ก่อนอื่นต้องขอสวัสดีปีใหม่ทั้งสมาชิกขาประจำ สมาชิกขาจร (ประมาณยืนอ่านตามแผงหนังสือ อ่าน จบแล้วก็เดินจากไป อิอิ) และสมาชิกใหม่ของนิตยสาร Audiophile/Videophile ทุกท่าน ปีใหม่นี้ก็ขอให้ทุก ท่านมีความสุข สมหวัง คิดหวังประการใดขอให้ประสบ ความสำเร็ จจะเล่ นเครื่องเสียงก็ขอให้มีความสุขราบรื่ นทุกประการด้วยนะครับ สำหรับบทความเริ่มต้นปีใหม่ พ.ศ.2563 นี้ ผมจะขอพูดเกี่ยวกับเรื่องราวของระบบภาพ ระบบเสียงของห้อง Home Theater / Home Cinema ในปีที่ผ่านมาว่า มีอะไรที่น่าสนใจ และเทรนด์อนาคต ปีนี้จะเป็นยังไงบ้าง ใครที่สนใจเรื่องนี้ติดตามอ่านเนื้อหา ต่อไปได้เลยครับ

 เริ่มจากในส่วนเรื่องของเสียง ระบบเสียง Immersive Sound ก็ยังมี การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังที่ผมได้เขียนไว้อย่างละเอียดในบทความสองสาม บทความที่แล้ว อย่างระบบ Dolby Atmos ในห้อง Home Theater ตอนนี้ สามารถรองรับระบบลำโพงถึงระดับ 24.1.10 channels โดยเสียงในแนว ระนาบใช้ลำโพงรองรับ 24 channels ส่วนในแนวหน้าหลังจะใช้ลำโพงจำนวน 5 คู่หรือ 10 ตัวที่อยู่ด้านบน เพื่อสร้างเสียงวิ่งบนหัวจากด้านหน้าห้องไปยัง ด้านหลังของห้อง หรือจากด้านหลังห้องมายังด้านหน้าห้อง สำหรับ Pre- Processor ที่ออกมารุ่นใหม่ๆ ก็ต้องขยับจำนวน Channels ให้สามารถรองรับ ช่องเสียงที่มากขึ้นนี้ และล่าสุดก็มีการนำเอา Pre-Processor ของ Dolby เองในรุ่น CP850-C ที่ปกติใช้ในโรงภาพยนตร์ เช่น ในโรงของ AMC Dolby Theaters ฯลฯ ก็ได้ถูกบริษัท Cortex VIP Cinemas นำมาปรับปรุงใช้ใน Home Theater ให้ สามารถรองรั บChannels ตามที่Dolby Masters มาอยู่ที่ 64 channels ได้แล้วด้วย โดยตัว CP850-C นอกจากจะสามารถ renders เสียงไปสู่ลำโพงได้ถึง 64 ช่อง มี Internal Crossovers สามารถทำการจัดการ Full Bass Management ในลำโพงแต่ละตัวแล้ว ก็ยังสามารถใช้งาน Dolby Lake equalization แบบล่าสุด และทำการ EQ ในระดับ 1/12th octave เพื่อปรับแต่งเสียงในแต่ละระบบได้อิสระและมีความแม่นยำมากขึ้น สำหรับ Dolby Amplifiers ที่นำมาใช้ร่วมกันก็มีให้เลือกทั้ง 16, 24 หรือ 32 channels จาก 300watts ต่อ channel ไปจนถึง 1100 watts ต่อ channel กันเลย ในส่วนของระบบเสียง DTX: X ได้มีการอัพเกรดจากเดิมที่จำกัดอยู่แค่ 11.1 channels กลายเป็น DTS: X Pro ให้สามารถรองรับจำนวน channels ได้มากขึ้นไปถึง 30.2 channels และสามารถต่อขยายเพิ่มเป็นถึง 64 channels ได้ในอนาคตอีกเช่นกัน สำหรับ IMAX Enhanced ที่เปิดตัว มาเมื่อปลายปีที่แล้ว เป็นการร่วมมือกันระหว่าง DTS: X กับทาง IMAX เพื่อจะนำประสบการณ์การชมภาพยนตร์แบบ IMAX เข้ามาสู่ในบ้าน ในปีนี้ เริ่มมีภาพยนตร์ออกมาหลายเรื่อง เช่น Spider-Man: Far From Home, Homecoming, Into the Spider-Verse และภาพยนตร์ดังๆ ของ Holly­wood อีกมากกว่า 15 เรื่อง เช่น Alpha, Live, Venom ฯลฯ แต่ส่วนมากจะ เป็นการ Streaming ส่วนที่ออกมาเป็นแผ่น Blu-ray UHD เห็นมีแต่สารคดี 3 – 4 เรื่อง ภาพยนตร์ก็มีเรื่อง The Angry Birds Movie 2, Turtle Odyssey และ Zombieland: Double Tap ที่จะเริ่มจัดจำหน่ายในกลางเดือนมกราคม นี้เท่านั้น ซึ่งเป็นการบอกเป็นนัยว่า แผ่นภาพยนตร์ Blu-ray คงจะค่อยๆ ลดตัวลงไปเรื่อยๆ โดยมีบริการแบบ Streaming เพิ่มขึ้นมาแทน

ระบบเสียง Immersive Sound แบบ 64 Channels ที่อยู่ในโรงภาพยนตร์
ได้เริ่มขยายเข้ามาสู่ในบ้านแล้ว

Pre-Processor ของ Dolby รุ่น CP850-C ที่สามารถ Decode สัญญาณเสียง Dolby Amos ได้ 64 Channels

ภาพยนตร์แบบ IMAX Enhanced ที่ให้บริการในช่องทาง Streaming

เห็นจำนวนลำโพงในระบบที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมากมายในห้อง Home Theater แต่สิ่งที่กลับสวนทางกันคือ ในปีที่ผ่านมา จากการสำรวจของ หลายบริษัทพบว่า จำนวนการขายลำโพงเฉลี่ยโดยรวมของทั่วโลกได้ลดลง อย่างบทความจำนวนกว่า 43 หน้าของ Futuresource ที่ศึกษา “World­wide Loudspeaker Market Report” พบว่า มีการลดลงของ Speaker Shipments ในตลาดมากกว่า 12% เมื่อเทียบกับปีก่อนๆ โดยเฉพาะในส่วน ของลำโพง Home Theater ที่พบว่ามีระดับการลดลงของการขายมากกว่า ลำโพงประเภทอื่น จากการวิจัยคาดว่า การลดลงนี้อาจจะเนื่องมาจากการ เปลี่ยนแปลงลักษณะนิสัยการดูหนังฟังเพลงของคนในปัจจุบัน ที่ตอนนี้ พบว่ามีการใช้ลำโพงประเภท Smart speaker และหูฟังมากขึ้น ทั้งเนื่องจาก ความต้องการการมีอิสระในการฟังและความสะดวกในการใช้งาน เหล่านี้จึง เป็นส่วนที่สำคัญในการตัดสินใจซื้อลำโพง อย่างไรก็ตามยังมีลำโพงประเภท ที่เกี่ยวข้องกับงานตกแต่งภายในที่เรียกว่า Architectural Speakers อย่างเช่น ลำโพงฝังในผนัง หรือฝังในฝ้าเพดาน ให้เข้ากับลักษณะการตกแต่ง ภายในห้องเพื่อความสวยงาม ลำโพงประเภทนี้มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่ม มากขึ้นสวนทางกับลำโพงประเภทอื่น

เทคโนโลยีด้านเสียงอีกอย่างหนึ่งที่เริ่มมีความชัดเจนและออกมาสู่ตลาด ผู้บริโภคแบบจริงจังแล้วคือ เรื่องของ Dolby Atmos Music หรือบางคน เรียกว่า Immersive Music Sound, 3D Music Sound โดยเมื่อหลายเดือน ก่อนผมลองกดเข้าไปซื้อเพลงที่เป็นแบบ Immersive sound format ทาง อินเทอร์เน็ต โดยเขาจะให้เลือกไฟล์ว่าต้องการฟอร์แมตแบบไหน มีให้เลือก ทั้ง MP4, MKV, M2TS ผมลองดาวน์โหลดมาทุกฟอร์แมตแล้วเทียบกันดู โดยเพลงที่ผมซื้อไว้ ปรากฏว่าเลือกเป็นแบบ M2TS ให้คุณภาพเสียงดีที่สุด เลยดาวน์โหลดแบบนี้และลองตั้งใจฟังดูว่า เพลงที่ออกมาเป็นแบบ Immersive music นั้นเป็นอย่างไรบ้าง มันไม่น่าฟัง ไม่สมจริงเหมือนที่หลายคนเคยบอก ไว้หรือเปล่า หลังจากฟังหลายๆ รอบ หลายๆ ครั้ง ผมจึงได้ข้อสรุปสำหรับ ตัวเองว่า การฟังเพลงแบบนี้ถือเป็นมิติใหม่ของการฟังเพลงสำหรับตัวเองเลย ทีเดียว นอกจากจะในเรื่องคุณภาพของเสียงที่ให้ออกมาดีมากแล้ว การที่มี เสียงอยู่รอบตัวมันทำให้เรารู้สึกห่อหุ้มไปด้วยเสียงดนตรี เหมือนตัวเองได้เข้าไป อยู่ท่ามกลางเสียงดนตรีนั้น นอกจากนั้นก็มีเสียงเอฟเฟกต์ต่างๆ วิ่งไปวิ่งมา รอบตัว ให้ความรู้สึกอินเข้าไปกับเพลง บางทีก็เหมือนกับได้ขึ้นไปอยู่บน เวทีการแสดงสดที่มีคนเล่นดนตรีอยู่รอบตัว ถึงตรงนี้ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง A Star is Born ที่เป็นระบบเสียง Dolby Atmos และมีฉากอยู่บนเวทีคอนเสิร์ต เวลาดูฉากนี้แล้วเสียงออกมาจากหนัง เหมือนเราได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์นั้น ได้อยู่บนเวทีคอนเสิร์ตที่ Bradley Cooper กำลังเล่นกีตาร์ Lady Gaga กำลัง ร้องเพลงนั้นจริงๆ หรือบางเพลงก็ให้ความรู้สึกเหมือนเข้าไปอยู่ในคลับที่มี ดนตรี เสียงดังรอบตัว มีคนเต้ นอยู่เต็ มลาน เรียกว่าให้ความรู้สึกตื่ นตาตื่นใจ สนุกสนานไปกับเพลง ไม่เบื่อดี โดยขณะที่ผมเขียนต้นฉบับอยู่นี้ก็ได้ข่าว ว่าทาง Tidal บริษัทที่ให้บริการ Online Streaming Music มีเพลงแบบ Dolby Atmos Music ให้ได้ฟังกันแล้ว แต่ในความคิดเห็นส่วนตัว ผมว่าเสียง Immersive Sound แบบนี้อาจจะเหมาะกับแนวเพลงบางประเภท เพลงบาง แบบก็ไม่เหมาะที่จะเอามาทำเป็น 3D Music แบบนี้เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของ Immersive Music นี้ ผมว่าก็ยังเป็นเรื่องใหม่ที่คงต้องรอดูกัน ต่อไปว่า จะได้รับการตอบรับจากผู้ฟังขนาดไหน คอยติดตามกันยาวๆ ไป สำหรับฟอร์แมตเสียงแบบใหม่นี้ครับ

ลำโพงแบบ Architectural Speaker ที่ก􀁎ำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น

ในส่ วนของภาพ ตอนนี้ จะเห็ นได้ ว่าเริ่ มมี ทั้ งที วี และโปรเจกเตอร์ ที่ รองรั บความละเอียดระดับ 8K ออกมาบ้างแล้ว ซึ่งคอนเทนต์ที่จะนำมาเล่นจริงๆ ยังน้อย ส่วนมากยังเป็นแค่ไฟล์โชว์อยู่ แต่สำหรับความละเอียดระดับ 4K HDR นั้น ตอนนี้ออกมาจำหน่ายมากมาย เรียกได้ว่าตั้งแต่ปี ค.ศ.2020 มาตรฐาน ความละเอียดของทีวีและโปรเจกเตอร์คงจะเริ่มที่ระดับ 4K กันแล้ว การออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ การบริการ Streaming และแม้กระทั่ง โรงภาพยนตร์ทั่วไปได้ทยอยอัพเกรดเนื้อหาต่างๆ ให้เป็นความละเอียดระดับ 4K และผลที่ตามมาคือ เมื่อภาพมีรายละเอียดที่เพิ่มมากขึ้น ความนิยมใน การใช้จอแสดงภาพที่มีขนาดใหญ่จึงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเมื่อภาพมีความ ละเอียดเพิ่มมากขึ้ นการฉายในจอขนาดใหญ่ ก็ยังให้ ภาพที่มีคุณภาพดี อยู่ซึ่งถ้าใครต้องการให้ภาพที่ใหญ่มาก แต่เนื้อที่ภายในห้องจำกัด คงต้องใช้ โปรเจกเตอร์ประเภท Ultra Short Throw หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้เลนส์ โปรเจกเตอร์เป็นแบบ Short throw ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันจะมี โปรเจกเตอร์ หรือเลนส์ของโปรเจกเตอร์ประเภทนี้ออกมาจำหน่ายเพิ่ม มากขึ้น ในเรื่องของ HDR จะเห็นได้ว่าโปรเจกเตอร์ความละเอียดระดับ 4K เกือบทั้งหมดที่ออกมาในปีที่แล้ว จะสนับสนุนระบบ HDR10 ทั้งนั้น และเริ่ม มีหลายตัวที่สนับสนุน HDR แบบ Hybrid Log Gamma ด้วย ซึ่งตัว Hybrid Log Gamma นี้ ในอนาคตอีก 2 – 3 ปีข้างหน้าจะมีความจำเป็นมากขึ้น เนื่องจากเป็นระบบ HDR ที่นิยมใช้ในการออกอากาศทีวี ส่วนระบบ HDR แบบ HDR10+ ที่เป็น Dynamic Metadata ลักษณะเดียวกับ Dolby Vision เริ่มมีหนังหลายเรื่องใช้ HDR แบบนี้กันแล้ว เนื่องจากจะเป็นการปรับค่าความ สว่าง ความมืดของภาพในแต่ละฉาก ให้มีความเหมาะสมมากกว่าการใช้ Static Metadata ที่มีการปรับไว้ค่าเดียวตั้งแต่แรก สำหรับเครื่องโปรเจกเตอร์ อีกเทรนด์หนึ่งที่เพิ่มความสามารถของ HDR ได้แก่ เทคนิคการใช้ Tone Mapping แบบอัตโนมัติภายในเครื่อง ที่เรียกว่า Auto Tone Mapping สามารถทำให้โปรเจกเตอร์ Home Theater ในระบบ HDR สามารถจัดการ ในเรื่องความสว่างที่เพิ่มสูงขึ้น ความดำของคอนเทนต์แบบ HDR ดำขึ้น ได้ดีกว่าโปรเจกเตอร์รุ่นปีสองปีก่อนหน้านี้ แหล่งกำเนิดแสงแบบเลเซอร์เริ่มมี แนวโน้มที่จะมีราคาถูกลง ส่วนแหล่งกำเนิดแสงแบบ LED ในโปรเจกเตอร์ ถือได้ว่าทำผลงานได้ดีในปีที่ผ่านมา มีโปรเจกเตอร์หลายรุ่นหลายยี่ห้อหันมา ใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบนี้ เนื่องจากว่าสามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า 20,000 ชั่วโมง ความร้อนที่ออกมาจากหลอดน้อยกว่าหลอดแบบไส้ ทำให้ยืดอายุ การใช้งานเครื่อง และที่สำคัญถ้าเป็นแหล่งกำเนิดภาพจากชิป DLP แล้วใช้ แหล่งกำเนิดแสง LED ก็จะทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้วงล้อสี (Color Wheel) การที่โปรเจกเตอร์ไม่มีการใช้ Color Wheel ในการสร้างแสงสีแดง แสงสีเขียว แสงสีน้ำเงิน เนื่องจากว่าแหล่งกำเนิดแสงที่เป็น LED นั้น สามารถสร้างแสง สีต่างๆ ได้ด้วยตัวมันเอง ไม่มีความจำเป็นที่ต้องให้ยิงแสงผ่านวงล้อสี หรือ Color Wheel เพื่อกำเนิดแสงสีต่างๆ เข้าไปสู่ชิป DLP ดังนั้นจึงไม่เห็น การรั่วของสีรุ้ง หรือ Rainbow Effect ในโปรเจกเตอร์ ทำให้ดูได้นาน ไม่ปวดตาเหมือนโปรเจกเตอร์ DLP ที่ใช้ Color Wheel แบบเดิมทั่วไป

แหล่งกำเนิดแสงแบบ LED ทำให้เทคโนโลยีการแสดงภาพแบบ DLP ไมต่อ้งใช้ Color Wheel

ในส่วนของจอภาพแบบ Flat Panel หรือจอทีวี ตอนนี้เรียกได้ว่าราคา จอขนาดใหญ่ๆ ได้ลดลงมามาก โดยเฉพาะจอเทคโนโลยีแบบ OLED ที่แต่เดิม มีราคาสูง ตอนนี้เรียกได้ว่ามีแนวโน้มที่ราคาจะลดลงมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก เริ่มมีการเปิดโรงงานผลิตแผง OLED เพิ่มขึ้นอีกหลายที่ หลายบริษัทที่ไม่เคย ผลิตจอ OLED ก็หันมาเปิดตลาดจอ OLED ของตนเอง ในขณะที่โรงงานผลิตจอแบบ LCD ก็เริ่มมีการปิดตัวกันไปบ้าง ส่วนเทคโนโลยีแบบ QLED ถือว่าตอนนี้ตลาดหรือการตอบรับยังไม่ได้หวือหวามากเท่าไหร่เมื่อเทียบ กับจอ OLED ส่วนจอทีวี Hi-End ที่มีขนาดใหญ่ระดับหลายร้อยนิ้ว เริ่มที่ จะเข้ามาสู่ในห้อง Home Theater กันบ้างแล้ว (ส่วนมากเป็นห้องเศรษฐี แถวตะวันออกกลาง) แต่ตอนนี้ยังถือว่าราคาสูง อีกหน่อยถ้าราคาลดต่ำลงมา คงจะเป็นคู่แข่งของโปรเจกเตอร์ เนื่องจากข้อได้เปรียบของทีวีจอใหญ่ในเรื่อง ของคุณภาพของภาพที่ออกมา ความสะดวกในการใช้งาน การดูแลรักษา ที่สะดวกเมื่อเทียบกับการใช้งานโปรเจกเตอร์โดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม คิดว่าคงอีกหลายปี เนื่องจากราคาตั้งของจอทีวีขนาดยักษ์เหล่านี้ยังอยู่ใน ระดับที่สูงมากอยู่

ความคืบหน้าอีกเรื่องที่น่าสนใจในช่วงปีที่ผ่านมาของทีวีคือ เรื่องของการ เพิ่ม “Filmmaker Mode” เข้าไปในทีวี โดยกลุ่มพันธมิตร UHD Alliance ได้แก่ Dolby, LG, Netflix, Panasonic, Samsung, Warner Bros. (ไม่มี Sony เนื่องจากทาง Sony ได้บอกว่า ทีวีของเขามีโหมดในลักษณะนี้อยู่ในเครื่องทีวี อยู่แล้ว) ร่วมกับสตูดิโอของ Hollywood ที่มีผู้กำกับ, filmmakers ชื่อดังกว่า 400 คน เช่น Martin Scorsese, Christopher Nolan, Ryan Coogler, Patty Jenkins, Rian Johnson, Paul Thomas Anderson, James Cameron,

J.J. Abrams, Ava DuVernay, Judd Apatow, Ang Lee, Reed Morano, และ Duffer Brothers ได้เสนอโหมดฟังก์ชันใหม่ที่เรียกว่า Filmmaker Mode ให้กับทีวีที่ใช้ตามบ้านเพื่อให้ทีวีรักษาความถูกต้องของภาพยนตร์ โดยการยกเลิกการปรับเปลี่ยน Post-Processing ต่างๆ ที่ทำให้ตัวหนังเพี้ยน ไปจากต้นฉบับ เช่น ในเรื่องของ Motion Smooth ในทีวี ที่บางทีใส่เข้าไปแล้ว ทำให้ Motion การเคลื่อนที่ของหนัง Hollywood ดูแล้วเหมือนกับ ละครหลังข่าว การรักษาความถูกต้องของ Aspect ratios ตามต้นฉบับของหนัง ความถูกต้องของเฉดสีในหนัง ความสว่างความมืด รวมไปถึงเรื่องของ Frame rates ของหนัง เพื่อให้ภาพยนตร์ที่ฉายออกมาในห้อง Home Theater มีความถูกต้อง สวยงาม ตามที่ผู้กำกับหรือคนทำหนังต้องการ

Filmmaker แนะนำให้ใช้ Filmmaker Mode ในขณะที่ดูภาพยนตร์ผ่านทีวี

อย่างเรื่องของ Frame rates ที่ขอเสริมนิดหนึ่งเผื่อใครที่อาจจะยัง สับสนอยู่ว่า การดูหนังต้องตั้งไว้ที่เท่าไรดี ในอดีตการถ่ายภาพยนตร์ด้วยฟิล์ม การถ่ายทำจะถ่ายไว้ที่ 24frames ต่อวินาที (fps) แต่เมื่อนำมาแปลงให้เป็น ไฟล์วิดีโอแบบดิจิทัลเพื่อเอาไปออกอากาศระบบ NTSC หรือแปลงลงไป เพื่อใส่ลงไปในแผ่น Blu-ray ก็จะกลายเป็นความถี่ 23.976 ในปัจจุบันการถ่าย ภาพยนตร์โดยใช้กล้องดิจิทัลจึงนิยมถ่ายทำเป็น 23.976 มากกว่า เนื่องจากว่า เวลานำไปแปลงไฟล์เพื่อออกอากาศ หรือบันทึกในแผ่น Blu-ray ก็จะลงตัว ตรงไปตรงมามากกว่า ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ภาพที่ออกมาจากแผ่น Blu-ray มี motion ที่เป็นธรรมชาติ ตรงตามต้นฉบับหนังที่บันทึกอยู่ในแผ่น Blu-ray ก็ควรจะเลือกที่ความถี่ 23.976 (ถ้าเลือกได้) หรือไม่ก็ตั้งไว้ใกล้เคียงที่ 24Hz เพราะถ้าไปตั้งในทีวีหรือเครื่องเล่นเป็น 30, 50, 60Hz จะทำให้ภาพที่ ออกมาเกิดการกระตุกเมื่อเล่นไปได้ทุกๆ สองสามนาทีเรียกว่า Judder Effects เนื่องจากเกิด Frame Drop ในระหว่างการชดเชยเฟรมที่หายไป เพราะความ ไม่ลงตัวของ Frame Rate ระหว่างต้นทางกับจอแสดงผล

ภาพยนตร์ที่บันทึกอยู่ในแผ่น Blu-ray จะมี Frame Rate อยู่ที่ 23.976

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวบางส่วนที่น่าสนใจในแวดวง Home Theater ตลอดปีที่ผ่านมา และเทรนด์ในอนาคตของการเล่น Home Theater ทั้งใน ส่วนภาพและเสียง จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีบางอย่างก็พัฒนาไปอย่างเชื่องช้า หลายปีผ่านไปก็ยังคล้ายเดิม ในขณะที่หลายอย่างก็พัฒนาไปรวดเร็วจนแทบ จะตามไม่ทัน การที่ได้ศึกษาติดตามเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เรา เข้าใจและรู้เท่าทันเทคโนโลยีต่างๆ เมื่อเวลาตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ สักอย่างจะได้ไม่พลาด และมาเสียใจทีหลังว่า รู้อย่างนี้จะได้ศึกษาหาข้อมูล ให้รอบคอบตั้งแต่แรก หรือถ้าไม่ได้ใช้ในการตัดสินใจซื้อหาสินค้าอะไร ก็ถือว่า เราได้กำไร คือได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น อย่างที่คนโบราณเขาบอก “รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม”…ท้ายนี้ก็ขอสวัสดีปีใหม่ 2563 ทุกท่านด้วย. VDP

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 275