ปฤษณ

จากฉบับที่แล้ว คนรักเครื่องเสียงวินเทจสามหนุ่มใหญ่ ป๋าโอลดี้ (เอกดนัย ยอดสุขา), น้าภูมิ (ภูมิชาย วิยาภรณ์) และ คุณเบิ้น (กฤตภาส คูสมิทธิ์) ได้จัดทริปไปญี่ปุ่นเพื่อตามหาสิ่งที่หัวใจเรียกร้อง และมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยือน Yazaki-san ผู้บริหารของ Spec Corporation บริษัทผลิตเครื่องเสียงที่มีแนวทางเฉพาะตัว และเป็น Vintage Lover คนหนึ่ง

สำหรับฉบับนี้ทั้งสามท่านจะพาไปเยือนกูรูทางด้าน DIY Vintage ชื่อดัง Sakuma-san ถึงร้าน Concorde และ พาไปสัมผัสกับบรรยากาศของ Suntory Hall สถานที่แสดงดนตรีคลาสสิกชั้นนำของญี่ปุ่น พร้อมปิดท้ายด้วยความคิดเห็น ที่จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับใครที่ชอบเครื่องเสียงในแนวทางนี้ครับ

ADP เราขอนัด Sakuma-san ล่วงหน้า ก่อนที่จะไปพบหรือ เปล่าครับ

ป๋าโอลดี้ พอดีผมมีญาติห่างๆ เป็นคนญี่ปุ่นอยู่ที่โน่นอยู่แล้ว ก็ขอ ให้ช่วยโทรฯ นัด Sakuma-san ไว้ก่อนที่เราจะไป แล้วบังเอิญ ว่าวันที่เราไปหา Sakuma-san เราพลาดรถไฟ ทำให้เสียเวลาไป ประมาณชั่วโมงครึ่ง เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เราควรจะทำ ก็คือว่า… โทรฯ ไปบอกน้องให้ช่วยโทรฯ ไปบอก Sakuma-san ด้วยว่า เราจะไป ช้าหน่อยประมาณชั่วโมงครึ่ง เราก็บอกเขาล่วงหน้า

คุณเบิ้น การที่เราไปประเทศญี่ปุ่น ถ้าเราเข้าใจวัฒนธรรม แล้วเราปฏิบัติตัวตามที่เขาปฏิบัติกัน สิ่งที่เราจะได้รับกลับมาคือ เขาจะ respect เรา เสมือนหนึ่งเราเป็นคนญี่ปุ่นเหมือนกัน และ นี่คือสิ่งที่เราอยากให้คนที่จะไปขอเยี่ยมชมอย่างเรา เข้าใจเรื่องนี้ อย่างชัดเจน

หลังจากเราไปบ้าน Yazaki-san เสร็จแล้ว เราก็นั่งรถไฟกลับ มาถึงโตเกียวก็เกือบทุ่มหนึ่ง ก็เหนื่อยกันมาก เพราะเรานอนกัน บนเครื่องบิน ก็แทบจะหมดแรง น้าภูมิก็แทบหมดแรง เริ่มงอแง จะไม่ไป เพราะที่เราจะไปต่อเป็นแจ๊สผับ และตอนนี้ก็ยังไม่มีความคิดว่าเราจะไป Suntory Hall ด้วยนะครับ แต่ผมก็ยังอยากไปอยู่ดี ยังอยู่ในใจ ก็คิดว่าทำยังไงดี ถึงจะได้ไป

ตอนแรกมีคาเฟ่อีกแห่งหนึ่ง แต่ว่าต้องไปค่อนข้างไกล ทีนี้น้าภูมิเหนื่อยมาก แล้วก็เลยตัดสินใจถามคุณแมพว่า แถวที่พักของเราที่อยู่ย่านชินจูกุมีคาเฟ่อะไร หรือเปล่า   คุณแมพก็พาเราไปที่คาเฟ่แมว   พอเข้าไปก็เป็นคาเฟ่ที่ประหลาดมาก คือ มันมืดตึ๊ดตื๋อและหมือนรูหนู อยู่บนชั้น 3 ของตึกแห่งหนึ่ง แต่ว่าผมไม่ค่อยชอบ แมว ก็คิดว่าในร้านต้องยั้วเยี้ยเต็มไปด้วยแมว แต่ปรากฏว่าไม่ใช่ เพราะเป็น แมวกวัก แล้วที่นี่เปิดแต่เพลงแจ๊ส พอเข้าไปก็สงสัยว่า ลำโพงอยู่ตรงไหน เพราะ มีม่านบังอยู่ ผมก็นั่งฟัง ตอนแรกน้าภูมิบอกว่าเป็นลำโพง Sansui ผมคิดว่าไม่ใช่ เสียงแบบนี้มันต้องไม่ใช่ คุยกับป๋า ป๋าบอกว่าไม่น่าใช่ เลยตัดสินใจว่าเราไปแหวก ม่านดูไหม พอแหวกม่านดูปรากฏว่าเป็น JBL รุ่น Apollo แต่ประหลาดตรงที่เขา แขวนเอาไว้บนขื่อ เพราะข้างล่างจะได้มีพื้นที่สำหรับใช้สอย แล้วก็ใช้แอมป์ Accuphase ซึ่งผมคิดว่า การที่เขาใช้แอมป์ Accuphase จึงทำเสียงของ JBL ออกมาคล้ายคลึงกับลำโพงที่ไม่ใช่ JBL แล้วก็เปิดเบาๆ

น้าภูม เปิดเบา แต่รัศมีแผ่กว้าง

คุณเบิ้น เราก็จบวันที่คาเฟ่แมว เพราะเราเหนื่อยกันมาก แต่ก่อนจะกลับโรงแรม อันนี้เป็นสิ่งที่พลาดไม่ได้ เพราะเป็นสัญญาที่ให้ไว้กับป๋าโอลดี้ คือจะต้องไปซื้อแผ่น เสียงที่ Disc Union วันแรกที่ไปก็ตื่นตาตื่นใจมาก เพราะมีอยู่สองชั้นด้วยกัน ปกติ เราจะไปเจอ Disc Union ที่เป็นร้านเล็กๆ แต่ร้านนี้อยู่บนตึก เป็น Disc Union ที่ร้านใหญ่มาก ขายทั้งแผ่นใหม่และแผ่นเก่า แยกชั้นเป็นคลาสสิก ซึ่งน้าภูมิแฮปปี้ มาก ชั้นที่สองก็ผสมระหว่างที่เป็นแจ๊ส เพลงสมัยใหม่ แผ่นซีดี และเครื่องเสียง มือสอง เมื่อก่อนผมจะไม่ชอบเพลงยุคโอลดี้ส์ แต่ป๋าชื่อ “โอลดี้” เพราะป๋าชอบฟัง เพลงสมัยโอลดี้ส์ Julie London, Joni James, Bing Crosby ซึ่งผมไม่รู้จักเลย แต่พอผมมาเรียนรู้จากป๋า ผมก็ชอบ พอไปเจอก็อุ๊ยๆๆๆ ทั้ง section คว้ากันเกือบ หมดเกลี้ยงชั้น (หัวเราะ) ด้วยความที่เราเหนื่อยมากก็มีความรู้สึกหน้ามืดจะเป็นลม ต่อไปเป็นวันที่ 2 คือไปหา Sakuma-san การไปหา Sakuma-san ผมก็ไปสืบมา แกอยู่ Tateyama คือ… ชิบะ ซึ่งมันอยู่ปลายแหลม เหมือนไปเมืองจันท์ คืออยู่ ปลายแหลมเลย แล้วก็ดูในรายละเอียด เขาบอกว่าให้นั่ง Semi-Express Train จากชินจูกุ ตรงไป Tateyama ใช้เวลา 2 ชั่วโมง เราก็มีความรู้สึกว่า มันสบายง่าย มาก แล้วด้วยความวันแรกเราเหนื่อยมาก ผมก็… คงไม่มีอะไรมั้ง ไม่ต้องไปถาม ด้วยความที่เราเหนื่อย เราก็สายหน่อย ออกจากโรงแรมสัก 9 โมงก็ได้ เพราะว่า วันนี้เราไม่ได้ตั้งใจไป ไหนนอกจากหา Sakuma-san อย่างเดียว ปรากฏว่าไปถึงที่ ชินจูกุ สถานีบอกว่า วันหนึ่งมีรถเพียงแค่ 2 เที่ยวเท่านั้น และเราเพิ่งพลาด Semi Train เอาล่ะวะ ทำยังไงดี และผมก็รู้เลย ทุกอย่างปิ๊งขึ้นมา เพราะว่าผมเคยพลาด Semi Train แล้วผมจะต้องไปต่อ Train สารพัดเลย แต่ว่าข้อดีของคนญี่ปุ่นก็คือ ว่า ตัว Information Table เนี่ย เขาดีมาก เขาให้รายละเอียดผมแบบอย่างดีเลย ทำให้เราสามารถไปหาทางไปได้ จาก 2 ชั่วโมงก็กลายเป็น 3 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งเราจะต้องนั่งรถจากชินจูกุไปสถานีโตเกียว แล้วจากสถานีโตเกียวก็ต้องนั่ง รถไฟปกติไปลงที่สถานี Soga จาก Soga ก็ต้องนั่งรถไฟอีกสายหนึ่งซึ่งเป็นรถไฟ ปกติไป Tateyama จาก 2 ชั่วโมงก็กลายเป็น 3 ชั่วโมงครึ่ง ก็เลยเป็นที่มาที่ไปที่ ป๋าเล่าให้ฟังว่า เราถึงต้องโทรศัพท์ไปบอก Sakuma-san และพอเราไปถึง เขาก็ บอกทันทีว่า เขารู้แล้วว่าเราพลาดรถไฟเที่ยวนี้ และเขาก็เข้าใจ ซึ่งเรามั่นใจนะว่า ถ้าเราไม่โทรศัพท์ไปบอกเขา แล้วเราไปผิดเวลา เราคิดว่าเขาคงไม่ได้รู้สึกกับเรา แบบนี้ เพราะว่าการต้อนรับของ Sakuma-san เนี่ย ต้อนรับเราดีมาก ดีจนเรางง หลายคนที่เคยเขียนในบล็อกต่างๆ ก็จะบอกว่า แกเป็นคนเงียบๆ แกไม่ค่อยพูด อะไร นี่ก็เป็นความโกลาหลที่ผมกับป๋าและน้าต้องวิ่งกันแบบ เฮ้ย! คือพยายามจะ รักษาเวลาเพื่อไป Tateyama ให้ใกล้เวลาที่เรานัดเอาไว้ให้ได้มากที่สุด แต่ผมก็พูด กับน้ากับป๋าว่า ผมว่ามันมีความสวยงามของความผิดพลาด จึงทำให้เราไปตื่นเต้น กับในสถานีโตเกียว แล้วเราได้ค้นพบว่าสถานีโตเกียวมันเหมือนรังปลวก (หัวเราะ) มันใหญ่มาก มันใหญ่แบบใหญ่บ้าเลย แล้วก็เราเดินกันเป็นกิโล เดินเยอะมาก

คุณเบิ้น ท้ายที่สุดเราก็มาถึง

น้าภูมระหว่างทาง ด้วยความที่เป็นเมืองชายทะเล เหมือนเมืองจันท์ มีกลิ่นปลา เป็นร้านขายปลา เราได้ไปเดิน เหมือนโนบิตะเดินกลับจากโรงเรียนอะไรยังเงี้ย มันดีตรงนี้ไง จากสถานีรถไฟมากิโลหนึ่ง 7 นาทีเป๊ะ มันก็ไม่ร้อนด้วยใช่ไหมครับ สองข้างทางก็มีร้านขายหมวก มีร้านขายปลา บ้านเมืองเรียบร้อย

คุณเบิ้น พอมาถึงหน้าร้านก็จะเจอป้ายที่เขียนเอาไว้ว่า “Concorde” พอเดิน มาถึงป้ายนี้เราจำได้เลย แล้วก็มีคู่สามีญี่ปุ่นเอารถมาจอด เขาก็เดินเข้าไปก่อน Sakuma-san ก็เทคแคร์กลุ่มนี้ก่อน แล้วภรรยาของเขาก็มาเทคแคร์เรา

ADP เป็นร้านอะไรครับ

คุณเบิ้น ร้านขายสเต๊ก ร้านขายอาหาร จริงๆ คือเขาขายอาหาร ตอนเข้าไปมี 2 เซกชั่น มันมีเซกชั่นที่เป็นห้อง แต่เข้าใจว่า เมื่อก่อนเซกชั่นนั้นอาจจะไม่มีก็ได้ เพราะทุกคนบอกว่า ร้านนี้แทบจะไม่มีที่นั่งเลย ทั้งร้านเต็มไปด้วยแอมป์ เต็มไป ด้วยเครื่องเสียง พอเราเข้าไปก็เจอ Sakuma-san อยู่ที่เคาน์เตอร์ ก็ทักทายกัน ตามปกติ เรานั่งกันอยู่ที่เคาน์เตอร์ แล้วก็มีเครื่องเสียงที่อยู่หน้าเคาน์เตอร์

น้าภูมและก็มีข้างๆ อีก ขวามือเต็มไปหมดเลย และซ้ายมือก็เต็มไปหมดเลย ซึ่งในทางเทคนิค ปรีแอมป์กับแอมป์ ห่างกันประมาณ 10 เมตรได้ หมายถึงว่า สายก็ต้องอย่างน้อย 10 เมตร จากแท่นเทิร์นมาปรีแอมป์ จากปรีแอมป์ไปแอมป์ จากแอมป์ที่จะไปลำโพง แต่ละระยะเนี่ยไม่ต่ำกว่า 10 เมตร อันนี้คือสิ่งที่เปลี่ยน ไปโดยสิ้นเชิงกับการเล่นกระแสหลักสมัยใหม่ที่ต้องสั้นทีสุด จะต้องมีตัวรอง กลัวสูญเสีย กลัวอะไร ไม่เกี่ยวเลย (หัวเราะ) เงียบสนิท ลืมบอกไปว่า ทุกๆ ที่ คือไม่มีเสียงอะไรเลยอะ เป็นที่หนึ่ง เงียบมาก

คุณเบิ้น ระบบไฟญี่ปุ่นเจ๋งมากเลย มันเงียบแบบ แล้วเราก็ไม่ได้ฟังเพลงใน ห้องแอร์ พอไม่ได้ฟังเพลงในห้องแอร์ มันได้ความสงัด ไปบ้าน Yazaki-san ก็ไม่ได้เปิดแอร์ เราก็เลยได้ฟังเพลงจากเสียงที่ไม่มีความแน่นของแอร์เข้ามาใส่

น้าภูมแล้วก็คอนเน็กเตอร์ต่างๆ ก็ประมาณว่าเป็นเหมือนของที่แถมจาก ซื้อเครื่อง มีแดง ดำ เหลือง แกก็ดึงแยกออกมา แบบเหลืองเส้นหนึ่ง เพราะว่า เป็นโมโน

คุณเบิ้น และขอบอกว่าสเต๊กที่นี่อร่อยจริงๆ แล้วแกก็ทำเอง นี่ไงอย่างที่น้าบอก คือแบบนี้เลย สายแถมของเครื่องเล่นดีวีดี AJ เลย (หัวเราะ) ไม่ใช่สายอะไร ที่ดีๆ เลย แล้วเราก็ดื่มเบียร์กัน เบียร์ญี่ปุ่นก็อร่อย ก็คัมปายว่าเราไปถึงที่โน่นแล้ว หลังจากนั้น Sakuma-san ก็เข้าไปทำกับข้าว ห้องครัวเล็กมาก เรานั่งอยู่ หน้าเคาน์เตอร์ ก็เลยตัดสินใจแอบถ่ายรูป Sakuma-san ตอนที่แกทำกับข้าว ให้เรากิน

ป๋าโอลดี้ ระหว่างนี้ เราไม่ได้เข้าไปเดินดู หรืออะไรเลยนะครับ เรานั่งหน้า เคาน์เตอร์เลย เหมือนเราไปสั่งอาหารกิน

น้าภูมผมเนี่ยควรจะเป็นคนที่เดินไปดูโน่นดูนี่ แต่ไม่เดิน น่าจะดีกว่า แล้วเขาก็ มองเราอยู่ มองพฤติกรรมเรา เราก็ไม่ได้สนใจ มันทำให้หลังจากที่เขาจัดการอะไร เรียบร้อยแล้ว เขาก็มาคุยกับเราอีกแบบหนึ่ง ถ้าเราไปสอดส่อง ไปถามอะไรจู้จี้ เขาจะอีกแบบหนึ่ง

คุณเบิ้น เราก็ปฏิบัติตามทุกอย่าง แล้วก็นั่งกินข้าวอย่างเอร็ดอร่อย

ป๋าโอลดี้ ระหว่างนั้นก็เปิดเพลงไปด้วย

คุณเบิ้น เขาก็เปิดเพลงให้เราฟัง ผมอยากให้ป๋าเล่าให้ฟัง เพราะว่าป๋าประทับใจ มากกับเพลงที่แกเปิด เพราะมันเหมือนกับแกรู้ใจ

ป๋าโอลดี้ เพลงแรกที่แกเปิด รู้สึกจะ Johnny Hartman มั้งครับ My one and only love แกก็เปิดแทร็กที่เราชอบ พอดีเลย และเสียงก็เป็นโมโน รู้สึกจะเปิด กับลำโพง Lowther

คุณเบิ้น เพลงนี้เปิดกับ A5 ครับ (Altec A5)

ป๋าโอลดี้ เทิร์นเทเบิ้ลก็เป็น Garrard 401 หัวก็ Denon DL102 ก็เหมือนกับเป็น สไตล์เรา แล้วแกก็เปิดเบาๆ คลอๆ ไประหว่างที่เรากินข้าว

น้าภูมอาร์มจะเป็นอาร์มน้ำมันของ Neat กับของ Gray ซึ่งเป็นอาร์มน้ำมัน และ อีกอันหนึ่งก็เป็นอาร์มน้ำมัน

คุณเบิ้น เป็นอาร์มน้ำมันหมดเลย

น้าภูมเป็น oil damped หมด

ป๋าโอลดี้ ระหว่างที่เปิด แกก็จะชี้ให้ดูนะว่าใช้อะไร แกไม่พูดเลยๆ แกให้เรารับฟัง สิ่งที่อยากจะให้เราฟัง แค่นั้นเอง แล้วเราก็ประทับใจ

คุณเบิ้น แล้วก็เราสังเกตว่าแทบทุกที่ที่เราไปในญี่ปุ่น ทริปนี้เราไม่เห็น 301 เลย (หัวเราะ) เราไม่เห็น 301 เลย เห็นแต่ 401 ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตาม คนญี่ปุ่น ใช้ 401

ป๋าโอลดี้ คือธรรมดาเนี่ย คอแจ๊สจะฟังพวก Take Five เดฟ บรูเบ็ค อะไร พวกนั้น แต่เพลงที่ถือว่าเป็นเพลงครูเหมือนกันก็คือ “BLUESette” ซึ่งคนไทย ไม่ค่อยเปิด แล้วก็โดยเฉพาะเวอร์ชั่นบรรเลง หรือไม่เป็นเวอร์ชั่นบรรเลงอย่าง เวอร์ชั่นร้องก็ไม่ค่อยมีคนเปิด แต่ Sakuma-san ชอบ และผมก็ชอบอีก และไม่ เคยได้ยินนะ ว่าคนไทยเวลาเทสต์เสียง เขาไม่ใช้เพลง BLUES ette เปิดแต่ Take Five ก็เออ! มันตรงใจเราอีกและ (หัวเราะ) เปิดแทร็กที่ตรงใจ แล้วเปิด จนจบ แล้วถึงยกอาร์มออก ต้องการให้เราฟังเพลงนี้

ADP เสียงเป็นยังไงบ้างครับ

ป๋าโอลดี้ เสียงโมโน

คุณเบิ้น มันเป็นโมโนที่มีรายละเอียด ถามว่าคมชัดไหม

ป๋าโอลดี้ ไม่ๆ ไม่คมชัด ตรงข้ามกับ Yazaki-san

คุณเบิ้น ไม่คมชัด ตรงข้ามเลย แต่ว่าไพเราะ ปกติน้าภูมิไม่ชอบแจ๊ส (หัวเราะ) น้าลองเล่าประสบการณ์หน่อยครับ

น้าภูมคือมันเป็นแจ๊สที่ฟังได้ มันไม่ใช่แจ๊สจ๋าแบบไอ้แมว แมวนี่ผมฟังไม่ได้ ผมคิดว่าเมื่อไหร่จะปิดสักที (หัวเราะ) ทั้งหมดเลยที่เปิดมา คือเป็นเพลงที่ผมฟังได้ ป๋าโอลดี้ เพราะเขาไม่ค่อยอิมโพรไวส์ เพลงที่เปิดเนี่ยไม่อิมโพรไวส์เยอะ

คุณเบิ้น เดี๋ยวเล่าเรื่อง Lowther ผมจำได้ว่า น้าภูมิเคยให้แผนผังเดิมในร้านของ แกกับผมมาแผ่นหนึ่ง ซึ่งเลย์เอาต์เดิมมันมีลำโพง Lowther อยู่ ผมก็เลยตัดสินใจ เอารูปโชว์ให้ดูว่า ซิสเต็มผมใช้ Lowther อยู่ แล้วก็ถามแกว่า ยูเคยมี Lowther มาก่อนใช่หรือเปล่า ปรากฏว่า Lowther น่ะมี แต่ว่าแกเอาไปใส่อยู่ในไหนรู้ไหม… ถังเบียร์!!! แล้วแกเอาผ้าปูโต๊ะปิดเอาไว้ จากนั้นแกก็ต่อเครื่องล้านแปดของแก แล้วเสียงก็มาโผล่ใน Lowther โห! เราแบบ… นั่งฟังอย่างมีความสุข

ป๋าโอลดี้ นี่คือ Lowther ที่อยู่ในถังเบียร์

น้าภูมในหนังสือเครื่องเสียงของญี่ปุ่น ที่เป็นหนังสืออันเดอร์กราวด์ เมื่อ 25 ปี ก่อน ผมก็ดูว่าเขาใช้อะไร แล้วเรามาคุยเฮฮากันในไลน์ โดยที่ไม่รู้ว่าลำโพงคู่นั้น ก็ยังอยู่ (หัวเราะ)

คุณเบิ้น แกชี้เลยว่า Lowther แล้วผมก็โพสต์คลิป Lowther ของ Sakuma-san ไปในเฟซบุ๊ก Keep-It-Analog พี่ประดิชญา ยังมาถามเลยว่า ลำโพง Lowther จริงๆ หรือเปล่า เบสมันมาจากไหน ทั้งๆ ที่มันอยู่ในถังเบียร์ แล้วก็ ไม่ได้ตั้งอยู่ บนพื้น มันแขวนอยู่ข้างบน (หัวเราะ) เรามีความรู้สึกว่า ปรมาจารย์จริงๆ ถามว่า เสียงของแกเพราะหรือเปล่า เสียงของแกแบบ ผมไม่รู้จะใช้คำพูดยังไง เป็นเสียง ที่เราคุ้นชินหรือเปล่า อาจจะไม่ใช่ แต่เป็นเสียงที่ฟังแล้วสบายหูมาก รู้สึกว่ามันมี ความไพเราะ แล้วก็แปลกใจมากว่า น้าภูมิจะชอบ และเปิดแต่แจ๊สเท่านั้น ให้น้าภูมิช่วยเล่าให้ฟังว่าไปขออะไรแก

น้าภูมอ๋อ! พอหลังจากนั้น เคยรู้ว่าแกฟังคลาสสิก รู้สึกว่าจะดูจากยูทูบ และแก เปิด Beethoven Symphony No. 5 ก็ขอเพลงคลาสสิก แกก็ไปอีกมุมหนึ่ง สองมุมนี้ไม่ใช่แล้วนะ เป็นอีกมุมหนึ่ง ใช้ DAT ของ Denon แกก็เปิดเพลง คลาสสิก แกก็บอกว่าจะเปิด Lowther แต่ในห้องนี้มันไม่มีตู้ที่ใหญ่ มันจะฟังไม่ได้ แกก็เลือกไปเปิดที่เป็นโอเปรา Aria เสียงโซปราโน ซึ่งมันไม่ต้องใช้อะไรเลย และ เสียงมันก็ดิบๆ เก่าๆ มันเป็นความรู้สึกเดียวกับที่ผมฟังในวิทยุหลอด โดยส่วนตัว ผมมั่นใจแล้วล่ะ ว่าเราไม่ผิดทาง ถ้าจะมีใครบอกว่า ผมทำไมถึงไปฟังอะไรจาก วิทยุหลอด หรือจากดอกเดียวเล็กๆ เสียงนั้นน่ะเป็นเสียงนั้น มันเป็นความ ชาญฉลาดไง คือแทนที่คุณจะเอา Symphony No.5 หรืออะไรตูมตามๆ ไปเปิด เนี่ย ไม่ได้ เหมือนกันที่เขาเปิดแจ๊ส เขาเปิดที่ชอบ ที่เพราะ มันก็จะย้อนกลับมา ที่พวกเราว่า ทำไมต้องมีวินเทจหลายชุด เพราะว่าชุดหนึ่งไม่ได้ตอบสนองเพลง ทุกประเภท ไม่ใช่ว่าจะหา All-in-One แล้วตอบโจทย์ทั้งหมด ไม่มี เขาคิดเหมือน เราแล้วล่ะเรื่องนี้ ผมก็เลยยินดีว่า เขาก็คิดเหมือนเรา แค่นั้นเอง

ป๋าโอลดี้ รู้สึกตรงนี้จะมี Lowther อีกตัวใช่ไหม

คุณเบิ้น มี Lowther อีกตัว แต่ไม่ได้เปิดคู่กันนะ ทุกอย่างในนี้คือโมโนหมด โมโน หมดทุกอย่าง แล้วเราก็จบด้วยความสุขใจ เนื่องจากว่าเราไปสาย จริงๆ เรา เสียดายมาก เพราะไม่เช่นนั้นเราก็จะต้องตกรถไฟอีก (หัวเราะ) คือทุกคนก็จะ พยายามจับผิดว่า มันจะ 1 นาที จริงมั้ย ขอโทษนะครับ มันตรงเวลาเป๊ะ

น้าภูมรถวิ่ง 120 นาทีนะ ผิดพลาดไม่เกิน 1 นาที แปลว่า 1 ส่วน 120 กี่ เปอร์เซนต์เอง ไม่ถึง 1 เปอร์เซนต์

คุณเบิ้น แล้วพอจะ 4 โมง ไม่ได้แล้ว เราก็ต้องรีบไป แล้วเราก็มีความรู้สึกนะว่า Sakuma-san ก็ยังไม่อยากให้เรากลับ ยังอยากให้เราอยู่ต่อ แล้วเราก็ยังอยาก อยู่ต่อ ที่เรามีความรู้สึกว่ายังอยากอยู่ต่อ คือปกติ Sakuma-san แกไม่ค่อยเล่น อะไรกับใครเลยนะ ลองดูรูปถ่ายนะ ดูรูปถ่ายที่แกเล่นกับเรา ดูสิครับ คือแกตั้งใจ แล้วท้ายที่สุด นี่… แกเดินมา แล้วก็มาส่งเรา แล้วโบกมือ

น้าภูมคือผมมองว่า ทุกคนที่เป็น DIY ที่ไปหาแก ก็คงถาม… ไอ้นี่อะไร หลอด เบอร์อะไร เอ๊ะ! ทำไมคุณใช้อันนี้ ทำไมเสียงมันเป็นอย่างนี้ ซึ่งผมก็อยากรู้นะ แต่ผมมีความรู้สึกว่า เราหาอินฟอร์เมชั่นพวกนี้จากที่อื่นได้ ถ้าคุณอยากรู้อะไร แอมป์นี้เป็นอะไรยังไง มันสามารถหาได้ ถามคุณต๋อง (Analoglism) คุณต๋องก็ โพสต์มาปึ๊งเดียว เราก็รู้แล้ว ผมเข้าไปก็ไม่ต้องมีใครบรีฟนะ สองคนนี้ก็ไม่บรีฟ น้าภูมิอย่าไปจุ้นจ้าน ไม่มีนะ แต่เราพอเข้าไป บรรยากาศ โอ้โห! มันใช่ คือผมเป็น คนที่ไม่ค่อยกลัวใครอยู่แล้ว หมายถึงช่างเชิ่ง ผมจะคิดว่า เขาไม่เก่งด้วยซ้ำ แต่พอ ไปถึง ยอม ยอมๆ บรรยากาศ เพลงที่เขาเปิด วิธีการที่เขาอะไรอย่างนี้ เดินไป

โห! เห็นแค่นี้ รัศมีมาเลย คนนี้ใช้ได้

ป๋าโอลดี้ ก็ดูเครื่องไม้เครื่องมือ คือสัมผัสได้อย่างหนึ่งว่า แกทำในสิ่งที่แกชอบ แกรัก คนอื่นจะว่ายังไงไม่สน ฉันทำแบบนี้ และฉันก็จะพรีเซนต์ในสิ่งที่ฉันชอบ

คุณเบิ้น แล้วสิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้ คือผมว่าตอนนี้ คำว่าสตาร์ตอัพ คือทุกคนอยาก จะทำอะไรด้วยตัวเองทั้งหมด แต่สิ่งหนึ่งที่ผมว่าต้องเรียนรู้จากคนญี่ปุ่นจริงๆ คือ ถ้าเขาตั้งใจทำอะไร เขาทำแบบพุ่งเข้าชน แล้วสุดๆ แล้วเขา believe มัน แล้วเขา ก็ทำ แล้วสิ่งที่เขา believe แล้วเขาทำอย่างที่เป็นตัวตนของเขาเอง มันเพลย์ออฟ แล้วท้ายที่สุดมันเพลย์ออฟออกมาเป็นคาแรกเตอร์ของเขาอย่างชัดเจน ครั้งนี้ถึงได้ไปญี่ปุ่น และเราได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา แล้วก็จำได้ว่า ผมจำคำนี้ ได้ตลอดเวลาเลย คือ น้าบอกว่า See you in Bangkok อินไทยแลนด์ หรือแบงค็อก Sakuma-san บอกว่า Someday โห! ผมจำคำนี้ได้เลย Someday ความหมายคือ เราไม่ได้ เจอกันแล้วล่ะ แต่ว่า Someday แล้วแกก็ออกมา แล้วโบกมือจน กระทั่งเราเดินลับตา แล้วแกก็ค่อย เดินกลับเข้าไป นี่คือเรามีความรู้สึก ว่า เราถูก respect จากแก แล้วเรา ก็มีความรู้สึกว่า มันได้พลังอะไรบางอย่างจากการที่เรากลับมาจากการเดินทางในครั้งนี้

ป๋าโอลดี้ แม้แต่ภรรยาแก ซึ่งเราก็รู้ว่าส่วนใหญ่ผู้หญิงญี่ปุ่นเขาก็จะอยู่ข้างหลัง ผู้ชาย แต่ภรรยา Sakuma-san เนี่ย ฟังเพลงไปด้วย มีการโยก มีการเชิญชวน พวกเรา แล้วชี้… นี่คือ Lowther นะ ใช้มาตั้งนานแล้ว จูงมือเราไปดูภาพ ดูการตกแต่งของร้าน ดูว่า Sakuma-san ไปอิตาลี ไปอะไร บอกว่า… นี่ไม่ใช่ โปสเตอร์นะ นี่เป็นสิ่งพิมพ์เลยนะ เขา appreciate อย่างนี้

คุณเบิ้น อีกอย่างหนึ่งที่ลืมไปก็คือ ความตั้งใจของผม ผมก็พยายามให้น้ากับป๋า buy-in ก็คือ ผมอยากเอาเพลงไทยไปเปิดในซิสเต็มของ Sakuma-san ผมก็บีบ บังคับให้น้าภูมิต้องหาแผ่น 7 นิ้วนะ ไปเปิดให้ได้ น้าเอาเพลงอะไรไปนะ

น้าภูมไวพจน์ คือตั้งใจเอาอะไรที่เป็นกลิ่นอายของงานวัด หรืออะไร มีเสียง ฉิ่งฉาบ ก็หาได้ด้วยความรวดเร็ว ก็ได้แค่ไวพจน์ ซึ่งมันก็ไม่ได้เป็นเพลงเกรดเอ มันไม่ใช่ “ลาบวช” ไม่ใช่อะไรต่างๆ มันเป็นเพลงไม่ดัง

คุณเบิ้น เขาก็เปิดให้ฟัง ถึงแม้มันจะไม่แมตช์ ก็เปิดให้ฟัง พอเปิดให้ฟังปุ๊บ น้าภูมิก็เต้น (หัวเราะ) ก็เต้นกันอยู่ในร้าน

น้าภูมผมเห็นแกแอบมอง แกไปนั่ง แกก็จะมีม่านของแก และแกแอบมอง ก็เลยเป็นทางที่ผมจะบอกว่า มันดี

คุณเบิ้น หลังจากนั้นผมก็ดูเวลา ตายแล้วเวลาหมด แล้วก็อย่างที่บอก คือรู้สึก ว่าแกยังอยากคุยกับเราต่อ เรารู้สึกจริงๆ แกอยากจะเปิดเพลงให้เราฟังต่อ เพราะเราไปในวิถีทางของคนที่ respect เขา คือให้ความเคารพ ก็เลยมีความ รู้สึกว่าทริปนี้เป็นทริปที่มีความสุขมาก แล้วเราก็มีช้าง 2 ตัว เราก็มอบช้างนั้น ให้ไว้ พอออกมาจากที่นี่ก็มีความสุข และผมก็แอบซ่อนความรู้สึกว่า ผมยังอยาก ไป Suntory Hall (หัวเราะ)

จากนั้นก็กลับไปโรงแรม แล้วผมก็บอกว่า น้าอาบน้ำให้เสร็จเรียบร้อย เดี๋ยวเราจะไปตกลงกันว่า เราจะทำอะไรกันวันพรุ่งนี้

น้าภูม เขาไปบุกถึงห้องผมเลยนะ

คุณเบิ้น ยังไงผมก็จะไป Suntory Hall ให้ได้ คืนนั้น ผมก็ตัดสินใจไปที่ห้องน้า แล้วก็บอกว่า เราไป Suntory Hall ไหม เพราะจริงๆ แล้ว ที่น้าไม่ชอบคือ วันเสาร์ มันเป็น Quartet น้าภูมิก็ไม่เอา เราก็เลยตัดสินใจว่า ไปดูวันอาทิตย์ ซึ่งผมไม่ได้ดูเลยว่าวันอาทิตย์เป็นโปรแกรมอะไร ก็เปิดกันเดี๋ยวนั้น เสร็จปุ๊บ… น้าบอกว่าดู ถ้าคนนี้เล่น โอเคเลย

น้าภูมเพราะว่ามันเป็น Mendelssohn Violin Concerto ซึ่งกว่าผมจะได้ดูใน เมืองไทยเนี่ย สมมติว่าโปรแกรม TPO (Thailand Philharmonic Orchestra) ออกมกราใช่ไหม โห! นี่เพิ่งสิงหา รออีกตั้ง 6 เดือน แล้วคุณมีดีมาจากไหนที่คุณ มาวันนี้แล้วคุณจะดู มันเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะได้ฟังของดี แล้วพอมันใช่เนี่ย คือ ต้องเป็นบุญของคนนี้เขาครับ

คุณเบิ้น เราก็ไปถึง แล้วข้อหนึ่งที่เรามีความรู้สึกว่าดี อันนี้ขอบ่นหน่อยเถอะ ประเทศไทย รถไฟฟ้าไปศูนย์วัฒนธรรม (หัวเราะ) เราต้องเดินริมถนน แล้วก็จะโดน ปล้นระหว่างทางหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะข้างทางเป็นป่าหมดเลย แต่ที่นี่ เราเดาไม่ผิด เราเดาว่ามันต้องถึงเลย แล้วเขาทำ แล้วเราก็เดินกันมา ซึ่งไกลมาก แต่เดินข้างล่าง มันทำให้ไม่ร้อน เพราะว่าวันที่เราไปวันสองวันแรกอากาศยังดี แต่วันอาทิตย์และ วันจันทร์ร้อนมาก ต้องขอบอกเลยว่า ร้อนมากนะครับ

แต่เราก็ไม่รู้ว่า เราจะได้ตั๋วหรือเปล่า จริงๆ แล้ว ตั๋วมัน sold out หมดแล้ว ทำอย่างไรดีล่ะ ถ้าเราโทรศัพท์ ไป Suntory Hall เขาพูดภาษาญี่ปุ่นแน่ๆ ก็เลย ตัดสินใจว่า ตอนเช้าลงไปที่เคาน์เตอร์ ก็มี Trainee ของญี่ปุ่นอยู่หน้าเคาน์เตอร์เลย เพราะเราลงไปค่อนข้างเช้า ปรากฏว่า Trainee คนนั้นชอบฟังคลาสสิก และพอเรา ยื่นโปรแกรมนี้ไป เขาบอกว่า I love classical music และเขาโทรศัพท์ให้เดี๋ยวนั้น พอโทรศัพท์ให้เดี๋ยวนั้นเสร็จปุ๊บ เขาบอกว่า สำหรับรอบการแสดงแบบนี้ เขาจะ เหลือตั๋วจำนวนหนึ่ง ประตูเปิดตอน 2 โมงครึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นเขาจะให้คิวเราเข้าซื้อตั๋ว ตอนบ่ายโมงตรง เพื่อที่จะมีโอกาสได้ตั๋วที่ยังไม่มีคนซื้อ หรือเขาสำรองเอาไว้ เป็นโอกาสสุดท้ายให้เราสามารถที่จะใช้สิทธิ์ตรงนั้น เราก็เอาน่ะ ต้องเอาให้ได้ ก็รีบ รีบเลย ตอนเช้าก็ไปซื้อแผ่นเสียงอะไรกันเสร็จแล้ว ก็รีบเลย

เสร็จแล้วก็ไปถึงที่นู่นเที่ยงตรง ปรากฏว่ามีชาวโปแลนด์คนหนึ่งมายืนอยู่ และ เราเป็นคิวที่ 2 เราก็ตื่นเต้นมาก หูยยยย เราต้องได้นะ เราต้องได้ และท้ายที่สุด เราก็ได้ตั๋ว และตั๋วที่เราได้คือที่นั่งแถวที่ 2 ตรงนี้

น้าภูมมันมีให้เลือก มีด้านหน้าตรงนี้เลยนะ กับหลังๆ ตรงนี้ ซึ่งคิดว่าหลังๆ นี่ดี แต่ว่าผมกลัวไง ผมกลัวว่าเราจะไม่ได้ยินเสียงไวโอลิน ก็เลยเอาตรงนี้ ซึ่งมันก็ไม่ค่อย ดีหรอก มุมมองมันแคบมากเลย เอาเป็นว่าคุณเบิ้นเขาให้ผมเลือก และผมก็เลือก ในจุดที่ไม่ค่อยดีหรอก แต่มันอยู่ข้างหน้า  เพราะกลัวจะไม่ได้ยินเสียงไวโอลิน คุณเบิ้น เราก็ไป Suntory Hall แล้วเราก็มีความรู้สึกว่า มันไม่ได้เป็นฮอลล์หรูหรา แต่มันมีความขลังมัน พูดไม่ถูกครับ มันมีความขลังมาก และทุกอย่างก็เป็นประเพณี นิยมมาก แล้วเราก็ไปที่ห้องขายตั๋ว แล้วเขาก็สอดปึ๊ด นี่ 3 ที่ เราไป 3 คน มีที่ว่าง อยู่ตรงนี้พอดี ก็นั่งเลือกว่า เอานี่ไหม ตรงนี้ไหมๆ หรือตรงนี้ น้าบอกว่า เอาตรงนี้ ก็จิ้มเลย 3 คน เราก็ดีใจกันมาก เพราะเราได้ตั๋วนะครับ พอเข้าไปใน Suntory Hall จริงๆ เขาไม่ให้ถ่ายรูปเลย แต่นี่พอผมเข้าไป ผมถ่ายเลย เป็นรูป 2 รูปที่เราได้มา จะให้น้าภูมิเล่าให้ฟังว่า ด้วยการออกแบบภายในของ Suntory Hall เรานั่งอยู่ตรงนี้ นี่คือภาพที่เราเห็น และนี่คือการตกแต่งภายในของภาพรวมทั้งหมด น้าช่วยเล่าให้ฟัง นิดหนึ่งครับ

น้าภูมปกติ เราไปที่ฮอลล์ของมหิดล หรือที่ไหนก็ตาม หรือว่าห้องฟังของเราก็แล้ว แต่ เราก็จะเลี่ยงความเป็น rigid ของกระจก ของอะไรที่มันเงาๆ สะท้อนๆ แต่ที่นี่มี สะท้อน พื้นก็เป็นพื้นไม้เรียบ แล้วก็ข้างๆ จะประดับด้วยหินอ่อน มีความนุ่มอยู่อย่างเดียวคือ พื้นของเก้าอี้ที่นั่ง ที่เป็นนวม ซึ่งจะดูดซับเสียง นอกนั้นเป็นวัสดุ ที่สะท้อนเสียง ข้อที่สองก็คือ เขาทำเป็นสังเวียนไก่ สังเวียนไก่ชน คืออยู่ตรงกลาง มันเกิดอะไรขึ้น ถ้าลักษณะทำตรงกลางแบบนี้ เขาจะเพอร์ฟอร์แมนซ์ได้เฉพาะ คอนเสิร์ตเท่านั้น แต่ถ้าอย่างศูนย์วัฒนธรรมของเรา ก็คือเป็นเวทีใช่ไหม มีฉากเหมือน อเนกประสงค์ เราสามารถแสดงละคร หรืออะไรก็ได้ มีนางรำ จะร้องเพลงป๊อป คอนเสิร์ต ที่มีฉากสลับอะไรก็ได้ แต่แบบนี้แสดงได้อย่างเดียวก็คือเพลงคลาสสิก เพราะฉะนั้น ฮอลล์นี้สร้างมาเพื่อเพลงคลาสสิก แล้วก็เหตุที่เขาล้อมรอบ มันมีไม่กี่ ฮอลล์นะ เพราะว่าบางคนอยากดูมุมอื่นๆ ไม่งั้นก็ดูก้นคอนดักเตอร์อย่างเดียว แต่ว่าที่ นี่เราสามารถดูหน้าคอนดักเตอร์ได้ ถ้าเราเข้าไปอยู่ด้านหลัง แล้วเสียง เขาทำเป็น ฮอร์น คือมันเป็นเล้าไก่ใช่ไหม แต่ในภาคตัดขวางจะเป็นฮอร์นอยู่ 2 อัน คือตรงนี้อยู่ ตรงกลางนะ มันจะเป็นข้างหลัง แล้วก็จะเป็นคล้ายๆ ฮอร์น ถ้าเราตัดขวางอย่างนี้ ฮอร์น 2 อัน แล้วเวทีอยู่ตรงนี้ นึกภาพออกนะครับ คือคนจะนั่งรอบ เพราะฉะนั้น เวลาเสียงมันออกมา ถ้าคนที่อยู่ไกลสุดก็จะได้ reverse ของฮอร์น คือเสียงออกมา แล้วโดน compress เข้าไป นึกออกไหม แต่ว่าคนที่อยู่ตรงกลางๆ จะได้ความเป็น ฮอร์น ก็คือขยายออกมา เพราะฉะนั้น ความแปลกของมันก็คือ ผมนั่งอยู่ตรงนี้ เวลาที่ นักดนตรีมาเต็มเนี่ย อัดแน่นหมดเลย ผมจะเห็นแต่แนวไวโอลิน แต่ผมไม่เห็นโอโบ ไม่เห็นฟลู้ต ไม่เห็นคลาริเนต ไม่เห็นเชลโล แต่เสียงมันมาได้ เพราะฉะนั้น วิธีการที่ผม จะพรีเซนต์ฮอลล์นี้ก็คือ ความแยบยลของการที่เราได้ยินเสียงทั้งหมดได้ มันมายังไง คือมันมาครบ มาครบโดยที่ผมอยู่จุดที่ไม่ดีนะ ถ้าสวีตสปอตไม่มีปัญหาอยู่แล้ว แต่อันนี้คือจุดที่ไม่ดี แต่ก็ยังได้ยิน

ในเรื่องของเพลงคลาสสิก เพลงที่เล่นในวันนั้นเป็น Violin Concerto ก็จะวง เล็กหน่อย กับอีกบทประพันธ์หนึ่งคือ Symphonic Dances เป็นงานชิ้นท้ายๆ ของ Rachmaninoff ซึ่งเป็นนักเปียโนชาวรัสเซีย และก็เคยบ้ามาก่อน คือเขามีความ อ่อนไหวมาก เขาเคยบ้าจนต้องใช้จิตแพทย์รักษา และนี่เป็นงานชิ้นท้ายๆ ของเขาแล้ว ก่อนเขาจะตาย เขาไปอเมริกา เขาหนีกบฏบอลเชวิกไปอเมริกา บทประพันธ์ก็จะ ยิ่งใหญ่มาก เพราะเขาไปเห็นความสับสนวุ่นวายของนิวยอร์ก เพลงก็จะสื่อว่ามัน ยิ่งใหญ่ มันตูมตามมาก ซึ่งเราโชคดี บอกว่าเราโชคดีที่ได้ฟังเพลงนี้ คุณหมอไกรฤกษ์ พอรู้ว่าโปรแกรมมีเพลงนี้ก็กรี๊ดแล้วล่ะ เพราะว่ามันยิ่งใหญ่ มีเปียโนอยู่ตรงนี้ มีแนว ไวโอลินอยู่ตรงนี้

ส่วนคอนดักเตอร์เป็นคอนดักเตอร์รุ่นใหม่ Kristjan Järvi อายุประมาณ 44 พ่อเขาก็เป็นคอนดักเตอร์ พี่ชาย คือ Paavo Järvi พี่ชายเขาเก่งมาก เขาเป็นรุ่นกลาง และตัวเขาก็ดูวัยรุ่น เพราะว่าเวลาเขาคอนดักต์ก็จะไม่เหมือนโอลด์สไตล์ เขาก็เต้น ไปด้วย ขยับไปด้วย เหมือนกับแดนซ์ไปอย่างนั้น วงที่เล่นคือ Tokyo Metropolitan Symphony Orchestra ไม่ใช่วงใหญ่ ไม่ใช่โตเกียวซิมโฟนี น่าจะอันดับ 2 อันดับ 3 เท่าที่ศึกษา หนุ่มทั้งหมด ไอ้เจ้าคอนเสิร์ตมาสเตอร์ คือหัวหน้าวง ไวโอลิน 1 อายุประมาณ 30 แต่งตัวเฮ้วมาก แล้วก็รูปร่างกำยำแข็งแรง สันทัดเลยนะ แล้วนักดนตรี ที่มาเล่นก็อายุไม่มาก วิธีการตีความ repertoire พวกแนวเพลงเนี่ย ตรงนี้บอกให้เบา ก็อาจจะเบามาก พอให้ดังก็ดังมากไปหน่อย มีขาดมีเกินบ้าง ก็เป็นเรองของวง โดยรวม แล้วดี แล้วก็เสียงมันเป็นญี่ปุ่นน่ะ มันจะไม่เข้ม ล่าสุดผมเคยฟังของวง Prague Symphony Orchestra ที่ศูนย์วัฒนธรรม เสียงมันจะเข้ม แต่วงนี้เสียงเขาไม่เข้ม ป๋าโอลดี้ คือคนรุ่นใหม่รับได้

น้าภูมใช่ เป็นเสียงที่คนรุ่นใหม่รับได้

คุณเบิ้น ผมกับป๋า บอกได้เลยว่า ไม่ใช่คลาสสิกเลิฟเวอร์ แต่สิ่งที่ผมมีความรู้สึกว่า เฮ้ย! ฟังแล้วมันมีความไพเราะ แล้วก็ไม่ง่วงเลย แล้วมีอยู่ช่วงหนึ่งที่เสียงเงียบทั้งฮอลล์ เงียบแบบผมไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย เสร็จปุ๊บ มันมีเสียงแบบปึ้งขึ้นมาจากตรงนั้นน่ะ โอ้โห… คือน้ำตามันร่วงเลย เพราะมาก แล้วอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่น่าเชื่อ ฮอลล์เต็ม เต็ม เต็มเลย แล้วคนญี่ปุ่นก็พาเด็กเล็กๆ มาฟัง แล้วสิ่งที่เราประทับใจคือ มีคนตาบอดจูง หมามา แล้วไม่ได้นั่งที่พิเศษด้วยนะ เขาไม่ได้อยากถูกทรีตเป็นพิเศษ ส่วนหมาเนี่ย ตั้งแต่ต้นจนจบ เราไม่ได้ยินเสียงหมาเห่า หรือว่าเสียงอะไรแม้แต่นิดเดียว เขานั่งนิ่งๆ นายเขาก็นั่งอยู่ตรงนั้น และทุกคน behave อย่างดี จึงทำให้พวกเราไม่กล้าทำ อะไรเลย เราไม่กล้ายกอะไรถ่ายเลย ภาพที่เราถ่าย ถ่ายตอนก่อนที่คอนเสิร์ตจะเริ่ม เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราอยากจะบอก ใครที่อยากจะไปฟังที่ Suntory Hall คือ มันจะมี behavior ที่เราต้องปฏิบัติตาม เพราะฉะนั้นก็อย่างที่บอกที่ย้ำมาตั้งแต่ตอนต้นว่า เราจะต้องปฏิบัติตัวให้ดีครับ

คุณเบิ้น ต่อไปเป็นวันสุดท้าย ตอนแรกเราคิดว่า เพื่อนผมแนะนำให้เราไปหา แหล่งขายแผ่นเสียง แต่ปรากฏว่า ผมเองเข้าใจผิด คิดว่าตอนแรกเราจะไปแหล่งขาย แผ่นเสียง ปรากฏผมดูผิด เขามิกซ์คำพูด 2 คำเอาไว้ ว่ามีแหล่งขายแผ่นเสียง และ แหล่งที่เป็นคาเฟ่ ท้ายที่สุดเราก็มีโอกาสได้ไปคาเฟ่ที่ชื่อ Milestone

Milestone เป็นตัวอย่างที่ดีอีกอันหนึ่ง ที่ป๋าโอลดี้พูดอยู่เสมอว่า คนญี่ปุ่นทำอะไร เขาทำจริงจังมาก ร้าน Milestone ตั้งอยู่ที่ Takadanobaba ซึ่งจะเป็น 2 สถานี ถัดจากชินจูกุ ผมไปสืบหาข้อมูล เขาเปิดมาหลายสิบปี ประมาณสัก 40 กว่าปีด้วยซ้ำ เมื่อก่อนร้านเขาดังมากถึงขั้นคนต้องต่อคิว เข้าไปนั่งได้ประมาณ จำไม่ได้ว่า 20 นาที หรือครึ่งชั่วโมง แล้วก็ต้องออก คนคิวต่อไปก็จะเข้ามานั่งต่อ แต่ด้วยความที่เรื่องนี้นาน มาแล้ว เด็กสมัยใหม่ก็ไม่ได้สนใจเรื่องนี้ แต่ว่าคาเฟ่ Milestone นี้ก็ยังเป็นคาเฟ่ที่ให้ ความสนใจสำหรับคนที่เป็นแจ๊สเลิฟเวอร์นะครับ ตัวเจ้าของเองก็ใส่ชุดยูคาตะ นี่คือ หน้าตาของ Milestone ก็เหมือนเดิมใช้ลำโพง JBL Apollo และทั้งร้านเต็มไปด้วย หนังสือและแผ่นเสียง นี่คือซิสเต็มที่เขาใช้ เห็นไหมครับ 401 ญี่ปุ่นใช้ Garrard 401 และก็นี่หนังสือต่างๆ ทำให้เรากระเสือกกระสนต้องวิ่งไปหาหนังสือมา เพราะว่ามัน เต็มไปด้วยหนังสือ มันทำให้เห็นว่าญี่ปุ่นเขาตั้งใจจริงๆ แล้วเขาก็ใส่ชุดยูคาตะคอย ต้อนรับ แล้วก็มาถ่ายรูปกับกับเรา เรามีความรู้สึกว่าเราประทับใจ แต่เรามีเวลาอยู่ได้แค่ประมาณ 2 ชั่วโมง เราก็กลับ แล้วในร้านก็ขายแผ่นด้วย มีแผ่นที่น่าสนใจหลาย แผ่น พวกเราก็ซื้อกลับมา ก็เป็นอันหมดวัน

สุดท้ายเดี๋ยวจะให้ป๋าสรุป ให้น้าสรุป สำหรับในส่วนของผมเอง ผมมีความรู้สึก ว่า ญี่ปุ่นคราวนี้ที่ผมไป ผมเปลี่ยนทัศนคติในการฟังเพลง และก็ผมจำคำพูดที่ป๋า พูดกับน้าภูมิได้ ป๋าบอกว่า ถ้าเราจะทำอะไร เราต้องทำแบบคนญี่ปุ่น คือตั้งใจทำ แล้วทำให้มันสุดๆ แล้วไม่ต้องไปเฉไฉระหว่างทาง แล้ววันหนึ่งมันจะ pay off แล้วผมก็มีความรู้สึกว่า ผมเริ่มเข้าใจการฟังเพลงแบบคนญี่ปุ่น เพราะจริงๆ แล้ว มันไม่ใช่เครื่องเสียงญี่ปุ่นไม่ดี แต่ว่ามันเป็นวิธีการฟังเพลงที่ทำให้เขาต้องสร้าง เครื่องเสียงแบบนั้น และนี่คือความประทับใจที่ไป แล้วก็ความประทับใจอีกอย่าง หนึ่งคือ ผมได้ไปกับน้าภูมิกับป๋าโอลดี้ ผมก็มีความรู้สึก และได้พูดหลังจากกลับว่า ผมคิดว่าทริปนี้ไม่ใช่ทริปแรกและทริปสุดท้าย เราคงมีทริปอะไรอื่นๆ ที่อาจจะเกิด ขึ้นในอนาคต

ป๋าโอลดี้ ก็คงจะเหมือนๆ กับคุณเบิ้นนะครับ คือการไปทริปครั้งนี้ จริงๆ คุณเบิ้น ต้องการคนร่วมทริปที่มีความคิดที่ต่างออกไป ในแง่มุมต่างออกไป ส่วนตัวของผม เองเป็นคนฟังเพลงซะส่วนใหญ่ ทริปนี้ได้อะไรบ้าง ก็คือว่า คนญี่ปุ่นฟังเพลง เขาเป็นคนฟังเพลง แล้วเขาก็จัดเครื่องเสียงให้เข้ากับแผ่นที่เขามี ไม่ได้หลอกหู ตัวเอง ว่าเสียงจะต้องมีเบส จะต้องดัง หรืออะไร คือสิ่งที่เขาชอบและแผ่นที่เขามี มันตรงกัน เพราะฉะนั้น เวลาที่เขาจะพรีเซนต์ให้เราฟังเครื่องเสียง หรือฟังอะไร ในสิ่งที่เขาชอบ เขาจะไม่ force เราว่าจะต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ เพราะฉะนั้น เวลาเราไปฟังเขา เราก็ต้องไม่ force ตัวเองว่า เราจะต้องไปอยากรู้อะไรของเขา เราก็รับในสิ่งที่เขาอยากจะพรีเซนต์ให้เราฟัง

น้าภูมิ สำหรับผม ผมไปแล้ว ผมกลับมาคิดถึงคนไทยในแง่ Suntory Hall ที่เคยเขียนไว้แล้วในเฟซบุ๊กนะครับ ว่าถ้าจะเอาเสียงเขาจริงๆ มันก็คอเดียว ยุคเดียว แบบเดียว คนญี่ปุ่นออกแบบศูนย์วัฒนธรรม แล้วเน้นอีกหน่อย มันอาจ จะอะคูสติกส์ไม่ดีเท่า ก็ขอให้เลือกสวีตสปอตน่ะ จุดที่มันอยู่ตรงกลางหรือ อะไรอย่างนี้ เราก็จะได้อารมณ์ที่เป็น Suntory Hall ได้ ส่วน DIY ที่เห็นว่า Sakuma-san นี่เป็นเจ้า DIY หรืออะไรก็แล้วแต่ แล้วที่ผมไปสัมผัสเองเนี่ย คือเขา beyond ตัวโปรดักต์ที่เขา DIY แล้วนะ เขาไม่ได้จมอยู่กับต้องใช้หม้อแปลงอันนี้ ต้องใช้อย่างนี้ ต้องเดินสายแบบนี้ ไม่ใช่ เขาให้ดนตรี ก็เหมือนกับพี่โอลดี้ ก็คือกลับ มาว่า ทำเพื่อฟังดนตรี ทำเพื่อฟังเพลง เพราะฉะนั้นก็ขอให้นัก DIY หลุดจากคำว่า เหนือกว่า ดีที่สุดเป็นอย่างไร ทุกอย่าง คือถ้าเกิดคุณได้ซากอะไรขึ้นมาสักซากหนึ่ง หรืออะไรก็แล้วแต่ แล้วคุณฟังดนตรีแล้วมันใช่ มันก็คือใช่ อันนี้ Sakuma-san สอนเราอย่างนี้ ก็คงฝากไว้เท่านี้ครับ. ADP