ปฤษณ

นักเขียน : ปฤษณ กัญจา  :

เมื่อเอ่ยถึงเครื่องกรองไฟเห็นทีว่าคงไม่ต้องอธิบายให้มากความ เพราะเชื่อแน่ว่าคุณผู้อ่านคงรู้จักกันดี และคงมีโอกาสได้ใช้กันมาพอสมควร อีกทั้งโดยส่วนตัวของผมนั้นก็มีโอกาสได้ใช้เครื่องกรองไฟที่เป็นแบบ step down isolation transformer ก็นับว่าสร้างความพอใจให้ได้ระดับหนึ่งเลยทีเดียว แต่ต่อมาก็ขายไป เนื่องจากว่าไม่ได้ใช้เครื่องเสียงที่ใช้ไฟ 100 โวลต์อีก

 สำหรับเครื่องกรองไฟของยี่ห้อ Audience Adept Re­sponse รุ่น AR6-TSSOX ที่ได้มาทดลองใช้งานครั้งนี้มีความแตกต่างจากแบบ isolation transformer ที่ผมเคยใช้อยู่ เรียกว่าเป็นการทำงานคนละระบบกัน ส่วนจะมีข้อดีอย่างไรนั้น เราจะมาดูกันอีกที แต่ก่อนอื่นอยากย้อนไปที่ยี่ห้อ Audience ก่อน เพราะเชื่อแน่ว่านักเล่นเครื่องเสียงบ้านเราคงคุ้นเคยกับยี่ห้อนี้เป็นอย่างดี เนื่องจากที่ผ่านมามีการทำตลาดโดยผู้นำเข้าหลายๆ บริษัท และปัจจุบันเป็นการนำเข้าโดยบริษัท Audio Force จำกัด ครับ และเพื่อให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนในแนวคิดและการออกแบบผลิตภัณฑ์ของ Audience ผมจึงขอนำบางส่วนของบทสัมภาษณ์ Mr. John Mcdonald President/Ceo

ของ Audience Audio ที่ตีพิมพ์ในฉบับเดือนกันยายน 2560 ในส่วนที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องกรองไฟมานำเสนออีกครั้ง

ADEPT RESPONSE CONDITIONER มิเพียงเพื่อป้องกัน แต่ยังทำหน้ที่กำจัดน้อยส์ จึงได้ควมสงัด นอกจกนั้นยังเพิ่มพลัง และท้ยที่สุดคือให้ควมมเป็นดนตรีกับเครื่องเสียงของคุณ แต่ที่ผ่นมPower Conditioner ถูกมองว่เป็นผู้ร้ยมาตลอด มันเป็นแบบนั้นจริงๆ

Mr. John Mcdonald President/CEO

RF noise คือตัวที่ Power Conditioner ต้องจัดการกับมัน โดยเรมิได้ทำให้คุณภพเสียงเสียไปเหมือนเช่นคนอื่นเขทำ พวกเขกำจัด RF ในขณะที่ดันไปจำกัดไดนมิกส์ไปด้วย (Suppress Dynamic) ตรงนี้เลยทำให้ Power Conditioner กลยเป็นผู้ร้ยในสยตของออดิโอไฟล์ ซึ่ง Audience – Adept Response Conditioner เป็นแบรนด์เดียวที่ทำได้ มันมี key point ที่ต่งจกแบรนด์อื่นดังนี้คือ… Limiting Dynamic Flow เรจะไม่ไปกด Dynamic รู้ไหมพวกเขล้วนใช้ Isolate Trans­ former เพื่อตัดน้อยส์จกภยนอก ซึ่งดูเหมือนดี แต่รู้ไหมว่Transformer คือตัวต้นทนตัวเบิ้มที่กั้น Dynamic แต่สำหรับ Audience เรใช้ Low Impedance Filter แทนที่จะใช้ Transformer ไง ตรงนี้ชัดเจน อีกข้อก็คือ พวกเขมักใช้ Electro­magnetic Circuit Breaker ซึ่งมันกินกระแสไฟมก และทำให้ได้ผลตรงกันข้มในแง่ของ Dynamic สำหรับเรตั้งแต่รุ่นแรกในปี 2005 เรไม่เคยใช้มันเลย เรใช้ Magnetic Breaker เป็นบริษัทแรกที่คำนึงถึงปัญหนี้ จน Shunyata เองก็เปลี่ยนมใช้แบบเดียวกับเรในภยหลัง นี่เป็นแค่ตัวอย่งที่ Power Conditioner ถูกมองว่เป็นผู้ร้ยมตลอด ก็เพระใส่ไปแล้วดนตรีมันไม่มีชีวิต Audience – Adept Response Conditioner ที่มพร้อมกับสPower Cord ถ้คุณวัด DC Resistance ตั้งแต่ปลั๊กไฟเข้เครื่อง ผ่นสย ผ่นตัวเครื่อง ไปจนออกที่ Receptacle จะได้ค่เพียง 40 มิลลิโอห์มเท่นั้น มันน้อยมกจนแทบไม่มีควมต้นทน ซึ่งก็แทบจะเหมือนกับเสียบปลั๊กกับผนังตรงๆ โดยไม่ได้ผ่นเครื่องกรองไฟใดๆ เลย มิได้ทำกันง่ยๆ นั่นเพระควมใส่ใจในกรออกแบบตั้งแต่แรกในทุกรยละเอียด นั่นคือเรื่องของ Dynamic ซึ่งจริงๆ แล้วจะทำให้ดนตรีสดขึ้น ซึ่งมีผลจกกรที่เรใช้คซิเตอร์ ส่งผลให้ Power Factor ดีขึ้น อย่งที่ทรบดีในเชิงวิศวกรรมว่รสูญเสียยิ่งน้อยก็ยิ่งทำให้ Dynamic ดีขึ้นไปด้วย ในควมเป็นจริง แอมป์เองก็มีคซิเตอร์ของตัวมันที่จะช่วยอยู่แล้ว แต่เรมีส่วนช่วยให้มันไม่ลดทอนลง ดังนั้นก็จะได้ Dynamic เต็มๆ เหมือนกับใส่ High Octane Gasoline ในรถสปอร์ตที่เครื่องแรงอยู่แล้ว และแน่นอนว่จะรู้ว่ดีขึ้นอย่งไร

อีกเรื่องเป็นเรื่อง Coloration ซึ่ง Conditioner มักต้องติดตั้ง Surge Suppressor ซึ่งล้วนใช้ MOV (Metal Oxide Varistor) มีสองปัญหคือ ถ้มันทำงนไปแล้วจะกลับมใช้ใหม่ได้อีก ตรงนั้นก็ยังไม่ใช่ปัญหปัญหใหญ่อยู่ที่ทำให้เสียง Coloration มก สำหรับเรจะเหมือนไม่มี แต่มันทำงนคล้ยหัวเทียนจุดระเบิด สั่งเบรกเกอร์ทริปได้รวดเร็วและหลยครั้ง โดยไม่มีปัญหเลย ข้อสำคัญมันเหมือนไม่มีตัวตน จนกว่เกิดเหตุขัดข้องถึงทำงน จึงจะรู้ว่มีมันอยู่ และมันจะไม่มีการเจือสีในดนตรีให้คุณได้ยินเลย

เต้รับทุกตัวแยกอิสระจกกัน ไม่ใช่ Duplex นะครับ แต่ละตัวติดตั้ง Filter สองชั้นระหว่งกัน เพระเรเชื่อว่มันอจกวนกัน ซึ่งไม่มีใครทำหรอก คุณสรถเสียบเครื่องทุกเครื่อง เรใช้ขั้วต่อสำหรับ Military Spec ที่ทำให้จับยึดแน่น และมี Impedance ต่ำ ซึ่งมพร้อมสยนี้เลย

ถ้าดูจากบทสัมภาษณ์จะเห็นว่าทาง Audience เองก็เข้าใจในปัญหาของเครื่องกรองไฟ ในกรณีที่ออกแบบมาไม่ดีจะทำให้เสียงมีอาการอั้น ไดนามิกหายไปหมด เพราะฉะนั้น เขาจึงหาทางป้องกันปัญหาในจุดนี้ ขณะเดียวกันก็ทำให้ไฟที่ผ่านเข้าไปแล้วออกมาปลอดจากสัญญาณรบกวน และนั่นจึงไปส่งผลดีต่อคุณภาพเสียงอีกที

อย่างไรก็ตาม การสรุปผลการทำงานของเครื่องกรองไฟว่าจะดีหรือไม่นั้น ทำได้อย่างเดียวก็คือ ฟังด้วยหูของเรานี่แหละครับ ต่อไปเราจะมาดูรายละเอียดของ AR6-TSSOX ว่ามีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง

คุณสมบัติทั่วไป

AR6-TSSOX เป็นเครื่องกรองไฟในกลุ่ม AR6 ของ Audience ที่มีอยู่ด้วยกัน 3 รุ่น คือ AR6, AR6-TS และ AR6-TSSOX (ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ Audience) จุดที่แตกต่างกันของทั้ง 3 รุ่นนี้ คือพวกอุปกรณ์ที่ใช้ โดย AR6-TSSOX เป็นรุ่นสูงสุดในกลุ่ม และมีการใช้อุปกรณ์ที่ดีกว่าเช่น ใช้ Aura-TO Teflon Capacitors, Au24 SX OCC Internal Power Wiring, Aud-X Rhodium Plated Copper Outlets ส่วนจุดอื่นๆ ก็จะคล้ายกับอีกสองรุ่น แต่ก็นับว่ามีมาตรฐานที่สูงทีเดียว อาทิ ใช้ Magnetic Circuit Breaker, แต่ละเต้าเสียบมีฟิลเตอร์เฉพาะตัว และมีการเบิ้ลฟิลเตอร์เพิ่มระหว่างเต้าเสียบแต่ละตัวอีกด้วย ในส่วนของสายไฟที่เป็นมาตรฐานของ AR6-TSSOX เป็นสายไฟรุ่น PowerChord SE-i ขนาด 10AWG ยาว 6 ฟุต ขั้วต่อด้านที่ต่อกับเครื่องเป็น Neutrik PowerCon® ส่วนปลั๊กสามขาเป็นของ Cardas ในกรณีที่ใครต้องการอัพเกรดคุณภาพของสายไฟก็สามารถเลือกออปชั่นเป็นสายไฟรุ่น Au24 SE PowerChord และ Au24 SX PowerChord ได้ตามงบประมาณครับ สำหรับเครื่องที่ได้มาเป็น 15AMP รองรับกำลังไฟต่อเนื่องได้ 1800 วัตต์ และในช่วงพีคสั้นๆ สามารถรองรับขึ้นไปได้ถึงสองเท่า

เครื่องกรองไฟ AUDIENCE มีหลายรุ่นให้เลือกตามความเหมาะสมในการใช้งาน

นอกจากนั้นอย่างที่ Mr. John Mcdonald บอกไว้ ระบบการทำงานของเครื่องกรองไฟ Audience ใช้คาปาซิเตอร์ทำหน้าที่เป็นฟิลเตอร์ เพราะฉะนั้น ถ้าดูจากรูปภายในเครื่องก็จะเห็นคาปาซิเตอร์ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของการทำงานใช้ของ Audience เองครับ

ตัวเครื่องของ AR6-TSSOX ที่ได้มาทดสอบมีสีดำ และก็มีสีเงินให้เลือก ขนาดตัวเครื่องกว้าง 10.5 นิ้ว สูง 4.75 นิ้ว และลึก 8.25 นิ้ว ตัวเครื่องเป็นอะลูมิเนียมขัดผิวเรียบ งานผลิตดี เต้ารับมี 6 รู เป็นเต้ารับแบบ Aud-X Rhodium/Copper สรุปโดยรวม AR6-TSSOX ทำหน้าที่ทั้งป้องกันเครื่อง และปรับปรุงไฟที่เข้ามาให้มีความสะอาด ซึ่งเป็นภารกิจหลักของเครื่องกรองไฟ ในด้านการออกแบบตัวเครื่องและการคัดสรรอุปกรณ์ที่นำมาใช้ก็ต้องบอกว่ามันเป็นของระดับไฮเอ็นด์แน่นอน

การใช้งาน

ในคู่มือของ AR6-TSSOX บอกคุณสมบัติของเครื่องไว้ ซึ่งผมได้บอกคร่าวๆ ไปในหัวที่แล้ว ที่เหลือก็เป็นการระบุตำแหน่งที่ควรเสียบอุปกรณ์เครื่องเสียง ซึ่งเขาออกแบบมาให้แล้ว ว่ากันตั้งแต่… เต้ารับคู่แรกที่ใกล้ทางเข้าของไฟมากที่สุดให้เสียบพวกแอมป์ เต้ารับคู่กลางให้ใช้กับปรีแอมป์, อิควอไลเซอร์, แอ็กทีฟครอสโอเวอร์ และเครื่องเล่นเทปคาสเซ็ตต์ ส่วนเต้ารับที่อยู่ไกลสุดให้เสียบพวกแหล่งโปรแกรมต้นทางที่เป็นดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่นซีดี, ดีวีดี หรือบลูเรย์, D/A Conveter, A/D Converter หรือ Media Server ถ้าดูจากคำแนะนำนี้ กรณีที่จะนำเครื่องเล่นแผ่นเสียงมาต่อใช้งานด้วย ก็น่าจะต้องเสียบเต้ารับคู่กลาง ไม่ใช่เต้ารับที่เสียบพวกเครื่องเล่นดิจิทัลครับ

ในการทดลองใช้งาน ครั้งแรกผมต่อชุดเครื่องเสียงโดยเสียบสายไฟที่เต้ารับผนังทั้งเครื่องเล่นซีดีและอินทิเกรตแอมป์ ฟังเพื่อดูว่าคุณภาพเสียงในครั้งแรกเป็นเช่นไร จากนั้นจึงย้ายอุปกรณ์มาต่อใช้งานกับ AR6-TSSOX แล้วดูผลที่เปลี่ยนแปลงครับ ก็อย่างที่บอกครับ คุณภาพของเครื่อง-กรองไฟจะดีหรือไม่ ต้องฟังเอาอย่างเดียวครับ

คุณภาพเสียง

อันดับแรกที่ผมโฟกัสในการใช้งานครั้งนี้ก็คือ เสียงต้องไม่อั้น ไดนามิกต้องมาครบ เพราะถ้าไม่ผ่านเรื่องนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาฟังครับ ดังนั้น ผมจึงเปิดฉากด้วยงานยากก่อน นั่นคือ ดนตรีคลาสสิกในรูปแบบ Quintets for Solo Violoncello and String Quartet ผลงานการประพันธ์ของ Anton (Antonín, Antoine) Reicha (Rejcha) (26 February 1770 – 28 May 1836) นักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกที่เกิดในประเทศสาธารณรัฐเชก แต่ภายหลังได้เปลี่ยนสัญชาติเป็นฝรั่งเศส งานดนตรีคลาสสิกของนักประพันธ์ท่านนี้ เราไม่ค่อยได้ยินบ่อยนัก เพราะถ้าไม่ใช่คอดนตรีคลาสสิกจริงๆ ก็จะไม่รู้จัก (ผมก็เพิ่งรู้จักครับ บังเอิญว่าแผ่นซีดีอยู่) แต่จริงๆ แล้ว Anton Reicha เป็นเพื่อนกับ Beethoven ทั้งยังเป็นอาจารย์ของ Franz Liszt, Hector Berlioz และ César Franck ซึ่งถ้าได้ทราบแบบนี้ก็คงหายข้องใจในความสามารถของท่าน อัลบั้มนี้ประกอบด้วยงานประพันธ์ 3 ชิ้น คือ “Quintet No.3 in E major” “Quintet No.2 in F major” และ “Quintet No.1 in A major” บรรเลงโดยนักเชลโลที่เป็นโซโลอิสต์หนึ่งคน ร่วมกับวง String Quartet ที่ประกอบด้วยนักไวโอลิน 2 คน นักวิโอลา 1 คน และนักเชลโล 1 คน

เหตุผลหลักๆ ที่ผมนำอัลบั้มนี้มาเปิดทดสอบก็เพื่อพิสูจน์ดูว่าเมื่อนำอินทิเกรตแอมป์ Myriad รุ่น MI120 และเครื่องเล่นซีดี ยี่ห้อ Original ที่ใช้ภาค DAC แบบ 20-bit ต่อใช้งานเข้ากับ AR6-TSSOX เสียงจะอั้นหรือไม่ เพราะว่าเสียงเครื่องดนตรีทั้งหมดที่เป็นเครื่องสาย โดยเฉพาะมีเชลโลถึง 2 คัน ถ้าซิสเต็มไม่แน่จริง เปิดมาได้ 5 วินาที ก็ปิดได้เลยครับ

อุปกรณ์ภายในใช้คาปาซิสเตอร์
เกรดไฮเอนด์ ของ AUDIANCE

ตอนแรกที่ต่อสายไฟของเครื่องตรงเข้ากับเต้ารับไฟที่ผนัง เสียงที่ได้ยินก็พอฟังได้ แต่มันไม่รู้สึกถึงความพิเศษของบทประพันธ์และฝีมือของนักดนตรี เสียงของเครื่องดนตรีก็ไม่ไพเราะ เป็นเส้นๆ บางๆ ขาดมวล เอาเป็นว่าไม่ค่อยน่าฟังเท่าไหร่ ถึงจะพอกล้อมแกล้มฟังได้ก็ตาม แต่หลังจากที่ต่อผ่าน AR6-TSSOX แล้ว เหมือนหนังคนละม้วนเลยครับ ข้อติติงต่างๆ เบื้องต้นหายไปหมด วงดนตรีคลาสสิก 5 ชิ้น ปรากฏโดดเด่นอยู่ตรงหน้าพื้นเสียงเงียบสนิท ไม่มีแบ็กกราวด์น้อยส์มารบกวนเลย เนื้อของเสียงเครื่องสายให้ความรู้สึกว่ามีมวลให้จับต้องได้ เสียงเชลโลที่ถ่ายทอดออกมายาก น้อยมากที่จะฟังดี คราวนี้กลับฟังได้เพลิน ไม่มีจุดสะดุดใจให้เกิดความคิดว่าไม่น่าฟัง นี่ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องความคมชัดของเสียงเครื่องดนตรี ตำแหน่งในเวทีเสียงที่มีตัวตน หรือในด้านของการบรรเลงที่สอดรับหรือประชันกัน เหล่านี้ล้วนมีให้ได้ยินอย่างครบถ้วน ที่ผ่านๆ มาผมรู้สึกเสียดายทุกครั้งที่หยิบแผ่นซีดีดนตรีคลาสสิกมาเปิดฟัง เพราะพอเปิดก็ต้องปิด เนื่องจากซิสเต็มไม่สามารถถ่ายทอดความไพเราะของดนตรีออกมาได้ แต่คราวนี้ AR6-TSSOX ทำให้ผมเลือกที่จะหยิบอัลบั้มที่มีอยู่ แต่ไม่เคยนำมาเปิดฟัง แล้วหลังจากได้ฟังก็พบว่ามันช่างศิวิไลซ์จริงๆ

Magnetic Circuit Breaker ไม่มีผลเสียต่อคุณภาพเสียง

ต่อมาผมตั้งใจจะคอนเฟิร์มคุณภาพของ AR6-TSSOX ด้วยอัลบั้ม “Live At Blue Alley” ของ Eva Cassidy งานชุดนี้เป็นการบันทึกการแสดงสด ดังนั้น สิ่งที่คาดหวังว่าจะได้ยินก็คือ ความสด และ ความมีชีวิตชีวาของการโชว์ ซึ่งผมก็ไม่ผิดหวังจริงๆ ในแทร็กที่ 5 People Get Ready ไดนามิกของ kick Drum มาเต็มๆ เป็นมวลที่อิ่มใหญ่ แต่ไม่บาน และเสียงทั้งหมดโอ่อ่ามาก เป็นอีกครั้งหนึ่งที่รู้สึกสะใจกับการฟังอัลบั้มนี้ เสียงร้องของ Eva Cassidy เปิดออกเต็มที่ ไม่มีอั้น คือร้องแบบเต็มเสียงจริงๆ ซิสเต็มไม่ถึง เสียงร้องจะเล็ก อั้นๆ ฟังไม่สนุก เสียง kick drum กับเบสไฟฟ้าที่ขี่ๆ กันอยู่ก็ไม่ซ้อนทับเป็นเนื้อเดียว แต่สามารถแยกความแตกต่างได้ แบบนี้เรียกว่าการถ่ายทอดรายละเอียดก็ทำได้ดีเยี่ยม ความสนุก ความสด ที่ได้ยินจากอัลบั้มนี้แล้วก็นึกเสียดายที่ Eva Cassidy เธอจากลาโลกเร็วเกินไป ถ้าเธอยังอยู่ เราคงได้ฟังงานเพลงดีๆ จากเธออีกมากทีเดียว

หลังจากคอนเฟิร์มว่าAR6-TSSOX สอบผ่านในทุกคุณสมบัติ โดยวัดจากคุณภาพเสียงที่ได้ยินแล้ว เวลาที่เหลือก็เป็นการฟังเพลงเพลินๆ จำเริญใจ ด้วยอัลบั้ม “ชีวิต… กับความรัก” ของ คุณศรีไศล สุชาตวุฒิ เลือกเพลง “ไร้จันทร์” และ “ปิ่นทอง” ที่มีคำร้องและทำนองที่ไพเราะ คุณภาพเสียงที่ได้ยินก็เป็นดังคาดครับ เสียงของพี่ตุ้มมีความอิ่ม ทอดลงลึก มีสเกลที่เหมาะสม ไม่ใหญ่จนเกินไปและไม่ถูกบีบจนเล็ก บรรยากาศของเสียงที่บันทึกในสตูดิโอขนาดใหญ่ถูกเก็บมาถ่ายทอดกลมกลืนไปกับเสียงของพี่ตุ้มอย่างลงตัว ฟังอัลบั้มนี้แล้ว นึกถึงตอนวันที่บันทึกเสียงที่ผมคอยอยู่โยงด้วยตลอด ซึ่งเสียงที่ได้ยินจากการ re-produced ครั้งนี้ กับวันที่บันทึกเสียงจริง มีความเหมือนกันคือความไพเราะและความเป็นดนตรี ที่สามารถจำลองมาได้โดยไม่รู้สึกว่ามีอะไรจะขาดหายไป

สรุป

บอกกันตรงๆ ครับ ว่าต่อไปนี้ ผมคงทำงานยากขึ้น เพราะ Audience Adept Response AR6-TSSOX ได้สร้างบรรทัดฐานให้สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ทำให้ผมเข้าถึงคุณภาพเสียงที่แท้จริง ของชุดเครื่องเสียง และผมคงไม่มีวันกลับไปฟังแบบเดิมๆ ได้อีก… ลำบากใจจริงๆ ครับ

ถ้ามีงบประมาณพอ AR6-TSSOX คือเครื่องกรองไฟที่ต้องมีให้ได้ครับ. ADP

นิตยสารAudiophile Videophile ฉบับที่ 248