ปฤษณ

นักเขียน : ปฤษณ กัญจา :

ในคอนเสร์ต Classy Live Project Vol.4 “Care For Each Other: The Night To Remember Bee Gees” วันอาทิตย ์ ที่ 19 สิงหาคม 2561 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์ วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย … เมื่อเสียง เพลง I Started A Joke ดังขึ้น รุ่นพี่ที่เป็นนักชมคอนเสิร์ตและการแสดงตัวยงคนหนึ่งของเมืองไทย ทั้งยังเป็นนักเขียนและนักวิจารณ์ฝีมือดี บอกกับผมว่า… คนนี้ร้องดีมากผมก็รู้สึกอย่างนั้นครับเพาเวอร์ ของเสี ยงมาเต็มๆ ไม่มีขาดห้วง หรืออะไร เพราะว่านักร้องบางคนอาจจะมีร้องหลบ เวลาเสียงไม่ถึง แต่กับนักร้องคนนี่ร้องเต็มเสียง ทุกโน้ตตั้งแต่ต้นจนจบ

“ภูวดล วีระเสถียร” หรือที่ใครๆ เรียกว่า “พี่มินท์ ”คือนักดนตรี และนักร้องคนนั้น เขาเป็นหนึ่งในสมาชิ กของ วง YAMIN แห่งค่าย Great Odyssey Records ที่ก่อตั้งโดย “พี่แจ็ค” – เจษฎา พัฒนถาบุตร เจ้าของ JSS (Jack Sound System) บริษัทที่ทำเรื่องระบบเสียงคอนเสิร์ตและการแสดงชั้นแนวหน้าของเมืองไทย

สำหรับ พี่มินท์ ไม่เฉพาะในคอนเสิร์ตเท่านั้น เพราะเมื่อฟังเสียงร้องจากแผ่นซี ดี ผลงานของเขา ลักษณะ การร้องแบบเต็มเสียงก็ยังคงเป็นจุดเด่น และเมื่อผนวกกับเสียงดนตรีที่เล่นกั แน่นทุกเครื่องดนตรี คำว่า “เต็มอก เต็มใจ สะอก สะใจ” จึงเป็นความรู้ สึกที่ใช้ บรรยายถึงคุณภาพที่คับแก้วของคนดนตรีคนนี้

เส้นทางสายดนตรี

แม้ว่าผมจะเริ่มเล่นดนตรีที่กรุงเทพฯ แต่ผมคิดว่าอาชีพนักดนตรีของ ผมจริงๆ เริ่มที่โคราช เพราะว่าตอนไปอยู่โคราชผมได้ทำเรื่องนี้จริงจัง ตอนที่เริ่มต้นกับเพื่อนที่กรุงเทพฯ มันก็แค่เล่น เพราะตอนนั้นผมยังไม่ได้ อยากเล่นดนตรี จริงๆ ผมเรียนจบแล้ว ที่ไปเล่นเพราะว่าเพื่อนรุ่นน้อง ยังไม่จบ แต่เขาไม่มีเงินเรียน ที่บ้านเขาไม่ส่งให้เรียน ก็เลยไปเล่นดนตรี หาเงินกัน แต่พอเล่นแล้วเลยกลายเป็นชอบครับ ผมรู้สึกว่าดนตรีให้อะไรเรา หลายอย่าง พอไปอยู่โคราชเลยเริ่มจริงจังกับดนตรี ก็เล่นกับฝึกซ้อมอยู่ที่นั่น

สมัยนั้น เพลงที่เล่นแนวไหน

ผมโตมากับเพลงยุคซิกตีส์เซเว่นตีส์เป็นเพลงโฟล์ค ก็เล่นแบบ โฟล์คก่อน แล้วส่วนตัวผมฟังเพลงเยอะ ก็ฟังทั้งซิกตีส์ เซเว่นตีส์ฟังบลูส์ฟังร็อก ฟังแจ๊ส แต่ตอนที่เล่นดนตรีจริงๆ มาได้ยินเพลงบลูส์ ก็เลยชอบ เหมือนเป็นเสียงที่เราฟังแล้ว เรารู้สึกว่า นี่แหละคือสิ่งที่เราอยากได้จริงๆ ผมได้ยินแล้ว มันใช่ตัวผม เป็นเสียงที่ผมได้ยินแล้ว เราได้ทำอะไรบางอย่าง กับตรงนี้ ได้ระบายออก เราได้คิด เราได้เป็นอิสระ พอได้ฟังบลูส์ปุ๊บ อ๋อ! นี่คือความอิสระของเรา ที่เราจะได้ทำอะไรออกไป

เล่นเพลงบลูส์ของใครบ้าง

ตอนเปลี่ยนมาเล่นบลูส์ แรกๆ ผมจะฟังก่อน สมัยก่อนเนื้อเพลง หายากมาก ส่วนใหญ่ก็ได้แต่ฟัง นอกจากไปซื้อเทป โชคดีจริงๆ ข้างใน มีเนื้อเพลง สมัยนั้นก็มี Lonnie Johnson แล้วก็มี Robert Johnson ที่ใน เทปจะให้เนื้อเพลงมา ก็เลยเล่น Robert Johnson บ้าง เล่นของ Lonnie Johnson, Doc Watson เล่นเพลงที่คนไม่ค่อยรู้จัก ไม่ใช่บลูส์ที่คนรู้จักเยอะๆ จะเป็นแบบลึกๆ ไปเลย

จริงๆ มีเพลงที่ผมชอบ ชอบฟัง อยากจะเล่นก็เยอะ พอมีวงก็เอาเพลง ที่เราชอบมาเล่น แล้วก็เล่นในแบบที่เราอยากจะเล่น ก็ดัดแปลงนู่นนี่ เหมือนที่ผมบอกว่า พอเล่นบลูส์แล้วเนี่ย เราเลยรู้ว่าบลูส์ให้อิสระกับเรา ในการถ่ายทอด ในการปลดปล่อยออกไป

ช่วงนั้นได้แต่งเพลงบลูส์ที่เป็นเพลงไทยไหมครับ

ตอนนั้นผมยังไม่ได้มีออริจินัล แต่ว่ามีพี่คนหนึ่ง สมัยก่อนเรารู้จักแบรนด์ เสื้อผ้า Hazard กันใช่ไหม พี่โก๋ เป็นเจ้าของแบรนด์ Hazard เขาก็เป็นเพื่อนสนิทกับพี่ที่โคราชที่ดูแลผมอยู่ และก็ผู้มีพระคุณอีกหลายคน ก็นั่งคุย อยู่ด้วยกัน พี่โก๋ถามว่า มินท์เจอตัวเองหรือยัง ผมบอกว่า ผมเจอแล้วเนี่ย ผมเจอสิ่งที่ผมชอบแล้ว ผมชอบเพลงบลูส์ พี่โก๋บอกไม่ใช่ เพลงของมินท์น่ะ เจอหรือยัง ผมก็สะอึกไปพักหนึ่ง ก็นิ่งเงียบ จากวันนั้นจนถึงวันที่มีเพลงออริ จินัลเพลงแรก ห่างกันเป็น 10 ปี กว่าผมจะเจอคำตอบที่ผมจะต้องไปตอบ พี่โก๋ ผมเพิ่งเจอหลังจากนั้นเป็นอีก 10 ปี กว่าจะมีเพลงแรก มันใฝ่หาไปเรื่อย แล้วผมก็ไม่รู้หรอกว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ผมก็พยายามคิด พยายามจะทำแต่มันก็ไม่ใช่ตัวเรา มันไม่ใช่สิ่งที่ออกมา ซึ่งมันใช่ตัวเรา มันก็กลายเป็น มาร์เก็ตติ้ง อะไรอย่างนี้ แต่พอเจอเพลงแรกที่ผมเป็นตัวของผมเอง เพลงแรก ที่ผมเขียนคือ เพลง “ไม่เจ้าชู้” วันนั้นผมก็นึกถึงพี่โก๋ขึ้นมาทันที อยากจะบอกว่า พี่โก๋ครับ ผมเจอแล้ว อยากจะบอกแก แต่ผมก็ไม่ได้เจอแก

ไม่ใช่ง่ายๆ ที่พอนึกอยากจะแต่งเพลงบลูส์ ก็ลงมือเขียนได้เลย

ใช่ครับ มันไม่ใช่เรื่องที่ใครจะเขียนก็ได้ หรือถ้าคุณเขียนในแบบที่เป็น ตัวคุณเลย อันนั้นโอเค แต่ถ้าทำด้วยความเป็นแฟชัน หรือว่าความเท่ อะไร อย่างนี้ มันไม่ใช่ละ

ใช้เวลาตกผลึกกว่าที่จะได้เพลงที่เป็นเราจริงๆ ถึง 10 ปี

เป็น 10 ปีครับ โห! วันที่ผมเขียนเพลงนี้เสร็จ แล้วก็ทำทำนอง ทำอะไรเรียบร้อย คือนึกถึงพี่โก๋คนแรกเลย ผมอยากจะบอกแกว่า…พี่โก๋ครับ ผมเจอแล้ว ผมทำได้แล้ว

กลับกรุงเทพฯ

ตอนนั้น หลังจากโคราช ผมยังไม่เข้ากรุงเทพฯ ก็ตระเวนไปเรื่อย ไปอยู่ กับวงนู้นวงนี้ คืออยากใฝ่หา อยากรู้ มีอยู่ช่วงหนึ่งผมไม่ได้เล่นเพลงฝรั่งหรือ ว่าเพลงบลูส์ เล่นแต่เพลงตลาดอยู่ในผับ ผมอยากจะรู้ว่า เขาทำอะไรกันอยู่ เขามีชีวิตกันแบบไหน พอดีพี่อีกคนหนึ่งเขาสนิท เขาก็ชวนผมไปอยู่ ผมก็เอาดิ อยากลอง อยู่ไปอยู่มาผมอยู่กับเขาเป็น 10 ปีเหมือนกันนะ จนเขากลับมา กรุงเทพฯ มาเริ่มที่กรุงเทพฯ แล้วผมก็กลับมาเจอเพื่อนๆ ก็เลยมานั่งคุย กันว่า เออ เรากลับมาเล่นแบบเดิมกันไหม ผมอยากเล่นเพลงแบบนี้ ก็เลยออกจากวงพี่เขา ก็กลับมาเล่น ก็กลับมาอยู่ตรงจุดเดิม คือมาเล่นโฟล์ค แต่เล่นกัน 2 คน เล่นโฟล์คได้สักพักก็ทำวง ก็กลับไปเล่นเพลงฝรั่ง จนมามี เพลงของตัวเอง

ภาพจากวันซ้อมใหญ่คอนเสิร์ต “Care For Each Other: The Night To Remember Bee Gees” (18 สิงหาคม 2561) – เครดิตภาพ Classy Records

อัลบั้มแรกที่ได้บันทึกเสียง

อัลบั้มแรกจริงๆ แล้ว ทำกับค่ายใหญ่แห่งหนึ่ง ตอนนั้น ผมก็ทำเดโม่ ทำอะไรไปแหละ ก็เท่าที่รู้ๆ กันอยู่ โดนปรับเปลี่ยนอะไร จนไม่ใช่ แล้วอัลบั้มนั้นก็ไม่ได้ออกขาย ทำทุกอย่างหมดแล้ว แต่ไม่ได้ออกขาย ตอนนั้นน้องๆ ในวงก็ผิดหวังกัน บอกว่าทำไมเราไม่ได้ออกไป ผมก็บอกเขาว่า จงดีใจไว้เถอะที่อัลบั้มนี้ไม่ได้ออกมา เพราะถ้ามันออกมา เราเสียคนแน่ๆ คนจะมองเราเป็นอีกแบบหนึ่ง

ไม่ใช่ตัวตนเราจริงๆ

แค่เพลงออกมาแว้บหนึ่ง แล้วมีเพื่อนฝรั่งมาได้ยิน เพื่อนนักดนตรี เขาก็ไปวิจารณ์ผมแบบ โห… ไม่คิดว่าผมจะทำผลงานออกมาแบบนี้ ก็เซ็งๆ หน่อย ก็บอกน้องๆ ว่า ดีใจไว้เถอะว่าอัลบั้มนี้ไม่ได้ออกมา นี่ขนาดออกมาแว้บเดียวยังโดนฝรั่งพูดถึงขนาดนี้

กลับมาเล่นบลูส์อีกครั้ง

ตอนนั้น วันที่กลับมาอยู่กรุงเทพฯ ก็กลับมาเล่นโฟล์ค มาทำแบนด์ ก็เล่นเพลงพวกนี้ครับ เล่นบลูส์ด้วย แต่วงนี่ก็แยกกัน และผมก็มาทำวงใหม่เล่นกับน้องๆ น้องๆ ก็ไม่มีอาชีพอะไรจริงจัง เห็นแววก็เลยเอามาซ้อมเล่นด้วยกัน ผมก็เอาเพลงที่อยากเล่นจริงๆ มาทำให้น้องๆ ฟัง เล่นกันจริงๆ จังๆ นี่แหละ แล้วมียุคหนึ่งไปเล่นที่แซ็กโซโฟน ทีนี้พอไปเล่นที่แซ็กโซโฟนก็จะซีเรียสแล้ว ผมก็เล่นเพลงแบบที่คนไม่เคยฟังเลย ไม่ได้เล่นเพลงบลูส์ที่คนรู้จักเยอะด้วย บางทีฝรั่งมาถาม นี่เพลงของใคร ผมก็บอก เออ… เพราะดีนะ เขาก็ไปหาซื้อฟัง ผมเล่นแบบนั้นกัน แล้วก็วงนี้แหละที่ไปทำอัลบั้ม ตอนหลังก็แยกกัน ผมก็อยากทำในสิ่งที่ผมอยากทำตอนที่อยู่โคราชมีอยู่ช่วงหนึ่ง ทำวงเล่น 3 ชิ้น ผมยังจำบรรยากาศความรู้สึกวันนั้นได้อยู่ พอวงนี้แยกกันก็เลยอยากกลับมาทำ3 ชิ้น ก็เลยหาสมาชิกใหม่ มาทำวง 3 ชิ้นเล่น เบส กีตาร์ กลอง

พบกับพี่แจ๊ค (แจ็ค ซาวด์) ได้ยังไงครับ

ตอนนั้นที่ทำวง 3 ชิ้น ผมเล่นที่ทองหล่อ แล้วมีน้องคนหนึ่งเขาไปดูผม เขาก็ให้นามบัตรไว้ บอกว่ายังไงรบกวนให้ผมโทรหาเขาพรุ่งนี้ได้ไหม เพราะเขากลับไปก่อน ก็ฝากเด็กเสิร์ฟไว้ ผมก็โทรไป ก็คุยกัน เขาก็บอกว่า พี่ครับ ยังไงอาทิตย์หน้า ผมขออนุญาตพาผู้ใหญ่ไปดูได้ไหม ผมก็บอกได้ เขาก็พาพี่แจ็คมา ตอนแรกผมจำได้แว้บๆ ผมเคยไปเล่นที่ซิลเวอร์เลค ก็เคยเห็นพี่แจ็คมาแว้บๆ แป๊บนึง แต่ไม่ได้ทักทายนะครับ แล้วช่วงเบรกก็ลงไปคุยกัน อีกอาทิตย์หนึ่ง พี่แจ็คพาพี่โอ้ไป พี่โอ้ โอฬาร อีกอาทิตย์หนึ่งพี่แจ็คพา พี่อ๊อด สรายุทธ์ (สุปัญโญ) ไป ก็เลยคุยกันตั้งแต่นั้นมา ผมก็เข้ามาคุยกับพี่แจ็คที่ออฟฟิศ คุยกันเรื่องจะทำเพลง ทำอะไรกัน พอสรุปกันได้ปุ๊บ ก็เลยออกมาเป็นอัลบั้ม “Bluesha” ตอนแรกที่คุยกัน ผมบอกกับพี่แจ็คว่า… พี่ครับ ผมมีความฝันอันหนึ่งที่ผมยังทำไม่ได้สักที เพราะว่าผมไปบอกใครก็ไม่มีใครทำให้ได้ ตอนอยู่ค่ายเก่า เขาก็หาว่าผมเพี้ยน ไม่มีทางที่จะทำได้หรอก บ้าเปล่า คือผมบอกแกว่า ผมไม่อยากอัดในสตูดิโอ เพราะตั้งแต่ผมอยู่โคราช ผมเคยไปอัดเล่นกับเพื่อนที่บ้านอะไรสักอย่าง แล้วผมรู้สึกว่าบรรยากาศมันดี ได้บรรยากาศของ Live อะไรอย่างนี้ ก็เลยบอกแก ผมอยากทำอย่างนี้พี่ พี่แจ็คบอกเอาสิ ทำได้ ก็วางแผนกันเป็นเดือนครับ ก็มีจังหวะช่วงที่ทาง JSS (Jack Sound System) งานเริ่มซา พอทุกคนเริ่มว่างก็เลยทำอัลบั้มนี้ ผมอัดวันเดียว แต่ก่อนหน้านั้นก็ซ้อมกันเยอะ ซ้อมทุกเพลง แล้วก็กลางคืนก็เอาไปเล่น เล่นจนเอียนกันไปข้างหนึ่ง

พี่แจ็คบอกว่า พร้อมเมื่อไรก็บอกละกัน ผมก็บอกพร้อมแล้วครับ อัดกันวันหนึ่งก็สิบเพลงเลย แล้วอีกวันหนึ่งผมอัดเพลงที่เป็นอะคูสติกส์ ซึ่งเพลงสุดท้ายของ “Bluesha” ก็จะเป็นเพลงที่อยู่ในอัลบั้มใหม่ “Let It Go” ด้วย ชื่อเพลง “ปล่อย”

เพลงที่จะใช้บันทึกเสียงถูกแต่งไว้แล้ว

บางเพลงมีอยู่แล้ว แต่บางเพลง ในช่วงทำอัลบั้มผมก็จะเขียนไปด้วย คือมันจะมีแรงกดดันให้ผมได้คิด อย่างช่วงเวลาปกติอย่างนี้ ผมก็จะมีเรื่องราวอยู่ในหัวเก็บไว้ ผมไม่ค่อยจดบันทึก แต่มันมีเก็บไว้อยู่ในหัว พอถึงเวลาปุ๊บก็จะเอาเรื่องพวกนั้นมาขยายความ

อัลบั้ม “Bluesha”

จริงๆ ผมว่าน่าจะเป็นบลูส์ร็อกมากกว่า ซึ่งผมชอบดนตรีแนวนี้ตั้งแต่เริ่มเล่นที่โคราช ผมรู้สึกว่ามันได้ปลดปล่อยด้วย มันอาจจะไม่ใช่บลูส์มากอะไรอย่างนี้ ความเป็นบลูส์ไม่ได้อยู่ที่เนื้อหา หรือเนื้อดนตรีหรือเปล่า มันอยู่ที่ความรู้สึกหรือเปล่า ถ้าผมได้ทำในสิ่งที่ผมได้ระบายออก ได้คิด ได้ปลดปล่อย ก็น่าจะใช่ตัวเองหรือเปล่า

คอนเซปต์ของ “Bluesha”

ก็คือตามชื่ออัลบั้ม คือ “Bluesha” คือผมคุยกับเพื่อนเรื่องเพลง “บูชา” นี่แหละ เพื่อนบอกว่า เพื่อนคนที่ทำเอ็มวีเพลง Let It Go ในอัลบั้ม Let It Go บอก เฮ้ย… มินท์ น่าจะมีเพลงสักเพลงชื่อ “บูชา” นะ ซึ่งตอนนั้นผมกำลังคิดเรื่องทำBlues Festival ด้วย ทำนู่นทำนี่ด้วย เพื่อนก็บอกว่าน่าจะมี ให้ผมกลับไปเขียน เขียนก็เขียน รู้สึกจะวันเดียวนี่แหละครับ ก็เสร็จ แล้วผมก็มีดนตรีอะไรในหัวก็เลยทำออกมา “Bluesha” จริงๆ มันใช้ทับศัพท์ครับคือคำว่า “ชา” กับคำว่า “บลูส์” ผสมกันเป็น “Bluesha” ก็เลยเอามาทำเป็นชื่ออัลบั้ม

จริงๆ ถ้าไม่มีตัว “h” กับ “a” ก็คือ “Blues” ไง จริงๆ จะใช้คำว่า “บูชา” ที่เป็นเราบูชาสิ่งนู้นสิ่งนี้ ก็เลยมาทำเป็นทับศัพท์ไป

การบันทึกเสียงอัลบั้มที่ 2

เหมือนกันกับอัลบั้มแรกครับ เพียงแต่ย้ายที่ อัลบั้ม 2 ผมอัดในออฟฟิศ JSS (Jack Sound System) เลย ผมก็นั่งคุยกัน ตอนแรกก็หาที่อัดอยู่ ผมก็นั่งมองๆ ผมก็บอกพี่แจ็คว่า ในออฟฟิศนี่น่าจะอัดอะคูสติกส์ได้ดีนะ พี่แจ็คก็บอกได้ ผมก็ลองคุยกับแกว่าจะเอากลองไว้ในห้องพี่ (หัวเราะ) เดี๋ยวไปเล่นกีตาร์ตรงนู้น พี่กบนั่งตรงนี้ แล้วเดี๋ยวผมจะใช้พวก Rhode Piano ตั้งตรงนี้ แกก็บอก เออ ได้ๆ ลองเซ็ตเครื่อง ทำอะไรกันดู แล้วก็อัด ก็เลยออกมาเป็นอัลบั้ม Let It Go

อัลบั้ม Let It Go ยังเป็นบลูส์อยู่ไหมครับ เท่าที่ฟังจะซอฟต์ลงมาหน่อย

ผมไม่อยากใช้คำจำกัดความอะไรกับเพลงของผมครับ คือถ้าคนคิดว่ามันจะเป็นหรือไม่เป็น ให้รู้สึกเอาเองดีกว่า แต่สำหรับผมก็คือ มันเป็นงานที่ผมทำออกมาด้วยความรู้สึกของผม คือใครจะไปนิยาม หรือว่าเป็นแบบไหนก็แล้วแต่ เป็นโฟล์คบลูส์ จะเป็นบลูส์ เป็นอะไรก็อันนี้แล้วแต่ความรู้สึก ความเข้าใจของแต่ละคน แต่สำหรับผม งานของผม มันก็คือความรู้สึกของผมนี่แหละ ที่คนสัมผัส แล้วแต่เขาจะรู้สึกแหละ based on มันมาจากบลูส์ คือทุกอย่าง พื้นฐานสิ่งที่ผมทำมันก็มาจากดนตรีบลูส์ ความรู้สึก การถ่ายทอดอะไร มันก็มาจากตรงนั้น

อัลบั้มที่ 2 เพลงฟังผ่อนคลายขึ้น

ใช่ครับ ด้วยดนตรี ด้วยเมโลดี้ที่ผมเลือกมาใช้ อย่างหนึ่งคือผมฟังเพลงเยอะมาก แล้วก็เพลงที่ผมชอบ สไตล์ที่ผมชอบก็เยอะ เพลงโฟล์คเก่าๆ เพลงอะไรผมก็ฟัง อาจจะเป็นเพราะพวกนี้มันอยู่ในตัวเราอยู่แล้ว เวลาทำงานก็เลยออกมา

Let It Go คอนเซปต์ของเพลง

หมายความตามชื่ออัลบั้มครับ หรืออีกมุมหนึ่งคือ การได้ปล่อยบางสิ่งบางอย่างที่เราแบกมันไว้ ก็อยู่ในคอนเซปต์ของบลูส์ คือได้ปลดปล่อย หรือว่าทางศาสนาก็คือ การปล่อยวาง อะไรประมาณนั้น

แต่ละเพลงมีความเชื่อมโยงกัน

เชื่อมโยงเนื้อเรื่อง เหมือนกับที่ผมเล่นกลางคืนเหมือนกัน เวลาผมจะเลือกเพลง 1 2 3 4 5 ถึง 10 อะไรอย่างนี้ ก็จะเป็นเรื่องที่ต่อกัน มันจะพูดในเรื่องที่ต่อกันไป เหมือนการเล่าเรื่อง

คิดว่าตอนนี้วงการดนตรีบ้านเราเป็นยังไงบ้าง

ขาดคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองอยู่เยอะ แต่วงที่อยู่ๆ กัน หมายถึงเพื่อนๆ ในกลุ่มก็เริ่มทำงานส่วนตัวกันเยอะ ผมก็รู้สึกดี ตอนนี้เด็กรุ่นใหม่ๆ เริ่มมีคาแรกเตอร์ชัดเจน หมายถึงเขาได้อิสระจากอะไรบางอย่าง แล้วเขาได้สร้างงานของตัวเอง แต่ว่ามันก็ยังน้อยไป อยากให้เฟสติวัลบ้านเราให้อิสระกับดนตรีพวกนี้ด้วย ไม่ใช่คิดแต่เรื่องมาร์เก็ตติ้งอย่างเดียว ก็คือเฟสติวัล มันเป็นอะไรที่มีวงหลากหลายอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าคนมาเฟสติวัลเพราะอยากมาดูวงที่เป็นมาร์เก็ตติ้ง วงตลาด น่าจะมาเพราะมันเป็นงานที่ได้เห็นอะไรมากขึ้นกว่าเดิม ได้เห็นวงที่เราไม่เคยเจอในสื่อ หรือว่าอะไรอย่างนี้ เป็นวงที่ยังมีแบบนี้อยู่ ไม่ใช่พอถ้าไม่มีวงนี้ สปอนเซอร์ไม่จ่าย มันจะกลายเป็นเหมือนยุคที่มีเดียครองประเทศอีกแล้ว เพราะไปเฟสติวัลก็เหมือนโดนจับอยู่ในโทรทัศน์

ตอนนี้ทำอัลบั้มง่ายกว่าสมัยก่อนไหมครับ หมายถึงสมัยก่อนกว่าจะได้บันทึกเสียง เหมือนดูยาก แต่ว่าทุกวันนี้ เราสามารถที่จะทำงานเราเอง เผยแพร่ด้วยตัวเราเองได้

ทำง่ายกว่า แต่ไม่เหมือนยุคก่อน คือยุคก่อนทำยากกว่า เพราะว่าเครื่องไม้เครื่องมือไม่ได้อำนวยความสะดวก แต่คนเปิดรับกว่า ยุคนี้คนไม่ค่อยเปิดรับศิลปะ แต่คนจะอยู่กับอะไรที่แป๊บเดียว ฉาบฉวย คือแป๊บนึงแล้วก็เลื่อนไป เลื่อนไป ไม่ค่อยลงลึกในรายละเอียดเท่าไหร่ งานศิลปะก็เลยอาจจะด้อยค่าลงไป ผมว่ามันก็น่ากลัวเหมือนกันสำหรับในอนาคต สำหรับคนทำงานศิลปะอะไรอย่างนี้

มีความคิดที่จะออกอัลบั้มที่เล่นด้วยกีตาร์ตัวเดียวไหมครับ

มีน้องเคยยุผมเหมือนกันนะ กระทั่งแบบให้ผมโชว์เดี๋ยว ผมบอกว่า ผมตบะไม่แก่กล้าพอที่จะไปนั่งเล่นคนเดียวให้คนดู เอาแค่ 100 คนนี่ ตบะผมยังไม่เจ๋งขนาดนั้น ต้องพอสมควรจริงๆ แต่ผมคิดว่าวันหนึ่งก็คงจะมีแหละครับ เพียงแต่ตอนนี้ผมมีความรู้สึกว่าตบะยังไม่พอ. ADP

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 268