ชุมพล

สุดยอดสายไฟพลังแม่เหล็ก

สายไฟเกรดสูงกับเครื่องเสียง กลายเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันสำหรับนักเล่นเครื่องเสียงที่ต้องการได้รับประสิทธิภาพจากซิสเต็มมากไปกว่าสายไฟที่แถมมากับเครื่อง แหล่งผลิตสายไฟระดับสูงมักมาจากอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน หรือไม่ก็ OEM จากจีน สนนราคามีตั้งแต่ระดับพันยันไปถึงแตะล้านบาท!!!

ทำไมราคามันต่างกันมากมายขนาดนั้น เหตุผลอยู่ที่วัสดุที่ใช้เป็นตัวนำ ฉนวน หัว/ท้าย ปลั๊ก และเทคโนโลยี รวมทั้งสูตรลับของแต่ละยี่ห้อที่ปรุงเสียงออกมาตามที่ผู้ผลิตต้องการ อ้อ! ผมตกไปเรื่องหนึ่ง คือ… โครงสร้างของตัวนำด้วยครับ

หลายปีมาแล้ว ผมเคยคิดเล่นๆ ว่า จะมีใครเอาเงิน (Silver) มาทำาเป็นตัวนำาสายไฟฟ้าไหม และเสียงน่าจะ
ต่างไปจากทองแดง แต่ราคาคงแพงน่าดู ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าปัจจุบันมีสายไฟ AC ที่ใช้ตัวนำทำาจากเงินบริสุทธิ์ และปลอดอ็อกซิเจน (OCC) เสียด้วย

สายไฟ EDL เป็นผลผลิตของคนไทยที่ผมภูมิใจแนะนำาเป็นอย่างยิ่งครับ เพราะว่าสายไฟยี่ห้อนี้
สามารถซัดกับสายของต่างประเทศราคาแพงกว่า 2-3 เท่าตัวได้สบายมาก ชนิดที่เสียบฟัง A/B เทสต์แค่เพลงเดียวก็รู้เรื่องแล้วครับ ยิ่งเป็นสายในระดับราคาเท่าๆ กัน ไม่ต้องพูดเลยครับ EDL กินขาดอย่างไม่ต้องสงสัย

ผู้ที่อยู่เบื้องหลังสาย EDL ทั้งสายไฟ สายสัญญาณ และสายลำโพง คือ… คุณรุ่งรัตน์ ตรีรัตนกิตติกุล นักเล่นเครื่องเสียงระดับไฮเอ็นด์ที่เล่นเครื่องเสียงมาอย่างโชกโชนกว่า 30 ปี จนแทบไม่มีเครื่องเสียงยี่ห้อไหนที่ว่าดีๆ ที่ไม่เคยผ่านมือคุณรุ่งรัตน์มาก่อน แกเล่าให้ฟังว่าที่มาของการทำาสาย EDL ออกมาขายไม่ใช่เพราะอยากได้เงิน แต่เป็นเพราะหลังจากถูกฝรั่งและญี่ปุ่นฟันไปหลายอัฐแล้ว พบว่ามีเพียงสายเคเบิลที่ราคาสูงมากจนสุดเอื้อมที่สามารถตอบสนองความถี่ได้อย่างสมบูรณ์ทุกย่าน รวมทั้งไดนามิกที่เป็นอิสระ ปลอดจากการรบกวนทางไฟฟ้า หรือขยะไฟฟ้าที่มาจากสถานีส่งไฟฟ้าได้ ดังนั้น ด้วยประสบการณ์ทางเทคโนโลยีด้านเครื่องมือแพทย์จำพวกเครื่องตรวจอวัยวะด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และเครื่องตรวจอวัยวะด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า จึงนำมาซึ่งการพัฒนาสายไฟฟ้าและสายเคเบิล EDL ULTRAMAG ขึ้นมา เพื่อให้ได้สายคุณภาพสูง คุ้มราคา มีหลายรุ่นให้เลือกตามความต้องการของนักเล่นเครื่องเสียง

จุดขายของสาย EDL ULTRAMAG คือ มีการนำแม่เหล็กถาวร มีความแรงถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ มาใช้จัดการกับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำในลักษณะ Push and Pull (ผลักและดึง) ส่งผลให้อีเล็กตรอนวิ่งได้รวดเร็ว เป็นระเบียบ และปราศจากการรบกวนจากคลื่นไฟฟ้าต่างๆ ได้ ผลที่เกิดขึ้นคือ กระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ในระบบเครื่องเสียง สะอาด บริสุทธิ์ เปี่ยมด้วยพละกำาลัง นอกจากนั้น สายของ EDL ยังผ่านกระบวนการ Ultra Molecular Treatment ซึ่งคล้ายๆ กับการไครโอเจนิค แต่มีเทคนิคการทำที่แยบยลกว่า ทำให้สาย EDL ULTRAMAG มีคุณสมบัติที่ดี ไร้ความหยาบกระด้าง และส่งผ่านกระแสไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ไร้รอยตะเข็บในเนื้อของตัวนำ คล้ายๆ กับรถก็แรง ถนนที่วิ่งก็เรียบและกว้าง อะไรแบบนั้นครับ

EDL ย่อมาจาก Exotech Design Lab ส่วน ULTRAMAG นั้นไม่ได้ย่อนะครับ เพียงแต่ตัวสะกดของ mag น่ะ มาจาก Magnetic ที่แปลว่า “แม่เหล็ก” รูปลักษณ์ภายนอกของสายไฟ EDL ULTRAMAG รุ่น MK IV และ MK V มีลักษณะรูปร่างอันเป็นเอกลักษณ์ เห็นแล้วรู้เลยว่า นี่คือสายไฟ EDL สิ่งแรกที่เห็นโดดเด่นเลยคือ มันมี “ประกับ” หรือกล่องอะลูมิเนียมอะโนไดซ์สีแดง (MK IV) และสีน้ำเงิน (MK V) ครอบอยู่ 3 กล่องตลอดความยาวสาย ในส่วนของหัวปลั๊ก IEC ตัวผู้มีการทำตัวถังครอบภายนอกด้วยอะลูมิเนียมไม่ใช่ปลอกพลาสติก แล้วรัดท่อหดเหมือนกับสายไฟทั่วไป ตัวสายมีการใส่หนังงูสีดำเอาไว้ ซึ่งมิได้มีการพอกฉนวนให้หลอกสายตาว่าสายมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่โต เพราะเท่าที่ทำ R&D มา คุณรุ่งรัตน์ฯ บอกว่า สายเส้นขนาดนี้เหมาะสมแล้วสำหรับการนำมาใช้งานร่วมกับ ULTRAMAG

แว้บแรกที่ผมเห็นสายไฟ EDL ULTRAMAG MK IV ผมนึกถึง IRON MAN เนื่องด้วยสีแดง + ทอง และกระเปาะอะโนไดซ์แดง+ทอง แถมเสียงของมันยังมีความพิเศษที่ไม่เหมือนใครด้วยครับ ส่วนสาย MK V นั้น ผมตั้งชื่อเล่นให้มันว่า BAT MAN ด้วยสีน้ำเงิน + ดำา คล้ายๆ กับนาฬิกาโรเล็กซ์ GMT II ที่ทำขอบ BEZEL เป็นสีน้ำเงิน + ดำ และเรียกกันในวงการว่า BAT MAN นั่นแหละครับ

ความแตกต่างระหว่าง MK IV และ MK V อีกประการหนึ่งก็คือ ในรุ่น MK V นั้น วัสดุที่เป็นขาปลั๊กทั้งหัวและท้ายชุบเคลือบด้วยโรเดียมที่ไม่ใช่แค่การจุ่มบางๆ แต่ชุบด้วยโรเดียมก้อน ดังนั้นจึงมีความหนาของผิวมากกว่าปลั๊กไฟโรเดียมเกรดทั่วไป ส่วนรุ่น MK IV นั้นชุบทองคำ ในส่วนของหัวปลั๊กและสำหรับท้ายปลั๊กจะชุบเคลือบด้วยทองชมพูเพื่อความลงตัวของเสียง โว้ววววว… มีการคัดสรรมาชนิดที่ตั้งใจแบบนี้ ไม่ธรรมดาเลยครับ


มาเจาะเข้าไปภายในของสายกันบ้างนะครับ สายไฟ EDL ULTRAMAG ทั้งสองรุ่นใช้ตัวนำทองแดงเกรดสูง ขนาดหน้าตัด 2.599 mm ในกล่องประกับอะลูมิเนียมบรรจุด้วยแม่เหล็กถาวรกำาลังสูงที่ผ่านการคำานวณแรงแม่เหล็กโดยวิศวกรไฟฟ้าที่ชำนาญการเกี่ยวกับเครื่อง MRI มาแล้ว มีการจัดเรียงทิศทางแม่เหล็กตามสูตรลับของ EDL ข้อสำคัญคือ การชีลด์อีกชั้นด้วยทองแดงหนาปึ๊กเพื่อป้องกันมิให้แรงแม่เหล็กแพร่ออกไป ทำปฏิกิริยากับอุปกรณ์เครื่องเสียงชิ้นอื่นได้ แม่เหล็กในกล่องอะลูมิเนียมที่ครอบอยู่ทั้ง 3 กล่องทำหน้าที่ PUSH และ PULL ให้อิเล็กตรอนวิ่งไปและวิ่งกลับได้อย่างเป็นระเบียบและรวดเร็ว ข้อสำคัญที่แตกต่างจากสายไฟแม่เหล็กอื่นคือ EDL ไม่ได้ใช้แม่เหล็กมา “บีบ” และ “ฉีด” เหมือนกับเวลาเราบีบสายยางฉีดน้ำแล้วน้ำจะพุ่งแรงขึ้น แต่สังเกตดีๆ จะเห็นว่าน้ำที่ฉีดออกมาจะเป็นลำที่เล็กลง ส่วนหลักการของ EDL คือ ถนนที่ลำเลียงอิเล็กตรอนนั้นยังกว้างเท่าเดิม แล้วเพิ่มอัตราเร่งเข้าไป ทำให้อิเล็กตรอนไหลผ่านได้อย่างรวดเร็ว และมีการปรับผิวถนนให้เรียบเพื่อช่วยในการลำเลียงมิให้มีการสะดุดหรือตกหลุม ส่งผลให้เสียงมีทั้งพละกำลัง ความสะอาด ที่สำคัญคือ ไม่มีอาการอั้นไดนามิกอย่างเด็ดขาด ประเด็นนี้เป็นจุดสำคัญมากที่ทำให้สายไฟ EDL มีความพิเศษแตกต่างไปจากสายไฟเครื่องเสียงทุกยี่ห้อในโลกใบนี้

ถ้าจะถามว่า แล้วทำไมถึงต้องมีรุ่น IRON MAN (MK IV) และรุ่น BAT MAN (MK V) แถมสนนราคาก็ต่างกันด้วย คำตอบคือ ผู้ผลิตต้องการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งมีความชอบ/ไม่ชอบ บุคลิกเสียงที่แตกต่างกันออกไปครับ และในการทดสอบ ผมพบว่า การใข้สายไฟ EDL ULTRAMAG ร่วมกันทั้งสองรุ่นในชุดเครื่องเสียงเดียวกัน ผลที่ได้รับมีความกลมกล่อมลงตัวกว่าการใช้สายรุ่นเดียวกันทั้งระบบ กล่าวคือบางครั้ง บางเพลง หากใช้สายรุ่น MK V ทั้งหมดอาจรู้สึกว่าอยากให้มันสด ดิบ มีความฉ่าตอนปลายของเสียงแหลมเพิ่มขึ้นอีกหน่อย หรือหากใช้ MK IV ทั้งหมด ก็อาจจะอยากได้ความอิ่มฉ่ำ มวลเสียงที่เข้มข้น ความสงัดนิ่งของแบ็คกราวด์ ทางที่ดีคือใช้ผสมกันนั่นแหละครับ แต่ถ้าคิดจะเลือกเส้นใดเส้นหนึ่ง คุณต้องทราบว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนเป็นจุดอ่อนในระบบ แล้วต้องการเอาสายไฟ EDL เข้าไปช่วย ถ้าเป็นที่ Source ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่น CD, DAC หรือ STREAMER ผมแนะนำาให้ใช้ MK V ครับ เนื่องจากมันมีหัวปลั๊กเคลือบโรเดียม และมีความสงัดสูงมาก ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่อุปกรณ์ทางดิจิทัลต้องการ ส่วนที่เพาเวอร์แอมป์ ผมแนะนำเป็นรุ่น MK IV ครับ

ผลการทดสอบ

สายไฟ EDL ULTRAMAG MK IV มีบุคลิกเสียงที่สมจริง มีความสด เปิดเผยทุกรายละเอียด โทนเสียงออกไปในแนวสว่าง ไม่ใช่บางนะครับ ความเข้มพละกำลัง แรงปะทะ ที่มีมาให้อย่างเหลือเฟือ ย่านเสียงแหลมบนๆ ต่อลงมาถึงย่านเสียงกลาง ตรงนี้จะใสปิ๊ง เปิดเผยรายละเอียดออกมาได้ครบถ้วน ไม่มีตกหล่นด้วยลีลาในการนำเสนอที่กระฉับกระเฉง คึกคัก ฉับไว สิ่งที่เป็นความพิเศษมากๆ เลยคือ พลังแฝงที่อัดเข้าไปในทุกตัวโน้ตดนตรี ส่งผลให้เสียงสปริงตัวออกมาจากลำโพงได้ชนิดหลุดตู้อย่างสมบูรณ์ คุณสมบัตินี้ยังเกาะกุมไปถึงสภาวะบรรยากาศ และมวลอากาศในห้องบันทึกเสียงที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างน่าประทับใจ พอถอดสาย EDL ออกแล้ว เอาสายไฟ AC ยี่ห้ออื่นเสียบแทน ทุกอย่างที่บรรยายมาข้างต้นจะวูบหายไปเฉยเลยครับ

เวทีเสียงและอิมเมจ เป็นอีกประการที่ต้องชมเชย เวทีเสียงของ EDL มีความโอ่อ่า สง่างาม ฉีกตัวในด้านกว้างได้เลยลำโพงออกไปแทบจะทะลุผนังห้องด้วยซ้ำ การจัดวางระนาบของชิ้นดนตรีต่างๆ เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีวางเกยทับกันจนไม่รู้ว่าเครื่องอะไรอยู่ตำาแหน่งไหน แม้เป็นเครื่องดนตรีชนิดใกล้เคียงกัน เช่น ไวโอลิน กับ วิโอล่า นี่ก็สามารถแยกแยะออกมาได้ว่าอะไรเป็นอะไร และเล่นอยู่ตรงไหนอิมเมจชัดเป๊ะ ขึ้นรูปเป็นสามมิติ และไม่เพียงชัดอยู่เฉพาะบริเวณกึ่งกลางของโถงเวที หากแต่มันชัดทุดจุดเลยครับ

สายไฟ EDL MK IV ทำให้ผมรู้สึกว่า ทุกขณะที่นั่งฟังเหมือนอยู่ในบรรยากาศของห้องบันทึกเสียง (หรือ คอนเสิร์ตฮอลล์) AIRY ที่สัมผัสได้มีความสมจริงมากๆ ชนิดที่นานๆ จะได้ยินสักครั้ง คุณสมบัติเกี่ยวกับ TONAL BALANCE ทั้ง MK IV และ MK V ทำได้ดีพอๆ กัน ทุกความถี่เสียงมีความสมดุล สอดรับกันเป็นอย่างดี ไม่มีย่านใดโด่งล้ำ หรือหลุบเข้า หากจะแยกพิจารณาเป็นทุ้ม กลาง แหลม แล้ว จุดที่แตกต่างจากสายไฟยี่ห้ออื่นเห็นจะเป็นเบสลึกๆ บริเวณต่ำกว่า 80Hz ที่สาย EDL ปั๊มออกมาได้อย่างสะใจ ชัดเจนชนิดที่แม้เปิดเสียงเบาๆ ก็รู้สึกว่ามีเบสลึกออกมาตลอดเวลา ไม่ใช่มาแต่ตอนเปิดดังๆ เท่านั้น

สิ่งที่สายไฟ EDL ULTRAMAG MK V แตกต่างไปจาก MK IV คือ ความสงัดของฉากหลังที่ MK V ทำได้ดีกว่าจนถึงขั้นนิ่งจนเข้าสู่ภวังค์ แบบนี้เสียบเข้าแอมป์หลอดก็ดีนะครับ เพราะ MK V สามารถลด Noise ลงได้ระดับหนึ่ง นอกจากนั้น ผิวเสียงจะเรียบเนียน สะอาด ฟังแล้วรู้สึก หวาน ลื่น ชื่นใจ เปรียบประดุจว่าเติมน้ำเชื่อมเข้าไปนิดๆ และในย่านของเสียงกลางต่ำก็หนากว่า MK IV อยู่บ้าง รูปวง หรือ Sound Stage ของ MK V จะถอยร่นลึกลงไปกว่า ทำให้รู้สึกว่าเวลาที่เสียบสายไฟ MK IV เราอยู่ใกล้ชิดกับวงดนตรี ส่วน MK V นั้น เหมือนกับว่าเรานั่งอยู่ในคอนเสิร์ตฮอลล์ โดยรวมๆ แล้วต้องเรียนว่าดีไปกันคนละแบบ และ สมควรอย่างยิ่งที่จะนำามาใช้งานในชุดเครื่องเสียงด้วยกัน รับรองว่าคุณจะตื่นเต้นกับรายละเอียดเสียงเล็ก เสียงน้อยที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน หรือที่เคยได้ยินเบาๆ ต้องตะแคงหูฟัง คราวนี้ คุณจะได้ยินโดยที่ไม่ต้องตั้งใจฟังเลยครับ

บทสรุป

สำาหรับสายไฟ EDL ULTRAMAG MK IV และ MK V เป็นสายไฟระดับ HI-END ที่ควรมีอยู่ในชุดเครื่องเสียง ไม่ว่าคุณใช้สายในระดับไหน ยี่ห้อใดอยู่ก็ตาม ผู้ผลิตบอกว่ายินดีให้ยืมไปทดลองฟังก่อนได้ หากไม่พอใจ แค่คืนสายมาโดยที่คุณไม่ต้องจ่ายเงินสักบาท แล้วจะรออะไรอยู่อีกล่ะครับ … พี่น้อง. ADP

สายไฟ ULTRAMAG MK4 ราคา 90,000 บาท

สายไฟ ULTRAMAG MK5 ราคา 180,000 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและทดลองฟังที่ตัวแทนจำหน่าย

ร้าน NIK Studio โทร. 02-642-1224, 095-521-8582