันถูกตัดออกไป จำนวนแชนเนลภาคขยายก็ลดเหลือ 5 แชนเนล (444 มี 7 แชนเนล) แต่ก็ทดแทนด้วยตัวเลขกำลังขับที่สูงกว่า (135W vs. 100W @6-Ohm)

อุปกรณ์ภายใน TX-NR474 ติดตั้งภาคจ่ายไฟ EI Trans­former พร้อมตัวเก็บประจุขนาด 6800uF จำนวน 1 คู่ ใช้ AK4438 384kHz/32-bit Multichannel DAC chip จาก AKM และวงจรภาคขยายจำนวน 5 แชนเนล แบบ High-current amp ที่ Onkyo แจ้งว่าสามารถจ่ายกระแส รองรับค่าความต้านทานของลำโพงได้ตำถึง 4 โอห์ม ติดตั้ง Wi-Fi & Bluetooth Module บริเวณกึ่งกลาง บนแผงวงจรหลัก พร้อมเสาอากาศคู่ด้านหลัง ในส่วน ของสายไฟเอซีเป็นแบบยึดติดกับตัวเครื่อง ถอดเปลี่ยน สายไม่ได้

HDMI Input ทั้ง 4 ช่อง ของ TX-NR474 รองรับ HDCP 2.2 และเมื่อทำการอัพเดตเฟิร์มแวร์ คาดว่าจะรองรับ Dolby Vision HDR Pass-through (ปัจจุบันรองรับ HDR10 Pass-through)

ลักษณะของรีโมตคอนโทรลน่าจะคุ้นเคยกันดี ขนาดกะทัดรัด จำนวนปุ่ม ไม่เยอะมาก ดูเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ปุ่มยังไม่สามารถเรืองแสงในที่มืดได้

Hi-res Audio & Network Streaming Services

จุดที่ 474 ได้รับการอัพเกรดชัดเจน เหนือกว่ารุ่นน้อง 373 รวมถึงรุ่นเจนฯ ก่อน อย่าง 444 คือความสามารถด้าน Hi-res Audio & Network Streaming Services

เมื่อให้มาทั้ง Ethernet (LAN) และ Wi-Fi ส่งผลให้ 474 มีความสามารถด้าน Network Audio ไม่ว่าจะเป็นการแชร์เพลงร่วมกับ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ในวงเครือข่าย DLNA อาทิ PC หรือ NAS ไปจนถึงความ สามารถทาง Network Audio Streaming อื่น อย่าง Airplay และ Chromecast และยังเชื่อม ต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อรับฟัง Internet Radio หรือ Online Music Streaming Services ที่หลากหลาย เรื่องจำนวนนั้น ครบครันมากที่สุดไม่แพ้รุ่นท็อปๆ อาทิ TIDAL, Deezer, TuneIn, Spotify, Pandora และยังรองรับการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีไร้สาย Bluetooth 4.1 การรับฟังดนตรีผ่าน 474 จึงเข้ากับไลฟ์สไตล์ปัจจุบันได้อย่างกลมกลืน

ในส่วนของ Hi-res Audio ก็ครบครันเช่นกัน ไม่ว่าจะเล่นผ่าน USB Flash Drive/External HDD หรือ Network โดยรองรับฟอร์แม็ตสำคัญ อาทิ FLAC, WAV (up to 192kHz/24-bit), WMA Lossless, Apple Lossless และ DSD (up to 5.6 MHz)

“Onkyo Controller” Remote App เวอร์ชั่นใหม่ที่มีความจำเป็นเมื่อต้องการใช้งาน ฟีเจอร์ Network Audio ร่วมกับ AV Receiver ซึ่งนอกจากการควบคุมใช้งาน AVR ในห้องหลักแล้ว ยังจัดการกระจายเสียงจากอินพุตอื่นของ AVR เครื่องนี้ ไปยังพื้นที่ อื่นแบบ Multi Zone ได้ด้วย โดย Onkyo เรียกชื่อเทคโนโลยีนี้ว่า “FlareConnect”

หนึ่งในความสามารถที่ได้รับการพัฒนา เพิ่มเติมเข้ามากับ 474 คือ “Chrome­cast Built-in” (Audio Only) รองรับ การแชร์เพลงผ่าน Music Streaming app ได้ง่ายๆ ปัจจุบันมีราวๆ สิบกว่า แอพฯ

474 ยังรองรับ DTS Play-Fi อีกหนึ่ง Music Streaming app ที่เด่นเรื่องของการ รองรับ Hi-res Formats และ Wireless Surround Sound การควบคุมใช้งานจะ ต้องติดตั้ง DTS Play-Fi app เพิ่มเติม (แยกต่างหากจาก Onkyo Controller app)

ผลการทดสอบ

ดังที่เกรินไปตั้งแต่ต้นว่า 474 แม้เป็น AVR ระดับเริ่มต้นราคาไม่สูง แต่ พร้อมทั้งความสามารถ HDR10 Video Pass-through และ Dolby Atmos/ DTS:X Audio Decoder โดยเป็นคุณสมบัติที่มาจากโรงงานเลย แกะกล่อง ก็ใช้งานได้ทันที ทว่าในส่วนของการรองรับมาตรฐาน “Dolby Vision HDR Video Pass-through” นั้น ขณะที่ทำการทดสอบยังไม่รองรับครับ ต้องรอ อัพเดตเฟิร์มแวร์ ซึ่งพอจะคาดการณ์ว่า เมื่อนิตยสารออดิโอไฟล์/วิดีโอไฟล์ ฉบับนี้วางแผงในเดือนธันวาคม ทาง Onkyo น่าจะปล่อยให้อัพเดตกัน (หากไม่มีอะไรผิดพลาด)

หลายท่านคงสงสัยว่า 474 มีจำนวนแชนเนลภาคขยาย 5 แชนเนล ดังนั้น จะติดตั้งใช้งานลำโพงอย่างไรจึงจะรองรับการใช้งานระบบเสียงรอบทิศทางยุค ใหม่อย่าง Dolby Atmos และ DTS:X ที่เพิ่มเติมมิติเสียงด้านสูงเข้ามา

ทางเลือกสำหรับ 474 สำหรับระบบเสียง Dolby Atmos และ DTS:X คือ รูปแบบ 3.1.2 ซึ่งติดตั้งลำโพงด้านสูงได้ 3 ลักษณะ คือ Front Height Speakers, Top Middle Speakers และ Dolby Atmos Enabled (Upfiring) Speakers

มาถึงตรงนี้หลายท่านอาจจะลังเลว่า การติดตั้งลำโพงแบบ 3.1.2 ที่มีลำโพงด้านสูง แต่ต้องแลกกับลำโพงเซอร์ราวด์ กับรูปแบบพื้นฐาน 5.1 ที่มีลำโพงเซอร์ราวด์ แต่ไม่มีลำโพงด้านสูง แบบใดให้ผลลัพธ์ดีกว่า? ผมมี คำแนะนำดังนี้ครับ

คำแนะนำแรก กรณีอัพเกรด AVR เป็น 474 เพื่อใช้งานร่วมกับซิสเต็ม ลำโพงเดิมแบบ 5.1 ที่มีอยู่แล้ว แนะนำให้ติดตั้งใช้งานแบบ 5.1 เช่นเดิม แต่ตรวจสอบการจัดวางลำโพงเซอร์ราวด์ให้อยู่สูงเหนือระดับหูของผู้ฟังขึ้นไป สัก 1 ถึง 2 ฟุต เหตุผลเพื่อให้ลำโพงเซอร์ราวด์รับหน้าที่สร้างสนามเสียง โอบล้อมด้านหลัง และช่วยเติมเต็มบรรยากาศด้านสูง อนาคตหากมีการ อัพเกรด AVR เพื่อเพิ่มแชนเนลภาคขยายเป็น 5.1.2 หรือ 5.1.4 ค่อยเสริม Front Height Speakers, Top (Ceiling) Speakers หรือ Dolby Atmos Enabled (Upfiring) Speakers เพิ่มเติมภายหลังได้ครับ

คำแนะนำที่สอง กรณีติดตั้งลำโพงใหม่ทั้งชุดเพื่อใช้งานร่วมกับ 474 แนะนำให้ติดตั้งใช้งานแบบ 3.1.2 – Top Middle Speakers โดยตำแหน่ง ลำโพง Top Middle นี้ ควรอยู่ในระนาบเหนือศีรษะของผู้ฟังพอดี หรือเยื้องไป ทางด้านหลังเล็กน้อย จะช่วยให้รับหน้าที่ควบทั้งเสริมมิติเสียงด้านสูง และสร้าง สนามเสียงโอบล้อมด้านหลังแทนที่ลำโพงเซอร์ราวด์ได้ ซึ่งในการทดสอบนี้ อิงตามลักษณะการติดตั้งลำโพงตามคำแนะนำที่สอง พบว่าให้ผลลัพธ์เป็นที่ น่าพอใจทีเดียวครับ

อีกสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้ก่อนใช้งาน AVR คือ “การเซ็ตอัพตั้งค่าลำโพง รอบทิศทาง” ซึ่ง 474 จะมีระบบช่วยเหลือกึ่งอัตโนมัติที่เรียกว่า AccuEQ ร่วมกับ Setup Mic ที่ให้มา ผลลัพธ์ในแง่การตั้งค่าลำโพงพื้นฐาน อย่างระยะห่าง ลำโพงและจุดตัดความถี่ อยู่ในเกณฑ์ดี ในส่วนของการบาลานซ์ชดเชยระดับ เสียงของลำโพงหลักก็ทำได้ดี แต่การให้น้ำหนักเสียงของลำโพงซับวูฟเฟอร์ ดูจะมากเกินไปสักนิด แต่จุดนี้สามารถไฟน์จูนแก้ไขภายหลังได้ไม่ยากครับ

ตัวอย่างผลการตอบสนองความถี่เสียงของลำโพงหน้าซ้าย และลำโพงซับวูฟเฟอร์ เมื่อใช้ และไม่ใช้ AccuEQ Room Calibration ในการแก้ไขดุลเสียงของลำโพงอันเกิดจากปัญหา สภาพแวดล้อม พบว่า แม้โดยรวมถือว่าไม่มีปัญหาด้านความเที่ยงตรง แต่ผลลัพธ์ยัง ไม่โดดเด่นเท่า AVR รุ่นใหญ่

TX-NR474 ให้ตัวเลือกปรับตั้งในส่วนของ Manual EQ มาด้วย ความละเอียดถึง 15-band กำหนดได้ 3 Presets อย่างไรก็ดี ในรุ่นนี้จะยังไม่แยกตัวเลือก Standing Wave Control แบบรุ่นใหญ่ หากต้องการไฟน์จูนเจาะจงเฉพาะปัญหา Room Mode จึงยังทำไม่ได้ แต่ด้ วย Manual EQ ที่ทำได้ค่อนข้างละเอียดจึงทดแทนได้ อย่างไรก็ดีทั้ง Manual EQ และ Standing Wave Control นี้ คงไม่มีความจำเป็นต้องพิจารณาสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปครับ

ไม่เน้นชุดใหญ่จำนวนลำโพงมาก แต่ยังคงตอบสนองการใช้งานอิงตามเทคโนโลยีปัจจุบันได้ครบครันในงบประมาณสบายๆ

สไตล์เสียงของ 474 ยังคงเน้นความนุ่มนวล ผ่อนคลาย ฟังได้นานไม่เครียด เช่นเคย ฟังเพลงพ็อพแจ๊ซใสๆ หวานๆ รับรองเพลินไปเลย การทดสอบรับชม ภาพยนตร์แม้จะจับคู่ใช้งานร่วมกับลำโพงที่เน้นเสียงกลางแหลมติดรุกเร้า ก็ยังไม่เกิดความเครียด โดยในส่วนของภาพยนตร์ระบบเสียง Dolby Atmos และ DTS:X ผ่านรูปแบบการติดตั้งลำโพง 3.1.2 – Top Middle Speakers ยังให้อรรถรสในแง่ของสนามเสียงโอบล้อมจากจุดเด่นจากมิติเสียงด้านสูงได้ดี หากเซ็ตอัพลงตัว การโยนเสียงจะให้ความกลมกลืนน้องๆ 5.1.2 เลยทีเดียว

ในส่วนความหนักแน่นของย่านเสียงเอฟเฟ็กต์ความถี่ต่ำก็ทำได้ดี การรับชม ภาพยนตร์แอ็กชั่นที่เน้นความอึกทึกผ่าน AVR เครื่องนี้จึงไม่เป็นที่กังขา เรียกว่า สอบผ่านสบายเลยครับ

จากคุณสมบัติทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น หากท่านใดต้องการ AVR ไปใช้งาน ในห้องร่วมกับซิสเต็มลำโพงแบบพอเพียง ไม่เน้นชุดใหญ่จำนวนลำโพงมาก แต่ ยังคงตอบสนองการใช้งานอิงตามเทคโนโลยีปัจจุบันได้ครบครันในงบประมาณ สบายๆ TX-NR474 จะอยู่ในรายชื่อที่ควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่งครับ . VDP

ราคา 19,900 บาท
จัดจำหน่ายโดย
บริษัท เซ็นทรัล เทรดดิ้ง จำกัด
โทร. 0-2229-7190-4