Audiovector เป็นผู้ผลิตลำโพงแฮนด์เมดสัญชาติเดนมาร์ก ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1979 ปีนี้ก็ครบ 40 ปีพอดี ก่อนหน้านี้เรียนตามตรงว่าผมไม่เคยรู้จักลำโพงยี่ห้อนี้มาก่อนเลย จนกระทั่งได้เห็นว่าบริษัท Elpa Shaw นำเข้ามาจัดจำหน่าย แต่ก็ยังไม่ได้สนใจอะไรมาก เพราะคราวแรกที่ทราบก็เป็นเพียงการเห็นลำโพงตั้งโชวว์แห้งอยู่ในงานเครื่องเสียง ไม่ได้มีการเปิดให้ลองฟังแต่อย่างใด ต่อมาเริ่มมีความสนใจเพราะมีรุ่นน้องที่เป็นนักดนตรีมาปรึกษาเรื่องเครื่องเล่นแผ่นเสียง คุยไปคุยมาเขาบอกว่าใช้ลำโพง Audiovector อยู่ แถมยังออกปากชมนักชมหนาว่าเสียงดีมาก ถึงแม้รุ่นน้องคนนี้ไม่เคยเล่นเครื่องเสียงมาก่อน แต่จากการที่เขาเล่นเบสไฟฟ้ามีฝีมือดี เป็นนักดนตรีอาชีพ มีความใส่ใจในเรื่องคุณภาพเสียงค่อนข้างมาก ทั้งในงานบันทึกเสียงและงานแสดงคอนเสิร์ต จึงทำให้ผมมีความสนใจในลำโพง Audiovector ขึ้นมาว่ามีแนวเสียงอย่างไร ถึงได้ถูกใจน้องคนนี้มากเป็นพิเศษ

Audiovector เป็นผู้ผลิตลำโพงแฮนด์เมดสัญชติเดนมร์ก ก่อตั้งมตั้งแต่ปี 1979 ปีนี้ก็ครบ 40 ปีพอดี ก่อนหน้นี้เรียนตมตรงว่ผมไม่เคยรู้จักลำโพงยี่ห้อนี้มก่อนเลย จนกระทั่งได้เห็นว่บริษัท Elpa Shaw นำเข้จัดจำหน่ย แต่ก็ยังไม่ได้สนใจอะไรมก เพระครวแรกที่ทรบก็เป็นเพียงกรเห็นลำโพงตั้งโชว์แห้งอยู่ในงนเครื่องเสียง ไม่ได้มีกรเปิดให้ลองฟังแต่อย่งใด ต่อมเริ่มมีควมสนใจเพระมีรุ่นน้องที่เป็นนักดนตรีมปรึกษเรื่องเครื่องเล่นแผ่นเสียง คุยไปคุยมเขบอกว่ใช้ลำโพง Audiovector อยู่ แถมยังออกปกชมนักชมหนว่เสียงดีมก ถึงแม้รุ่นน้องคนนี้ไม่เคยเล่นเครื่องเสียงมก่อน แต่จกกรที่เขเล่นเบสไฟฟ้มีฝีมือดี เป็นนักดนตรีอชีพ มีควมใส่ใจในเรื่องคุณภพเสียงค่อนข้งมก ทั้งในงนบันทึกเสียงและงนแสดงคอนเสิร์ต จึงทำให้ผมมีควมสนใจในลำโพง Audiovector ขึ้นมว่มีแนวเสียงอย่งไร ถึงได้ถูกใจน้องคนนี้มกเป็นพิเศษ 

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Audiovector กันก่อนดีกว่า ลำโพงแบรนด์นี้ก่อตั้งโดย Ole Klifoth ผู้ทำธุรกิจค้าขายเครื่องเสียงมาก่อน แล้วเขาพบว่าลำโพงต่างๆ ที่เขาขาย ต่างก็มักจะมีคุณภาพเสียงที่ดีในบางแง่ ซึ่งเหมาะกับเพลงบางแนว แต่เมื่อพิจารณาโดยรวมก็พบว่ามีลักษณะทางเสียงบางอย่างที่บกพร่องไป ทำให้มีแนวเพลงที่ไม่ถนัดอยู่ด้วย และในแต่ละยี่ห้อก็มีแนวทางที่ถนัดในแบบของตัวเองแตกต่างกัน ซึ่งเขาก็พบว่าไม่มีลำโพงคู่ไหนที่มีคุณลักษณะที่ดีทางเสียงสม่ำเสมอกัน ซึ่งจะทำให้สามารถเล่นดนตรีได้ทุกแนวอย่างที่เขาต้องการ เขาจึงตัดสินใจออกแบบลำโพงของตนเองขึ้นมา โดยยึดถือผลการรับฟังเป็นตัวประเมินคุณภาพของลำโพงที่ทำและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่พัฒนามากขึ้นทั้งในด้านวัสดุที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องตามยุคสมัย และการคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาลำโพงให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ โดยในเรื่องของการฟัง เขาก็อ้างอิงจากประโยชน์จากการอาศัยอยู่ที่ Copenhagen ซึ่งเป็นเมืองที่สามารถหาดนตรีสดชั้นดีฟังได้อย่างง่ายดายในทุกแนว ไม่ว่าจะเป็น Classic ที่แสดงใน Concert Hall หรือแม้กระทั่ง Jazz Pub และ Rock Pub ที่มีให้เลือกฟังอย่างมากมาย ซึ่งเขายกตัวอย่างเช่น การฟังดนตรีสดที่ Tivoli Concert Hall เขาแนะนำว่าให้นั่งตรงกลางๆ ของแถวที่ 11 จากด้านหน้าเวที ซึ่งเขาอ้างว่าเป็นจุดที่เสียงดีที่สุดในฮอลล์แห่งนั้น (แต่ละสถานที่ มีสภาพอะคูสติกส์ต่างกัน ดังนั้น จุดที่เสียงดีที่สุดในแต่ละฮอลล์จะไม่ตรงกัน โดยขึ้นกับสภาพของฮอลล์นั้นๆ) ซึ่งผมก็ไม่เคยได้ไปฟังที่นั่น คงตอบไม่ได้ว่ามันเป็นอย่างไร แต่ก็พอแสดงให้เห็นได้ว่าเขาน่าจะเคยไปฟังดนตรีสดที่นั่นบ่อย จึงรู้ว่าฮอลล์แห่งนั้นต้องนั่งตรงไหนถึงเสียงดีที่สุด 

MR. OLE KLIFOTH, R&D MANAGER & FOUNDER (ซ้าย)
MR. MADS KLIFOTH, CEO & OWNER (ขวา)

กลับมาที่ลำโพงที่ได้รับมาทดสอบในคราวนี้ ซึ่งก็คือ Audiovector SR 1 Avantgarde ซึ่งต้องอธิบายกันยาวหน่อย เพื่อป้องกันการสับสน เนื่องจากว่าลำโพงของ Audiovector มีการแบ่งซีรีส์ แล้วในซีรีส์ก็มีหลายรุ่น แล้วในแต่ละรุ่นจะมีรุ่นย่อยเพิ่มเติมเข้ามาอีก แตกต่างจากเครื่องเสียงทั่วไป จึงอาจทำให้สับสนได้ ขอให้ลองนึกภาพตามถึง รถยนต์อย่าง BMW ที่แบ่งเป็นซีรี่ส์ส์ 3, 5, 7 ก็เหมือน Audiovector ที่มีการแบ่งลำโพงเป็นซีรีส์ต่างๆ เริ่มจาก QR (ซีรีส์เล็กสุด) ตามด้วย SR (ซีรี่ส์สูงขึ้นมา ที่เราจะทดสอบในคราวนี้) และสุดท้ายเป็น R (ประกอบด้วย R 8 และ R 11 ที่เป็นรุ่นสูงสุดของค่าย) แล้วในซีรีส์เดียวกัน BMW ก็มีตัวถังหลายแบบ เช่น 4 ประตู, แวน, เอสยูวี ซึ่งลำโพง Audiovector SR Series ก็จะมี SR 6 เป็นลำโพงตั้งพื้นตัวใหญ่สุด รองลงมาเป็น SR 3 เป็นลำโพงตั้งพื้นขนาดย่อมลงมา และ SR 1 (ที่จะทดสอบในคราวนี้) เป็นลำโพงวางขาตั้ง และยังมี SR C และ SR Sub เป็นลำโพงเซ็นเตอร์ และซับวูฟเฟอร์ ตามลำดับ ซึ่งถึงตรงนี้ก็จะเหมือนๆ กับยี่ห้ออื่นทั่วไป แต่ที่เพิ่มเติมเข้ามาคือ ใน Audiovector SR 1 ยังมีรุ่นย่อยต่อท้ายอีก คล้ายๆ ถ้าเป็น BMW 3 ที่เป็นตัวถัง 4 ประตู ก็ยังมีรุ่นย่อยที่ติดตั้งเครื่องยนต์ต่างกัน หรือมีการตกแต่งต่างกัน เช่น 320i, 325i, 330i เป็นต้น โดย Audiovector SR 1 มีการแบ่งรุ่นย่อยเป็น 4 ระดับ คือ Super (เป็นระดับเริ่มต้น), Signature (เป็นรุ่นสูงขึ้นมา) และ Avantgarde (รุ่นรองท็อป ที่เราจะทดสอบในคราวนี้) และยังมี Audiovector SR 1 Avantgarde Arreté เป็นรุ่นสูงสุด ดังนั้น ถ้าจะค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลำโพงที่ทำการทดสอบในคราวนี้ ต้องแน่ใจว่าเป็น Audiovector SR 1 Avantgarde เฉยๆ ไม่มี Arreté ต่อท้าย จึงจะเป็นรุ่นย่อยที่ถูกต้องเข้าใจตรงกันครับ 

ขั้นตอนการทดสอบวูฟเฟอร์

และอีกส่วนที่น่าสนใจที่มีแจ้งไว้ในเว็บไซต์ของ Audiovector คือ ท่านที่เป็นเจ้าของ SR 1 ไม่ว่าจะเป็น Super, Signature, Avantgarde ก็สามารถอัพเกรดลำโพงเป็นรุ่นสูงกว่าได้จนถึง Avantgarde Arreté ซึ่งเป็นรุ่นสูงสุดของ SR 1 ในปัจจุบัน ส่วนเงื่อนไขการอัพเกรดคงต้องสอบถามทางตัวแทนจำหน่ายเองครับ 

กลับมาที่ตัว Audiovector SR 1 Avantgarde ที่ขอเรียกสั้นๆ ว่า SR 1 เป็นลำโพงสองทางวางขาตั้ง ขนาดปกติ ไม่เล็กไม่ใหญ่ โดยไม่ได้บอกขนาดตัวขับเสียงมา ซึ่งผมวัดได้ราว 5 ¼ นิ้ว โดยวูฟเฟอร์เป็นวัสดุผสมกันระหว่างผิวหน้าที่เป็น Carbon Fiber ประกบเข้ากับแกนกลางที่เป็น Nomex เพื่อให้มีทั้งความแข็งแรงและน้ำหนักเบา โดยตรงกลางเป็นเฟสปลั๊กทำจากทองแดง แต่ทำสีดำไว้เพื่อให้เข้ากับตัวกรวย และยังใช้ Voice Coil ที่ทำจาก Titanium และโครงของตัววูฟเฟอร์ผลิตจากแม็กนีเซียมอัลลอยอีกด้วย ซึ่งตัวขับเสียงนี้ออกแบบโดย Audiovector เอง และจ้างผลิตตามสเปกด้วยมือจาก Scan-Speak ในเดนมาร์ก ส่วนตัวขับเสียงแหลมเป็นประเภท Air Motion Transformer ซึ่งทาง Audiovector ได้ทำการผลิตขึ้นเองด้วยมือภายในโรงงานของตนเองเพื่อให้มีคุณภาพเป็นไปตามต้องการ นอกจากนี้ ในส่วนของตัวขับเสียงแหลมมีการออกแบบที่แตกต่างจากลำโพงทั่วไปคือ ในส่วนด้านหลังของทวีตเตอร์ได้ออกแบบให้เป็นช่องเปิด เพื่อให้คลื่นเสียงที่เกิดขึ้นด้านหลังของทวีตเตอร์สามารถเดินทางออกมาทางด้านหลังตู้ เพื่อให้มีเสียงกลับเฟสออกจากด้านหลังไปสะท้อนผนังหลังมาเสริมบรรยากาศด้านลึกของวง เป็นการทำงานแบบไดโพลเหมือนลำโพงอิเล็กโทรสแตติกที่ผมใช้งานอยู่เป็นประจำซึ่งเพิ่งเคยเห็น Audiovector เจ้าเดียวที่ออกแบบเป็นท่อด้านหลังแบบนี้ โดยมากก็จะเห็นในลำโพงที่ออกแบบเป็นระบบ Open Baffle ไปเลย หรือในปัจจุบันก็มีลำโพงหลายตัวที่มีการติดทวีตเตอร์เพิ่มที่ด้านหลังตู้เพื่อจำลองเสียงของการทำงานแบบไดโพลให้เห็นอยู่บ้าง แต่นับว่า Audiovector ออกแบบมาให้ดูกลมกลืนกับตู้ลำโพงรูปทรงเดิมๆ มาก จนแทบไม่สังเกตเห็นเลย นอกจากนี้ ในส่วนของ SR Series ก็มีการออกแบบตู้ให้มีผนังข้างที่โค้งไปด้านหลัง ที่นิยมเรียกว่า Lute Shape เพื่อลดการสั่นค้างของคลื่นเสียงภายในตู้ ซึ่งถึงแม้เห็นได้ในลำโพงจำนวนมาก แต่ Audiovector ให้ความสำคัญมาก เพราะเป็นแนวทางการออกแบบที่เน้นให้ตัวขับเสียงทุกตัวมีการระบายทางเดินเสียงด้านหลังตัวขับเสียงที่รวดเร็วและไม่สะท้อนย้อนกลับมาที่ตัวกรวย เพื่อลดความเพี้ยนในการทำงานของตัวขับเสียงทุกตัว ดังที่เห็นได้แม้กระทั่งทวีตเตอร์ยังมีช่องเปิดไล่เสียงด้านหลังออกไปด้านหลังตู้ ไม่มากวนการขยับตัวของแผง Air Motion Transformer เลย 

ในส่วนของตู้ที่ติดตั้งวูฟเฟอร์ก็มีการออกแบบตู้แบบ Lute Shape และใช้สกรูยึดวูฟเฟอร์เพียง 3 ตัว เพื่อลดจุดสัมผัสที่จะถ่ายทอดแรงสั่นสะเทือนต่างๆ ย้อนกลับมาที่ตัววูฟเฟอร์ นับว่าใส่ใจในเรื่องนี้มากทีเดียว โดยความแตกต่างระหว่าง Audiovector SR 1 Avantgarde กับ Avantgarde Arreté ที่เป็นรุ่นสูงสุดมีเพียงการนำเทคโนโลยี NCS (Audiovector Natural Crystal Structure-technology) มาใช้ ซึ่งเท่าที่ถอดความคร่าวๆ ได้คือ การนำชิ้นส่วนที่เป็นทองแดงไปทำไครโอเจนิกที่อุณหภูมิ -238 องศาเซลเซียส เพื่อให้เสียงมีความกระจ่างมากขึ้นนั่นเอง เข้าใจว่าการอัพเกรดนี้อาจจะใช้วงจรตัดแบ่งความถี่ระหว่างวูฟเฟอร์และทวีตเตอร์คนละตัวกันเลย เพราะจุดตัดความถี่ของรุ่น Arreté อยู่ที่ 2800Hz ในขณะที่ Avantgarde จะเป็น 2900Hz ซึ่งเมื่อดูจากสเปกเทียบกันระหว่าง 2 รุ่นดังกล่าวที่ใช้ตัวขับเสียงเหมือนกันหมด ติดตั้งในตู้แบบเดียวกัน แต่ Arreté กลับสามารถตอบสนองความถี่ต่ำลงไปได้ลึกกว่าคือ 39Hz และรองรับกำลังขับ 200 วัตต์ ในขณะที่ Avantgarde ที่ทดสอบคราวนี้ลงได้น้อยกว่าเล็กน้อยอยู่ที่ 41Hz และรองรับกำลังขับ 180 วัตต์ ส่วนความถี่สูงสุดขึ้นไปได้ถึง 52kHz เท่ากัน ความไว 87.5dB อิมพีแดนซ์ปกติ 8 Ohm เท่ากันทั้งสองรุ่น โดยตู้ที่ได้รับมาทดสอบเป็นสีส้มสดใสสวยงาม ดูทันสมัย เข้ากับการตกแต่งคอนโดฯ สมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี แม้งานออกแบบตัวตู้ไม่ได้เน้นความโดดเด่นหวือหวามากนัก แต่เนื้องานประกอบตู้และงานสีเรียบร้อย ดูดีสมราคา

ขั้นตอนการผลิตทวีตเตอร์  Air Motion Transformer

คุณภาพเสียง

ในส่วนของการรับฟังตลอดการทดสอบ SR 1 ถูกขับด้วยเพาเวอร์แอมป์ Classe’ CA-M600 ซึ่งสิ่งแรกๆ ที่สัมผัสได้จาก Audiovector SR 1 Avantgarde คือ เบสไม่น้อย แต่ก็ไม่มาก เรียกได้ว่าสมตามขนาดตัว กลางกลมกล่อม น่าฟัง ไม่ถึงกับปรุงจนเกินงาม กลางต่ำมีพอเสริมความอิ่ม แหลมมีรายละเอียดครบถ้วน มีความเป็น pin point มากกว่าลโพงแผ่น แต่ก็ไม่เป็นจุดชัดเท่าพวกโดมชั้นดี โทนโดยรวมกลมกล่อม น่าฟัง ฟังแล้วเพลิดเพลิน ผ่อนคลายจนไม่อยากสนใจจับผิดอะไร อย่างอัลบั้ม Discovery HiFi Prologue 01 เมื่อถ่ายทอดผ่าน SR 1 ผมมีความรู้สึกว่าดนตรีมันช้ากว่าปกติ ซึ่งจริงๆ ถ้าว่ากันในเรื่องของเวลา มันก็เร็วเท่าๆ เดิมนั่นแหละ แต่ด้วยความที่เสียงออกโทนกลมกล่อม สุภาพ ผ่อนคลาย โดยที่ไม่ได้ปรุงความถี่ไหนให้ค้างอยู่นานเกินงาม ทให้สามารถรับรู้ได้ถึงลีลาการทอดด?เนินไปของแต่ละตัวโน้ตได้อย่างดี มีช่องว่างช่องไฟให้รับรู้ได้ดีจนรู้สึกถึงลีลาความตั้งใจของนักดนตรีที่คุมโทนการเล่นให้ออกมานุ่มนวลผ่อนคลายเช่นนี้ เรียกว่ารู้สึกมีเวลาซาบซึ้งกับแต่ละโน้ตได้มากขึ้น 

กับแผ่น Letter from the Equator ของ Jim Brock & Van Manakas สังกัด Reference Recordings ก็พบว่าสามารถติดตามลีลาของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นได้ดี หัวเสียงเครื่องเคาะยังมีความนุ่มนวลอยู่บ้าง ซึ่งทให้เสียงไม่สดจัดเกินไป และสามารถรับรู้ถึงเนื้อและการมีมวลของเครื่องเคาะชนิดต่างๆ เช่น เสียงฉาบ นอกจะมีความสดพุ่งของหัวเสียงที่ไม้กระทบลงบนตัวฉาบ มันก็ต้องมีเสียงที่ตัวเนื้อโลหะของฉาบสั่น ซึ่งฉาบใบเล็ก มวลก็จะน้อย เสียงเนื้อฉาบก็ต้องเป็นโน้ตสูงกว่า ฉาบใบใหญ่ มวลมาก โน้ตก็ต่ำกว่า ซึ่ง SR1 ดูจะให้รายละเอียดด้านมวลเนื้อของเสียงเครื่องเคาะได้โดดเด่นกว่าความสดของหัวเสียงอยู่เล็กน้อย และในแผ่น “ดวงหทัยแห่งความรัก” ของ อ.ดนู ฮันตระกูล จริงๆ ก็ไม่ได้คาดหวังอะไรมาก เพราะ SR 1 ถือว่าเล็กกว่าห้อง 5 x 7 เมตรไปมาก แต่พบว่าสามารถถ่ายทอดความสวยงามของท่วงทำนองดนตรีออร์เคสตร้าที่มีกลิ่นอายของความเป็นไทยออกมาได้อย่างน่าฟังมาก อารมณ์จะไม่ได้ยิ่งใหญ่อลังการมากนัก เหมือนฟังจากที่นั่งแถวไกลออกมามากหน่อย แต่ยังสามารถให้รูปวงขนาดใหญ่ได้อย่างค่อนข้างเหนือความคาดหมายสำหรับลำโพงตัวแค่นี้ 

ถึงตรงนี้ผมก็แอบไปหาข้อมูลที่นั่งแถวที่ 11 ของ Tivoli Concert Hall ที่เขาแนะนำก็พบว่าเป็นระยะห่างออกมาพอควร ราวๆ เลยกลางฮอลล์มาด้านหลังเล็กน้อย แสดงว่านาย Ole Klifoth คงไม่ใช่นักฟังประเภทชอบนั่งชิดติดขอบเวทีที่ได้สินเสียงต่างๆ สดชัดไปหมด แต่จะเป็นแนวเน้นความกลมกลืนของภาพรวมมากกว่า ต่อมาที่แผ่น Chick Corea “Rendezvous in New York” นับว่าน่าสนใจมากที่ SR 1 สามารถถ่ายทอดเสียงร้องได้เหมือนมีคนมาร้องจริงในห้องมากเป็นพิเศษ เสียงปรบมือระหว่างเพลงก็มีเนื้อมีหนังของมือให้ได้รับรู้อย่างน่าประทับใจ ประเภทที่ลำโพงตั้งพื้นตัวใหญ่ๆ หลายๆ ตัวยังไม่สามารถให้ได้ เนื่องจากเป็นส่วนของเสียงเบสต้นและกลางต่ำที่ลำโพงหลายๆ คู่มักจะต้องแลก คือ ไม่จูนจนหนาเกินจนติดอาการช้า หารายละเอียดได้ยาก ก็ต้องจูนให้ติดบางไว้นิด ให้เสียงสดใสสะอาดโปร่ง แต่ SR 1 จัดการย่านนี้ได้ค่อนข้างดีมาก มีปริมาณกำลังดี มีความสะอาดรวดเร็วกลมกลืนกับย่านอื่นๆ เป็นอย่างดี เสียงเปียโนก็มีความกังวานของตัวเปียโนที่มีรายละเอียดดี ถึงแม้ข้อจำกัดด้านความถี่ต่ำลึกๆ จะทำให้สัมผัสความใหญ่โตของตัวเปียโนได้น้อยไปนิด แต่ก็เป็นเรื่องปกติสำหรับลำโพงสองทางวางขาตั้งตัวแค่นี้ และพอดีช่วงทดสอบ SR 1 ได้มีโอกาสไปดูคอนเสิร์ทของ พี่โอ้ – โอฬาร พรหมใจ กลับมาบ้านเลยต้องเอาแผ่นเสียง “ก.พ. 2528” มาเปิดซะหน่อย SR 1 ก็สามารถถ่ายทอดเสียงกีตาร์ได้ครบถ้วนดี แยกแยะเสียงดนตรีแต่ละชิ้นได้ดี แต่รูปวงก็จะออกแบนๆ ไม่ค่อยมีความลึกเข้าไปด้านหลัง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว เพราะงานบันทึกเพลงสมัยนั้นก็มักมีแค่การแพนเสียงซ้ายขวา หลบให้ไม่ซ้อนทับกันเท่านั้น ไม่ได้เน้นให้มีการจัดวางรูปวงให้มีความลึกเข้าไปในผนังหลังลำโพงแต่อย่างใด แสดงว่า SR 1 ก็ให้ความถูกต้องทางด้านรูปวงได้ดี เพราะแผ่นที่พอมีความลึกบ้างอย่างเพลง “ไกล” ในชุด “ไตรภาค” ก็มีความลึกเข้าไปด้านหลังมากกว่าแผ่น ก.พ. 2528 และกับแผ่นที่มีความลึกมากๆ ก็สามารถลึกเลยผนังหลังลำโพงไปได้ตามปกติ ซึ่งคุณสมบัติด้านการให้ความถูกต้องของซาวด์สเตจเป็นสิ่งที่พึงคาดหวังได้จากลำโพงเล็กชั้นดี ซึ่ง SR 1 ก็สามารถให้ออกมาได้ดี 

ปิดท้ายด้วยแผ่น Royal New Orleans Jazz Celebration ซึ่งในคราวนี้มีความรู้สึกเนียนกว่าปกติ คือความรู้สึกสดของเครื่องเป่าแบบบันทึกการแสดงสดจะลดลง อารมณ์จะคล้ายๆ Studio Album ที่อัดในห้องอัดมากกว่าปกติ แต่ดนตรีรู้สึกมีความเพลิดเพลินน่าฟังเป็นอย่างดี แต่จะว่าไม่สดสมจริงก็ไม่เชิง เพราะพอเพลง H.M. Blues ที่มีเสียงทรัมเป็ตใส่ Mute ผมพบว่า เสียงมันสมจริงระดับมาเป่าในห้องกันเลย เรียกได้ว่าฟังแรกๆ อาจไม่ตื่นเต้น แต่สามารถฟังได้นาน มีรายละเอียดให้ฟังเพียงพอ ไม่ได้เน้นเอาใจหูจนน่าเบื่อ สามารถเพลิดเพลินได้กับดนตรีทุกแนวที่เปิด แม้กระทั่งผมลองเอาแผ่นเสียง “พุ่มพวงในดวงใจ” มาเปิดก็ยังพบว่า SR 1 ไม่เกี่ยงแนวเพลงจริงๆ

สรุป 

Audiovector SR 1 Avantgarde เป็นลำโพงที่ให้คุณภาพเสียงได้น่าสนใจมากทีเดียวในระดับราคานี้ ซึ่งถ้าท่านเคยรู้สึกว่าถูกใจลำโพงอยู่หลายคู่ แต่รักพี่เสียดายน้อง ไม่รู้จะเลือกตัวไหนดี เพราะแต่ละตัวต่างมีข้อดี-ข้อด้อย แตกต่างกันไป อยากได้ข้อดีของทุกคู่มารวมกัน และไม่อยากได้ข้อเสียของตัวไหนติดมาด้วยเลย Audiovector SR 1 Avantgarde เป็นลำโพงที่ท่านควรไปฟังให้ได้ เพราะหลังจากได้ฟังแล้ว ผมเริ่มเข้าใจความคิดของรุ่นน้องที่เป็นนักดนตรีที่มีความพิถีพิถันในเรื่องคุณภาพเสียง แต่ไม่อยากเล่นเครื่องเสียง ต้องการแค่เครื่องเสียงหนึ่งชุดที่ลงตัวกันง่ายๆ ซื้อทีเดียวจบ แล้วไปหาแผ่นมาฟังเพลงที่อยากฟัง แผ่นแล้วแผ่นเล่า เข้าทำนองว่าเป็น Music Lover:Audiophile ราวๆ 60:40 Audiovector SR 1 Avantgarde น่าจะเป็นลำโพงที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้เป็นอย่างดีมากคู่หนึ่งในระดับราคานี้ครับ แนะนำว่าควรต้องหาโอกาสไปฟังให้ได้ก่อนตกลงปลงใจกับลำโพงคู่ไหนในระดับนี้ ไม่งั้นจะพลาดของดี แล้วอย่ามาหาว่าผมไม่ได้เตือน

ปล. ในช่วงท้ายสุด ผมเพิ่งนึกขึ้นมาได้ว่าตลอดการทดสอบได้ใช้แอมป์โมโนบล็อกข้างละ 600 วัตต์ ขับลำโพงวางขาตั้งจึงเกรงว่าจะถูกผู้อ่านต่อว่าได้ เพราะมันออกจะเกินความจำเป็นมากเกินไปมาก เลยลองสลับมาเป็นแอมป์หลอด Cary V12 ที่สามารถเล่นในโหมด Triode 50w และ 2/3Triode+1/3Ultra Linear ที่มีกำลังขับ 65w และ Ultra Linear 100w ซึ่งเมื่อลองต่อใช้งานในโหมด Triode 50w แล้วฟังแผ่นซาวด์แทร็ก Beauty and the Beast และ Love Never Dies พบว่า 50w ดูจะน้อยเกินความต้องการของ SR 1 เพราะเสียงเบสดูจะแยกแยะได้ไม่ดี ทำให้ฐานเสียงต่ำไม่แน่น เสียงโดยรวมจะออกเจี๊ยวจ๊าวหน่อย พอปรับเป็น 65w ก็พบว่าเบสมีคุณภาพอยู่ในระดับยอมรับได้ เสียงมีความเป็นอิสระน่าฟังมากขึ้น ดังนั้น ถ้าตามสเปกลำโพงที่รองรับกำลังขับระดับ 180 วัตต์ ผมว่าถ้าจะให้หวังผลได้ ถ้าเป็นแอมป์หลอดก็ขอราวๆ 60 – 70 วัตต์ขึ้นไป ส่วนถ้าเป็นแอมป์โซลิดสเตทก็ควรหาแอมป์ที่มีกำลังตั้งแต่ 100 วัตต์ขึ้นไปน่าจะปลอดภัยกว่าครับ. ADP

ราคา 138,000 บาท
นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท เอลป้า ชอว์ จำกัด
โทร. 0-2256-9683-5

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 267