ธรรมนูญ

สวัสดีครับ พบกันอีกแล้วกับวิถีดิจิทัลจากคอลัมน์ audiophile go digital

เมื่อ Audiophile มาในฉบับออนไลน์ก็จะอยู่ในหมวด Equipment Reviews บนเว็บไซต์ www.audiophile-videophile.com นะครับ

จั่วหัวไว้ก่อนเข้าเรื่อง ต้องขอตั้งคำถามก่อนว่า “ตัวเล็กสเป็กพี่ นึกถีงอะไรเป็นสิ่งแรก สามารถดูย้อนได้จาก AUDIOPHILE | VIDEOPHILE LIVE STREAM ตามลิงก์นี้ https://www.youtube.com/watch?v=mg_rFJrlXmY&t=49s

สำหรับบทความนี้จะเพิ่มเติมรายละเอีดในบางเรื่องนะครับ

All-in-One Hit Hi-Fi’s World Again?

ไฮไฟในยุคแรกก็คงหมายถึง วิทยุ หรือ รีซีฟเวอร์ ในอดีตตั้งแต่ยุค ’50s โน่น ก็มีเครื่องเสียงแนว All in One เช่น เครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มาคู่กับวิทยุ ต่อมาถูกแตกแขนงกลายเป็นเครื่องเสียงแยกชิ้น แอมป์, เทิร์นเทเบิ้ล, จูนเนอร์, เครื่องเล่นโอเพ่นรีลเทป, เทปเด็ค, เครื่องเล่นซีดี ซึ่งฟรอนต์เอ็นด์ก็ได้พัฒนามาตลอดจนถึง Streamer ในทุกวันนี้

ผมไม่เถียงว่า Stereo Components แบบแยกชิ้นให้คุณภาพเสียงดีจริง กรณีที่แม็ตชิ่งดีและกระเป๋าหนักพอ แต่ว่าก่อนที่จะเล่นเครื่องเสียงแยกชิ้น หลายๆ คนก็เล่นเครื่องเสียงแบบ All-in-One มาก่อน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องใหม่

All-in-One Integrated Amp/Player (แอมป์หลอด + เทิร์นเทเบิ้ล) ยุค ’50s ยุโรป อเมริกา เล่นมานานมากแล้ว เช่นของ Phillips, Grundig, Zenith

       ในยุค ’80s มาในรูปแบบ Mini Compo ที่ประกอบด้วย… แอมป์ + Cassette Tape Player + Tuner ส่วนใหญ่มาจากญี่ปุ่น เน้นความสะดวกในการใช้งาน อาทิ JVC, Denon, Sony, Aiwa เป็นต้น 

All-in-One สุดปังในยุค Streaming

เครื่องเสียงไฮเอ็นด์ของยุโรปในยุค Streaming ทำมานานเป็นสิบปีแล้ว ยิ่งระยะหลังยิ่งแรง อาทิ Linn DSi ต่อมาขยับเป็น DSM และมีผุดมาเรื่อยๆ ยิ่งยุค Streaming Service เฟื่องฟู นี่ถือว่า “สุดปัง”

ยุคนี้ไฮไฟแบบรวมชิ้นในขนาด Compact ล้วนเป็นของดี ตั้งแต่ Mid-End ยัน Hi-End มีให้เล่นเพียบ ราคาตั้งแต่หลักหมื่นจนถึงหลายแสน ยันหลักล้าน

All-in-One ระดับไฮเอ็นด์เป็นการนำทุกอย่างมารวมไว้ในตัวเดียว ทำยาก จึงไม่ใช่ของถูก หรือว่ามีคุณภาพต่ำที่จะปรามาสได้ แต่ก็ไม่ใช่แพงเกินไป ทุกอย่างมีเหตุมีผลของมัน มีทั้งตัวใหญ่และตัวเล็ก ตัวเล็กกำลังขับมักไม่สูง ตัวที่มีกำลังขับสูง ราคาก็สูงตามไปด้วย

            อาจสงสัยว่า… ทำไม All-in-One ตัวเล็กสเป็กพี่ถึงกำลังเป็นที่นิยมกันทั่วโลกในยุคนี้ เหมือนกับกลับมาฮิต สาเหตุก็เพราะครอบครัวมีขนาดเล็ก หรือต้องการชุดเล็กสำหรับในห้องนั่งเล่นที่ใช้งานง่าย รองรับทุกไลฟ์สไตล์ ถูกใจคนรุ่นใหม่ เช่น ลูกสาวและหลานแม่ยายอย่างยิ่ง  

Cambridge Audio

บริษัทไฮไฟสัญชาติอังกฤษ กำเนิดในยุค ’70s เอกลักษณ์คือ มีบุคลิกเสียงที่เรียกว่าCambridge’s ‘British Sound’ นิยามของ Cambridge คือ… ไม่เติมเข้า ไม่ตัดออก ให้เสียงบริสุทธิ์ โทนัลบาลานซ์ดี ในแบบฉบับของ British Sound ในราคาที่สมเหตุสมผล ตามแนวคิดที่ว่า “Redefined performance at its price point”

Cambridge Audio รุ่น P40 คือตำนานของ Cambridge Audio ออกแบบโดย… ศาสตราจารย์ Gordon Edge ถือเป็นแอมป์ที่ใช้หม้อแปลง toroidal เป็นครั้งแรก ผลิตในปี 1968

ปัจจุบัน Cambridge Audio มีฐานปฎิบัติการวิจัยพัฒนาอยู่ในกรุงลอนดอน เพิ่งฉลองครบรอบ 50 ปี ด้วยการออกผลิตภัณฑ์ในซีรี่ส์ EDGE ที่ขยับเลื่อนชั้นให้ Cambridge Audio สู่วิถีไฮเอนด์

Cambridge Audio: Digital Audio Timeline

Cambridge ถือว่าทันสมัยทีเดียวที่มีเครื่องเสียงดิจิทัล รุ่น CD1 ตัวแรกตั้งแต่ปี 1985 โน่นเลย
ต่อมาปี 1995 เปิดตัว DAC Magic Original, ปี 2008 ออก DAC Magic เวอร์ชั่นถัดมา ตัวนี้ดังมาก จากนั้นก็เข้าสู่ยุคสตรีมมิ่งในปี 2011 ด้วยรุ่น Stream Magic ตัวแรก ในราคาไม่แรง ขณะที่แบรนด์ไฮเอ็นด์ตัวเป็นแสน จนกระทั่งปี 2015 ก็ปล่อย AZUR 851N และ CX Series ที่ปังมาก

ปี 2018 ครบรอบ 50 ปี ปล่อยทีเด็ดสู่วิถีไฮเอนด์ด้วย EDGE Series ตามด้วย CX Series 2 ที่เพิ่งอัพเกรดด้วย Tidal Connect เมื่อต้นปีนี้เอง
ล่าสุดปี 2021 ก็ได้เวลาของ Cambridge EVO 75 และ EVO 150 All-in-One Player ที่หลายคนรอคอย

EVO: 1st Cambridge Audio All-in-One Player 

All-in-One อินทิเกรตแอมป์ยุคใหม่ ถือว่าเป็นไฮไฟที่สุดปังใน พ.ศ. นี้ เครื่องเสียงแบรนด์ดังๆ ล้วนมีสินค้าแนวนี้อยู่ใน product line แทบทั้งสิ้น แฟนๆ ก็รอว่า Cambridge Audio จะออกกับเขาบ้างเมื่อไหร่ ซึ่งวันนี้มาถึงมือแล้ว ไม่ถือว่าช้า มาเมื่อทุกอย่างพร้อม ก็ดีไปอย่างจะได้ทดสอบให้แน่ใจที่สุดว่า เมื่อถึงมือผู้ใช้แล้วจะทำงานลื่นไหลต่อเนื่องไม่กวนใจ

            EVO ในรูปลักษณ์อันเป็น iConic สะดุดตาด้วยไม้วอลนัทที่ประกบด้านข้าง สวยคลาสสิก โดยได้รับแรงบันดาลใจจากรุ่น P40 อันเป็นตำนานนั่นเอง นอกจากนั้นยังมีแผงข้างสำรองให้ใช้ เป็นลาย Graphic ทันสมัย ทำจากวัสดุรีไซเคิล แปะติดง่ายด้วยแม่เหล็ก ทำมาให้แฟนๆ แม็ตช์กับเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน คิดได้ไง

EVO มาจาก EVOLUTION ก็คือ The Evolution of Hi-Fi

Evolution รากศัพท์มาจาก “Transformation – การเปลี่ยนแปลง” หรือ “Improvement – การปรับปรุง พัฒนาการ” อันมีความหมายเชิงบวก “Progress” หมายถึง ความก้าวหน้า ไปข้างหน้าด้วยความก้าวล้ำนั่นเอง ถือว่าเข้ากับนิยาม Tomorrow’s Hi-Fi Today แปลว่า… ไฮไฟแห่งอนาคตของเครื่องเสียงของวันนี้

EVO พกพาความก้าวล้ำของเทคโนโลยีมาพร้อมเพื่อคุณในวันนี้ และนี่คือก้าวกระโดดครั้งสำคัญอันเกิดจากประสบการณ์อันยาวนานในแวดวงไฮไฟมากว่า 50 ปี บรรจุอยู่ในเครื่องเสียง Cambridge Audio ที่ปฎิวัติใหม่หมดในชิ้นเดียว

EVO เป็นเครื่องเสียงที่สนองตอบไลฟ์สไตล์ของคุณด้วย Look ที่ดูดี และต้องให้เสียงดี หล่อเหมือนหน้าตาของมัน ด้วยคอนเซ็ปต์ Minimal & Timeless design สู่เป้าหมาย Small but Mighty “ตัวเล็ก สเป็กพี่” อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำ หนักเพียง 5.3 กก. เท่านั้น

Best of both worlds.

EVO พร้อมรองรับทุกรูปแบบของการใช้งาน เก่งทั้งดิจิทัลและอะนาล็อก ภายใต้ขนาดที่เล็ก กำลังขับทรงพลัง ครบจบในชิ้นเดียว ใช้งานง่ายมาก ข้อสำคัญให้เสียงดีอย่างที่ต้องอ้าปากค้าง พลังเสียงที่เด่นทั้งรายละเอียดและความแม่นยำ ให้เสียงใหญ่เต็มสเกล ได้อารมณ์เพลงครบถ้วน

Check In 

EVO 75 และ EVO 150 มีสัณฐานเดียวกันเด๊ะ รูปทรงสมส่วน ขนาด 317 x 89 x 352 มม. ไม่ถึงกับจิ๋วนักหรอก แผงด้านข้างเลือกได้ว่าจะแปะด้วยไม้วอลนัทหรือลายกราฟิก ดูดแปะด้วยแม่เหล็ก ระวังหนีบมือด้วยล่ะ

แผงด้านหน้าและฝาเครื่องทำด้วยอะลููมิเนียมอะโนไดซ์สีดำ หนาพอประมาณ ติดไว้ด้วยโลโก้ Cambridge บนแถบเงิน หน้าปัดมีจอขนาดใหญ่ ทำหน้าทีหลายประการคือ แสดงถึง Meta Data ของแหล่งโปรแกรม และบอกสถานะการทำงานของการเชื่อมต่อ Network

ขอบข้างจอด้านขวาติดมีปุ่มกดเล็กๆ เป็นคีย์กดยาวหลายตัวเรียงกันเป็นแนวทำหน้าที่ Skip >> Play/Pause >> Speaker Output >> Headphone/Bluetooth >> Info 

ถัดไปที่สะดุดตาคือ ลูกบิดหมุนได้รอบตัว วงในคือ Vol ด้านนอกคือ Selector รูปลักษณ์หรู ถอดมาจาก EDGE series กันเลยทีเดียว

ด้านหลังเครื่องของ EVO 75 และ EVO 150 ต่างกันตรงที่ EVO 150 จัดเต็มกว่า นอกจากกำลังวัตต์ที่มากกว่า ก็มีความต่างตงที่ EVO 150 มี MM Pre-phono และสามารถเลือก Speaker A+B รวมถึงมีช่อง USB สำหรับ CAS (Computer As Source) และมี Optical 2 ชุด เป็นต้น

ภายในติดตั้งด้วยโมดุลของ HYPEX: All-in-One Amplifier + Power supply ในภาพอยู่ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาเป็นวอลลู่ม แผงใหญ่สุดด้านล่างเป็น Analog Board PCB แผงบนขึ้นมาเป็นDigital Board PCB ที่รวม DAC module รวมถึง Stream Magic ver.4 board Module ติดตั้งอยู่บนอีกชั้น ห็นภาพแล้ว คงอยากทราบว่า ทำมาได้อย่างไร และมีอะไรดีบ้าง

‘Tomorrow’s Hi-Fi, Today’
“Cambridge Audio EVO “ไฮไฟแห่งอนาคต เพื่อวันนี้”
Heritage and the evolution of hi-fi with cutting edge technologies.

Ged Martin มือหนึ่งของทีมออกแบบบอกว่า… “EVO คือทุกสิ่งที่คุณรักชอบ ในอดีต ปัจจุบัน และสู่อนาคต ทั้งหมดอยู่ในไฮไฟตัวเล็กสเป็กพี่ตัวนี้ สวย เรียบหรู คลาสสิกด้วยรูปลักษณ์ที่หรูชวนหลงใหล ฟังก์ชั่นครบจบในชิ้นเดียว ใช้วัสดุคุณภาพ Premium ไร้ซึ่งการประนีประนอม ใช้งานง่าย สะดวกสบาย เสียงดี และมากด้วยพลังสามารถขับลำโพงได้หลากหลาย”

EVO series ประกอบไปด้วย EVO 75, EVO 150 และ EVO S ลำโพงขนาด bookshelf ที่เปิดตัวในคราวเดียวกัน

The Making Cambridge Evo

เห็นฟีเจอร์แล้ว อาจสงสัยว่า อัดเยอะขนาดนี้ทำตัวใหญ่ไปเลยก็สิ้นเรื่อง ซึ่งก็ไม่ใชคอนเซ็ปต์นี้สิ Compactness, Effectiveness คือ Keywords สำคัญ เพราะ EVO มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องเล็กและมีพลังอยู่ในสัดส่วนกะทัดรัด เอนกประสงค์ ใช้งานง่าย หรูมีสไตล์ กลมกลืนกับการตกแต่งภายใน วางตรงไหนก็สวย

เพื่อใครน่ะเหรอ ก็เพื่อใครก็ตามที่รักเสียงเพลง ชอบของพรีเมี่ยม น้อยชิ้น เข้ากับงานตกแต่งในบ้าน ติดตั้งได้เอง ไม่ต้องการเซียนหรือกูรูมาช่วยเซ็ต ตรงนี้สำคัญที่เปลี่ยน mindset ของนักเล่นรุ่นเก่า  ซึ่งความจริงก็อาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว แต่อาจต้องการเป็นเจ้าของ เพราะเสียงเย้ายวนของคนในบ้าน

เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ

ปัญหาใหญ่ของการออกแบบเครื่องเสียง All-in-One ก็คือ… ภาคขยายนี่ล่ะ ถ้าเป็น Class AB ตัวเล็กๆ ก็ไม่มีแรง ถ้าต้องการกำลังขับสูงๆ ก็ต้องตัวใหญ่กินเนื้อที่ ไหนจะเจอภาคจ่ายไฟอีก มีทางเดียวที่เป็น Solution ที่จะเป็นไปได้ก็ต้องใช้แอมป์ Class D แต่ก็ต้องเป็น Class D ที่ดีที่สุดด้วย

Solution มาจบที่ HYPEX N-Core Class D amp module ที่มีคุณสมบัติทุกประการเทียบเท่าหรือดีกว่าแอมป์ Class AB โดยใช้ OEM จาก HYPEX Electronics สัญชาติ Netherland ที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเอง บริษัทก่อตั้งตั้งแต่ปี 1996 ออกแบบ Class D amp module โด่งดังมากมายจากการใช้งานแบบ PA มาก่อน จนแตกแขนงสู่ไฮไฟ ถือว่าอยู่ลำดับต้นๆ ของผู้ผลิต มีบริษัทเครื่องเสียงชื่อดังเลือกไปใช้งานมากมาย แน่นอนว่าไม่ใช่ของถูก 

EVO เลือกใช้ภาคขยาย N Core Family “Allin-One amplifier + power supply” ที่ปรับจูนมาด้วยกัน คือ NC252MP (OEM) 150 วัตต์ต่อแชนเนล 8 โอห์ม รุ่นล่าสุด

Class D?

จริงอยู่ที่แอมป์ Class D ในอดีตมีภาพลักษณ์ที่มีแต่แรง ไม่ประทับใจนักฟังหูทอง และนั่นเป็นความเชื่อเก่าๆ ปัจจุบันทำได้ไม่ต่างจาก Class AB ในทุกมิติ จริงอยู่ไม่ควรมองที่สเป็ก ต้องฟังด้วยหู จุดเด่นอยู่ตรงที่มีความสงัด ให้รายละเอียดชิ้นดนตรีทุกตัวโน้ต มีค่า Output Impedance ที่ต่ำมากๆ ข้อสำคัญไร้ซึ่งเรโซแนนต์ที่ความถี่สูงๆ ด้วย ที่แน่ๆ ด้วยประสิทธิภาพที่สูงทำให้สามารถขับลำโพงใดๆ ก็ได้ แม็ตชิ่งกับลำโพงได้กว้างมาก

การจัดการความซับซ้อนภายในเครื่อง

ความยากอยู่ตรงจะจัดการกับความซับซ้อนได้อย่างไรกับอุปกรณ์ภายในที่มากมาย Amp + PSU module >> Pre stage >> Stream Magic Platform v.4 + MM phono

ตัวเครื่องใช้อะลูมิเนียมอย่างหนาที่แข็งแกร่ง ในส่วนหน้าเครื่องและฝาเครื่องคือหัวใจอยู่ที่การป้องกันปัญหารบกวนจาก Noise ด้วยการชีลด์ และสำคัญยิ่งยวดก็คือ ปรีโฟโน

ภาคจ่ายไฟถูกวางให้ห่างจากอุปกรณ์ที่อ่อนไหวต่อการรบกวน แผงวงจรดิจิทัลถูกออกแบบให้เป็นชีลด์ชั้นดี และส่วนออนไหวถูกวางวางในส่วนที่ป้องกันพิเศษเพื่อป้องกันอุปกรณ์ในแต่ละส่วนที่จะรบกวนกันเอง

In-Tune

อาจสงสัยว่า EVO เทียบชั้นกับเครื่องเสียง Cambridge ตัวใด หรืออาจสงสัยว่า เมื่อใช้ N Core Class D amp Module แล้ว เสียงจะใกล้เคียงหรือเหมือนกับแอมป์ตัวอื่นๆ สิ อาจไม่ใช่แบบนั้นนะ ปัจจัยอยู่ที่ Key point นั่นคือ Pre & DAC ที่แน่ๆ รับรองว่าไม่มีทางเหมือนกัน EVO ใช้ ESS 9018 K2M (9016) เหนือกว่า CX ทุกรุ่น ภาคปรีถูกออกแบบให้แม็ตชิ่งโดยสมบูรณ์แบบกับ HYPEX N Core ที่จูนเสียงให้ได้ Cambridge’s British Sound เป็นที่สุด ด้วย Precise Vol controlled ที่ถอดมาจาก EDGE ถ่ายทอดเสียงได้ตรงแม่นยำ โทนัลบาลานซ์ดี ไม่ตัด ไม่เพิ่ม แต่อย่างใด

Voiced in London

EVO ผ่านการทดลองฟังเป็นร้อยๆ ชั่วโมงกับแทร็กเพลงดนตรีหลากหลายแนว ในห้องฟังจากฐานปฎิบัติการในกรุงลอนดอน แทร็กเพลงงที่มิเพียงเฉพาะโอ้ฟาย เพลงฮิตตลาดๆ ก็มี ไม่เว้นแม้แต่จาก Internet Radio ซึ่งเป็นไฟล์ MP3 ก็ต้องฟังได้ดี

            ลักษณะการฟังเป็นแบบ Blind test ด้วยลูกขุนหลายคน เทียบกับเครื่อเสียงหลายตัวในตลาด เชื่อว่าสู้ได้ ไม่มองเรื่องสเป็กนะ มั่นใจว่าเหนือกว่า CX แน่นอน ที่แน่ๆ กินขาดเรื่องรูปลักษณ์กว่าเครื่องแยกชิ้น และง่ายในการติดตั้งแบบไม่ต้องเพ่ง

Experiences with EVO 150

ว่าด้วยฟีเจอร์ทั้งสองตัวจัดเต็มด้วย Stream Magic Platform v.4 ที่รองกับการเชื่อมต่อด้วย DLNA, AirPlay 2, Bluetooth, ChromeCast, Spotify Connect, Tidal Connect, Qobuz, Bluetooth aptX HD พร้อมทั้งภาคขยายหูฟัง 3.5 มม. headphone sockets, HDMI ARC รวมถึง Internet Radio และ Roon Ready

EVO 150 มาพร้อมโฟโนสเตจ MM, XLR inputs, Home Theater Passthrough, Sub out, Pre-Out, Speaker terminal A+B  

File Support

EVO 150 รองรับไฟล์ 32-bit/384kHz (asynchronous), DSD256, MQA Full decode

Matching

ผมเสียบสายลำโพงจากเจ้าถิ่นขาประจำห้อง Home Studio เจ้า Manger: ZeroBox109 ก่อนเป็นคำรบแรก จากนั้นก็เพิ่มซับวูฟเฟอร์ REL S/5 SHO แบบ 2.2 เพื่อเพิ่มความอลังอย่างที่เคย ส่วนลำโพงอื่นๆ จะแม็ตชิ่งกับ Polk Audio ตั้งพื้น หรือ Acoustic Energy, PSB, Dynaudio Emit series เสียงดี ราคาไม่แพง หรือไม่ก็ Bowers & Wilkins ก็ยังสบายๆ ความจริงถ้าขับ Manger ไหว ลำโพงอะไรก็ขับได้หมดแหละ เลือกอย่างที่ชอบ ตามงบเลย

Connectivity

การเชื่อมต่อง่ายมาก ใช้สายลำโพงคู่หนึ่งกับสายไฟเส้นเดียวก็เล่นได้แล้ว ถ้าเอาให้ครบสูตรก็ต้องต่อเน็ตเวิร์ก จะเป็น LAN หรือ WLAN (Wi-Fi) ก็ไม่ขัด แต่ขอแนะนำให้ใช้ LAN จะดีที่สุด ถ้าต้องต่อแบบ Wi-Fi ควรหาที่เสียบสาย LAN เพื่อตั้งค่าเสียก่อน จากนั้นค่อเปิดฟังก์ชั่น Wi-Fi ใส่ Password ของ Wi-Fi Router เป็นการตั้งค่าครั้งเดียว เท่านั้นก็จบ!

ถ้าจะหรูขึ้นมาอีกนิด CXC ,TV ARC..USB Thumb Drive

Control

การควบคุมเครื่องสามารถทำได้ 3 วิธี คือ… 1. กดจากหน้าเครื่องได้เลย 2. รีโมตไร้สาย 3. เมื่อต่อเน็ตเวิร์กก็ใช้ StreamMagic app

Set Up

ทันทีที่เปิดเครื่อง EVO จะทำการ Automatic Up Firmware ใช้เวลาไม่นานก็เสร็จ แล้วต้องไม่ลืม โหลด StreamMagic app มาอยู่ใน iDevices จาก (Apple Store, Google Play) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือติดต่อกับเครื่อง ถือว่าเริด ซึ่ง app นี้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เปิด Service รวมถึง Input ที่ติดตั้งมากับเครื่อง จะเปิดเท่าที่ต้องการใช้งานหรือเปิดทั้งหมดก็ได้ สำหรับการใช้งาน Tidal หรือ Qobuz ต้อง Sign in ก่อน ส่วน Spotify ไม่จำเป็นต้อง Sign in แต่อย่างใด หวังว่าคนที่เล่น Steaming ก็คงมี account ของ Streaming Services อยู่แล้วนะครับ

อีกอย่างคือ การเลือกเล่นลำโพงที่เราต่อไว้ ซึ่งมี Speaker A, Speaker B และ A+B ผมเลือกใช้ A+B ในกรณีที่ใช้งานหูฟังก็ต้องเลือก Headphone ส่วนการใช้งาน Bluetooth ก็สามารถ Pair ง่ายๆ กับหูฟังหรือลำโพง Bluetooth โดยต้องอยู่ในรัศมีทำการของ Bluetooth 4.2 ที่รองรับ aptX HD ด้วยครับ

เมื่อถึงคราวโดนไล่ที่จากห้องฟังหลัก ก็ต้องเคลื่อนย้ายเข้าประจำการในห้องนั่งเล่นแทน ผมเสียบหูฟัง AudioQuest Nighthawk ตัวเก๋า และเชื่อมต่อ Bluetooth กับ Soundbar ด้วย Bluetooth นี่ล่ะ

Showtime

ในการทดสอบเครื่องเสียงยุคนี้ ผมเน้นไปที่การเล่นเพลงจาก Tidal Streaming Service เพื่อใช้อ้างอิงเป็นหลัก ส่วนไฟล์จาก Music Server หรือ NAS ก็มีบ้าง แต่ไม่มาก และเลือกเล่นไฟล์เทพๆ อย่าง  DXD, DSD64/128 จนถึง 256 ไปเลยเพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของอุปกรณ์  

การฟังเพลง Tidal ซึ่งเล่นได้ 2 วิธี คือ… ทาง Tidal connect หรือจาก StreamMagic app ที่รองรับทั้ง Tidal และ Qobuz อยู่แล้ว เมื่อฟัง Tidal วิธีที่ง่ายสุดก็เล่นผ่าน Tidal connect ที่สามารถคลี่ MQA ได้หมดจด

ที่สำคัญต้องไม่พลาดกับ Playlist ที่ Cambridge จัดทำมาพิเศษเพื่อ EVO โดยเฉพาะ กดตามลิงก์ด้านล่างได้เลยครับ tidal.com/browse/playlist/3fe33fee-4c1e-4cb3-9655-e6125d54e4e8

ส่วน Apple Music Lossless ก็เล่นได้เช่นกัน สามารถเล่นได้หลายวิธี เช่น ใช้ MAC, iPhone หรือ Apple TV เสียบผ่านช่อง USB input และ ARC HDMI รวมถึง AirPlay2 และ Youtube แต่ขอไม่ลงรายละเอียดนะครับ สำหรับ Internet Radio แนะนำให้ฟังอย่างยิ่ง เพราะมีเพลงจากสถานีวิทยุออนไลน์จากทั่วโลกให้ฟังกันไม่หวาดไม่ไหว คุณภาพเสียงดีพอควรเลย อย่าได้ดูถูกเชียว

EVO 150 มีช่องเสียบ USB ให้เล่นไฟล์ได้เลย ถ้าคุณไม่ได้มีไฟล์เพลงมากนักก็ไม่จำเป็นต้องมี Music Server ก็ได้ นอกจากนั้นยังเป็น Roon Endpoint อีกด้วย 

ดนตรีที่ได้ฟังจาก Playlist นั้นมีทั้งที่บันทึกเสียงแบบออดิโอไฟล์จ๋า ผสมกับแผ่นคอมเมอร์เชี่ยลทั่วไป เสียงที่ถ่ายทอดจาก EVO นั้น เที่ยงตรง มีความโปร่ง ไดนามิกส์ดี ได้ยินชัดถึงรายละเอียด ข้อเด่นคือโทนัลบาลานซ์ดีเยี่ยม ดนตรีมีชีวิตชีวา แทร็กที่เน้นไดนามิกอิมแพ็กต์ก็ตอบสนองได้แบบไม่ขัดเขิน เพลงร็อกก็ฟังได้ดีแจ๊สก็ไม่ย่อย ดนตรีบิ๊กแบนด์จนถึงซิมโฟนีก็ได้ เอาเข้าจริงก็ได้หมดแหละ

ผมชอบ EVO ตรงที่ดิสเพลย์สวย แจ่มมาก ที่ต้องชมคือ การทำงานของเครื่อง รวมถึงแอพ จัดได้ว่าอยู่ในระดับเสถียรมาก ไม่กวนใจเลย

สำหรับฟังก์ชั่นบางอย่างก็ขอข้ามไป เช่น MM Phono รวมถึง Sub-out เพราะถนัดใช้ REL ต่อแบบ Hi Level มากกว่า รวมทั้ง Pre-out กับ Theater Passthrough ต้องขออภัยด้วยครับ

Wrap Up

ด้วยรูปลักษณ์อันเป็น Iconic ที่ละม้ายตำนาน P40 ที่คลาสสิกตลอดกาล EVO จึงเป็น All-in-One Player เอนกประสงค์ ตรงตาม Imagineering จากทีมออกแบบของ Cambridge นับเป็นเครื่องเสียงตัวเล็กสเป็กแรง ใช้งานง่าย ครอบคลุมทุกความต้องการ หรู ดูดี จัดวางตรงไหนก็เข้ากับอินทีเรียร์ในบ้าน ออกแบบได้รู้ใจคนยุคใหม่ที่ตัดความยุ่งยากของไฮไฟแยกชิ้น แม้กระทั่ง NAS/Music Server ภายนอกออกไปหมด

EVO ให้เสียงดีเกินคาด กำลังขับถึง ขับลำโพงได้กว้างตั้งแต่ราคาหลักหมื่นยันหลักแสนสบายๆ ถ้าอนาคตมีตังค์อยากสอยลำโพงไฮเอ็นด์ค่าตัวเรือนแสนที่เป็น “ตัวจบ” ก็ได้เลย มั่นใจว่า เจ้า EVO ตัวเล็ก สป็กพี่ตัวนี้รับมือได้เสมอ

EVO ตัวเลือกที่มีองค์ประกอบพร้อมสุด ในราคาที่จับต้องได้ ตามสไตล์ Cambridge ไฮไฟล้ำในราคาเหมาะสม ที่มาพร้อมกับคุณสมบัติ Minimal, Timeless design ตรงตาม Design Concept เป๊ะ ผนวกกับ StreamMagic platform ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าทิศทางของไฮไฟจะเป็นเช่นไร EVO ก็ยังทันยุคทันสมัยเช่นเดิม ประมาณว่าใช้กันยาวๆ สำหรับ Music Lover ทุกกลุ่ม  

EVO ปังตามคาด ได้รับการกล่าวขวัญจากนักทดสอบทั่วโลก ในบ้านเราทราบว่าได้การต้อนรับดีเช่นกัน ก็ต้องชวนให้รีบมาลองเล่นกันครับ. ADP  

ราคา 119,000 บาท

นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท เพาเวอร์ บาย จำกัด
Power Buy Call Center โทร. 0-2904-2120