วุฒิศักดิ์

นักเขียน : วุฒิศักดิ์ ชื่นมีเชาว์

เป็นเรื่องแปลกที่เมื่อได้นึกทบทวนก็พบว่า ผมไม่เคยได้เขียนทดสอบลำโพง Dynaudio มาก่อนเลยแม้แต่รุ่นเดียว ทั้งที่ตลอดระยะ เวลาที่เล่นเครื่องเสียงมาก็นานเป็นสิบๆ ปี มีโอกาสได้ฟังอยู่หลายๆ รุ่น แต่ก็ไม่เคยได้หา มาเล่นเป็นของตัวเองเลย คราวนี้จึงถือว่าเป็น โอกาสที่ดีมากที่จะได้ทดสอบลำโพงสัญชาติ เดนมาร์กจากผู้ผลิตระดับตำนานที่อยู่คู่ วงการเครื่องเสียงมายาวนานกว่า 40 ปีอย่าง Dynaudio โดยรุ่นที่ได้รับมาทดสอบคือ Confidence 30 เป็นลำโพงตั้งพื้นขนาดเล็ก ที่สุดในซีรีส์ Confident ซีรีส์สูงสุดของ Dynaudio ในปัจจุบัน ซึ่งมี Confidence 20 เป็นลำโพงวางขาตั้ง และ Confidence 50 และ 60 เป็นลำโพงตั้งพื้นขนาดใหญ่

ก่อนอื่นขอกล่าวถึงความสนใจที่ผม มีต่อ Dynaudio เล็กน้อย นั่นคือ ผมมักให้ ความสนใจในลำโพงที่มาจากผู้ผลิตที่ผลิตตัวขับ เสียงเองเป็นพิเศษ เนื่องจากมีความเชื่อว่า ผู้ผลิตประเภทนี้มีการทำวิจัยที่เป็นเรื่องเป็นราว มีหลักวิชาการ มีองค์ความรู้เป็นของตัวเอง การออกแบบลำโพงที่มาจากผู้ผลิตแนวๆ นี้ จึงได้รับความน่าเชื่อถือจากผมมากเป็นพิเศษ ซึ่ง Dynaudio นอกจากผลิตตัวขับเสียงเองแล้ว ยังมีไลน์การผลิตที่กว้างมาก ตั้งแต่ตัวเล็ก อย่างลำโพงบลูทูธขึ้นมาจนถึงรุ่นใหญ่อย่าง Confidence ที่ทดสอบคราวนี้ นอกจากนั้นยังมี ลำโพงสำหรับห้องบันทึกเสียง, ลำโพงติดรถยนต์ ลำโพงสำหรับงานติดตั้งทั้งภายในและภายนอก อาคาร เมื่อดูจากไลน์การผลิตที่หลากหลาย เช่นนี้แล้วก็ทำให้เชื่อได้ว่าไม่ธรรมดาแน่นอ

Dynaudio Confidence 30 เป็นลำโพง 3 ทางตั้งพื้นที่มีตู้ผอมสูง ประกอบไปด้วย ทวีตเตอร์รุ่น Esotar 3 ซึ่งเป็นการพัฒนา ครั้งล่าสุดของทวีตเตอร์ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นหนึ่งในตัวที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาซื้อได้ และเป็น รุ่นที่สร้างชื่อให้ Dynaudio ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา เลข 3 ก็หมายถึงการพัฒนามา เป็นเจเนอเรชั่นที่ 3 แล้ว โดยเป็นโดมผ้าขนาด 28 มม. แม่เหล็กนีโอไดเมียมที่มีความแรงสูง และมีการปรับปรุงในส่วนของปริมาตรอากาศ เพื่อสลายพลังงานเสียงส่วนเกินด้านหลังโดม ทำงานช่วงความถี่ 3.7-22 kHz ตัวขับเสียงกลาง กรวย MSP ย่อมาจาก magnesium-silicate-polymer ซึ่งก็คือ พลาสติกที่ผสมผงแมกนีเซียม และซิลิก้า เพื่อเสริมความแข็งแรงนั่นเอง โดยใช้ ขนาดขนาดราวๆ 6 นิ้ว (150 มม.) ทำงานลงไป ถึงความถี่ 290Hz ซึ่งตัวขับเสียงกลางนี้มีส่วนที่ น่าสนใจอีก 2 อย่าง คือ… ใช้แม่เหล็กนีโอไดเมียม และขอบเซอร์ราวด์ที่ Dynaudio ให้ชื่อว่า Horizon Surround ออกแบบมาเป็นเหมือน แผ่นเรียบๆ มีร่องเว้าเข้าด้านในที่เล็กมาก มอง เผินๆ แทบจะนึกว่าไม่มีเซอร์ราวด์ เข้าใจว่า เพราะตัวขับเสียงกลางมักทำงานด้วยช่วงชักที่ สั้นอยู่แล้ว จึงมีการออกแบบให้ขอบมีขนาดเล็ก เพียงแค่เท่าที่จำเป็น เพื่อให้สามารถควบคุมการ เคลื่อนที่ของกรวยขับเสียงได้อย่างเที่ยงตรงตาม ที่ต้องการ ก่อนส่งต่อให้วูฟเฟอร์คู่ กรวย MSP เช่นเดียวกัน ขนาด 180 มม. ติดตั้งในตู้เปิดที่มี พอร์ตหันลงพื้นด้านล่าง ทำงานตอบสนอง ความถี่ลงไปได้ถึง 38Hz นอกจากนี้ ส่วนที่มี ความสำคัญที่ถือเป็นหัวใจของรุ่น Confidence เลยก็คือ เทคโนโลยี DDC ย่อมาจาก Dynaudio Directivity Control ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงการออกแบบแผงหน้าลำโพงให้มีการจัด Time Alinement ให้เสียงจากตัวขับเสียงแต่ละตัวมาถึงผู้ฟังในเวลาเท่ากันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการออกแบบวงจรตัดแบ่งความถี่การทำงานของตัวขับเสียงแต่ละตัว รวมไปถึงระบบจับยึดตัวขับเสียงแต่ละตัวเข้ากับแผงหน้าวัสดุผสมพิเศษหลายชนิด ที่ผู้ผลิตบอกว่ามีความเงียบ (จัดการกับแรงสั่นสะเทือน) ได้ดีกว่าอะลูมิเนียมเสียอีก ในเรื่องของแผงหน้าที่ออกแบบให้มีบางส่วนกว้างเกินตู้ลำโพงออกมา โดยส่วนตัวผมว่าดูไม่ค่อยลงตัวเท่าไหร่ แต่น่าจะเป็นความตั้งใจของผู้ออกแบบที่บอกว่ารูปทรงของแผงหน้าเป็นส่วนที่ถูกกำหนดรูปทรงมาเพื่อควบคุมการกระจายเสียง ถือเป็นส่วนสำคัญของเทคโนโลยี DDC นั่นเอง

ต่อมาในส่วนของตู้ลำโพงทรงผอมสูงที่มีผนังโค้งเป็นทรง Lute shape ก็พบว่า คู่ที่ได้รับมาทดสอบเป็นลายไม้สีน้ำตาลเรียบเงา ผิวงานตู้ดูดีสมราคาลำโพง ส่วนของฐานล่างเป็นเพลตโลหะทรงเหมือนตัวตู้ลำโพงที่มีขาออกมา 4 ขาด้านข้าง เพื่อให้ลำโพงตั้งได้อย่างมั่นคง ทั้งยังมีสไปก์ที่มีลูกบิดขนาดใหญ่เพื่อให้ใช้มือในการขันปรับขึ้นลงได้อย่างสะดวกเบาแรง และยังมีแหวนล็อกเมื่อปรับตั้งได้ระดับแล้ว พอล็อกเสร็จเกลียวจะได้ไม่คลายตัวออกมาอีก ถือเป็นระบบสไปก์ที่ออกแบบมาดีมากที่สุดอีกตัวหนึ่งเท่าที่ได้เคยทดสอบมา และในกล่องยังแถมตัววัดระดับน้ำตาแมวขนาดใหญ่ หน้าตาดูดีมีชาติตระกูลมากๆ มาให้ด้วย ซึ่งการปรับตั้งให้ลำโพงตั้งได้นิ่ง มั่นคง ได้ฉาก ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ได้เสียงที่นิ่ง สะอาด มีรายละเอียด ดังนั้นควรตรวจเช็คอยู่เป็นระยะด้วย สุดท้ายขั้วต่อลำโพงอยู่ด้านหลังบริเวณใกล้ฐานลำโพงเป็น WBT Next Gen แบบซิงเกิลไวร์ที่มีคุณภาพดีสมราคาลำโพง

มีความเพลิดเพลินในความต่อเนื่องของการทำงานสอดประสานกันได้อย่างกลมกลืนของตัวขับเสียงทั้งสามย่านจนไม่ต้องไปสนใจเครื่องเสียงเลย

การทดสอบ

ในส่วนของการทดสอบ เนื่องจากลำโพง Dynaudio Confidence 30 ระบุความไวมาที่ 88dB อิมพีแดนซ์ค่อนข้างต่ำเพียงแค่ 4 Ohms ยังดีที่ต่ำสุด 2.8 Ohms ที่ 85Hz ก็ไม่ได้สวิงมากมายนัก และรองรับกำลังขับถึง 350 วัตต์ จากประสบการณ์ส่วนตัว ผมขอข้ามแอมป์หลอดไปเลย ในคราวนี้ขอทดสอบด้วย Classe’ CA-M600 ตลอดการทดสอบ พบว่ากำลัง 1200 วัตต์ที่ 4 Ohms ของ CA-M600 ก็สามารถควบคุมการทำงานของ Confidence 30 ได้อย่างอยู่หมัด ลำโพงคู่นี้เป็นคู่เดียวกับที่ใช้เปิดโชว์ในงาน BAV SHOW 2019 จึงน่าจะพ้นเบิร์นไปแล้ว และมาอยู่ที่ผมค่อนข้างนาน ก็ได้เปิดใช้งานต่อไปอีก เมื่อมั่นใจแล้วจึงขอเริ่มต้นด้วยแผ่น Senri Kawaguchi มือกลองแจ๊สสาว ชุด Cider Hard & Sweet พบว่า พวกเสียงกลางสูงมีความกระจ่างชัดดี เช่นพวกเสียงเปียโน และเสียงการตีไฮแฮท ที่ให้รายละเอียดสำเนียงการตีหนักเบา สลับการเหยียบและปล่อยแป้นเหยียบก็ให้รายละเอียดน่าฟังดี เสียงกลางออกโทนอิ่มหนา เช่น พวกสแนร์ กลองทอม จะรู้สึกใบค่อนข้างใหญ่ๆ หน่อย พอเป็นกลางต่ำเบสต้น พวกกระเดื่องและเบสไฟฟ้า เริ่มอวบใหญ่ไม่กระฉับกระเฉงเท่าย่านกลาง ความเด็ดขาดในการตามโน้ตอาจเป็นรองย่านกลางสูงลงมาบ้าง แต่โดยรวมก็ช่วยให้โทนโดยรวมนุ่มนวลน่าฟัง ผ่อนคลายมากขึ้น ฟังนานๆ ได้ไม่ล้าหู เบสลึกลงได้สมตัวกับลำโพงตัวขนาดนี้ เติมเต็มห้องได้สบายๆ แต่ไม่ได้แจกแจงรายละเอียดเป็นระรอกคลื่นแผ่มาตามพื้นได้ชัดเจนนัก คงต้องเผื่อไว้ให้รุ่นที่ใหญ่กว่านี้ได้มีของมาโชว์กันบ้าง

พอดีผมได้ไปประเทศ Estonia ได้ซื้อแผ่นซีดี Francis Poulenc: Stabat Mater สังกัด Harmonia Mundi ที่บันทึกที่ Estonia Concert Hall ติดมือกลับบ้านมา พบว่า Confidence 30 ค่อนข้างแจกแจงรายละเอียดของเสียงร้องประสานได้ดี เสียงเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นจาก Estonian National Symphony Orchestra จะออกโทนอิ่มหนา เบสใหญ่ ไม่ได้ออกแนวรุกเร้าดุดันจนมากเกินงาม เมื่อเซ็ตลำโพงให้แต่ละเสียงมีช่องไฟไม่มั่วตีรวนกันแล้วก็นับว่าฟังได้ผ่อนคลายกว่าที่คิด แม้แนวเพลงมีความเศร้า และความกดดันถ่ายทอดออกมาอย่างต่อเนื่อง Confident 30 ก็ไม่ได้ออกอาการเครียดเกร็ง ยังคงให้รูปวงขนาดใหญ่ และลำดับชั้นของเครื่องดนตรีต่างๆ ที่ลึกเข้าไปในผนังด้านหลังลำโพงได้เป็นอย่างดี

ถัดมาขอฟังอะไรที่สดใสขึ้นมาบ้างอย่าง Disney’s Beauty and the Beast Original Broadway Cast ที่ถึงแม้เพลง Belle มีตัวละครมากมายร้องสวนกันไปมา Confidence 30 ก็สามารถแยกความแตกต่างของแต่ละตัวละคร ทั้งโทนเสียงที่ต่างกัน และตำแหน่งที่ตัวละครนั้นๆ ยืนอยู่ตามจุดต่างๆ ในฉาก ก็สามารถให้ออกมาได้ดี ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าย่านเสียงกลางมีความเป็นกลาง ไม่ได้แต่งแต้มให้อิ่มหนาจนเกินงามแต่อย่างใด ถัดมาขอลองฟังแผ่นสามัญประจำบ้านอย่างแผ่น SACD Rebecca Pidgeon: Retrospective พบว่า เบสยังคงมีแนวเสียงบวมๆ ช้าๆ ที่ติดตัวมากับแผ่นนี้อยู่ แต่รู้สึกว่าเสียงเบสมีความสะอาดเก็บตัวเร็วกว่าปรกติที่คุ้นเคย เสียงร้องไม่ได้หนาเหมือนที่เคยเจอกับเครื่องเสียงบางชุด คือเสียงร้องออกมาในโทนเสียงกลางเป็นหลักเหมือนเสียงของผู้หญิงทั่วไป ไม่ได้มีฐานเสียงกลางต่ำมากๆ แบบเสียงผู้ชาย ซึ่งถ้าเป็นลำโพงที่จูนเสียงมาให้อิ่มหนาเกินจริง อาจเกิดอาการแบบนั้นได้ ดังนั้นจึงถือว่า Confidence 30 เป็นลำโพงที่ให้เสียงย่านเสียงกลางขึ้นไปถึงสูงได้อย่างเหมาะสมกันดี จะมีก็เพียงปริมาณฐานเบสต่ำลึกๆ และความรวดเร็วเคลียร์ชัดของหัวเบสที่ก็ทำได้ดีระดับหนึ่ง แต่ถือว่ายังเป็นรองย่านอื่นอยู่เล็กน้อย และพอดีช่วงที่กำลังเขียนรีวิวส์เป็นช่วงที่ภาพยนตร์เรื่อง Frozen II กำลังจะเข้าฉายพอดี เลยลองหาเพลงประกอบมาฟังดูก่อน เท่าที่ฟังผ่านๆ มีมาสะดุดที่เพลง Into the Unknown ที่ช่วงครึ่งหลังของเพลงมีเสียงกลองใหญ่ที่มีการเล่นกลับเฟสเสียงให้เหมือนเสียงกลองอยู่ด้านข้างสองด้านก้องมาจากไกลๆ ซึ่ง Confidence 30 ก็ให้ความถูกต้องของเสียงที่กว้างเลยผนังห้องออกไป และอยู่มาด้านหน้าลำโพงค่อนข้างมากอย่างที่ควรคาดหวังได้จากลำโพงที่มีการใส่ใจเรื่องการจัดเรื่องเฟสเสียงตามเทคโนโลยี DDC

เสียงแหลมที่มีพลัง ลงตัวกลมกลืนน่าฟังในทุกๆ เพลงที่เปิด เป็นลำโพงที่มีงานประกอบเรียบร้อยสมราคา และมีแนวเสียงกลมกลืนต่อเนื่อง เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในระดับราคานี้

และเนื่องจากบทความน่าจะตีพิมพ์ในฉบับเดือนธันวาคม จึงขอปิดท้ายด้วยแผ่น Royal New Orleans Jazz Celebration ที่พบว่า Dynaudio Confidence 30 สามารถให้รายละเอียดความน่าฟังของเสียงเครื่องเป่าทุกชิ้นได้เป็นอย่างดี มีความนุ่มนวลน่าฟัง ไม่ได้เป็นแบบคมสดกัดหู หากแต่นำเสนอเสียงที่มีบอดี้ขนาดชิ้นของเครื่องเป่าต่างๆ สมส่วนตามความเป็นจริง นับว่าทวีตเตอร์ Esotar 3 ระบุความถี่ตอบสนองไว้แค่ 22kHz ก็เพียงพอที่จะให้เนื้อหาดนตรีได้อย่างครบถ้วน เป็นเสียงแหลมที่มีเนื้อมีมวลมีคุณภาพ ไม่ได้ฟุ้งเป็นฝอยจนหาสาระไม่ได้ อย่างเช่นเสียงเคาะไซโลโฟนและเนื่องจากบทความน่าจะตีพิมพ์ในฉบับเดือนธันวาคม จึงขอปิดท้ายด้วยแผ่น Royal New Orleans Jazz Celebration ที่พบว่า Dynaudio Confidence 30 สามารถให้รายละเอียดความน่าฟังของเสียงเครื่องเป่าทุกชิ้นได้เป็นอย่างดี มีความนุ่มนวลน่าฟัง ไม่ได้เป็นแบบคมสดกัดหู หากแต่นำเสนอเสียงที่มีบอดี้ขนาดชิ้นของเครื่องเป่าต่างๆ สมส่วนตามความเป็นจริง นับว่าทวีตเตอร์ Esotar 3 ระบุความถี่ตอบสนองไว้แค่ 22kHz ก็เพียงพอที่จะให้เนื้อหาดนตรีได้อย่างครบถ้วน เป็นเสียงแหลมที่มีเนื้อมีมวลมีคุณภาพ ไม่ได้ฟุ้งเป็นฝอยจนหาสาระไม่ได้ อย่างเช่นเสียงเคาะไซโลโฟนและเปียโนที่มีความเด็ดขาด มีพละกำลังของหัวเสียงในการเคาะนี่น่าประทับใจดีมาก และในส่วนของเสียงต่ำก็ไม่พบอาการเก็บตัวช้าแต่อย่างใด นั่นคือ ถ้าไม่ใช่เพลงที่ต้องการความไวของเบสมากจริงๆ ก็จะไม่สามารถสังเกตอาการได้เลย กับแผ่นนี้ต้องขอบอกว่ามีความเพลิดเพลินในความต่อเนื่องของการทำงานสอดประสานกันได้อย่างกลมกลืนของตัวขับเสียงทั้งสามย่านจนไม่ต้องไปสนใจเครื่องเสียงเลย ฟังเพลงให้เป็นดนตรีไม่ต้องไปคอยจับผิดอะไรเลย เพราะมันมีรายละเอียดให้ฟังโดยไม่ต้องเพ่งเลย

สรุป

Dynaudio Confidence 30 เป็นลำโพงตั้งพื้นขนาดกลางที่มีความโดดเด่นย่านเสียงแหลมที่มีมวลอิ่มเข้ม ต่อเนื่องลงมาถึงเสียงกลาง ส่วนเบสแม้มีความดุดันเด็ดขาดเป็นรองย่านอื่นเล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้มากมายอะไร และถ้าหากได้ลองเอาไปใช้งานในห้องที่มีขนาดเล็กราวๆ 20 – 25 ตารางเมตร น่าจะเติมเต็มห้องด้วยเสียงดนตรีที่มีความกลมกล่อมไฟเราะได้ไม่ยากนัก จากเท่าที่ได้ลอง พบว่าไปกันได้ดีกับแอมป์โซลิดสเตทกำลังสูง โดยไม่มีอาการเสียงจัดกร้าวให้เห็นแม้แต่น้อย นับว่าเป็นลำโพงที่เน้นนำเสนอความเป็นดนตรีที่มีความอบอุ่นนุ่มนวล ซึ่งเท่าที่ประเมินจากแนวเสียง ถ้าไม่ได้จัดชุดเครื่องเสียงจนไม่เข้าขากันจริงๆ ก็ไม่ควรจะพบปัญหาเสียงคมบางพุ่งจัดจ้านบาดหูได้ง่ายๆ ข้อสำคัญที่ควรระวังคือ การปรับตั้งสไปก์ที่ฐานให้ได้ระดับ และกดลงพื้นอย่างมั่นคงเท่าๆ กันทุกตัว แล้วจะได้เสียงที่นิ่งกระชับมีโฟกัส เสียงแหลมที่มีพลัง ลงตัวกลมกลืนน่าฟังในทุกๆ เพลงที่เปิด เป็นลำโพงที่มีงานประกอบเรียบร้อยสมราคา และมีแนวเสียงกลมกลืนต่อเนื่อง เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในระดับราคานี้. ADP

นิตยสาร Audiophile Videophile ฉบับที่ 274