ชุมพล
ดร.ชุมพล มุสิกานนท์

ฝรั่งเศสเป็นชาติที่ทำลำโพงได้เก่งมากๆ ไม่แพ้อเมริกา แคนาดา อังกฤษ ผมใช้ Focal: Utopia Diablo อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งลำโพงเล็กที่ผมชื่นชอบมากอีกยี่ห้อหนึ่ง คือ Ensemble ซึ่งบังเอิญเป็นลำโพงสัญชาติฝรั่งเศสขนาดเล็ก ราคาก็สุดแสนแพง แต่ฟังแล้วคุณจะรัก(เสียง)มัน สำหรับ Triangle นี่เป็นลำโพงที่เริ่มผลิตออกสู่ตลาดตั้งแต่ปี 1981 ได้รับคำชมมากมาย และมักจะได้รับรางวัลจากนิตยสารเครื่องเสียงฉบับนู้นฉบับนี้อยู่เรื่อย ความทรงจำของผมที่มีต่อ Triangle คือ เป็นลำโพงความไวสูงที่ขับง่าย แหลมเปิดโปร่ง แต่จนแล้วจนรอดผมก็ยังไม่เคยฟังลำโพงยี่ห้อนี้อย่างจริงจังเสียที

แล้ววันหนึ่ง ผมก็ได้รับลำโพง Triangle: Signature Delta ซึ่งเป็นลำโพงตั้งพื้นรุ่นรองท็อปมาทดสอบ คู่ที่อยู่กับผมปะผิวลำโพงด้วยวีเนียร์ลายมะฮอกกานีอมแดง เคลือบแล็กเกอร์มันวาวแบบผิวเปียโน ทราบว่ามีสีดำและสีขาวให้เลือกด้วย หลังจากฟังไปสักพักหนึ่ง ผมลองค้นข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิตดู ไปเจอว่านาย J. Gordon Holt ผู้ก่อตั้งนิตยสาร Stereophile อเมริกาเคยนิยามเสียงของ Triangle ไว้ว่า “Jump Factor” … งง! อะครับ มันยังไงกันเนี่ย บอกได้ในเบื้องแรกตรงนี้ก่อนว่าผมเปลี่ยนแอมป์ที่นำมาใช้ขับ Delta Signature อยู่ 4 ตัว มาจบตรงที่แอมป์หลอดตัวเล็ก Single Ended Class A กำลังขับข้างละ 12 วัตต์!!! นี่เป็นลำโพงที่สวนทางกับลำโพงดีๆ หลายยี่ห้อที่มักต้องการเพาเวอร์แอมป์กำลังสูงมาขับ ซึ่งลำโพงคู่นี้จะช่วยประหยัดค่าแอมป์ให้คุณไปได้เยอะ และสิ่งที่คุณต้องทราบไว้คือ มันไม่ชอบแอมป์ยักษ์ๆ ทั้งหลายด้วย เอาเป็นว่าถ้าคุณมีแอมป์หรืออินทิเกรตแอมป์ ทรานซิสเตอร์ คลาส A กำลังขับสัก 20 วัตต์ต่อข้าง ผมจะเชียร์ให้คุณใช้ลำโพง Triangle: Signature Delta นี่แหละจบ ไม่ต้องไขว่คว้าอะไรอีกแล้ว มันคือสวรรค์สำหรับผู้นิยมแอมป์วัตต์น้อยเสียงหวานอย่างแท้จริงครับ

การออกแบบ

ดูลักษณะทงกยภพของลำโพงกันก่อน Signature Delta เป็นลำโพงสมทง ไดรเวอร์ 4 ตัว และท่อพอร์ตยิงออกหน้ขนดสูง 48.4 นิ้ว กว้ง 9.2 นิ้ว ลึก 14.6 นิ้ว หนัก 33 กิโลกรัม เวลที่นั่งฟัง ตำแหน่งมิดเรนจ์อยู่ในระดับหู ส่วนทวีตเตอร์จะสูงกว่หูครับ ตัวขับเสียงแหลมชนิดโดมไททเนียมเส้นผ่นศูนย์กลง 1 นิ้ว อยู่ในฮอร์นโหลด มิดเรนจ์เปเปอร์โคน (กระดษ) ขนด 7.3 นิ้ว ขอบไดรเวอร์ขยับตัวได้น้อย ส่วนวูฟเฟอร์สองตัว ขนด 7.3 นิ้ว ไดอะแฟรมทำจกไฟเบอร์กลส จุดตัดครอสโอเวอร์ที่ 280Hz, 2.7kHz ความสรถตอบสนองควมถี่ 35Hz – 20kHz, ±3dB ควมไว 92dB ควมต้นทนปกติที่ 8 โอห์ม และต่ำสุดที่ 3.2 โอห์ม รองรับกำลังขับปกติที่ 120 วัตต์ต่อเนื่อง ขั้วต่อสยลำโพงไบดิ้งโพสต์ชนิด Bi-wire ติดจั๊มเปอร์มให้จกโรงงน ซึ่งผมได้ทดลองปลดออก แล้วแทนที่ด้วยจั๊มเปอร์ของ Zensonice เสียงดีขึ้นอีกมกมยครับ

ผนังตู้ลำโพงด้านข้างมีลักษณะโค้ง ประกอบขึ้นจากไฟเบอร์บอร์ดหนา3 มม. 7 ชั้น ดัดโค้ง มั่นใจเรื่องเรโซแนนซ์ได้เลยว่าไม่มีปัญหาผนังด้านบนของตัวตู้ลาดเทลงมา 5 องศาส่วนที่เป็นฮอร์นโหลดของทวีตเตอร์จะนูนขึ้นมาครึ่งใบ นับเป็นการออกแบบที่สวยงามไม่เหมือนใคร แถมในปากฮอร์นยังมีเวฟไกด์ใส่ไว้ด้วย สิ่งที่แปลกอีกประการหนึ่งคือ การที่ท่อพอร์ตระบายเบสถูกวางไว้ระหว่างวูฟเฟอร์ตัวบน/ล่าง เพื่อให้การระบายเบสออกมาใช้ท่อนี้ร่วมกัน การออกแบบให้ท่อพอร์ตยิงออกหน้ายังช่วยให้วางลำโพงชิดผนังห้องได้มากกว่าลำโพงที่มีท่อพอร์ตยิงออกด้านหลัง

ในภาพรวมรูปลักษณ์ภายนอกของ Triangle Delta ไม่มีจุดใดที่จะตำหนิติติงกันได้ การประกอบตัวตู้เรียบร้อย สวยงาม ประณีต สมกับเป็นโรงงานคุณภาพสูงที่ฝรั่งเศส แถมด้วยแผ่นเพลตรองด้านล่างของลำโพงที่สามารถขยับปรับความสูงของสไปก์ได้ ช่วยให้การเซ็ตอัพทำได้โดยละเอียด อีกประการหนึ่งที่จะต้องเขียนถึงคือ สายเคเบิลที่ใช้ไวริ่งภายในลำโพงจากขั้วต่อไปสู่แผงวงจรครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์กและออกไปยังดอกลำโพง ใช้ยี่ห้อ Kimber Kable ครับ 

ดูจากรูปลักษณ์แล้ว คุณคิดว่าลำโพงคู่นี้จะมีบุคลิกเสียงเป็นอย่างไร สดใส… ชัดเจน… เบสหนัก… หรือกลางอิ่มหนา… เฉลยเลยว่ามันแปรเปลี่ยนไปตามต้นทางที่นำมาใช้กับมัน ซึ่งเป็นคุณสมบัติของลำโพงที่ดีครับ แต่อย่างหนึ่งที่มีให้รับรู้ได้เสมอ ไม่ว่าคุณจะเปลี่ยนไปใช้แอมป์อะไรมาขับมัน นั่นคือ เสียงเบสที่แข็งแรงมาก มีทั้งปริมาณและความแน่น นับว่าเป็นสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะได้ยินจากลำโพงยี่ห้อนี้ นี่เองจึงเป็นประเด็นว่าไม่ควรจะนำแอมป์บ้าเบสมาขับลำโพงคู่นี้ ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดอาการ “เบสล้น” ขึ้นมาได้ ถึงแม้ว่าตามสเปกระบุว่าควรใช้เพาเวอร์แอมป์ขนาด 120 วัตต์ มาขับมันก็ตาม 

ในการทดสอบ คาบแรกผมใช้ชุดปรี + เพาเวอร์ XAV 02 + 120A ที่อัพเกรดแล้ว กำลังขับ 120 วัตต์(เต็ม)ต่อข้าง เสียงออกมาล้นห้องฟัง ลดโวลุ่มลงมาเหลือครึ่งเดียว ก็ยังรู้สึกว่าเสียงจะดันออกมาข้างหน้าอยู่ตลอดเวลาในขณะที่รายละเอียดพรั่งพรูเหลือกินจริงๆ

รอบสอง ใช้อินทิเกรตแอมป์ TS Audio EL34 กำลังขับ 80 วัตต์ต่อข้าง แอมป์ตัวนี้บ้าพลังมาก ทำขึ้นมาสำหรับปราบลำโพงขับยากๆ ทั้งหลายโดยเฉพาะ ปรากฏว่าเสียงเบสนำโด่งมาเลยครับ จังหวะดี เสียงสะอาด แต่ไดนามิกคอนทราสต์ยังไม่ดี ลีลาการนำเสนอรุกเร้าเกินไป สรุปว่าฟังเพลงไม่ลงตัว

รอบที่สาม ใช้อินทิเกรต CEC 3300 C-3 R.E.D มาขับ คราวนี้ทุกอย่างดีขึ้นหมด เวทีกว้างมาก เบสลึกและใหญ่ แหลมสดใสมีประกายกังวาน รายละเอียดดีครับ ฟังดีทั้งเพลงคลาสสิก แจ๊ส และร็อก จุดเด่นของชุดนี้คือ ความสูงของเวทีเสียงที่รับรู้ได้โดยไม่ต้องเพ่งเลย อย่างไรเสียผมยังรู้สึกว่ามันยังขาดความผ่อนคลายไปสักนิด ไอ้ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่าลำโพงค่อนข้างไวต่อความเปลี่ยนแปลงมาก เปลี่ยนอะไรลงไป

ฟังออกได้เลยว่าเสียงไม่เหมือนเดิม หลังจากเปลี่ยนแอมป์ไปสามตัว ผมคิดว่าจะลองถอยหลังลดกำลังขับลงมาอีกสักหน่อย โชคดีที่ผมมีแอมป์เล็ก(มาก) มันคือ Mission Cyrus I ที่บางคนเรียกว่าแอมป์กล่องรองเท้าเนื่องจากรูปร่างของมันไปคล้ายๆ กับกล่องกระดาษบรรจุรองเท้ากำลังขับอยู่ที่ 30 วัตต์ต่อข้างเองครับ บุคลิกเสียงจะไม่ตูมตามมาก ฟังเอารายละเอียด มีเบส มีแหลม พอให้ชื่นใจแบบแนวอังกฤษจ๋าเลยครับ 

Mission cyrus I ขับ Triangle: Signature Delta ออกมาได้ดีเกินคาดครับ สเกลชิ้นดนตรีมีความถูกต้อง เบสพอดีมาก สปีดเสียงได้ว่องไว แหลมบนๆ เปิดปลายขึ้นไปได้กว่าครั้งไหนๆ ที่เคยได้ยินจากแอมป์ตัวนี้ อิมแพ็คแม้ไม่ดุเดือดเลือดพล่าน แต่รับรองว่าฟังเพลงแรงๆ ได้ โดยที่ไม่รู้สึกว่าขาดอะไรไป เสียงกลางชัดเจนแบบที่ไม่ถึงกับขึ้นขอบ มันมีมวลที่อิ่มเข้ม บวกกับมีความกังวานในน้ำเสียง ฟังแล้วใกล้เคียงความเป็นธรรมชาติ ผมดูหน้าตาทวีตเตอร์ทีแรกยังนึกว่าแหลมบนๆ อาจจะมีลักษณะคมๆ อยู่บ้าง แต่ปรากฏว่าพอได้แอมป์ที่เหมาะสมแล้ว มันฟังดีชะมัด ได้อารมณ์สุนทรี เสียงเคาะโลหะมีความกังวาน มวลเสียงแหลมเข้มข้น ไร้อาการแตกพร่าเป็นฝอยอย่างสิ้นเชิงครับ ฝรั่งเศสทำลำโพงออกมาได้ผิดไปจากที่คิดไว้ตอนแรกมาก

อินทิเกรตแอมป์ตัวสุดท้ายที่ผมนำมาใช้งานร่วมกับ Triangle: Signature Delta คือ Audiospace รุ่น Galaxy II แอมป์หลอด 12 วัตต์ ระบบ Push-Pull ที่เสียงแหลมดีเหลือหลาย เปรียบประดุจแอมป์ Leaks กลับชาติมาเกิด โป๊ะเชะ!!! ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจมาก ดุลน้ำเสียงดีงาม ไม่มีอะไรโด่งลำหรือหลุบหาย ทั้งทุ้ม-กลาง-แหลม ทำงานประสานสอดคล้องกันอย่างดี จะฟังเพลงร้องหรือเพลงบรรเลงก็ดีไปหมด ลองเล่นเพลงบลูส์หรือร็อกเข้มๆ จากแผ่นเสียงก็ยังได้อยู่ครับ ลืมบอกไปว่าแอมป์ Audiospace: Galaxy II ตัวนี้ ผมใส่ฟิวส์ C-3 รุ่น Noir ไว้ และล่าสุดได้นำไปให้อาจารย์เจมส์ปรับปรุงวงจรภายในมาเสียงดีขึ้นอีก 20% โดยเฉพาะเบส เมื่อนำมาขับลำโพงขนาดใหญ่ความไวสูงอย่าง Triangle จึงรู้สึกว่ามันพอดิบพอดีไปซะทั้งหมด ซึ่งถ้าเป็นกรณีปกติทั่วไปแล้ว แอมป์ขนาดเล็กตัวแค่นี้ไม่สามารถจะผลักดันเสียงเบสออกมาได้ในระดับที่ผมฟังอยู่ อย่างไรก็ดี ด้วยบุคลิกของเสียงหลังจากที่เปลี่ยนต้นทางมา4 ชุดแล้ว ผมกล้าสรุปได้ว่าลำโพงคู่นี้ให้เสียงที่เปิดเผย เบสใหญ่ และมีปริมาณที่น่าพอใจ เสียงกลางอิ่มเอิบ โฟกัสปานกลาง เสียงแหลมสดใส ไม่บาดหู มีประกายกังวาน ทอดหางเสียงออกไปได้ยาวไกล ฟังแล้วไม่ง้อซูเปอร์ทวีตเตอร์ ความต่อเนื่องเชื่อมประสานเข้าหากันระหว่างโน้ตดนตรีทำได้ดีเข้าขั้นลำโพงไฮเอ็นด์ทั้งหลาย หากแอมป์ที่นำมาขับมันมีคุณภาพดีพอ คุณจะรับรู้ได้ถึงบรรยากาศและ Airy ที่ถ่ายทอดออกมาด้วย

ลีลาในการนำเสนอของ Signature Delta ไม่ถึงกับตื่นเต้น เรียกร้องความสนใจอยู่ตลอดเวลาและก็ไม่ได้สุภาพสงบเสงี่ยมเจียมตัว จนฟังเพลงจังหวะเร็วๆ คึกคักแล้วไม่ได้อารมณ์ ผมต้องจารึกไว้เลยว่า Triangle เป็นลำโพงที่ฟังดีมากคู่หนึ่ง โดยเฉพาะเสียงเบสที่น่าประทับใจมาก

ในส่วนของการแสดงขอบเขตเวทีเสียงและตำแหน่งของอิมเมจนั้นขึ้นอยู่กับการเซ็ตอัพโดยแท้ ลำโพงคู่นี้เซ็ตอัพยากพอสมควร ข้อแนะนำคือ เซ็ตให้เสียงเบสลงตัวที่สุดก่อน แล้วจึงขยับเดินหน้าถอยหลัง เลื่อนให้ชิดหรือถ่างออก เพื่อให้ได้มิติเวทีเสียงที่ดีที่สุดในห้อง ซึ่งการเซ็ตอัพในประการหลังนี้ว่ากันเป็นมิลลิเมตรเลยครับ แต่ข้อดีมากๆ คือ ตำแหน่งของ Sweet Spot ค่อนข้างกว้างครับ เวลาฟังไม่ต้องนั่งตัวตรงคอแข็งเป็นหุ่นยนต์ คุณสามารถขยับปรับเอียงลำตัวและศีรษะได้อย่างเป็นอิสระ ในขณะที่ยังได้ยินเสียงเหมือนเดิม ไม่ใช่ขยับตัวทีหนึ่ง อิมเมจวูบๆ วาบๆ ผมโทอินลำโพงเล็กน้อยประมาณ 10 องศาเพื่อเพิ่มความเข้มข้นให้อิมเมจบริเวณกึ่งกลางโถงเวทีเสียง

สรุป 

ลำโพง Triangle: Signature Delta เป็นลำโพงสามทางวางพื้นที่ขับง่าย ไม่ชอบแอมป์วัตต์สูงๆ จะไปได้ดีมากกับแอมป์ทรานซิสเตอร์ คลาส A หรือแอมป์หลอดกำลังขับสัก 12 – 30 วัตต์ เป็นลำโพงที่แปลกมาก เพราะด้วยราคาค่าตัวประมาณ 3 แสน มันกลับไม่ต้องการแอมป์ที่สเปกเทพราคา7 หลัก ย้ำ… ไม่ต้องใช้แอมป์แพงมากมาขับ ของเขาทำมาให้ผู้ใช้งานไม่ต้องจ่ายหนักในส่วนนั้น นี่ทำให้ผมนึกถึงแอมป์หลอด Unison Research รุ่นเล็ก ที่คุณธีรวัฒน์เพิ่งทดสอบไป ถ้าได้ตัวนั้นมาเล่นคู่กัน ท่าจะเข้ากันได้ราวกิ่งทองใบหยก และ Triangle: Signature Delta เป็นลำโพงที่ทำให้ผมคิดถึงมาก เมื่อมีอันต้องส่งคืนบริษัท ซึ่งมีลำโพงไม่กี่คู่ในระยะหลังที่จะทำให้ผมรู้สึกอย่างนี้ได้. ADP

ราคา 275,000 บาท

นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท วันพัฒน์ (59) จำกัด
โทร. 0-2175-2933

นิตยสาร AUDIOPHILE VIDEOPHILE ฉบับที่ 246