วิศัลย์

นักเขียน : วิศัลย์ เอกธรรมกุล :

ยินดีต้อนรับสู่ WJWJ ลำดับที่ 105 ครับ

การเสพสื่อโซเชียลไม่ได้ทำให้ผมบันเทิงใจเท่าไหร่ มานานพอสมควร ที่พอได้จรรโลงใจก็อาศัยไลฟ์สดของ ออดิโอไฟล์หรือไลฟ์สดมุกเด็ดจากกูรูเครื่องเสียงหลาย ต่อหลายช่องก็พอจะคลายเครียดไปบ้างตอนพาออก ทะเล (ยังเป็นสังคมที่น่ารักอยู่) ผมจึงขอเชิญชวนให้ท่าน ทั้งหลายหันมาสู่เบสิกการเซ็ตอัพเครื่องเครารวมทั้ง การสลายไฟฟ้าสถิตย์ในระบบกันบ้าง เนื่องจากมลภาวะ ทางอากาศใน กทม. มันมากเหลือเกินจากการสร้าง ระบบขนส่งมวลชนทั่วเมือง ที่ทำได้ก็มีการขยับเขยื้อน เคลื่อนที่เครื่องเสียงและทำความสะอาดตัวเครื่องด้วย clean room wiper หรือ 3M Scotch-brite Q600 ราคาแพ็คละ 100 กว่าบาท และทำความสะอาดจุดเชื่อมต่อที่ สายต่างๆ ด้วย CRC Co Contact cleaner และเช็ดให้ สะอาด การขยับจัดวางเส้นสายใหม่ เหล่านี้ก็สามารถ ให้ผลทางเสียงที่ฟังออกชัดเจน ซ้ำได้ออกกำลังไปในตัว ด้วยครับ

WJ ฉบับนี้ ขอนำเสนอผู้ผลิตสินค้าไฮเอ็นด์ของญี่ปุ่น ประเทศผู้ซึ่งไม่ได้หวั่นไหวกับภัยธรรมชาติอะไรทั้งสิ้น คือ ปีนี้โดนพายุไปหลายดอก ได้ปล่อยสินค้าที่อยู่ในระดับ ราคา“จับต้องได้” แต่ไม่ยอมที่จะย่อหย่อนคุณภาพเลย เรียกว่าคุณภาพล้นเครื่อง นั่นคือ Accuphase E-650 อินทิเกรตแอมป์ Class A ที่พ่วงมากับปรีแอมป์ที่ใช้เกน คอนโทรลแบบ AAVA แบบเดียวกับปรีแอมป์รุ่นท็อปของ ค่าย ทำเอาผมระริกระรี้สั่นระรัวกันเลยทีเดียวครับ เพราะ Class A ของค่ายนี้บ่งบอกสถานะ Flagship ประจำค่าย ไปในตัวซะด้วย นี่จัดเป็นพระเอกขี่ม้าขาวมาในช่วง เศรษฐกิจฝืดเคืองโดยแท้

อันว่าการผลิต Accuphase Class A Amplifier ซึ่งจัดว่าเป็นเรือธงของค่ายนั้น ถ้าสืบเสาะกันให้ดีแล้ว สามารถเรียงล ำดับเป็ นรุ่นๆ จากรุ่ นปัจจุบันไล่ย้อนไปถึง รุ่นเก่าได้แก่… A75 Class A 60 Watt Stereo Amplifier, A200 Class A Monoblock 100 Watt (2012), A46 Class A 45 Watt Stereo Amplifier (2011), A35 Class A 30 Watt Stereo Amplifier (2009), A65 Class A 60 Watt Stereo Amplifier (2009), A45 Class A 45 Watt Stereo Amplifier (2006), A30 Class A 30 Watt Stereo Amplifier (2004), A60 Class A 60 Watt Stereo Amplifier (2004), A20V Class A 20 Watt Stereo Amplifier (2000), A50V Class A 50 Watt Stereo Amplifier (1998), A20 Class A 20 Watt Stereo Amplifier (1995), A50 Class A 50 Watt Stereo Amplifier (1993), A100 Class A 100 Watt Mono Amplifier (1991)

(1) ใช้ยี่ห้ออื่นก็ได้ เน้นที่ต้องไม่มีคุณสมบัติในการหล่อลื่น ตกค้าง เพราะเราแค่ทำความสะอาดและกำจัดไฟฟ้าสถิตย์ออก ไปเท่านั้น

สำหรับอินทิเกรตแอมป์ Class A ทางค่ายก็เริ่มจาก ซีรีส์ 500 เรื่อยมาจนถึงซีรีส์ 600 ไทม์ไลน์เริ่มจาก รุ่นปัจจุบันย้อนกลับไป ได้แก่… E-650 Class A integrated Stereo Amplifier 30 Watt + AAVA, E600 Class A integrated Stereo Amplifier 30 Watt +AAVA (2013), E560 Class A integrated Stereo Amplifier 30 Watt +AAVA (2009), E550 Class A integrated Stereo Amplifier 30 Watt +AAVA (2005), E530 Class A integrated Stereo Amplifier 30 Watt (2002) ผมเข้าใจ ว่าญี่ปุ่นมีพื้นที่ในการฟังเพลงหรือห้องฟังขนาดเล็ก เนื้อที่ ในการจัดวางเครื่องเสียงก็ค่อนข้างจำกัด การที่ทางค่าย ผลิตอินทิเกรตแอมป์คลาสเอ ก็เพื่อจะตอบโจทย์นักเล่น ในบ้านเขาเองเป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่าเล่นกับลำโพง ความไวสูง แม็ตชิ่งได้ดีก็จบได้เช่นกัน

สิ่งที่น่าสนใจที่เป็นพัฒนาการของแอมป์ Class A ของ Accuphase ทั้งที่เป็นแอมป์สเตริโอ หรืออินทิเกรตแอมป์ (เว้นโมโนบล็อกที่เป็นการออกแบบเฉพาะ) ตลอดไทม์ไลน์ ที่ผ่านมานั่นก็คือ กำลังขับอาจจะเท่าเดิม เช่น 30 วัตต์, 45 วัตต์ หรือ 60 วัตต์ แต่มีวิวัฒนาการในเรื่องของ Damp­ing Factor ที่สูงขึ้น, ค่าTHD ที่ต่ำลงไปเรื่อยๆ, ค่าS/N Ratio ที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ นักเล่นรุ่นใหญ่ที่เคยจับจองแอมป์ Class A รุ่นแรกๆ เช่น A20, A20V หรือ A30 ที่มีไทม์ไลน์ ในช่วงปี 1995-2004 มีความพึงพอใจกับน้ำเสียงมาก โดยเฉพาะ Timbre ที่เต็มและอิ่ม ความหวานและลื่นแบบ ไม่เลี่ยนแบบแอมป์หลอดของเสียงกลาง ครั้นเมื่ออยู่ใน ยุคดิจิทัลเบ่งบานตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมาการเสพไดนามิกส์ ที่มีระดับมากกว่า120dB เกินเพดานของ CD Format เริ่มเป็นมาตรฐานใหม่ที่เรียกกันว่าไฮเรสกลายมาเป็นโจทย์ ที่ท้าทายผู้ผลิตเครื่องเสียงในตลาด ทำให้ทางค่ายเริ่ม พัฒนาแอมป์คลาส A โดยมีการใช้วงจร MCS ซึ่งต่อมาเป็น MCS+ เพื่อจัดการ Current Feedback ให้กับวงจร ภาคขยายที่ใช้ Mosfet transistor ต่อขนานกันหลายคู่ มีตั้งแต่ 3 คู่ถึง 10 คู่(ต่อข้าง) ให้มีการคลาดเคลื่อนทาง เฟสที่น้อยที่สุดอย่างได้ผล ถามว่าทำไมกำลังขับแค่ 30 วัตต์ ถึงต้องต่อขนานทรานซิสเตอร์หลายๆ ชุด อธิบาย ได้ว่าการจัดวงจรที่เป็น Class A นั้น การจ่ายกระแส ไฟเลี้ยง หรือที่เรียกว่าidle current จ่ายกันไม่น้อยกว่า50% เมื่อมีสัญญาณที่ต้องขยายก็สามารถพีคขึ้นไปได้ 100% อย่างรวดเร็วฉับพลันไม่มีการหน่วง (เปรียบเปรย ได้กับการเหยียบคันเร่งรอไว้ครึ่งหนึ่ง ออกตัวก็ล้อฟรีเลย ไม่ต้องรั้งรอรอบเครื่อง) พลังงานที่เสมือนกับการเหยียบ คันเร่งรอไว้ก็กลายเป็นความร้อนอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ของแอมป์แบบนี้ ดังนั้น การต่อทรานซิสเตอร์ขนานกันก็ เพื่อเพิ่มความสามารถในการจ่ายกระแส การแชร์โหลดใน การจ่ายกระแสต่อตัวให้ทำงานน้อยลง ความร้อนน้อยลง ความเพี้ยนก็ต่ำลง ทำให้วงจรมีความเสถียรและอายุการใช้งานยืนขึ้นด้วย จึงสรุปได้ว่าแอมป์ Class A ของค่ายนับตั้งแต่ A60 ในปี 2004 ขึ้นมา(เริ่มใช้ MCS จัดการกับ Current Feedback), A45, A65, A35, A46 และ A75 มีค่าS/N ratio, Damping Factor, THD ที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก แล้วตามมาด้วยเสียงบ่นของแฟน Accuphase แบบอนุรักษ์นิยมว่าแอมป์ Class A รุ่นใหม่สเปกดี แต่นำเสียงไม่ชวนฝันเหมือนกับรุ่นก่อน ปรากฏการณ์เช่นนี้ทำให้ตลาดมือสองของญี่ปุ่นเกิดคลื่นใต้น้ำที่พยุงราคาเจ้าA20V หรือ A50V ที่ยันเพดานแข็งโป๊ก อันนี้ก็อยากจะฝากให้คิดนิดหนึ่งที่ว่าหากเปลี่ยนแอมป์ใหม่ (ในยุคใหม่) ก็ควรจะแม็ตชิ่งกับลำโพงในยุคเดียวกันด้วยจึงจะสามารถกล่าวได้เต็มที่ว่าของใหม่ไม่ดีกว่าของเก่ายังไง บางที เราอาจจะชินไปกับความเพี้ยนสะสมของเครื่องเสียงนะ มันนัวๆ เนียนๆ กลืนๆ ดี พอเจอเครื่องเสียงที่ให้ความสะอาดและรายละเอียดสูง แม็ตชิ่งซิสเต็มไม่ถึง พาลจะฟ้องแอมป์ใหม่เป็นจุดด้อยของระบบ กลายมาเป็นจำเลยของซิสเต็มไปซะอีก

กลับมาที่ E-650 ของเราดีกว่าเจ้าอินทิเกรตแอมป์รุ่นเรือธงของค่ายที่ผมภูมิใจนำเสนอเป็นอย่างยิ่ง มากับกำลังขับที่ 30 วัตต์ต่อข้าง ที่โหลด 8 โอห์ม (กำลังขับเหมือนเดิมจากรุ่นก่อนๆ), และกำลังขับจะทวีคูณตามทฤษฎีกำลังสำรองคือ 60/120/150 ที่โหลด 4/2 และ 1 โอห์ม ตามลำดับ (1 โอห์ม เป็นข้อยกเว้น) ใช้ทรานซิสเตอร์ Mosfet สามคู่ต่อข้างต่อขนานเป็นตัวขยายกำลังพร้อมวงจร MCS+ เห็นตัวแค่นี้กำลังขับแค่นี้ Damping Factor โดดขึ้นไปที่ 800 ค่าS/N Ratio อยู่ที่ 97dB จัดว่าสูงมากสำหรับอินทิเกรตแอมป์ตัวถังชิ้นเดียว การกินไฟอยู่ที่ 168 Watt (เมื่อเปิดเครื่องและสแตนด์บาย) และสูงสุดที่ 290 Watt, ค่าTHD อยู่ที่ 0.03%/0.05% ที่โหลด 4-16/2 โอห์ม นี่ก็สเปกเทพอีกเหมือนกัน การตอบสนองความถี่ก็แทบจะตรงเป็นไม้บรรทัดคือ 20-20Hz/kHz @ +0/-0.5dB ใช้หม้อแปลงทอรอยดัลชีลด์อย่างดีตามมาตรฐานของค่ายควบคู่กับคาพาซิเตอร์ Custom made 50,000 ไมโครฟารัดที่ใช้พื้นที่ตัวถังภายในรวมกันสัก 40% พื้นที่ฮีตซิงก์ 2 ข้างอีก 40% แผงวงจรอีก 15% คงเหลือที่ว่างให้หายใจกับการเซอร์วิสอีก 5% เรียกว่าแน่นเอี๊ยด มีที่พอให้นิ้วล้วงหรือไขควงแหย่เท่านั้นเองครับ น้ำหนักตัวเครื่องเปล่าแบบตันๆ ก็ 25.3 กิโลกรัม

เมื่อมันเป็นอินทิเกรตแอมป์ก็ต้องพูดกันถึงภาคปรีแอมป์สักหน่อย ภาคปรีแอมป์ออกแบบได้ชาญฉลาดมาก เริ่มตั้งแต่ภาคอินพุตกันเลย รับสัญญาณบาลานซ์ได้ 2 ชุด พร้อมสวิตช์เปลี่ยนเฟสที่หน้าเครื่อง และรับสัญญาณอันบาลานซ์ได้ 5 ชุด ปรีเอาต์บาลานซ์หนึ่งชุดและอันบาลานซ์หนึ่งชุดเมื่อต้องการให้ E-650 ทำหน้าที่เป็นปรีแอมป์อย่างเดียว มีปรีอินพุตบาลานซ์หนึ่งชุดและอันบาลานซ์หนึ่งชุดเมื่อต้องการให้ E-650 ทำหน้าที่เป็นเพาเวอร์แอมป์อย่างเดียว ออปชั่นบอร์ดด้านหลังสำหรับเสริมเขี้ยวเล็บให้กับ E-650 ให้ “จบ” ในหนึ่งเดียว ที่ภูมิใจนำเสนอคือ AD-50 เป็น MM/MC Phono Board และ DAC-50 เป็น Digital input board รองรับสัญญาณ Digital Coax S-PDIF/Optical จาก CD Transport และ USB จาก Computer จากเครื่อง MAC ได้ ที่สำคัญเจ้าE-650 ได้ภาคขยายเกน หรือ Volume แบบ AAVA ที่ใช้กับปรีแอมป์รุ่นท็อปของค่าย C-3850 จำลองลงมาใช้กับอินทิเกรตแอมป์ด้วย ผมเคยทดสอบปรีแอมป์ Accuphase รุ่น C-3800 ซึ่งได้สาธยายคุณสมบัติทางเทคนิคของ AAVA ไปแล้ว จึงไม่ขอธิบายซ้ำอีก เอาหลักการฟื้นความจำสักหน่อยว่าใช้สวิตช์ทำงานแทนรีซิสเตอร์หรือตัวต้านทาน เพื่อตัดความไม่คงตัวของอิมพีแดนซ์ออกไป ทำให้การตอบสนองความถี่ตลอดย่านเที่ยงตรงทุกๆ ความดังที่ปรับ ออกแบบมาเพื่อการใช้วงจรแบบบาลานซ์โดยสมบูรณ์แบบ ตัดปัญหาCrosstalk ที่เกิดขึ้นกับวอลลุ่มแบบเดิม เพิ่ม S/N ratio และความเพี้ยนต่ำสุด เพราะไม่ใช้ตัวต้านทานมาปรับเกน ดังนั้น Accuphase รุ่นใหม่จะเน้นการเชื่อมต่อแบบบาลานซ์ทั้งระบบครับ นักเล่นรุ่นเก่าที่บอกว่าAccuphase ต่ออันบาลานซ์เสียงดีกว่าบาลานซ์ก็ต้องกลับมาดูว่าในซิสเต็มเชน การเชื่อมต่อและการทำงานของซิสเต็มเป็นวงจรบาลานซ์จริงๆ ทั้งหมดรึเปล่า

ฟีเจอร์ที่ทำให้ปรีแอมป์ของ E-650 สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ถูกซ่อนไว้ที่บานเปิดที่แผงหน้าปัด เริ่มจากซ้ายไปขวาลูกบิดแรกสำหรับเลือกลำโพง A/B หรือ A+B ลูกบิดที่สองและสามสำหรับการเลือกปรับโทนของเบสและทรีเบิ้ล, ขวามือถัดมามีปุ่ม 7 ปุ่ม 4 ปุ่มบนสำหรับปุ่มเลือกปรับโทน/ไม่ปรับโทน, ปุ่มปรับเฟสอินเวิร์ต/นันอินเวิร์ต, ปุ่มเลือกสเตริโอ/โมโน, ปุ่มเลือกเปิดปิดลาวด์เนส, ส่วนปุ่มล่างอีก 3 ปุ่ม สำหรับเลือกใช้ออปชั่นบอร์ด DAC และ AD สองปุ่ม, ปุ่มสุดท้ายสำหรับเลือกการแสดงผลที่หน้าจอให้แสดงวอลลุ่มหรือความถี่แซมปลิ้ง, ถัดมาสามปุ่มสุดท้ายมีปุ่มปรับบาลานซ์ ซึ่งเด็กสมัยนี้ไม่ค่อยจะได้ใช้งานกันแล้ว, ปุ่มเลือกเมนอินและปุ่มบันทึกเสียง, เฮ้อ… เหนื่อย อันว่าสารพัดปุ่มนี่ซ่อนอยู่ในฝาปิดครับ เพื่อความเนียนตาเป็นระเบียบหมดจดเกลี้ยงเกลาเมื่อปิดฝา

มาต่อที่แผงหน้าปัด ปุ่มเซเล็กเตอร์อินพุตขนาดใหญ่ด้านซ้ายมือ ถัดลงมาเป็นปุ่มเปิดเครื่อง ตรงกลางเป็นที่ตั้ง VU meter แบบแอลอีดีเรืองแสงแถวเรียงแนวนอน และตัวเลขแสดงผลแบบดิจิทัล ซึ่งจุดนี้เหล่าสาวกพากันเสียดาย VU meter แบบเข็มกระดิกอยู่ไม่น้อย ปุ่มใหญ่ขวาสุดเป็นปุ่มปรับวอลลุ่ม ถัดลงมาเป็นปุ่มเปิดถาดด้านหน้าและช่องเสียบหูฟังมาตรฐาน ตัวหน้าปัดเครื่องสีทอง ตัวถังส่วนที่เหลือใช้สีเทาดำเพื่อช่วยการระบายความร้อนให้รวดเร็ว เนื้องานสวยงามและทรงคุณค่ามากครับท่าน ผู้ออกแบบตัวถังนี่เก่งจริงๆ

SET UP

ในระหว่างการรันอิน ผมใช้ของเล่นตัวใหม่คือ Bluetooth Music Receiver ของ Audioengine B1 โดยใช้ iPhone music playback เชื่อมต่อไร้สายด้วย Bluetooth ไปที่ B1 จาก B1 ใช้สายอันบาลานซ์ของ AQ Diamond ไปยัง E-650 สายลำโพงใช้ Tellurium Q Silver Diamond ไปยังลำโพง JBL Century Gold ส่วนการทดสอบจริงใช้เครื่องเล่น Ayre C5xeMP upgrade เชื่อมต่อด้วยสายบาลานซ์ Tellurium Q Silver Diamond /Nordost Tyr 2 เข้าE-650 จบด้วยลำโพง Manger Zerobox109 lle LE บนขาตั้ง TAOC HST ครับ Sub DB1 ปิดการทำงานตลอดการทดสอบ นั่นคือการทดสอบ อินทิเกรตแอมป์ทั้งตัว ส่วนการทดสอบด้วยอะนาล็อก ซอร์ส เทิร์นเทเบิ้ล Oracle Delphi VI ขยายสัญญาณด้วย ASR Basis Exclusive ผ่านปรี Audiovalve Conductor จะเชื่อมต่อไปที่ Accuphase E-650 เพื่อการทดสอบ ในภาค Amplifier ล้วนๆ ตื่นเต้นๆ

ในช่วงที่รันอินด้วย iPhone ยิง Bluetooth เข้าไป ซึ่งแน่นอนเป็นความละเอียดไฟล์ของฟอร์แมต MP3 เมื่อเล่นผ่าน E-650 ผมค่อนข้างประหลาดใจกับการ แจกแจงรายละเอียดและลำดับชั้นอย่างไม่น่าเชื่อว่าจะอยู่ในระดับที่ฟังได้เลย ส่วนเบสและเสียงกลางจัดว่ามีเนื้อหาบอบบางตามท้องเรื่อง หาสาระอะไรไม่ได้มาก ฮาร์มอนิกส์ของปลายแหลมก็ยังห่างไกลอยู่ จัดว่าE-650 ไม่ค่อยจะ ตอแหลกับคุณภาพของซอร์สเท่าไหร่ ฟังได้ครับ เพลินๆ ไป ก่อนจะเข้าขั้น Serious Listening ในลำดับต่อไป

OVERTURE

ถ้าจะเปรียบเปรยจุดแข็งที่สุดของแอมป์คลาสเอที่ แอมป์วงจรขยายกำลังแบบอื่นเลียนแบบได้ยาก ก็ต้องเป็น ความ “เสมือนสมจริง” ของเสียงกลางที่กินย่านความถี่ที่ ประสาทหูของเรารับรู้ได้ไวที่สุด และก็ให้ความอ่อนไหว กับอารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ที่สุดเช่นกัน การเลือก ซอร์สคุณภาพสูงจึงจำเป็นมาก ในการเปรียบเทียบกับ การฟังลักษณะของเสียงกลางเช่นนี้ ผมคิดว่าจะรำลึก ความหลังเมื่อคราวที่ใช้แอมป์ Pass Labs Aleph 23 เป็น แอมป์ Single End Class A Monoblock กำลังขับ 100 watt ที่โหลด 8 Ohm ใช้ Mosfet Transistor เป็นตัว ขยายกำลังเช่นกัน ที่ผมยกให้เป็นแอมป์โซลิดสเตทที่ให้ เสียงกลางที่ผมชื่นชอบมากที่สุดตัวหนึ่งมาเปรียบเทียบกัน ส่วนรุ่นหรือเบอร์กระดูกก็ห่างกันราว 20 ปีครับ (Aleph 2, 1994-1999) ประสบการณ์ที่ผมฟังเจ้าAleph 2 ก็ผ่าน

เสียงร้องของ Radka มีความอิ่ม บอดี้เต็ม ใส กังวาน แต่… ไม่ให้ความรู้สึกที่ติด “อุ่นและหวาน” หรือ “สุกปลั่งเรืองรองของแก้วเสียง” ในระดับเดียวกับคราวที่ผมฟังด้วย Pass Aleph 2 ที่เป็นซิงเกิลเอ็นด์คลาสเอ ความสดและไดนามิกส์ของ E-650 ของเสียงกลางจัดว่าเป็นสไตล์คลาสเอสมัยใหม่ คือ ยังได้ความสด เนื้อหารายละเอียด สปีดแม่น นิ่ง และจริงจัง เนื่องจากอัลบั้มนี้มีเฉพาะเสียงร้องและเปียโน Steinway & Sons เป็นดูโอเท่านั้น ถ้าซิสเต็มที่ถ่ายทอดเสียงกลางไม่ดีละก็ ไม่มีสาระให้ฟังครับ แต่กับ E-650 ผมสามารถซึมซับความกังวานของเรือนเปียโน เสียงสะท้อนของนักร้อง อาณาเขตของตัวโน้ตมีช่องไฟและมีมิติมากมาย อ่อ ในแง่ของเวทีนี่ทำได้ดีกว่าPass Aleph 2 ครับ ในแง่ความโอ่โถง ฮาร์มอนิกส์ของเปียโนที่ค่อยๆ จางหายไปในอากาศ หรือการสั่นค้างที่ได้ยินว่า“หยุด” ตามแป้นเหยียบของเปียโนนิสต์ มันให้ความรู้สึกที่การ “เข้าถึง” ผู้เล่นได้อย่างง่ายดายและชัดเจน รายละเอียด หรือ Resolution ดีมาก อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ แบ็กกราวด์ของแอมป์ตัวนี้ มันเงียบสงัดอย่างกับป่าช้าเลย น่าชมเชยครับ สำหรับอินทิเกรตแอมป์ที่ทำได้ดี หรืออาจจะดีกว่าแอมป์แยกชิ้นที่ราคาแพงกว่าด้วยซ้ำไป

อัลบั้ม The Wall ช่วงที่กำลังขึ้นเพลงจะมีเสียงเครื่องเป่าเบาๆ ที่ E-650 สามารถสื่อออกมาได้ชัดเจนมากเป็นพิเศษ ผมต้องเร่งวอลลุ่มที่ Audiovalve Conductor ขึ้นไปอีก คราวนี้ผมก็จะได้แรงปะทะที่ดุดันมากกว่าเดิม เสียงเครื่องบินใบพัดขับไล่โบราณตกนี้มันโคตรหลอนเลย การแจกแจงนักร้องเสียงประสานและนักร้องนำ มันช่างแยกแยะได้ชัดเจนเหลือเกิน การเล่นกีตาร์ให้ฟีลลิ่งการขยี้สายจากการได้ยิน เสียงเด็กที่อยู่ไกลออกไปกำลังเล่นกันก็ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนที่ของเด็กที่กำลังหยอกกัน หลังจากเฮลิคอปเตอร์บินไป เริ่มบทลงโทษของคุณครูใจร้าย การให้จังหวะของกลอง ไฮแฮท และเบสที่เดินแม่นยำเป็นจังหวะบ่งบอกสภาพของการจัดระเบียบของโรงเรียนประจำ (แบบทหาร) ผมชอบเสียงกีตาร์ที่ให้รายละเอียดดีมาก แยกความต่างจากการใช้เอฟเฟ็กต์ที่กราดเกรี้ยวพอประมาณ (ในระดับความเถื่อนแบบโปรเกรสซีฟร็อก) และเสียงกระจ่างเดิมๆ ของกีตาร์ Fender เสียงร้องที่เป็นเด็กร้องประสานและเสียงผู้ใหญ่ที่อยู่ไกลออกไป สามารถแยกแยะออกมาอย่างง่ายดาย รายละเอียดแบบนี้ ทำเอาผมคิดถึง Constellation ของผมขึ้นมาตะหงิดๆ ผมเชื่อว่าE-650 ถ้าแม็ตชิ่งกับลำโพงคุณภาพสูงที่ไม่ต้องการกำลังขับกันแบบบ้าคลั่งแล้วละก็ ผมว่ามันก็สุดนะ

ส่วนแทร็ก Mother การจัดช่องไฟเสียงกีตาร์โปร่งและนักร้องประสานเสียงและนักร้องนำได้สวยงาม ฟังไพเราะและได้อารมณ์ร่วมดีมาก เสียงออร์แกนที่ค่อยๆ แซมขึ้นมาให้ความเศร้าตามมาด้วยเบสขึ้นมาหนุนเพิ่มน้ำหนัก แล้วพีคด้วยโซโล่กีตาร์ที่แผดและกรีดอารมณ์ นี่สิ ฟังเครื่องไฮเอ็นด์ต้องได้ฟีลลิ่งความสวยงามของดนตรีและการเรียบเรียงให้ได้แบบนี้ เพลง Goodbye Blue Sky เริ่มจากความสวยงามของเสียงนกร้อง เห็นภาพแดดส่องสว่างปลอดโปร่ง ความงามของท้องฟ้าสีคราม และค่อยๆ หม่นลงด้วยเอฟเฟ็กต์ของกีตาร์ที่ซ่อนอยู่ลึกๆ อันเป็นสัญลักษณ์ของความน่าสะพรึงในทำนองเมฆหมอกแห่งการทำลายล้างกำลังมาเยือน ตามมาด้วยการมาร์ชของกองกำลังที่ใช้เครื่องเคาะ ตามมาด้วยขีปนาวุธเช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด เบส และเสียงร้องอันน่ากลัวของนักร้องนำ ผมพูดตรงๆ ว่าไม่เคยคาดหวังกับอินทิเกรตแอมป์ไว้สูงขนาดนี้มาก่อน ผมคิดว่าE-650 ปลดเปลื้อง “ตัวตน” ที่เป็นสไตล์ของแอมป์คลาสเอในอดีตไปสู่สิ่งที่ “ดีกว่า” โดยเฉพาะความ “เที่ยงตรง” ในการนำเสนอ การ Please หูจึงมิใช่สไตล์ของเจ้าE-650 นอกเสียจากว่าซิสเต็มที่เชื่อมต่อมันต้อง Please หู มันจึงจะ Please หู นั่นคือ มันไม่ปรุงแต่งด้วยผงชูรสให้อร่อยครับ ถ้าจะอร่อยก็ต้องเริ่มตั้งแต่วัตถุดิบและกรรมวิธีครับ มันจึงมิใช่ข้อตำหนิที่ผมมองเจ้าE-650 ที่ใครบางคนเขาบอกว่ามันเสียจุดยืนของเสียงกลางทรงเสน่ห์แบบดั้งเดิมไปแล้ว เอาหละ หลังจาก 2 แผ่น 4 หน้าของอัลบั้ม The Wall จบไป ผมก็ต่อด้วย Sheffield Lab25 ที่อัดมาไดนามิกส์ดีมาก และ E-650 ก็ไม่ทำให้ผิดหวังเลย ฟังมันมาก โดยเฉพาะ Dock of the bay และในขณะเดียวกันเสียงร้องของ Amanda ก็ให้ความร่าเริงปราดเปรียวมากกว่าแอมป์คลาสเอยุคเก่าอย่างชัดเจน มีชีวิตชีวาดีครับ

แล้วก็ถึงคราวเซ็ตอัพโดยเล่น E-650 กันแบบอินทิเกรตแอมป์สักที เนื่องจากความสะดวกในการเชื่อมต่อ ผมเลือกที่จะย้ายเจ้าAyre C5XE Mp ออกจากชั้นวาง TAOC ไปวางด้วยชั้นวาง Symposium Ultra เชื่อมต่อบาลานซ์ตรงไปที่ E-650 เพื่อบรรลุฟีเจอร์หลักๆ ของมันสักที เล่นกลับด้วย SACD Format ครับ หากจะต้องย้ายเทิร์นเทเบิ้ลกับเครื่องเครารวมเซ็ตอัพกันใหม่ เห็นทีจะไม่ไหว

เริ่มจาก Linn SACD Volume 5 แทร็กแรก Barb Jungr (SARA) เริ่มแทร็กแค่นั้นแหละคุณเอ๋ย ความเกลี้ยงเกลาสะอาด สงัด ถูกต่อยอดขึ้นมาแบบก้าวกระโดด คือ นอกเหนือไปจากที่คุณจะใช้ปรีของ Accuphase เองนั่นแหละ ขอเป็นรุ่นใหญ่ด้วยนะ เจ้าE-650 ที่มากับภาคปรีและวอลลุ่ม AAVA นี่ ทำเอาผมแทบคลั่ง!!!! ความหวานถูกแต่งแต้มเข้าไปแต่เป็นความหวานที่แตกต่าง คือ มันไม่ไปทางฉ่ำหรืออิ่มอุ่น มันไปทางกลมกลืน กลมกล่อมและติดปลายลิ้นมากกว่าแน่นอน คราวนี้แบ็กกราวด์ที่บอกว่าเป็นป่าช้าคราวนี้เป็นป่าช้าหลังเที่ยงคืนครับ ยิ่งสงัดและดำมืดเข้าไปอีก ไดนามิกส์ของเสียงกีตาร์คลาสสิกในแทร็กที่ 2 โดย William Carter ทำให้ผมลืมไปเลยว่านี่เป็นเสียงจากอินทิเกรตแอมป์หรือเครื่องเสียง! Timbre ที่ผมว่ามันไม่ยังไม่ถึงจุดที่ผมพอใจ คราวนี้หมดข้อกังขามันเป็น Timbre ที่ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น ไม่ต้องเน้นสเกลที่ใหญ่โตจนผิดสัดส่วน มันต้องให้ความ “พอดี” จนทำให้เราดื่มด่ำไปกับดนตรีได้ราวกับมันกำลังเกิดดนตรีสดขึ้นตรงหน้าเมื่อถึงจุดนี้ ผมพบว่าแอมป์คลาสเอจาก E-650 เป็นแอมป์ “ของจริง” สำหรับใครที่ชอบ “ของจริง” แทร็กที่ 4 Fiona Mackenzie เพลง When The Sunny Sky Has Gone คุณเอ๋ย ยากที่บรรยายจริงๆ เมื่อคุณกำลังฟัง SACD ต่อบาลานซ์มาเข้าอินทิเกรตแอมป์คลาสเอไปจบที่ลำโพงฟูลเรนจ์ มันให้การเข้าถึงนักดนตรีที่เรียบง่ายและหมดจดยิ่ง เป็นปลื้มครับ เสียงกีตาร์คลาสสิกและเสียงโหนของเจ้าหล่อนช่างเหมือนมนุษย์ซะจริงๆ ผมต้องขอชมว่าค่าย Linn Records เขาบันทึกได้แน่จริง เป็นธรรมชาติมาก ปลอดไมโครโฟนโดยสิ้นเชิง การก้องสะท้อนที่ได้ยินนั่น มันราวกับเกิดขึ้นในห้องของผมมากกว่าการก้องสะท้อนในห้องอัดซะด้วยซ้ำ

ขอจบกับ Linn SACD Volume 4 แทร็กแรก Pray it never happens โดย Maeve O’Boyle เสียงแหบเสน่ห์ช่างมีพลังและกินใจจริงๆ การเกากีตาร์ให้ความรู้สึกการจรดนิ้วลงบนสายที่สั่นไหวตามแรงดีด เสียงลมจากการโหนเสียงผ่านลำคอและไรฟัน ยิ่งทำให้การฟังมันช่างให้อรรถรสดื่มด่ำยิ่ง แทร็กที่ 14 Beethoven Piano Concerto No.4 เมื่อเล่นผ่าน E-650 ก็ไม่ทำให้การดวลระหว่างเปียโนที่มีลีลาท่วงท่าที่ล้ำลึก และการโหมโรงของวงออร์เคสตร้าที่ดุดันและเกรียงไกร ให้ขาดมิติที่เปรียบต่างไปได้เลย รูปวงก็ให้ความโอ่โถงและใสสะอาดมากในการชี้ชัด ไม่ว่าต้องการจะเล็งไปที่ไหนก็สามารถดึงรายละเอียดขึ้นมาได้ ด้วยระยะเวลาในการฟังเท่ากัน ผมสามารถที่จะซึมซับ “ลำนำ” ของดนตรีได้เต็มอิ่มไม่แพ้ซิสเต็มใหญ่เลยครับ อ่อ บนเงื่อนไขที่แม็ตชิ่งนะครับ

สรุป

ถ้าจะบอกว่านี่เป็นอินทิเกรตที่นาย WJ รอคอย ก็คงจะไม่ผิดนัก ผมมองหาความเรียบง่ายของเครื่องเสียง ที่มีความงดงามทั้งรูปและเสียง ที่สำคัญ… ต้องเป็นเครื่องมือ ที่จะทำให้ผมเข้าถึง “บทประพันธ์และเพอร์ฟอร์มานซ์ของ คีตกวีและนักดนตรี” ได้ไม่แพ้ชุดใหญ่ เน้นอีกครั้งว่าเงื่อนไขที่เหมาะสมทั้งประเภทของเพลง ซิสเต็มเชน รวม ไปถึงลำโพงด้วย นี่เป็น Accuphase Class A รุ่นใหม่ที่ เน้นความเที่ยงตรง และยิ่งไปกว่านั้น มันไม่ประนีประนอม กับการเล่นกลับ ดังนั้น อย่าเห็นว่ามันเป็นแค่อินทิเกรต แอมป์ หรือมันก็ให้เสียงแบบ Accuphase เดิมๆ ผมว่ามัน เป็นเสียงแบบ Worldclass แล้วครับ อีกอย่างหนึ่ง ผมคง ไม่เทียบเสียงกลางกับ Pass Aleph 2 แล้ว เพราะมันไป คนละแนวเลย ฟีเจอร์ที่ให้มาโดยเฉพาะการอินเวิร์ตเฟส ได้ทั้งเมนอินหรือบาลานซ์อิน ทำให้ใช้งานได้สะดวกมาก ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำ

1. ผมมองไม่เห็นประโยชน์มากนัก ถ้าจะใช้ E-650 เป็นแอมป์ โดยใช้ปรีอื่นมาเล่น โอเค ภาคแอมป์ของมันให้ คุณภาพที่สูง แต่ผมกำลังพูดถึงมันในแง่ของการให้คุณภาพ ที่แท้จริงแบบ “ติดปีก” เมื่อคุณเชื่อมต่อซอร์สแบบ บาลานซ์ดีๆ เข้าไปหาE-650 ตามด้วยลำโพงดีๆ ซักตัว ไม่กินกำลังขับมาก เอาความไวสัก 88-92dB ก็จะดีงาม ส่วนอิมพีแดนซ์จะ 4 หรือ 8 โอห์ม ผมว่าเอาอยู่ครับ โดยเฉพาะที่สวิงไม่มากก็จะยิ่งทำให้ E-650 แผลงฤทธิ์ได้ มากเท่านั้น

2. จุดเด่นที่สุดของ E-650 คือ การให้รายละเอียดหรือ Resolution ครับ ความใสที่ดีงามพระราม 8 และ Timbre ที่สมจริงมากในสไตล์เพลงที่เขาถนัด แน่นอน มันอาจจะ ไม่ใช่แอมป์คลาสเอแบบ Accuphase รุ่นก่อนๆ แต่นั่นก็ ไม่สำคัญเท่ากับ “ความจริง” ที่มันนำเสนอจะกลายเป็น เสน่ห์ที่ผูกมัดคุณได้ไม่ยากเช่นกัน

3. คุณแค่ลงทุนสายไฟดีๆ สองเส้นให้กับซอร์สและ E-650 สายสัญญาณบาลานซ์ดีๆ กับสายลำโพงดีๆ ผมว่าแค่นี้ เล่นกับห้องฟังไม่เกิน 30 ตร.ม. กับเพลงแจ๊ส Vocal หรือเพลงคลาสสิกเน้นลีลาที่ไม่ต้องการความกระแทก กระทั้นในแบบที่ทรมาณลำโพงเหลือประมาณอย่าง 1812 Overture หรือกระหายเบสแบบแรปเปอร์ประเทศกูมี ผมคิดว่าE-650 น่าจะจบได้ครับ

4. สำหรับตัวผมก็แค่ดีลกับการแปรงบประมาณเอาAccuphase E-650 เข้าประจำการในซิสเต็มครับ แหม่ ก็มันดีซะขนาดนี้จะรอช้าอยู่ไย ไม่พูดมาก เจ็บคอ แนะนำ เป็นอย่างยิ่ง. ADP

นิตยสารAudiophile Videophile ฉบับที่ 261