ปฤษณ

นักเขียน : ปฤษณ กัญจา

ภาค DAC ออกแบบโดย Rob Watts ถือเป็นหนึ่งในวงการ เพราะเป็นการเขียนโค้ดขึ้นมาเอง ไม่ได้ใช้ Chip DAC ส􀄞ำเร็จรูปทั่วไป เหมือนเจ้าอื่นๆ

 ในบรรดาแบรนด์เครื่องเสียงที่ผมชื่นชอบเป็นการส่วนตัว CHORD ELECTRONICS คือหนึ่งในนั้น ความชอบนี้เริ่มต้นมาจากการได้ทดลองใช้งาน HUGO รุ่นแรกสุด จากนั้นก็ตามมาด้วย DAC รุ่น 2QUTE โดยเหตุผลหลักของความชอบมาจาก… 1. คุณภาพเสียง 2. เทคโนโลยีที่ให้มาแบบไม่หวง 3. ตัวเครื่องที่ผลิตมาดีมาก 4. ไฟสีๆ ที่แสดงสถานะการทำงาน ซึ่งทั้งสี่ข้อนี้เป็นเสน่ห์ของ CHORD ที่สามารถครองใจผม โดยส่วนตัว ผมคิดว่าเครื่องเสียงต้องมีเสน่ห์ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง เพราะถ้าเครื่องเสียงไม่มีเสน่ห์ มันก็เป็นแค่ก้อนโลหะดีๆ นี่เองครับ

ส ำหรับ CHORD HUGO TT2 นั้น เปี่ยมด้วยเสน่ห์อย่างยิ่ง มีการออกแบบรูปลักษณ์ในสไตล์ Minimalist ที่แม้เวลาผ่านไปแค่ไหนก็ยังดูดีเสมอ นอกจากนั้น ตัวเครื่องก็หรูดูดีมาก ทำจากอะลูมิเนียม ที่ผลิตอย่างประณีตพิถีพิถัน และที่มีเสน่ห์มากๆ ก็คือ หน้าต่างอะคริลิกใสที่มองทะลุเข้าไปเห็น แผงวงจรด้ านใน รวมถึ งปุ่มปรั บวอลลุ่มที่ เปลี่ ยนสี ได้ เห็ นแล้ วรั กเลยครั บการออกแบบสไตล์ นี้ มีแต่ CHORD เท่านั้นที่ทำ

MY CHOICE!

วันนี้ ถ้าผมจะต้องซื้อเฮดโฟนแอมป์เพื่อใช้ไปตลอดกาล CHORD HUGO TT2 คือตัวเลือกเดียว ของผม ถามเหตุ ผลก็ คงย้ อนไปที่ 4 ข้ อข้ างต้ นเดี๋ ยวนี้ เขี ยนอะไรยาวๆ ไม่ ค่ อยเป็ น555

แต่ก่อนเข้าสู่เรื่องหลักที่จะเล่าสู่กันฟังครั้งนี้ ขออธิบายคุณสมบัติแบบเข้าใจง่ายๆ ว่าCHORD HUGO TT2 เป็นเครื่องเสียงที่มีโหมดการทำงานหลักๆ 3 ประการ (ตามคู่มือ) คือ…

1. Headphone mode

ซึ่งเป็นโหมดหลักที่ผมจะลองใช้งานครั้งนี้ HUGO TT2 มีช่องเสียบ แจ็คเฮดโฟนให้ 3 ช่อง เป็นช่องแบบ 6.5mm จำนวน 2 ช่อง และ 3.5mm จำนวน 1 ช่อง ในการ ใช้งานภาคเฮดโฟนของ HUGO TT2 มีฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องอยู่ 2-3 อย่าง เรื่องแรกคือ GAIN ซึ่ง HUGO TT2 สามารถเซ็ตได้ 2 แบบ คือ LO G (low gain) และ HI G (high gain) เมื่อเซ็ตไปที่ LO G ระดับ ความดังจะลดลงไป -9dB ซึ่งการปรับ Gain นี้จะท ำงานเฉพาะเมื่ออยู่ในโหมด Amplification กับ Headphone เท่านั้น เพราะถ้าเลือกใช้ DAC mode ค่าGain จะปรับไม่ได้ เพราะเครื่องจะส่ง สัญญาณเอาต์พุต Line level 2.5 V RMS คงที่

เรื่องที่สอง CROSSFEED เป็นฟีเจอร์ที่ทำงานในรูปแบบของ digital processing เพื่อผสม สัญญาณเสียงซ้าย-ขวาจากการบันทึกแบบสเตริโอให้มีความเหมือนกับการถ่ายทอดเสียงจากลำโพง เมื่อเราฟังจากเฮดโฟน สำหรับ HUGO TT2 มีให้ใช้งาน 4 รูปแบบ (ที่หน้าจอเครื่องจะโชว์ด้วยตัวอักษร XFD) คือ… XFD0 – No crossfeed, XFD1 – Minimal crossfeed, XFD2 – Moderate crossfeed, XFD3 – Broad crossfeed ในการใช้งานจริงต้องลองฟังกันเองนะครับ ว่าตรงกับรสนิยมหรือไม่

เรื่องที่สาม FILTER ฟีเจอร์นี้เป็นการไปปรับปรุงสัญญาณบางอย่างเพื่อให้เกิดผลบางประการ โดยจะมีประโยชน์มากกับสัญญาณที่เป็นฟอร์แมต DSD บางคนเห็นคำว่าFILTER ก็นึกขยาดในใจ เพราะมักมีผลกระทบกับเสียง แต่ระดับ CHORD แล้ว มั่นใจได้ว่าการทำงานของฟีเจอร์นี้ย่อมไม่มี ผลกระทบต่อคุณภาพเสียงแน่นอนครับ โดยมีให้เลือกใช้งาน 4 รูปแบบ คือ… FIL1 – Incisive neutral เป็นค่าตั้งต้น ใช้เป็นค่าอ้างอิง, FIL2 – Incisive neutral with HF roll-off การเปลี่ยนแปลงหลักเหมือนกับ FIL1 แต่มีการกำจัด noise ที่ความถี่สูงจากสัญญาณที่เป็น HD (88.2 – 768kHz), FIL3 – Warm ค่านี้ให้คาแร็กเตอร์เสียงที่ warm, FIL4 – Warm with HF roll-off ให้บุคลิกเสียงเหมือน FIL3 แต่มีการกำจัด noise ที่ความถี่สูงจากสัญญาณที่เป็น HD (88.2-768kHz) ฟีเจอร์นี้ต้องค่อยๆ ลองฟังไปเพราะในรายละเอียดจะมีการเปลี่ยนแปลงบุคลิกเสียงที่ฟังออก อย่างไรก็ตาม จะชอบหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ละคน ผมลองฟังในทุกแบบแล้วก็ชอบครับ ไม่มีผลต่อคุณภาพเสียงที่ทำให้เสียไป ในการใช้งานจริงต้องลองดู ว่าเพลงไหนเหมาะกับ FILTER ค่าไหน แต่ส่วนใหญ่ ถ้าเป็นไฟล์เพลง DSD ผมชอบ FIL4 ครับ เพราะให้ปลายเสียงที่ไปได้ไกล รู้สึกถึงความสะอาดของปลายเสียงย่านความถี่สูง และไม่มีความหยาบของเสียงช่วงนี้ อีกทั้งโทนเสียงโดยรวมก็ warm นิดๆ ซึ่งตรงกับความชอบส่วนตัวของผม

2. Amplification mode

โหมดนี้ เมื่ออ่านคู่มือดีๆ พบว่าเราสามารถเอาHUGO TT2 ไปขับลำโพงที่มีความไวสูง ไม่ว่าจะเป็นลำโพงทั่วๆ ไป หรือลำโพงฮอร์น ได้โดยตรง เพราะในตัวของ Hugo TT2 มีภาคดิจิทัลปรีแอมป์สำหรับปรับวอลลุ่ม กรณีที่จะนำไปขับลำโพงโดยตรง การต่อใช้งานต้องต่อสายลำโพงออกจากขั้วต่อ XLR และ RCA นั่นก็ หมายความว่าปลายข้างหนึ่งของสายลำโพงต้องเป็นแจ็คแบบ XLR หรือ RCA ซึ่งถ้าต่อจากขั้ว RCA จะมีกำลังขับ 8 วัตต์ ส่วน XLR มีกำลังขับ 20 วัตต์ คิดเล่นๆ 8 วัตต์ ก็เอาไปขับลำโพงฮอร์น หรือลำโพงที่ขับง่ายหน่อย ส่วน 20 วัตต์ ขับลำโพงทั่วไปน่าจะพอไหว เหตุผลที่ CHORD มั่นใจว่าโหมดนี้สามารถใช้งานได้ดีก็เพราะภาคเอาต์พุตเป็นแบบ High power discrete และภาคเพาเวอร์ซัพพลายเปลี่ยนจากแบ็ตเตอรี่แบบ Li-PO (Lithium-Polymer) มาเป็นคาพาซิเตอร์ที่เป็น super-capacitors จำนวน 6 ตัว เพื่อให้จ่ายกระแสได้เสถียร โดยในช่วงพีคเอาต์พุตสามารถจ่ายกระแสได้ถึง 5A (9.3 V RMS) โหมดนี้ ถ้ามีโอกาสในภายหน้าจะต้องลองเล่นดูว่าเป็นยังไงบ้างครับ

3. DAC mode

นี่เป็นจุดขายหนึ่งของ HUGO TT2 เลยทีเดียว เพราะ CHORD กล้าบอกว่าHUGO TT2 เป็นรองแค่ DAVE ซึ่งเป็น DAC รุ่นเรือธงของ CHORD เท่านั้น HUGO TT2 เป็น DAC ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่สุดเท่าที่เทคโนโลยีการแปลงสัญญาณดิจิทัล ณ ตอนนี้ทำได้ คือถ้าเป็นข้อมูลสัญญาณดิจิทัล PCM ก็รองรับตั้งแต่ 16-bit/44.1kHz ไปจนถึง 32-bit/768kHz ส่วนถ้าเป็น DSD ก็ทำงานกับข้อมูลได้จนถึง DSD 512 ซึ่งในการใช้งานจริงก็เปิดโอกาสให้เราได้มีประสบการณ์ที่หลากหลายกับระบบบันทึกเสียงที่ตอนนี้ผู้ผลิตเพลงก็สนุกกับการสร้างสรรค์ดนตรีที่มีคุณภาพ และเลือกใช้ฟอร์แมตของข้อมูลดิจิทัลต่างๆ กันไป ตามแต่ความต้องการและความเหมาะสมของการสร้างงานครับ

ภาค DAC ของ HUGO TT2 เป็นการออกแบบโดย Rob Watts มีชื่ออยู่ตรงแผงวงจร เมื่อมองทะลุผ่านหน้าต่างใสๆ ลงไป (powerful Xilinx Artix 7 FPGA, custom-coded by Chord Electronics’ Rob Watts, with 86x 208MHz cores running in parallel to create an advanced 16FS WTA 1 filter with 98,304-taps) ดูจากในวงเล็บแล้วจะเห็นว่าไม่ธรรมดามากๆ กับการออกแบบภาค DAC ของ Rob Watts อันที่จริงตั้งแต่ไหนแต่ไร เรื่อง DAC ของ CHORD ถือเป็นหนึ่งในวงการ ไม่แพ้แบรนด์ไหนๆ เพราะเป็นการเขียนโค้ดขึ้นมาเอง ไม่ได้ใช้ชิพ DAC สำเร็จรูปทั่วไป

ความเท่ของ HUGO TT2 เมื่อภาค DAC ทำงานก็คือ การแสดงค่าsample frequency ด้วยสีต่างๆ ทำให้เราทราบว่าเพลงที่เราฟังอยู่มีแซมปลิ้งเรตกับบิตเรตเท่าไหร่ เป็นลูกเล่นที่เข้าท่าและมีประโยชน์จริงครับ

LISTENING EXPERIENCE

ความยากในการจะเขียนถึงคุณภาพเสียงของ HUGO TT2 ที่ถือเป็นเฮดโฟนแอมป์ระดับไฮเอ็นด์แถวหน้าของวงการนั้น คือ… จะมั่นใจได้อย่างไรว่าคุณภาพเสียงที่ได้ยิน จะเป็นของจริงเต็มประสิทธิภาพที่ HUGO TT2 ทำงาน จุดนี้บอกตรงๆ นะครับ ว่าผมก็ไม่ทราบหรอก สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือ จัดหาอุปกรณ์ประกอบที่มั่นใจว่ามีคุณสมบัติคู่ควรที่จะรีดเอาคุณภาพที่แท้จริงของ HUGO TT2 ออกมาให้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า… เฮดโฟนที่จะ นำมาใช้งานร่วมก็คือ KENNERTON รุ่น ODIN ถือว่าเป็น เฮดโฟนไฮเอ็นด์ที่ครบเครื่องรุ่นหนึ่งในวงการ ไดรเวอร์ เป็นแบบ Planar Magnetic โดดเด่นในการถ่ายทอดเสียง ครอบคลุมที่ย่านความถี่ ส่วนอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับระบบไฟ ผมถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้อุปกรณ์หลัก เพราะได้ทดลอง มาแล้วว่าหากอุปกรณ์ในส่วนนี้คุณภาพไม่ถึง คุณภาพเสียง จะหายไปมากอย่างไม่น่าเชื่อครับ ซึ่งงานนี้ ผมไว้ใจสายไฟและปลั๊กพ่วงของ ZENSONICE ครับ เชื่อมั่นว่าจะ ปลดปล่อยพลังและคุณงามความดีของ HUGO TT2 ออกมาได้เต็มที่แน่นอน

เริ่มการฟังช่วงแรกๆ ไปเรื่อยๆ เลือกสารพัดไฟล์เพลง ทั้งแบบ Standard CD ผสมๆ กับ Hi-res File พบว่าซิสเต็มนี้ให้เนื้องานในระดับไฮเอ็นด์โดยแท้จริง กรณีนี้ ถ้าไฮเอ็นด์หมายถึง การถ่ายทอดเสียงดนตรีที่ใกล้เคียงกับ สิ่งที่ควรเป็นจากการบันทึกเสียงนะครับ จุดนี้ ผมวัดที่ อัลบั้ม “ลูกทุ่งออดิโอไฟล์” ของ น้องหลิน วรัญรัชจ์ เพราะผมเป็นคนทำและอยู่ในห้องบันทึกเสียงด้วย อัลบั้มนี้บันทึกโดยใช้ไมโครโฟนสองตัว การบาลานซ์ ตำแหน่งนักดนตรีและนักร้องใช้วิธีแมน่วล คือวางระยะใกล้ไกลตามไดนามิกของเครื่องดนตรี ดังนั้น เสียงที่บันทึก จึงเหมือนกับที่นักดนตรีและนักร้องร้องและเล่นจริง เมื่อฟังจากซิสเต็มนี้ที่ใช้ HUGO TT2 เป็นตัวแปลง สัญญาณดิจิทัลและขยายสัญญาณ เสียงที่ได้ยินนั้นถือว่าจำลองเสียงจากการบันทึกมาได้ใกล้เคียงมาก โดยเฉพาะ เสียงอะคูสติกเบสที่เป็นปัญหากับซิสเต็มที่คุณภาพไม่ถึง ที่มักขาดความคมชัด ขาดรายละเอียด เสียงเป็นก้อนๆ ไม่ได้ยินเป็นตัวโน้ต แต่ที่ผมได้ยินไม่มีอาการดังกล่าว แม้แต่น้อย เป็นเสียงเบสที่แยกแยะรายละเอียดออกมาได้ ครบถ้วน แถมเสียงเบสก็ไม่ไปกลบเสียงเครื่องดนตรีอื่นๆ ที่เล่นอยู่ใกล้ๆ กัน ถือว่ายอดเยี่ยมจริงๆ ครับ

ในเพลง “หม้ายขันหมาก” ที่น้องหลินโชว์คุณภาพ การร้องแบบเต็มร้อยนั้น เสียงที่ได้ยินเป็นอะไรที่สมบูรณ์ แบบมากๆ อารมณ์ของนักร้องที่มีระนาดเล่นคลอไป พร้อมๆ กับเสียงไวโอลินที่คลอเบาๆ ขณะที่เปียโนเสริม เข้ามาเป็นช่วงๆ บอกได้เลยว่าThe Best ครับ ทุกเสียงมี ความไพเราะในตัวเอง มีที่ทางของตัวเอง ว่าไปแล้วก็เป็น เรื่องอัศจรรย์มากที่เสียงเครื่องดนตรีแตกต่างกันกลับไม่มี การรบกวนซึ่งกันและกัน ซาวด์เอ็นจิเนียร์เยี่ยมแค่ไหน HUGO TT2 และพรรคพวกก็เก่งไม่ด้อยไปกว่ากันเลยครับ

ผมฟังอัลบั้มนี้ด้วยความเพลิดเพลิน ไม่มีจุดไหนที่ ต้องมีข้อติ หรือฉุกคิดขึ้นมาว่ามันยังรู้สึกไม่ใช่เหมือน ตอนที่เรากำลังบันทึกเสียงแม้แต่น้อยเลยครับ

สามารถ ซื้อ Hugo M Scaler เพิ่มเติมทีหลังได้ เพื่อไปต่อกับ HugoTT2ซึ่งจะ Up Scaling ให้ ภาค DAC มีประสิทธิภาพสูงขึ้น จะทำให้ Sound Stage เสียงกว้างขึ้นและลึกขึ้นอีกมาก ให้รายละเอียดเสียงชัดและมิติดีขึ้นอย่างเหลือเชื่อให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน WEBSITE Chord Electronics.

มีอีกอัลบั้มหนึ่งที่เป็นอัลบั้มโปรดของผม “Beyond The Missouri Sky (Short Story)” ที่เครื่องดนตรีหลักๆ เป็นกีตาร์กับอะคูสติกเบส (Pat Metheny กับ Charlie Haden) อัลบั้มนี้เสียงความถี่ต่ำจากอะคูสติกเบสค่อนข้างมาก ถ้าซิสเต็มคุณภาพไม่ถึง อาการเบสล้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายๆ แต่ครั้งนี้ HUGO TT2 เอาอยู่ครับ ขับไดรเวอร์พลาน่าร์ของ Odin ให้คุมเบสได้อย่างน่าฟัง มีจังหวะจะโคน การแยกแยะรายละเอียดของกีตาร์เส้นเล็กๆ กับสายอะคูสติกที่สั่นซ้ำๆ กันนั้น ทำได้ยอดเยี่ยมมาก เป็นการเผยให้เห็นฝีมือของนักดนตรีระดับโลกว่าการถ่ายทอดอารมณ์เพลงชั้นครูเป็นอย่างไร กีตาร์ที่อิมโพรไวส์ไปเรื่อยๆ โดยมีอะคูสติกเบสเล่นประคอง เป็นการโอบอุ้มซึ่งกันและกันอย่างสมดุลและงดงามครับ

ในอัลบั้มนี้มีเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง Cinema Paradiso (Love Theme และ Main Theme) แน่นอนว่าเป็นเพลงสุดโปรดของผมเช่นกัน นี่เป็นการถ่ายทอดคุณภาพเสียงที่เข้าถึงความเป็นดนตรีจากนักดนตรีอย่างไร้ข้อกังขาเสียงนิ้วครูดไปกับสายกีตาร์ เสียงเกี่ยวดึงและดีดสะบัด มีความชัดเจนและเป็นจริงมาก จริงขนาดที่บอกว่ารู้สึกถึงความดิบของการบันทึกเสียงเลยทีเดียว ความนิ่งแต่ลื่นไหลของดนตรีเป็นเสน่ห์ที่คุณจะได้ยินจาก HUGO TT2 ตลอดเวลาขณะที่ฟังไม่มีการไปจดจ่อที่การทำงานของเครื่องเลย เสียงที่ได้ยินเป็นอิสระมากๆ ไม่มีอาการป้อแป้ หรือใดๆ ที่พลอยให้เป็นกังวลกับพละกำลัง ซึ่งก็สมกับการเปลี่ยนภาคเพาเวอร์ซัพพลายมาเป็นซูเปอร์คาพาซิเตอร์ที่สามารถจ่ายกระแสได้ทันเวลาเหตุนี้การขับเคลื่อนของเสียงทั้งมวลจึงราบรื่นไร้การสะดุด

อัลบั้ม Soul Station” – Hank Mobley ไฟล์ 24/192 เสียงขยับขึ้นไปอีกในการถ่ายทอดรายละเอียด ตามไฟล์ น้ำหนักของเสียงเครื่องดนตรีดีมาก การแยก ความแตกต่างของเครื่องดนตรียังเป็นพระเอกเช่นเดิม ผมไม่แปลกใจเลยว่าทำไมอัลบั้มนี้ที่บันทึกเสียง โดย Rudy Van Gelder จากค่าย Blue Note Records ถึงเป็นตำนาน มาถึงทุกวันนี้ ความดิบ สด คือเสน่ห์ของดนตรีแจ๊ส ในยุคนั้น ซึ่ง HUGO TT2 ก็สามารถดึงเอาบรรยากาศของ ความดิบออกมาได้อย่างน่าชมเชย ผมนี่รักไฟล์ของอัลบั้ม ดนตรีแจ๊สเหล่านี้ขึ้นมาอีกเยอะเลยครับ เพราะที่ฟังๆ ผ่านมายากที่จะมีซิสเต็มใดทำได้แบบนี้

อัลบั้ม Mixer’s Lab Sound Series Vol.2” ไฟล์ DXD วงบิ๊กแบนด์ ของญี่ ปุ่นบันทึกเสี ยงได้ อย่ างเหนือชั้น HUGO TT2 ขับออกมาได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย แม้ดนตรี มากชิ้นก็ไม่ยั่น ขณะที่เครื่องดนตรีบางชิ้นโซโล่โดยมี คนอื่นๆ เล่นแบ็กอัพอยู่ ก็สามารถถ่ายทอดรายละเอียดที่ มากมายออกมาได้อย่างหมดจด ผมรู้แล้วล่ะ.. ความนิ่งใน การถ่ายทอดเสียง คือคุณสมบัติเด่นอีกข้อหนึ่งของ HUGO TT2 ประเมินจากอะคูสติกเบสที่กินกำลัง กับชุดกลองที่มี ไดนามิกรุนแรง ผสานกับกลุ่มเครื่องเป่าทองเหลือง ที่แผดขึ้นพร้อมกัน HUGO TT2 ก็ไม่ยั่น ยืนสู้อย่าง สมศักดิ์ศรี ไม่มีถอย ไม่มีอาการซวนเซ ประมาณว่าคุณอัดมาผมอัดกลับ ดนตรีแบบนี้ ถ้าเครื่องไม่เจ๋งจริง ฟังแล้วจะเหนื่อย เพราะต้องคอยลุ้นไปว่าจะรอดหรือ ไม่รอด ทว่านี่เป็นการฟังแบบสบายใจ ถึงเวลารุกเร้าก็รุ กเร้ าแต่ ไม่ เสี ยกระบวน ยั งคุ มสถานการณ์ ได้ อยู่ หมั ดพอถึงยามหวานๆ โรแมนติกก็เปลี่ยนอารมณ์มาออดอ้อน ได้อย่างเนียนๆ นับเป็นการปรับเปลี่ยนที่เป็นธรรมชาติ ไม่มี การกระตุกอารมณ์หรือต้องรอปรับอารมณ์ใหม่ใดๆ เลย

มาปิดท้ายกับงานของค่าย Blue Coast เป็นไฟล์ DSD เพลง “When I’m Called Home” Jenna Mammina & John R. Burr ผมปรับ FILTER มาเป็น FIL4 ที่ให้คาแร็กเตอร์เสียง warm และขจัด noise ที่ย่าน ความถี่สูงออกไป นี่เป็นการฟังเพลงที่ได้ประสบการณ์ที่ดี อีกครั้งหนึ่งจริงๆ ครับ เสียงเปียโนในเพลงนี้ไพเราะมาก มีความกังวาน มีฮาร์โมนิกทอดยาวออกไป แค่เสียงร้องกับ เสียงเปียโนก็บอกอะไรๆ ได้หมดครับ ความธรรมดาเรียบง่ายของเพลง กลับไม่ธรรมดาเลย เมื่อผ่านการทำงาน ของ HUGO TT2 หรือแม้แต่เสียงบรรเลงของไวโอลิน ตัวเดียวในเพลง “Light in the Fracture” (ไฟล์ DSD เช่นกัน) HUGO TT2 ก็ถ่ายทอดความอัศจรรย์ของ เครื่องดนตรีนี้ให้เราประจักษ์ชัดถึงพลานุภาพของเสียงที่ สร้างอารมณ์อันหลากหลาย ตามแต่ผู้บรรเลงจะสรรสร้าง ออกมาซึ่งสิ่งเหล่านี้แหละครับ ที่เป็นที่ต้องการของ คนฟังเพลง

THE ONE & ONLY

ในโลกนี้มีสิ่งสารพัดที่มีคุณภาพดีอยู่มากมาย แต่บางครั้งเราก็ไม่จำเป็นต้องไปเปรียบเทียบเพื่อเฟ้นหาสิ่งที่คิดว่าจะดีที่สุด ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ชอบเปรียบเทียบ เพื่อหาสิ่งที่ดีที่สุด เวลาผมเลือก ผมจะเลือกจาก Passion ที่มีต่อสิ่งนั้นๆ เช่นเดียวกับเฮดโฟนแอมป์ที่มีภาค DAC ในตัว ถ้าผมจะซื้อมาใช้งาน CHORD HUGO TT2 เท่านั้น ที่เป็นตัวเลือกเดียวของผม ไม่มีเหตุผลอะไรอื่น ตอบง่ายๆ เพราะเป็น CHORD ELECTRONICS ครับ. ADP

นิตยสาร Audiophile Videophile ฉบับที่ 262