ชานนท์

นักเขียน : ชานนท์ จุทัยรัศม์

คุณภาพเสียงแบบไฮไฟ ภายใต้รูปลักษณ์เอวีรีซีฟเวอร์!!

NAD แบรนด์เก่าแก่แห่งสหราชอาณาจักร ที่หลายท่านยกให้เป็น ดั่งเครื่องเสียงชั้นครู เพราะมักเป็นซิสเต็มฟังเพลงชุดแรกของ การก้าวเข้าสู่วงการไฮไฟ เหตุผลก็เนื่องมาจากคุณภาพเสียง แม้เป็นรุ่นเริ่มต้นก็ยังให้ความอันโดดเด่นคุ้มค่า และอนาคตเมื่อ ประสบการณ์เพิ่มขึ้น และมีงบสูงพอ ก็สามารถอัพเกรดไปเป็น รุ่นไฮเอ็นด์อย่าง Master Series ที่เสียงดีไม่แพ้ใคร…

NAD สั่งส่มสร้างชื่อเสียงด้วยซิสเต็มไฮไฟทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่มาตลอดระยะ เวลาเกือบ 50 ปี ขณะเดียวกันก็มีสินค้าหมวดโฮมเธียเตอร์ ทั้ง AV Receiver, AV Processor และ Multi-ch Power Amplifier ปัจจุบันรวมทั้งสิ้นถึง 9 รุ่น ซึ่งให้ความโดดเด่นในเรื่องของคุณภาพไม่แพ้กัน

AV Receiver ใช้รหัสรุ่นขึ้นต้นด้วยตัวอักษร T ส่วนเลขต่อท้ายอาจทำให้ หลายท่านสับสนในการลำดับเจเนอเรชั่นก่อน-หลัง เนื่องจาก NAD ไม่ใช้วีธีเปลี่ยน เลขรุ่นบ่อยๆ ไล่ไปเรื่อยๆ ทุกปีเหมือนที่ยี่ห้ออื่นทำกัน แต่กลับมีแนวคิดเน้นออกแบบ พื้นฐาน AVR ในแต่ละรุ่นให้ดีที่สุด จะได้ไม่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ (อย่าง เช่น ภาคจ่ายไฟตามแบบฉบับซิสเต็มไฮไฟ หรือเทคโนโลยีภาคขยาย PowerDrive อันขึ้นชื่อ เป็นต้น) แล้วหากจำเป็นค่อยทำการ “อัพเกรด” เฉพาะส่วนที่เกี่ยว เนื่องกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย นี่จึงเป็นที่มาของ “MDC” หรือ “Modular Design Construction”

NAD’S MODULAR DESIGN CONSTRUCTION (MDC)

แนวคิด MDC ของ NAD คือ การออกแบบคิดการณ์ไกล ด้วยการเปิดโอกาสให้ เครื่องเสียง (หรือ AVR) สามารถ “อัพเกรด” ให้เท่าทันยุคสมัยต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ได้ โอกาสที่สินค้าเครื่องเสียงของ NAD จะหมดประโยชน์เพราะ “ตกรุ่น” จึงน้อยลง ช่วย ประหยัดเงินให้กับผู้บริโภค เพราะไม่ต้องคอยเปลี่ยนเครื่องแบบ “ซื้อใหม่” ยกชุด

T758 AVR ที่จะกล่าวถึงต่อไปในรีวิวฉบับนี้ โดยพื้นฐานก็คือ T758 ที่วางตลาด มาก่อนหน้า ทว่าได้รับการปรับปรุงอัพเกรดในส่วนของ MDC นี่เอง ปัจจุบันนับเป็น เวอร์ชั่นที่ 3 (V3) โดยมีการเปลี่ยนแปลงโมดูลแผงวงจร 2 ชุด ได้แก่ “VM130” 4K Video Processor มาพร้อม HDMI Input จำนวน 3 ช่อง และ HDMI Output (ARC) จำนวน 1 ช่อง ทั้งหมดรองรับ HDCP 2.2 สามารถ Pass-through สัญญาณ ภาพจาก 4K HDR Player ได้

ลำดับถัดมา คือ “AM230” Surround Processor รองรับ Dolby Atmos โดยทำหน้าที่ถอดรหัสเสียงแล้วป้อนสัญญาณต่อไปที่ภาค DAC แล้วส่งต่อสัญญาณ อะนาล็อกไปยังภาคขยายภายในของ T758 V3 จำนวน 7 แชนเนล (5.1.2) หรือหากต้องการสามารถอัพเกรดระบบลำโพงเป็น 7.1.4 แชนเนล โดยเพิ่มเติม ภาคขยายภายนอกทางช่องสัญญาณเสียง Front-HT/Surr-B และ Rear-HT/Surr-B Pre Out ของ AM230 ได้ทันที

นอกจากนี้ ผู้ใช้งาน T758 V3 จะได้รับ “BluOS Upgrade Kit” ที่มี ลักษณะคล้าย USB Hub แต่จะติดตั้ง USB Wi-Fi Dongle และ Bluetooth USB Adapter มาด้วย เท่ากับว่า AVR รุ่นใหม่นี้จะได้อัพเกรดความสามารถ ด้านความบันเทิงจากออนไลน์มิวสิกสตรีมมิ่ง รวมถึงความสามารถ ด้านกระจายเสียงดนตรีแบบมัลติรูม ผ่านการเชื่อมต่อสัญญาณแบบไร้สาย

AM230 หนึ่งในโมดูลแผงวงจรจากแนวคิด MDC หรือ Modular Design Construction ของ NAD เพื่ออัพเกรด AV Receiver เวอร์ชั่นล่าสุดให้สามารถถอดรหัสเสียงรอบทิศทาง Dolby Atmos พร้อม 24-bit/192kHz Audiophile-Quality DACs

ด้วยน้ำหนักที่มากกว่า AVR ระดับเดียวกัน เมื่อวิเคราะห์ดูอุปกรณ์ภายในของ T758 V3 พบว่ามี ที่มาจาก EI Transformer ขนาดใหญ่โตกว่าปกติ อันเป็นขุมกำลังให้กับภาคขยายจำนวน 7 แชนเนล นั่นเอง นอกจากนี้ ฝั่งขวามือเป็นตำแหน่งของโมดูลแผงวงจร MDC จำนวน 2 ชุดล่าสุด (ติดตั้งพร้อมจากโรงงาน) ได้แก่ “VM130” โมดูลแผงวงจร 4K Video Processor กับ “AM230” โมดูลแผงวงจร Surround Processor ถอดรหั สเสี ยง Dolby Atmos ได้สูงสุดที่ 7.1.4 แชนเนล (5.1.2 แชนเนล เมื่อใช้งานร่วมกับภาคขยายภายในของ T758 V3)

อีกหนึ่งหัวใจสำคัญของ V3 คือ “BluOS Kit” ซึ่งอัพเกรดให้ T758 เท่าทันความบันเทิง ตามยุคสมัย สามารถรับฟังดนตรีผ่านรูปแบบ Wi-Fi Streaming & Multi-Room Music และ Bluetooth ที่กำลังนิยมอยู่ในปัจจุบัน

HI-RES AUDIO & NETWORK STREAMING SERVICES

ดังที่เรียนไปว่า T758 V3 ได้รับการอัพเกรดในส่วนของ BluOS อันเป็น คุณสมบัติเกี่ยวเนื่องไปถึงการรองรับ Hi-res Audio & Network Streaming Services แต่การใช้งานฟีเจอร์นี้จำเป็นต้องควบคุมและสั่งการผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยแอพ BluOS Controller โดยทั้ง AVR และสมาร์ทโฟนต้องอยู่ในวง เครือข่าย Wi-Fi เดียวกัน (1)

ในส่วนของ Hi-res Audio นอกเหนือจากฟอร์แมตที่คุ้นเคยกันดี รุ่นนี้ยัง มีความพิเศษรองรับ MQA (Master Quality Authenticated) ด้วย

“BluOS Controller” แอพ ที่มีความจำเป็นเมื่อต้องการใช้งานฟีเจอร์ Music Streaming & Network Audio ร่วมกับ NAD AVR ซึ่งนอกจากใช้ควบคุมสั่งการ T758 V3 แล้ว ยังจัดการอุปกรณ์ BluOS อื่นในระบบ เพื่อกระจายความบันเทิงไปยังพื้นที่อื่นๆ ในบ้านได้ด้วย

DIRAC LIVE: STATE-OF-THE-ART ROOM CORRECTION

ไฮไลต์เด็ดของ T758 V3 ที่ไม่กล่าวถึงมิได้ เพราะถือว่าน่าสนใจเป็น อย่างมาก คือ การผนวก “Dirac Live” เทคโนโลยี Room Correction ที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องของศักยภาพอันโดดเด่น เดิมทีมีอยู่ใน AV Processor ระดับท็อปเท่านั้น

อย่างไรก็ดี สำหรับ T758 V3 นั้น NAD ให้ใช้งานซอฟต์แวร์ Dirac Live เวอร์ชั่นที่เรียกว่า “LE” (หรือ Lite) ซึ่งจำกัดฟีเจอร์บางอย่าง อาทิ การประเมินและปรับแก้ย่านความถี่เสียงจะทำได้เฉพาะช่วง 20Hz – 500Hz ไม่ครอบคลุม Full-Band (20Hz – 20kHz) เหมือนเวอร์ชั่นเต็ม (2) กระนั้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังเรียกว่าโดดเด่นมากอยู่ดี

“BluOS Controller” แอพ ที่มีความจำเป็นเมื่อต้องการใช้งานฟีเจอร์ Music Streaming & Network Audio ร่วมกับ NAD AVR ซึ่งนอกจากใช้ควบคุมสั่งการ T758 V3 แล้ว ยังจัดการ อุปกรณ์ BluOS อื่นในระบบ เพื่อกระจายความบันเทิงไปยังพื้นที่อื่นๆ ในบ้านได้ด้วย

ความแตกต่างด้านคุณสมบัติระหว่าง Dirac Live LE for NAD (ฟรี) กับ Dirac Live Full Version (ราคาอัพเกรด 99 USD)

หน้าตาของ Dirac Live Calibration Microphone ที่ให้มาในแพ็กเกจ ใช้งานได้ดีเยี่ยม แต่ด้วย ความยืดหยุ่นของซอฟต์แวร์ หากต้องการสามารถเปลี่ยนไปใช้งาน Professional Calibrated Microphone อื่น เพื่อเป็นอีกทางเลือกได้ด้วย (โดยเชื่อมต่อไมโครโฟนผ่านคอมพิวเตอร์ ที่รันโปรแกรม Dirac Live โดยตรง)

ก่อนไปยังขั้นตอน Dirac Live Auto Calibration สิ่งหนึ่งที่ต้องดำเนินการก่อน คือ การกำหนด ในส่วนของ Back Amplifier Setup และ Speaker Configuration อยู่ใน AVR Setup Menu โดยตั้งค่าให้ตรงกับลักษณะลำโพงที่ติดตั้งใช้งานจริง (ได้แก่ Surround Back, Top Front/ Middle/Rear หรือ Dolby Atmos Enabled Front/Surround Speakers)

หนึ่งในความยอดเยี่ยมของ Dirac Live คือ การประเมินปรับแก้ย่านความถี่เสียงของลำโพง ที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอะคูสติก อย่างไรก็ดี ซอฟต์แวร์เวอร์ชั่น LE จะจำกัดเฉพาะช่วง 20Hz – 500Hz ในขณะที่ Full Version ทำได้ครอบคลุมตลอดย่านรับฟัง (20Hz – 20kHz)

ผลการทดสอบ

ก่อนจะใช้งานอะไรก็ตาม แนะนำให้ทำการอัพเดตซอฟต์แวร์ระบบฯ ก่อนครับ ซึ่งของ NAD AVR มี 2 อย่าง คือ… System Firmware และ BlueOS Upgrade

ขั้นตอนต่อมา คือ กระบวนการปรับตั้งค่าสำหรับลำโพงรอบทิศทาง ซึ่งสามารถดำเนินการได้ง่ายๆ ผ่านระบบกึ่งอัตโนมัติจาก Dirac Live อย่างไร ก็ดีมี 2 จุดที่ต้องตรวจสอบและดำเนินการที่ตัวเครื่อง AVR ก่อน คือในส่วน ของการกำหนด Back Amplifier Setup และ Speaker Configuration (3) ให้สัมพันธ์กับลำโพงที่ติดตั้งใช้งานอยู่จริง

ถึงแม้ซอฟตแวร์ Dirac Live ที่ได้มายังไม่ใช่ตัวเต็ม แต่ศักยภาพของ เวอร์ชั่น LE ก็ไม่ด้อยกว่า Full Version นัก ฟีเจอร์หลักๆ ยังคงตอบสนอง ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น Multi-point Average Measurement, Impulse Response & Mixed Phase Room Correction ฯลฯ ผลลัพธ์ที่ได้มีความ เที่ยงตรงสูง แทบไม่มีความจำเป็นต้องชดเชยปรับแก้ นับว่าไม่เสียทีที่เป็น ระบบ Room Correction ลำดับต้นๆ ของวงการ

การให้น้ำหนักบาลานซ์เสียงและทดดีเลย์จากระยะห่างของลำโพงแต่ละ แชนเนลทำได้ลงตัว ส่งผลให้สนามเสียงมีความโอบล้อมกลมกลืน การชดเชย ดุลเสียงแม้ไม่ครอบคลุมตลอดย่านรับฟัง แต่ 20Hz – 500Hz ก็ครอบคลุม สำหรับการแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก Room Mode ดุลเสียงของลำโพงในระบบ ตั้งแต่ย่านกลางต่ำลงมามีความลงตัวเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น เมื่อเสียงอื้ออึงลดลง ก็เผยให้ได้ยินรายละเอียดเสียงปลีกย่อยต่างๆ ชัดขึ้น แต่ที่ได้รับอานิสงส์มาก ที่สุดเห็นจะเป็นลำโพงซับวูฟเฟอร์

หากศักยภาพไปถึงได้ ผลการตอบสนองความถี่ของลำโพงซับวูฟเฟอร์ จะขยายลงลึกมากยิ่งขึ้น แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ ดุลเสียงที่เที่ยงตรงและการ ผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกับลำโพงหลักในระบบ ไม่ว่าจะรับฟังแบบ 2.1, 7.1 หรือ 5.1.2

ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี NAD ก็ยังคงเป็น NAD เช่นเดิม ในแง่ที่ยังเป็นแบรนด์เครื่องเสียงที่คงเอกลักษณ์ด้านคุณภาพเสียงได้อย่างโดดเด่น

อ้างอิงช่วงที่ทำการทดสอบ การถอดรหัสเสียงเซอร์ราวด์ของ T758 V3 รองรับ Dolby Atmos แต่ยังไม่รวมถึง DTS:X (สามารถถอดรหัสได้เป็น DTS-HD Master Audio) แต่เชื่อว่าในจุดนี้ คงจะได้รับการอัพเกรดเพิ่มเติมในอนาคต

เทคโนโลยี PowerDrive ที่พบได้ในซิสเต็มไฮไฟของ NAD แจ้งกำลังขับ ไว้เบาะๆ 60 วัตต์ต่อแชนเนล ที่ 8 โอห์ม (0.05% THD, 20Hz – 20kHz อ้างอิงเมื่อทั้ง 7 แชนเนล ทำงานพร้อมกัน) แต่จะขึ้นไปเป็น 110 วัตต์ต่อ แชนเนล เลยทีเดียว หากอ้างอิงวัดตามแบบ AVR ในท้องตลาดทั่วไป (ซึ่งวัด แบบ 2 แชนเนล) อานิสงส์นี้ส่งผลในแง่กำลังสำรองของ T758 V3 ที่นับว่า โดดเด่น ภาคขยายมีแรงส่งลำโพงจนได้แรงปะทะที่หนักแน่น ดูแข็งขัน มีพละ กำลัง ไม่อ่อนเปลี้ยแม้ในช่วงโหมกระหน่ำของเสียง

ด้วยสโลแกน Music First เหมือนเช่นซิสเต็มไฮไฟอื่นๆ ของ NAD จึงไม่แปลกที่ T758 V3 จะเป็น AVR ที่ให้ผลลัพธ์การฟังเพลงได้ดี ความ เป็นธรรมชาติของเสียงไม่แต่งแต้มสีสันคือหัวใจสำคัญ แต่มิได้หมายความว่า จะไม่เหมาะกับการดูหนัง ตรงกันข้าม ด้วยดุลเสียงที่เน้นความเที่ยงตรง จึงเผยรายละเอียดเสียงรอบทิศทางของภาพยนตร์ได้อย่างตรงไปตรงมา รายละเอียดครบถ้วน เสียงสนทนามีความไหลลื่น ไม่แข็งกระด้าง ในขณะที่ ย่านต่ำนั้นก็พร้อมจะให้ได้อย่างดุดัน และลงได้ลึก กับมิติเสียงโอบล้อมที่ กลมกลืน ส่วนหนึ่งต้องยกเครดิตให้ระบบ Dirac Live ที่มีศักยภาพโดดเด่น ผลลัพธ์จึงลงตัวขึ้นเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี NAD ก็ยังคงเป็น NAD เช่นเดิม ในแง่ที่ยังเป็นแบรนด์ เครื่องเสียงที่คงเอกลักษณ์ด้านคุณภาพเสียงได้อย่างโดดเด่น จากประสบการณ์ ออกแบบซิสเต็มไฮไฟมาอย่างยาวนานจนได้ระบบฮาร์ดแวร์ที่ดีในระดับราคา ที่ลงตัว พื้นฐานของ T758 V3 ยังให้ความสำคัญเหมือนเช่นซิสเต็มไฮไฟอื่นๆ ของ NAD แต่เป็นซิสเต็มไฮไฟที่เพิ่มจำนวนภาคขยายให้รองรับกับระบบเสียง รอบทิศทาง แนวคิด MDC ยังส่งให้สินค้าแต่ละรุ่นของ NAD มีคุณค่าต่อเนื่อง ในระยะยาว จึงไม่แปลกที่แบรนด์นี้ยังคงเป็นขวัญใจของหลายๆ ท่านอยู่ เช่นเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง. VDP

ราคา XXXXXXX บาท
จัดจำหน่ายโดย
บริษัท โคไนซ์ อีเล็คโทรนิค จำกัด
โทร. 0-2276-9644