ธีรวัฒน์

นักเขียน : ธีรวัฒน์ โชติสุต

เพาเวอร์แอมป์ขยายแอมป์

สมัยนี้ ถ้าเอ่ยถึงเรื่องหลักการแอมป์ขยายแอมป์ ผมไม่แน่ใจว่าจะมีสักกี่คนที่รู้จักและ เข้าใจในหลักการนี้บ้าง ย้อนหลังไปสัก 10 กว่าปีที่แล้ว ทาง Musical Fidelity เคยพยายาม ทำเพาเวอร์แอมป์ขยายแอมป์อยู่ช่วงหนึ่ง ซึ่งทาง Musical Fidelity เรียกว่า Super­charge ตอนนั้นทำตลาดแค่ 2 รุ่น คือ… Supercharge 750K และ 550K

แต่ผ่านไปไม่นาน Supercharge ก็ได้ปิดตัวเองลง ด้วยเหตุผลที่นักเล่นมองว่าจะ ลงทุนเรื่องแบบนี้ดูแล้วไม่ค่อยคุ้มค่าเท่าไหร่ และหลักการแบบนี้ค่อนข้างใหม่ที่กระแส ปั้นขึ้นได้ยากยิ่ง ทั้งๆ ที่เป็นหลักการที่ดีมากๆ

ผ่านไปหลายปี Unison Research ก็นำหลักการนี้ขึ้นมาใช้อีกครั้ง ซึ่งก็คือ UPower แต่ฟังก์ชั่นต่างๆ น้อยกว่า Supercharge ของ Music Fidelity เพราะ Musical Fidelity Supercharge 750K และ 550K นั้น ไม่ได้เป็นเพาเวอร์แอมป์ขยายแอมป์แต่เพียง อย่างเดียว เพราะใช้งานเป็นเพาเวอร์แอมป์ปกติก็ได้เช่นกัน

แต่สำหรับ Unison Research UPower นั้นเป็นเพาเวอร์แอมป์ขยายแอมป์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถใช้งานร่วมกับปรีแอมป์ใดๆ ได้ทั้งสิ้น ด้านหลังของ Unison Research UPower จึงมีแต่ขั้วต่อสายลำโพงเพียงอย่างเดียว สำหรับขั้วต่อสายลำโพง Input มีชุดเดียว ส่วนขั้วต่อสายลำโพง Output มีให้ 2 ชุด ส่วนสวิตช์เปิดปิดเครื่องย้ายมาอยู่ด้านข้าง

Unison Research UPower ออกแบบมาเพื่อนักเล่นที่ต้องการเล่นกับอินทิเกรตแอมป์หลอดกำลังขับไม่มาก ไม่เกิน 25 วัตต์ แล้วต้องการพลังของเสียงมากยิ่งขึ้น เล่นลำโพงได้หลากหลายขึ้น ไม่อยากขยับไปเล่นแอมป์หลอดที่มีกำลังขับมากขึ้น ใหญ่ขึ้น แถมน้ำหนักของเครื่องยกหนักมากอีกด้วย UPower เลยมาตอบโจทย์ตรงนี้

หลักการของ UPower ไม่มีอะไรมาก ก็คือเพาเวอร์แอมป์ขยายแอมป์กำลังขับ 100 Watt RMS 8 โอห์ม โดยใช้เพาเวอร์มอสเฟต 1 คู่เพื่อให้กำลังขับออกมาได้ 100 วัตต์ ต้นทางขยายสัญญาณแบบ Class Aหลักการก็มีเพียงเท่านี้ ไม่มีอะไรมากและยุ่งยาก ใครมี Unison Research Simply Italy หรือ Triode 25 แล้วต้องการวัตต์มากขึ้น ก็ใช้งานร่วมกับ UPower ได้สบาย เพราะตั้งใจออกแบบมาใช้งานร่วมกันอยู่แล้ว

แม็ตชิ่งและคุณภาพเสียง

เชื่อว่าหลังจากได้อ่านเรื่องแม็ตชิ่ง Unison Research UPower หลายท่านอาจจะคิดว่า… ให้ตายเถอะ!!! ถ้ายุ่งยากขนาดนี้ เอางบไปซื้ออินทิเกรตแอมป์ที่กำลังมากขึ้นดีกว่าไหม

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ

ถ้ากำลังคิดชั่งใจหากจะเพิ่ม Unison Reseach UPower เข้ามาอีกเกือบแสน สู้เอางบตรงนั้นไปอัพเกรดอย่างอื่นดีกว่าไหม

ถ้ากำลังคิดและสับสนแบบนี้ กำลังชั่งน้ำหนักอย่างนี้ ผมว่ามองข้าม UPower ไปเลยดีกว่าครับ จะได้ไม่ต้องเครียดและคิดอะไรมากเกินไป

ในเมื่อมีเพาเวอร์แอมป์มาช่วยปลุกความมีชีวิตชีวาของอินทิเกรตแอมป์หลอดกำลังขับต่ำๆ แล้วสามารถเล่นลำโพงได้หลากหลายขึ้นใครล่ะจะไม่สนบ้าง

เพราะอย่าลืมว่าUnison Research UPower ออกแบบมาเพื่อนักเล่นที่มีอินทิเกรตแอมป์หลอดอยู่แล้ว และกำลังขับไม่เกิน 25 วัตต์ รักและหลงใหลในเสียงของอินทิเกรตแอมป์หลอดที่มีอยู่อย่างมาก ชนิดไม่อยากจะขายหรือขยับไปเล่นรุ่นใหม่ๆ อะไรอีก เพียงแต่อยากให้มีเนื้อเสียง กำลัง และแรงปะทะ เพิ่มมาและสามารถขับลำโพงที่ใช้งานอยู่ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นก็ดีใจ พอใจสุดๆ แล้วล่ะ

ถ้ามีความต้องการแบบนี้ Unison Research UPower คือคำตอบที่ถูกต้องที่จะมาตอบโจทย์สนองความต้องการข้างต้นแล้วครับ

เมื่อเล่นแล้ว ข้อกังวลที่กำลังสงสัยว่าจะทำให้เสียงของอินทิเกรตแอมป์เดิมเปลี่ยนไปจากเดิมหรือเปล่าเรื่องนี้ไม่ต้องกังวล ผมมีคำตอบให้เรียบร้อยแล้วครับ

เรื่องแรกที่สำคัญก็คือ สายไฟเอซีที่ต้องใช้นั้นต้องเป็นรุ่นเดียวยี่ห้อเดียวกันกับอินทิเกรตแอมป์หลอดต้นทาง ต้นทางใช้อะไรก็ใช้อย่างนั้น แล้วถ้าสายไฟเอซีต้นทางเป็นแบบติดกับเครื่องมาหรือไม่สามารถหารุ่นเดิมได้ เพราะเลิกผลิตไปแล้ว ก็มีสองทางเลือก ถ้าสายไฟเอซีต้นทางติดกับเครื่องมาสายไฟเอซีที่จะต่อที่ UPower ใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ ขอให้มีคุณภาพดี ทางเลือกที่สองก็คือ หากสายไฟเอซีรุ่นเดิมไม่สามารถหาได้ก็หาสายไฟเอซีรุ่นใหม่ รุ่นอื่น ยี่ห้ออื่นก็ได้ แต่ขอให้หัว IEC Plug เป็นรุ่นเดียวกัน วัสดุเดียวกัน

เรื่องต่อมาก็คือ สายลำโพง ผมย้ำและเน้นเสมอมาก็คือ สายลำโพงสำหรับอินทิเกรตแอมป์หลอดนั้นไม่ควรเกินขนาด 2.5 sq.mm ขอให้เป็นสายแบบทองแดงฝอยละเอียด หลักการก็คือ ต่อสายลำโพงจากอินทิเกรตแอมป์หลอดมายังขั้วต่อสายลำโพงอินพุตของ UPower และจากขั้วต่อสายลำโพงขาออกของ UPower ต่อไปยังลำโพง หากเป็นลำโพงความไวสูงก็แนะนำใช้สายลำโพงไม่เกิน 2.5 sq.mm แต่ถ้าหากว่าลำโพงนั้นค่อนข้างขับยากสักหน่อย แนะนำว่าควรใช้สายลำโพง 4 – 6 sq.mm

ข้างต้นคือคำแนะนำเป็นแนวทางเบื้องต้น ไม่ได้ถือเป็น ข้อแนะนำตายตัว อาจจะมีบางกรณีแตกต่างกันบ้างก็ขึ้นกับ ลำโพงด้วยเช่นกัน อย่างกรณีของผมช่วงทดสอบ UPower ผมใช้ร่วมกับลำโพง Harbeth 30.2 40th Anniversary และ Harbeth 40.1 โดยใช้อินทิเกรตแอมป์หลอดต้นทาง คือ Audiospace Mini Galaxy I เมื่อต่อผ่าน UPower ผมใช้สายลำโพงกับลำโพงทั้งคู่ข้างต้นแตกต่างกัน

หากเป็นลำโพง Harbeth 30.2 ผมใช้สายลำโพงขนาด 6 sq.mm หากเป็นลำโพง Harbeth 40.1 ผมจะเปลี่ยนมาใช้สายลำโพงขนาด 0.5 sq.mm แทน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับ ความเหมาะสมเป็นหลัก ส่วนสายไฟเอซีทั้งซิสเต็ม ผมใช้ สายไฟเอซีรุ่น Supreme Living Power ทั้งหมด

ถ้าโจทย์ตั้งต้นของการออกแบบ Unison Research UPower คือการออกแบบมาใช้ร่วมกับอินทิเกรตแอมป์ หลอดกำลังขับน้อยๆ ไม่เกิน 25 วัตต์ เพื่อขยายเติมในเรื่อง ของพละกำลังของความถี่เสียงต่ำ เติมเนื้อเสียงและสามารถ เล่นลำโพงได้หลากหลายมากขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะลำโพง ต้องความไวสูงๆ อย่างเดียวเท่านั้น ถือว่าUnison Research UPower คือตัวเลือกที่ถูกต้องแล้วล่ะครับ

อินทิเกรตแอมป์หลอด Audio Space Mini Galaxy I กำลังขับเพียง 12 วัตต์ ถ้าบอกว่าจะนำไปขับลำโพง Harbeth 40.1 ผมเชื่อว่าหลายคนคงคิดว่าจะไปกันรอดไหม ถ้าไม่เปลี่ยนลำโพงก็ต้องเปลี่ยนอินทิเกรตแอมป์ ถ้าไม่อยาก เปลี่ยนอินทิเกรตแอมป์ก็เปลี่ยนลำโพง แต่ถ้าไม่อยากจะเสีย ใครเลยก็ต้องหาตัวช่วย นั่นก็คือ UPower

UPower ช่วยให้ผมสามารถคงทั้งคู่ไว้ได้อย่างเหมาะ เจาะจริงๆ แต่เรื่องหนึ่งที่ผมจะบอกคือ ความจริงที่ว่าความฉ่ำหวานของย่านความถี่เสียงกลางสูงที่เคยได้รับจาก Audiospace Mini Galaxy I อย่างเดียวนั้นเปลี่ยนแปลง ไปบ้าง แต่ไม่ได้จะบอกว่าความฉ่ำหวานหายไปด้วยเช่นกัน (ลองฟังเสียงจากคลิปนี้ประกอบพิจารณาhttps://youtu. be/lr91Wo4EnhU)

ก่อนจะมาไล่เรียงเรื่องความฉ่ำหวานของเสียงต้อง ทำความเข้ากันก่อนนะครับ บางครั้งเรื่องพวกนี้ขึ้นกับการ แม็ตช์ลำโพงเช่นกัน เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น ลองคิดแบบนี้ครับ ถ้าผมนำ Audiospace Mini Galaxy I ไปขับลำโพงความ ไวสูง ความฉ่ำหวานของเสียงไม่ใช่เรื่องยากที่จะจับต้อง

ได้ง่าย แต่หากยก Audiospace Mini Galaxy I ไปขับ ลำโพงใหญ่ๆ อย่าง Harbeth 40.1 อย่าเพิ่งก้าวพ้นไปคุยกัน เรื่องความฉ่ำหวานเลย คุยกันว่าจะขับให้รอดก่อนจะรอด หรือเปล่าและหากขับได้ ความฉ่ำหวานจาก Audiospace คิดว่าจะต้องเหมือนลำโพงความไวสูงอย่างเมื่อตะกี้ หรือเปล่า

เหตุผลที่ผมลงคลิปให้ลองเปิดลองฟังกันนั้น หนึ่งเพื่อ ไม่ต้องมานั่งมโนวิจารณ์กันไป อยากให้ลองฟังเสียงจริงๆ กัน มากกว่าแล้วค่อยถามต่อว่ากลางแหลมออกมาโทนนี้แบบนี้ รับกันได้ไหม หรือยังต้องการอะไรเพิ่มเติมหรือเปล่า

เพราะนั่นคือสิ่งที่ UPower กำลังเสนอว่าหากมี อินทิเกรตแอมป์หลอดที่รักหลงใหลในเสียงมาก ประเภท ชาตินี้จะไม่ยอมสูญเสียไปไหน และมีลำโพงที่ขับยากสุดๆ นำอินทิเกรตแอมป์หลอดกำลังขับน้อยๆ ไปขับแต่ละครั้ง ก็อยากเอามือไปช่วยดันกรวยลำโพงเบสให้เสียงออกมาหลุดตู้ UPower คือเพาเวอร์แอมป์ขยายอินทิเกรตแอมป์ ที่เชื่อมสิ่งที่รักสองสิ่งให้ไปด้วยกันได้ ชนิดเข็มขัดสั้น- คาดไม่ถึงกันเลยทีเดียว

แผ่นซีดีเพลงไทยชุด Love in the Light Lines ความรัก ปากกากีต้าร์โปร่ง เพาเวอร์แอมป์ Unison Research UPower ช่วยให้เสียงจากอินทิเกรตแอมป์ ต้นทางขับเสียงออกมาได้อย่างน่าพึงพอใจมากๆ และผม มองว่าเป็นซิสเต็มที่น่าฟังมากๆ ทีเดียว

อาการหนึ่งของ Harbeth 40.1 ก็คือ อาการเบสโด่ง และเบสตามความถี่เสียงกลางแหลมไม่ทัน ส่วนหนึ่งคือ การแม็ตชิ่งซิสเต็มเช่นกัน หากดูกราฟการตอบสนองความถี่ ของ Harbeth 40.1 จะเห็นว่าการตอบสนองความถี่ เสียงต่ำแถว 200Hz +/- นั้น ค่อนข้างจะโด่งขึ้นมาหน่อย ลำโพง Harbeth 40.1 จึงไม่ใช่ลำโพงที่ต้องการเบส หรือ ต้องการพละกำลังมากขึ้น จากการเลือกใช้แอมป์หรือ สายลำโพงขนาดใหญ่ เพราะตัวลำโพง Herbeth 40.1 เอง ไม่ได้ขาดแคลนเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว

เมื่อใช้ UPower ขับต่อเสริมจากอินทิเกรตแอมป์ หลอด Audiospace เสียงจึงออกมาดีมากทีเดียว มวลเสียง กีตาร์ให้ออกมากลมเข้ม และมวลเสียงนั้นถือว่าดีมาก โดยพื้นฐานลำโพง Harbeth 40.1 นั้น มวลเสียงค่อนข้างดี แต่สิ่งที่ทำให้ Harbeth 40.1 มีการกล่าวถึงกันน้อยในอดีต เพราะมองว่ารายละเอียดของความถี่เสียงต่ำมักโดนกลบ จากเนื้อเสียงเบส หลายคนจึงมักแก้โดยใช้กำลังขับของ แอมป์มากขึ้น หรือเล่นอินทิเกรตแอมป์หลอดตัวใหญ่ๆ ไปเลย พอบอกว่าใช้ UPower กำลังขับเพียง 100 วัตต์มาขับลำโพง Harbeth 40.1 ผมเชื่อว่าหลายคนที่เคยฟังลำโพง Harbeth 40.1 มาก่อนจะต้องตั้งคำถามว่าจริงหรือเปล่า? แน่ๆ

ขับได้ ไม่ได้ขับได้แล้วเสียงออกมาดีจริงหรือเปล่าผมมักจะดูต่อใน 2-3 ปัจจัย หนึ่งนั้นคือ… บรรยากาศ สองคือ… ความฉ่ำหวานของเสียงกลางสูงยังมีหรือไม่ สามคือ… เร้นจ์เสียงเป็นอย่างไร

ฟังเสียงเปียโนจากแผ่นซีดีที่ฟังประจำและบ่อยๆ คือ อัลบั้ม First Light – Piano Solos จากค่าย Narada Lotus ผมว่าความกังวานของเสียงเปียโน UPower ไม่ได้ทำให้ขาด หายไปเลย คือถ่ายทอดออกมาให้สัมผัสรู้สึกได้อย่างชัดเจน

เสียงออกมาเป็นธรรมชาติดีทีเดียว ยิ่งเสียงร้องที่โทนเสียงเป็นเสียงที่มาจากปอด พลังเสียงค่อนข้างเยอะ

อิมแพ็คการกดคีย์เปียโนการผ่อนหนักผ่อนเบาของน้ำหนักมือที่กดคีย์ลงไปก็ให้เร้นจ์เสียงแตกต่างกัน เป็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ไม่ได้เบลอเป็นกลุ่มก้อนเหมือนกล้องถ่ายรูปที่ถ่ายภาพไม่ชัด แต่เป็นความชัดเจนที่รู้สึกได้ถึงทุกรายละเอียดของเสียง ความก้องกังวานของเสียงเปียโนยังคงถ่ายทอดออกมาได้ดี อิมแพ็คของโน้ต ไดนามิกของเสียงที่ออกมาถือว่ายอดเยี่ยมมาก ไม่ได้รู้สึกว่าเสียงนุ่ม ฟังดูซอฟต์ลงเลย แต่ละเสียงแต่ละโน้ตยังแยกออกมาได้อย่างอิสระ

ถามว่าเสียงแตกต่างจากปรีแอมป์-เพาเวอร์แอมป์ อย่างของ Symphonic Line ที่นำมาลองขับ Harbeth 40.1 ก่อนหน้านี้ไหม บอกได้เลยว่าแตกต่างครับ

ถ้าจะเทียบกันจริงๆ ต้องเทียบกับอินทิเกรตแอมป์หลอดราคาไม่เกิน 2 แสนบาทจะดีกว่าอินทิเกรตแอมป์หลอดมูลค่าสองแสนบาทกับ Audiospace Mini Galaxy I + Unison Research UPower เสียงออกมาเป็นอย่างไร โดยส่วนตัวผมเลือกอย่างหลัง ถึงแม้ว่าจะยุ่งยากมากกว่าเปลืองสายมากกว่าวุ่นวายกว่าแต่เมื่อสามารถจัดได้ลงตัว ถือว่าผลลัพธ์ออกมาคุ้มค่าทีเดียว

UPower แตกต่างจาก Booster Amplifier ที่คุ้นเคยในอดีต เพราะ Booster Amplifier ที่เราคุ้นเคยกันนั้นจะทำให้เร้นจ์เสียงตื้อ แต่ UPower ทำตัวเสมือนแอมป์ขยายสัญญาณเกนเสียงสูงจริงๆ

เร้นจ์เสียงจึงไม่เสียเลย สังเกตจากปลายเสียงหรือความรู้สึก ผ่อนคลายนั้นเป็นอย่างไร หากซิสเต็มเร้นจ์เสียงแคบจะ ไม่ค่อยรู้สึกผ่อนคลายมากนัก เหมือนได้ยินโน้ตที่เป็นความถี่ เสียงมูลฐาน (Fundamental Frequency) แต่ฮาร์มอนิกส์ ของเสียงนั้นไม่มี ลักษณะเหมือนเส้นสายกีตาร์โดนดีด แล้วกดสายให้หยุดเลย ไม่ได้ปล่อยให้สายสั่นต่อไปจนจบ

แผ่นซีดี Rickie Lee Jones – Pop Pop แผ่นนี้ ค่อนข้างปราบเซียนเหมือนกัน เพราะมีไดนามิกและ เร้นจ์เสียงที่หลากหลายมาก โดยเฉพาะเสียงร้องของ Rickie Lee Jones ที่มีการกระแทกคำเล็กๆ แผ่นนี้ผมจะ ใช้จับอิมแพ็คของเสียงร้องเวลาออกมาเสียงร้องมีการ กระแทกเสียงย้ำคำต้นๆ ออกมาหรือเปล่าซึ่งเมื่อลองฟัง แผ่นนี้หลายรอบ ค่อนข้างชัดหน่อย ตรงอิมแพ็คตรงนี้ไม่ได้ เกิดจากต้นทาง แต่เกิดจากบุคลิกเสียงของ Unison Research นั่นเอง เพราะก่อนหน้านี้ผมเคยทดสอบเพาเวอร์ แอมป์ของ Unison Research รุ่น Unico DM ก็มีลักษณะ นี้อยู่นิดหน่อยเช่นกัน เลยไม่แปลกใจ

ก่อนหน้านี้ ผมอาจคาดหวังว่าUPower จะช่วยแก้ให้ สไตล์เสียงของอินทิเกรตแอมป์หลอดอย่าง Audiospace Mini Galaxy I ซึ่งหัวเสียงตรงนี้จะนุ่มหน่อยให้มีพลังขึ้น มาบ้าง แต่ท้ายที่สุดก็ไม่ได้แตกต่างกัน พอมานั่งคิดดูเป็น อย่างนี้ก็ดีเหมือนกัน เพราะ UPower ไม่ได้จงใจออกแบบ ให้เกิดความแตกต่างของเสียงอินทิเกรตแอมป์ต้นทาง แต่ให้ เสียงออกมาใกล้เคียงกับอินทิเกรตแอมป์หลอดต้นทาง เพิ่มเติมคือพลังเพื่อให้มีความหลายหลากในการจับคู่ลำโพงได้ มากยิ่งขึ้น ไม่ต้องเจาะจงกับลำโพงความไวสูงๆ มากเกินไป

จากแผ่น Rickie Lee Jones ชุดนี้ UPower ยังถ่ายทอดออกมาได้ดีเยี่ยมเช่นเดิม เสียงไม่ได้ขุ่น ช่วงที่ เครื่องดนตรีต้องสาดไดนามิกของเสียงออกมาความเข้มข้น ของหัวเสียงนั้น UPower ตอบสนองเรื่องพละกำลังและแรง จากอินทิเกรตแอมป์หลอดต้นทางได้ดีมาก ไทมิ่งสปีดของ โน้ตไม่ได้แตกต่างกันจากเดิม แต่เนื้อเสียงนั้นรู้สึกแพ็คกัน แน่นมากขึ้น มวลเสียงมีน้ำหนักมากขึ้น อิมแพ็ครู้สึกถึง มวลเสียงที่ใหญ่ขึ้น

เนื้อเสียงของ Rickie Lee Jones ผมรู้สึกว่ามวลเสียง ร้องออกมาเต็มเสียงมากกว่าเสียงออกมาเป็นธรรมชาติดี ทีเดียว ยิ่งเสียงร้องที่โทนเสียงเป็นเสียงที่มาจากปอด พลังเสียงค่อนข้างเยอะ อย่างเช่น Adele, Sara K ผมชอบ มากกว่าการฟังเสียงจากอินทิเกรตแอมป์หลอดเพียง อย่างเดียวเสียอีก ผมรู้สึกว่าUPower ส่งพลังเสียงร้องของ นักร้องให้ออกมาตามความเป็นจริง เนื้อเสียงเหมือนเสียง จริงๆ มากกว่ามวลเสียงพละกำลังของเสียงร้องเป็นอะไร ที่ผมอยากได้เพิ่มเติมจาก Audiospace Mini Galaxy I มานานแล้วล่ะ

เวอร์แอมป์รุ่น Supercharge 750K, 550K ผมรู้สึกว่าน่าเสียดายมากๆ เพราะหลักการของ Musical Fidelity ในยุคปี 2008 นั้น คือของดีที่ค่อนข้างสร้างความเชื่อได้ยาก การแจ้งเกิดเหมือนประตูที่โดนปิดตายเลย เพราะนักเล่น หลายท่านมองว่าจะเอาเงินประมาณ 3 แสน สำหรับรุ่น Supercharge 750K หรือแสนกว่าบาท สำหรับรุ่น 550K ไปซื้อแอมป์ที่มีกำลังวัตต์สูงขึ้นดีกว่ามั้ง

หลังจากนั้น หลักการนี้ก็มีอยู่ในเพาเวอร์แอมป์ในยี่ห้อ อื่นๆ แอมป์ขยายแอมป์เพื่อให้มีกำลังสูงขึ้น ปัจจุบันนี้ ในแง่ ของเงินที่ต้องลงทุนเพิ่มขึ้นเกือบแสนเพื่อไปซื้อ Unison Research UPower ผมเชื่อว่าไม่ได้แตกต่างจากความรู้สึก นักเล่นในปี 2008 มากนักหรอก แต่อย่างที่บอก หากคิดมาก แบบนั้น มองข้าม Unison Research UPower ดีกว่าครับ

แต่หากมองว่าการเปลี่ยนอัพเกรดอินทิเกรตแอมป์ หลอดที่มีอยู่แล้วไปเล่นรุ่นที่สูงขึ้น กำลังขับมากขึ้น เสียงจะ ได้เหมือนเดิม ดั่งความรู้สึกเดิมๆ ที่เคยได้รับหรือเปล่าแรกๆ เราเองยังคิดว่าหลังเปลี่ยนแล้วของยังใหม่เสียงไม่ค่อยดี แต่เมื่อใช้ไป 200 กว่าชั่วโมงก็แล้ว เสียงก็ยังไม่ได้แตกต่าง จากเดิมมากนัก ไม่เสี่ยงไม่เปลี่ยนดีกว่าอีกอย่างกำลังขับ ของหลอดหากสูงขึ้นใหญ่ขึ้น น้ำหนักของเครื่องจะหนักมากๆ บางครั้งยกคนเดียวแทบไม่ไหว เพราะมันหนักจริงๆ

นักเล่นกลุ่มนี่แหละ คือกลุ่มเป้าหมายของ Unison Research UPower ต้องเด็ดเดี่ยวและไม่แคร์สื่อ แคร์เสียง ต่างๆ รอบตัวได้อย่างเก่งกล้าและทรนง เพราะหากเล่น แบบนี้ ผมเชื่อว่าจะต้องมีเพื่อนๆ ในก๊วนมาถามแน่ๆ ไม่ซื้อ แอมป์ใหม่เลยล่ะ ดีกว่าอีก ถ้าเป็นผม ผมชอบเล่น แบบนี้แหละ เนื่องจากในอดีตผมเคยพลาด Musical Fidelity Supercharge 750K มาก่อน

ในเมื่อมีเพาเวอร์แอมป์มาช่วยปลุกความมีชีวิตชีวาของอินทิเกรตแอมป์หลอดกำลังขับต่ำๆ แล้วสามารถเล่น ลำโพงได้หลากหลายขึ้น ใครล่ะจะไม่สนบ้าง. ADP

นิตยสาร Audiophile Videophile ฉบับที่ 264