วุฒิศักดิ์

นักเขียน : วุฒิศักดิ์ ชื่นมีเชาว์

Aurorasound เป็นผู้ผลิตเครื่องเสียงสัญชาติญี่ปุ่นจากโยโกฮาม่า ที่มีการออกแบบ ผลิต และประกอบในประเทศญี่ปุ่นล้วนๆ Aurorasound ออกแบบโดย มิสเตอร์ ชิโนบุ คารากิ ผู้เคยทำงานให้กับองค์กรระดับโลก อย่าง Texas Instruments Japan ในสายงาน Consumer LSI Product Department, Digital AV Segment Department, Internet Audio Products Department, Digital Audio Division, Marketing, New LSI Development, Application Support, Sales ตลอดตั้งแต่ปี 1980 จนถึงปี 2009 เรียกได้ว่าไต่มาตั้งแต่เป็นพนักงานธรรมดาจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง

 โดยความน่าสนใจของ Aurorasound อยู่ตรงแนวคิดในการออกแบบที่มีการผสมผสานทั้งการออกแบบที่ดูเหมือนจะวินเทจ อย่างเช่น การใช้หลอด หรือการใช้โวลุ่มแบบหม้อแปลง แต่ก็มีการใช้อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ เช่น เจเฟต มาออกแบบวงจรขยายสัญญาณด้วย แถมยังไม่ได้ยึดติดกับธรรมเนียมปฏิบัติที่นิยมกัน อย่างเช่น ถ้าเรานึกถึงอุปกรณ์ไฮบริด เรามักจะนึกถึงการใช้งานปรีแอมป์ที่เป็นหลอด แล้วขับด้วยแอมป์โซลิดสเตท โดยความคาดหวังของผู้ใช้ก็มักจะบอกว่าอยากได้เสียงหวานอย่างหลอดและพละกำลังอย่างโซลิดสเตท ซึ่งในความเป็นจริง

ความน่าสนใจของ Aurorasoundอยู่ตรงแนวคิดในการออกแบบที่มีการผสมผสานทั้งการออกแบบที่ดูเหมือนจะวินเทจ แต่ก็มีการใช้อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ แถมยังไม่ได้ยึดติดกับธรรมเนียมปฏิบัติที่นิยมกัน

ก็มีทั้งที่สมหวังและผิดหวัง กลายเป็นเบสยาน แบบหลอด กลางแข็งแบบโซลิดฯ ไปซะงั้น ซึ่งทาง Aurorasound มีแนวคิดที่ต่างออกไป เพราะจะ เห็นได้ว่าปรีแอมป์รุ่น PREDA เป็นปรีแอมป์ โซลิดสเตทที่มีการควบคุมความดังด้วยโวลุ่ม แบบหม้อแปลง แล้วแอมป์อย่าง PADA ที่เป็น แอมป์หลอดพุชพูลไตรโอด ก็มีการออกแบบภาค ฟรอนต์เอนด์เป็นทรานซิสเตอร์ ซึ่งแนวคิดนี้อาจดู เหมือนแปลก แต่จริงๆ แล้วก็มีเหตุผลรองรับอยู่ใน เรื่องของสัดส่วนระหว่างอินพุตอิมพีแดนซ์ของ อุปกรณ์ปลายทางหารด้วยอุปกรณ์ต้นทาง ซึ่งถ้าได้ ค่ามากๆ มักจะพบว่า เสียงฟังดูมีพลัง มีการควบคุม ที่ดี ซึ่งจริงๆ มันก็เป็นสูตรเดียวกับการคำนวณ Damping Factor ของแอมป์ที่ใช้ขับลำโพงนั่นเอง ซึ่งการจับคู่ระหว่าง PREDA และ PADA นั้น มี Damping มากถึงเกือบๆ 1200 เลยทีเดียว ซึ่งถ้าต่ำกว่า 100 พบว่ามีโอกาสที่เสียงจะออกแนว ไร้เรี่ยวแรงไม่เข้าขากันได้ง่ายมาก ดังนั้นจึงแสดงให้ เห็นถึงความแน่วแน่ในแนวทางการออกแบบ ที่เน้นคุณภาพเสียงมาก่อน ไม่ทำตามกระแสการ ตลาดเป็นตัวนำ

สำหรับสินค้าที่ส่งมาทดสอบคราวนี้ จริงๆ แล้ว เป็นปรีโฟโนรุ่นเล็กสุด ที่ชื่อเต็มๆ ว่า Aurora­sound VIDA Prima ซึ่งปรีโฟโนตัวนี้เป็นรุ่นใหม่ที่ เพิ่งออกเมื่อราวๆ ต้นปีนี้ เพราะเมื่องาน HKAV 2018 ผมได้มีโอกาสพบ มิสเตอร์ คารากิ ได้พูดคุย กันเล็กน้อย ก็ได้เห็น VIDA Prima ตัวต้นแบบที่เอา มาโชว์ในงาน ซึ่งในเวลานั้นสินค้าพัฒนาเสร็จแล้ว มีตัวจริงหน้าตาเหมือนกับที่จะวางจำหน่ายแล้ว แต่ยังอยู่ในขั้นตอนเตรียมการผลิตสำหรับจำหน่าย จริง ซึ่งจากการสอบถามในคราวนั้นก็ได้ความว่า จริงๆ แล้วก็เป็นการนำวงจรในหลายๆ ส่วนจากรุ่นVIDA เดิมมาทำการตัดฟังก์ชั่นลงเพื่อให้เข้าถึงได้ ง่ายขึ้น โดยให้มีผลกระทบต่อคุณภาพเสียงน้อย ที่สุด และในเมื่อผมได้ใช้ Aurorasound VIDA รุ่นมาตรฐานอยู่ในชุดอ้างอิงอยู่แล้ว จึงได้มีการ ปรึกษากับทางตัวแทนให้เขียนรีวิวส์ร่วมกันทั้ง 2 รุ่นไปเลย เพื่อเป็นข้อมูลการตัดสินใจสำหรับผู้ที่ ยังรักพี่เสียดายน้องอยู่ จะได้ตัดสินได้ว่าจะไป ทางไหนดี และเพื่อป้องกันการสับสน ขอเรียกรุ่น มาตรฐานว่า VIDA และรุ่นเล็กที่ออกมาทีหลังว่า Prima ก็แล้วกันครับ

โดยรายละเอียดของรุ่น VIDA (ย่อมาจาก Vinyl Disk Amplifier) เป็นปรีโฟโนที่สร้างชื่อให้ แก่ Aurorasound เป็นอย่างมาก เพราะกวาด รางวัลมามากมายตั้งแต่ปี 2012 ที่เริ่มวางจำหน่าย และเข้ามาประจำการในชุดอ้างอิงของผมตั้งแต่ ปี 2015 โดยเป็นปรีโฟโนที่มีการออกแบบเป็น 2 ตัวถัง คือ ในส่วนของวงจรหลักแยกตัวถังกันกับ ภาคจ่ายไฟ โดยมีสายเชื่อมต่อยาวราวๆ เมตร หน่อยๆ มิสเตอร์ คารากิ แนะนำว่าให้วางแยกกันไว้ สนามแม่เหล็กจากภาคจ่ายไฟจะได้ไม่ไปกวนวงจร โฟโนที่มีความอ่อนไหว ซึ่งเอาเข้าจริงๆ ตั้งแต่ ผมใช้งานมาหลายปีมีการย้ายตำแหน่งวางไปมา ทั้งวางข้างกัน และวางแยกกัน ก็ไม่เคยได้ยิน สัญญาณกวนที่ว่านั้นเลย เนื่องจากตัวกล่องของ ภาคจ่ายไฟเป็นอะลูมิเนียมป้องกันการแพร่กระจาย ของสัญญาณรบกวนอยู่แล้ว และพบว่าออกแบบ มาได้เงียบสนิทดีมาก โดยในส่วนของกล่องวงจร โฟโนมีแผงด้านหน้าและหลังเป็นอะลูมิเนียม ส่วนกรอบรอบตัวทั้งซ้าย ขวา บน ล่าง เป็นไม้ที่มี การประกอบเรียบเนียนดี ด้านล่างมีขา 4 จุด ขนาด หน้ากว้างราวๆ ครึ่งหนึ่งของเครื่องเสียงมาตรฐาน ให้สัดส่วนที่ดูสวยงามดีตามสไตล์เครื่องจากญี่ปุ่น

มีปุ่มกดสี่เหลี่ยมสีเหลืองขนาดใหญ่ที่มุมบนซ้ายของแผงหน้าเป็นแนว Industrial Look ซึ่งทำหน้าที่ในการ Mute สัญญาณ หน้าตาแนวๆ เหมือนปุ่ม Emergency Stop ของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมนั่นเอง นอกจากนั้น ในส่วนของแผงหน้าด้านล่างมีสวิตช์ต่างๆ เริ่มจากซ้ายสุดเป็น Degauss สำหรับเปิดฟังก์ชั่นล้างสนามแม่เหล็ก ต่อมาเป็นสวิตช์เลือก Stereo หรือ Mono ซึ่งสามารถเอาไว้ใช้เวลาไฟล์จูนแอนตี้สเก็ตติ้งได้ คือเมื่อเล่นแผ่นโมโนด้วยหัวสเตริโอก็สามารถสลับเทียบกัน ถ้าเสียงที่ได้จากหัวสเตริโอที่เล่นแผ่นโมโนที่ตั้งค่าแอนตี้สเก็ตติ้งถูกต้องแล้ว มันก็ควรจะต้องเหมือนกัน ไม่ว่าจะปรับสัญญาณขาออกเป็นสเตริโอหรือโมโน ถ้ายังไม่เหมือนกัน แปลว่ายังตั้งไม่ถูกต้อง ต่อมาเป็นสวิตช์ Direct หรือ Subsonic filter ซึ่งก็คือการเลือก เปิด หรือ ปิด วงจรกรองเสียงต่ำที่เกิดจากแท่นออกไป ซึ่งถ้าลำโพงใหญ่สามารถให้ความถี่ต่ำได้ดี และเครื่องเล่นแผ่นเสียงมีคุณภาพดี ไม่มีสัญญาณรบกวนเข้ามา ก็แนะนำให้ตั้งไว้ที่ Direct คือไม่ผ่านวงจรกรองใดๆ ก็จะได้เบสที่มีคุณภาพและลงได้ลึกกว่า ต่อมาเป็นสวิตช์ MM หรือ MC ซึ่งตัว VIDA มาตรฐานสามารถรองรับการต่อใช้งานได้ 2 หัวเข็ม โดยอินพุตหนึ่งรองรับการต่อใช้งานหัวเข็ม MM ซึ่งมีเกนขยาย 39dB และโหลด 47kOhm และถ้าหากจำเป็นต้องต่อหัว MC ที่ช่องนี้ ก็ต้องหา Step up transformer มาต่อใช้งานด้วย ส่วนอีกอินพุตหนึ่งจะมีเกนขยายสูงกว่า ออกแบบไว้รองรับการต่อหัว MC มีเกนขยาย 64dB

และสวิตช์สุดท้ายทางด้านขวาจะเป็นการเลือกโหลดของหัวเข็ม MC ว่าเป็น High หรือ Low ซึ่งตรงนี้พบข้อมูลว่ามี Option ให้เลือก คือ ถ้าเป็นตัวมาตรฐานที่มีเฉพาะสวิตช์หน้าเครื่อง จะเป็นการเลือกระหว่าง Low คือ 10 Ohm และ High เป็น 100 Ohm แต่ถ้าเป็นตัวที่มี Option เพิ่มแบบตัวที่ผมใช้งานอยู่ จะมีปุ่มหมุนด้านหลังเพิ่มมาอีกหนึ่งปุ่ม ซึ่งในตัวที่มี ปุ่มหมุนแบบนี้ เมื่อเลือกสวิตช์ด้านหน้าเป็น High จะเป็นการเซ็ตอิมพีแดนซ์ไว้ที่ 5 k Ohm และ ถ้าเลือกเป็น Low คือการเลือกใช้งานปุ่มหมุน ด้านหลัง มีค่า 12, 47, 120, 240, 410 และ 1,000 Ohm ตามลำดับ ซึ่งการปรับได้ในช่วง 12 – 5k Ohm ผมก็ถือว่าครอบคลุมการใช้งานหัวได้ หลากหลายมากแล้ว นอกจาก Option ในส่วนของ การปรับโหลดหัวเข็ม MC แล้ว ยังสามารถเลือก MC XLR input และเพิ่ม XLR output ได้ด้วย

ถือว่าเป็นโฟโนปรีแอมป์ที่มีความครบเครื่อง มากตัวหนึ่ง ซึ่งเครื่องตัวที่ผมใช้ไม่ได้ติดตั้ง MC XLR input เนื่องจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ใช้ไม่ได้ มีเอาต์พุต XLR แต่ได้มีการติดตั้ง XLR output เนื่องจากว่าในช่วงแรกที่ซื้อมาใช้งานยังใช้หัวเข็ม Denon DL-S1 อยู่ ซึ่งเป็นหัวที่มีเอาต์พุทต่ำมากๆ ระดับ 0.15 mV จึงต้องการเกนขยายที่เพิ่มขึ้นจาก ช่อง XLR

แรกเริ่มเดิมที ความตั้งใจของผมในการเลือก VIDA เข้ามาประจำการในชุด เนื่องจากต้องการ ปรีโฟโนที่รองรับการใช้หัวเข็มโมโน MM Denon DL-102 หนึ่งตัว และหัวเข็มสเตริโอ MC Low อย่าง Denon DL-S1 ซึ่งเป็นหัวเข็มที่มีเอาต์พุตต่ำมาก จึงต้องการปรีโฟโนที่มีเกนขยายเยอะมาก โดยที่มีสัญญาณรบกวนต่ำมากๆ ซึ่ง VIDA ก็ทำหน้าที่ของมันได้เป็นอย่างดีมากตลอดมา จนกระทั่งชุดอ้างอิงปัจจุบันเริ่มด้วยหัวเข็ม Linn Kandid เครื่องเล่นแผ่นเสียง Brinkmann Brado ต่อเข้ากับ Aurorasound VIDA และใช้สาย XLR ไปเข้าปรีแอมป์ Mark Levinson No.32 ซึ่งพบว่า มีความลงตัวกันดีมาก เนื่องจากหัว Linn Kandid ที่มีเอาต์พุตราวๆ 0.4mV เมื่อต่อใช้งานกับ VIDA แล้ว ได้สัญญาณที่มีความแรงใกล้เคียงกับดิจิทัลฟร้อนต์เอนด์ของ dCS ที่ผมใช้อยู่พอดีๆ แถมที่ น่าทึ่งก็คือ แบ็กกราวด์นอยส์ที่เงียบสงัดมากใน ระดับใกล้เคียงกันกับเครื่องเล่นซีดี ไม่เคยมีปัญหา เรื่อง จี่ ฮัม หรือโดนเสียงวิทยุชุมชนแทรกแบบ โฟโนหลายๆ ตัวที่เคยเจอ ถือว่าเงียบที่สุดเท่าที่ได้ ผ่านเข้ามาเล่นในห้องของผม เรียกได้ว่าสเปกใน คู่มือที่บอกว่าระดับน้อยส์ของช่อง MC อยู่ต่ำระดับ -138dBV คงไม่ได้เป็นเรื่องโม้ขึ้นมาลอยๆ แน่ๆ โดยที่มาของความเงียบระดับนี้มาจากการใช้ วงจรที่ใช้ทรานซิสเตอร์ที่ทันสมัย และออกแบบ วงจร DC Servo ที่ทำให้สามารถตัดคาปาซิเตอร์ ออกจากทางเดินสัญญาณได้ นอกจากนี้ ในส่วน ของ RIAA EQ ยังใช้วงจร LCR ที่มักพบได้ในเครื่องหลอดวินเทจซึ่งมีขนาดใหญ่ แต่เมื่ออยู่ใน VIDA จะสามารถจัดทางเดิมสัญญาณให้สั้นได้ จึงลดการรบกวนลงได้ นอกจากนี้ยังใช้คอยล์ของ Lundahl ประเทศสวีเดน ที่ได้รับการยอมรับในคุณภาพระดับมืออาชีพ ซึ่งทาง Aurorasound บอกว่าทำให้เสียงกลางดีขึ้นกว่าวงจรทั่วไป ด้วยความคลาดเคลื่อนเพียง +/- 0.25dB ตลอดย่านความถี่ 10Hz-20kHz เรียกได้ว่ามีความเที่ยงตรงมาก

เปลี่ยนมาที่ Prima น้องเล็กที่มีราคาถูกลงเหลือไม่ถึงครึ่งของ VIDA สิ่งแรกที่เห็นได้ชัดคือตัวถังที่กว้างเท่ากัน แต่เตี้ยลงเหลือราวๆ ครึ่งเดียว และรวมภาคจ่ายไฟไว้ในตัว ซึ่งต้องบอกว่าหน้าตาดูดีมากๆ สำหรับโฟโนในระดับราคานี้ ปุ่มฟังก์ชั่นด้านหน้าหายไปหมด เหลือปุ่ม Mute ปุ่มเดียว

ด้านหลังรองรับหัวเข็มชุดเดียว เลือกได้แค่เกนขยายระหว่าง MM และ MC ที่ 40dB และ 64dB ตามลำดับ นอกจากนี้มีสวิตช์เลือกโหลดหัวเข็มแบ่งเป็น 3 ระดับที่ MC Low สำหรับหัวเข็มที่โหลดน้อยกว่า 10 Ohm และ MC High สำหรับหัวเข็ม 10 – 100 Ohm และ MM เป็นโหลด 47k Ohm มาตรฐาน ภายในปรับจากวงจร LCR เป็นการใช้ Negative Feed­ back จัดการกับความถี่สูง แทนการใช้คอยล์ และ CR จัดการกับความถี่ต่ำ

เรียกได้ว่าไม่ว่าจะหลับตาจิ้ม VIDA หรือ VIDA Prima เข้ามาร่วมใช้งานในระบบก็รับรองว่า ไม่ผิดหวังมีน้ำเสียงที่มีคุณภาพหาตัวจับยากในระดับราคาของทั้งสองตัวแน่นอนเป็นเครื่องที่แนะนำให้ต้องไปฟังให้ได้

คุณภาพเสียง

ในส่วนของการรับฟังขอเน้นที่ VIDA เป็นหลัก เพราะคุ้นเคยกันมาหลายปี เริ่มด้วย “พระเจ้าตาก” จากแผ่น 3 ตำนานเพื่อชีวิต ที่เป็นการแสดงสดร่วมกับ BSO ความยิ่งใหญ่ของวงออร์เคสตร้าที่ผสมผสานกับแนวเพื่อชีวิตได้อย่างลงตัว เสียงกลองถูกมิกซ์เสียงให้หนักแน่น มีพลัง โดดเด่นขึ้นมา เพื่อคงอารมณ์เพื่อชีวิตไว้ได้เป็นอย่างดี ถัดมาเป็น “จิตร ภูมิศักดิ์” ที่เป็นแนวอะคูสติก เสียงร้องมีความอิ่มหนากำลังดี ไม่ได้นุ่มนวลชวนหลับ และไม่แผดกร้าว แต่แสดงรายละเอียดของความดิบในแบบการร้องแสดงสด เสียงกลองบองโกมีหัวเสียงที่เด็ดขาดแสดงความตึงของหนังกลองได้เป็นอย่างดี เสียงตีคอร์ดกีตาร์มีความสดของสายโลหะที่กำลังดี เสียงปรมมือให้ภาพของสถานที่แสดงที่กว้าง และไหนๆ ก็หยิบอัลบัมนี้มาฟังแล้ว พลาดไม่ได้กับ “หนุ่มน้อย” เสียงร้องลูกคอผสานความแหบนิดๆ ของพี่ปูได้อารมณ์มากๆ เสียงเครื่องเป่าสอดแทรกมาตลอดทั้งเพลง มีความสดกำลังดี ไม่กัดหูจนน่ารำคาญ เพลงนี้มีการเรียบเรียงดนตรีที่ลงตัวดีมากๆ ทั้งเปียโนและเครื่องสายที่คอยไล่เรียงอารมณ์เพลงไปถึงจุดพีคที่มีทั้งเครื่องเป่าที่แผดดังขึ้น และเสียงร้องที่แผดแหบขึ้นมาตามเนื้อหาของเพลงได้เป็นอย่างดี

แผ่น Chie Ayado Live ที่แสดงใน Sweet Basil 139 Jazz Club ให้อารมณ์เหมือนได้ไปนั่ง อยู่ในร้านในวันนั้นด้วย ทั้งเสียงเปียโนที่มีน้ำหนัก มีบอดี้อิ่มหนา มีพลังของการกระแทกคีย์ครบถ้วน ไม่ต่างกับเสียงร้องที่มีลีลาการร้องที่มีการพูดคุย มีความเป็นกันเอง และมีรายละเอียดของเสียงร้อง ที่ผ่านเครื่องขยายเสียง อีกทั้งยังมีเสียงเก็บแก้ว เก็บจาน ที่แทรกมาเป็นระยะๆ ให้รายละเอียด ทั้งความสดเหมือนมีคนเดินมาเก็บแก้วกันในห้อง ฟังเพลงจริงๆ

สลับมาฟังซาวด์แทร็ก Batman ยุคของ Tim Burton ที่ได้ Danny Elfman มาทำเพลงประกอบ ที่มีอารมณ์ของความแฟนตาซี มีความลึกลับ แฝงอยู่ตลอด ซึ่ง VIDA ก็สามารถถ่ายทอด รายละเอียดเล็กๆ เบาๆ ของเครื่องดนตรีที่เป็นแบ็กกราวด์ที่สร้างความรู้สึกตื่นเต้นได้ดี สามารถ ให้รูปวงที่ใหญ่โตกว้างเลยผนังข้าง ลึกเกินผนังหลัง ไปได้อย่างเป็นธรรมชาติ และต่อด้วย the Dark Knight Rises ผลงานของ Hans Zimmer ที่เน้น ความรู้สึกถึงความหวังและความรู้สึกบีบคั้น เสียงความถี่ตำที่มาเป็นระลอกคลื่นเป็นช่วงๆ มีความหนักแน่นเป็นธรรมชาติแผ่มาตามพื้นได้ดี ด้วยความที่ทั้งระบบมีความสงัดในแบ็กกราวด์ นอยส์ ทำให้ความถี่ต่ำสะอาดไม่คลุมเครือ

กับ Coal Train ของ Huge Masekela ที่ต้องบอกว่า ไม่ว่าจะ CD หรือ SACD ก็ไม่อาจ เทียบได้กับแผ่นเสียงเลย ความอิ่มเข้มในน้ำเสียง ตลอดย่าน หัวเสียง Cow bell ที่สดมีพลังเหมือน มาเคาะกันจริงๆ เสียงกระเดื่องกลองและการเดิน เบสไฟฟ้าที่หนึบแน่น ไม่มีความเชื่องช้าคลุมเครือ อยู่เลย เสียงทรัมเป็ตที่สด แต่ไม่ถึงกับกัดหูไดนามิกลีลาทั้งช่วงที่ดนตรีเบาๆ ทีมีการร้องค่อยๆ ไล่อารมณ์ขึ้นมาพร้องกับดนตรีที่ดังขึ้น ก็ให้รายละเอียดได้ตาม ไม่ว่าจะเสียงร้องที่เป็นภาษาคน หรือเสียงที่ทำเลียนแบบเสียงรถไฟ ก็ให้รายละเอียดของการร้องได้ดีมาก เป็นฟอร์แมตที่ผมว่าเหมาะกับเพลงนี้ที่สุดแล้ว

และขอปิดท้ายด้วย Angle จาก Sarah McLachlan ที่มีเพียงแค่เบสที่แค่ดีดขึ้นมาโน้ตแรกก็แผ่ความถี่ต่ำออกมาได้อย่างอบอุ่น เปียโนที่อยู่ทางซ้ายเล่นตลอดเพลง และเสียงร้องที่จงใจใส่เอฟเฟ็กต์รีเวิร์บให้เหมือนร้องในฮอลล์ใหญ่ๆ สร้างอารมณ์เหมือนร้องในโบสถ์ ซึ่ง VIDA ก็ถ่ายทอดออกมาได้ใกล้เคียงสวรรค์มากๆ และเครื่องสายที่คลอเล็กน้อยตลอดเพลงก็มีรายละเอียดให้ติดตามไม่แพ้กัน เรียกได้ว่าให้ความถูกต้องเป็นกลาง ไม่เติมแต่งอะไรเข้าไปในเพลงเลย

ส่วน Prima เนื่องจากแนวเสียงเหมือนกับ VIDA มาก เพียงแต่เมื่อต่อใช้งานด้วยสาย RCA จึงต้องใช้สายคนละรุ่นกัน แนวเสียงที่ต่างกันบ้างเล็กน้อยเกิดจากอิทธิพลของสายมากกว่าคุณภาพของตัวโฟโน และด้วยความที่เกนของ RCA ต่ำกว่า XLR ทำให้ต้องเพิ่มความดังขึ้นมาบ้าง ซึ่งอาจพบว่าเริ่มไม่เงียบสนิทเท่าเครื่องเล่นซีดีแล้ว แต่ก็ยังนับว่าเป็นโฟโนที่เงียบมากตัวหนึ่ง เรียนตามตรงว่า ถ้าผมไม่ได้มี VIDA ประจำการอยู่แล้ว ผมก็สามารถพอใจและมีความสุขกับการฟังเพลงผ่าน Prima ได้ไม่ยากเลย

สรุป

ทั้ง Aurorasound VIDA และ VIDA Prima ต่างก็เป็นปรีโฟโนที่มีคุณภาพสูงมากๆ ในระดับราคาของมันเอง โดยมีความโดดเด่นที่ความเงียบสงัดแบบปรีโซลิดสเตจชั้นดี มีแนวเสียงที่จริงจัง มีพละกำลังทำให้เสียงเบสแน่นกระชับ รายละเอียดดี โดยหากเล่นชุดที่ใช้อาร์มเดียว หัวเข็มเดียว ไม่เปลี่ยนไปมาบ่อยๆ และหัวเข็มที่ใช้มีค่าโหลดที่เหมาะสมกับค่าที่ VIDA Prima สามารถตั้งได้ และใช้การเชื่อมต่อสัญญาณแบบ RCA ก็ต้องบอกว่า การเลือกซื้อ VIDA Prima ก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสมดีแล้ว เพราะมันสามารถตอบโจทย์ที่ว่ามาได้โดยหมดข้อสงสัย ด้วยค่าตัวที่ถูกกว่าเกินครึ่งจาก VIDA ในขณะที่คุณภาพเสียง ถ้าใช้ตามเงื่อนไขข้างต้นที่ว่ามาก็แทบจะแยกความแตกต่างกันไม่ออก มาถึงตรงนี้ หลายท่านอาจจะงงๆ แล้วอย่างงี้ VIDA ที่แพงกว่าเกินเท่าตัวจะมีความคุ้มค่าได้อย่างไร ก็ต้องบอกว่า ถ้าท่านวางแผนจะใช้กับหัวเข็ม 2 ตัว อย่างที่ผมวางแผนจะใช้หัว MM Mono ไว้ฟังแผ่นโมโน และใช้หัว MC ไว้ฟังแผ่นสเตริโอ และยังใช้การเชื่อมต่อกับปรีแอมป์ด้วยสาย XLR เพื่อให้ได้เกนขยายเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับหัว MC Low ถ้าท่านมีแนวโน้มว่าจะมาทางนี้มากกว่า ขอแนะนำให้เลือก VIDA ไปเลย เพราะถึงแม้ว่าราคาอาจจะแพงกว่าการซื้อ VIDA Prima 2 เครื่องเล็กน้อย แต่ถ้ารวมกับค่าสายไฟ สายสัญญาณ ที่ต้องเพิ่มเป็น 2 ชุด แถมยังต้องเสียช่องอินพุตที่ปรีแอมป์อีกชุด และยังไม่มี XLR Out ที่ช่วยเพิ่มเกนขยาย ลดสัญญาณรบกวนเมื่อจำเป็นต้องเดินสายระยะไกล แถมยังมีฟังก์ชั่นอื่นๆ อีกหลายอย่าง ก็ต้องบอกว่า VIDA ครบเครื่อง ตอบโจทย์ในการใช้งานได้ยืดหยุ่นกว่า น่าเสียดายที่ไม่ได้รับพี่ใหญ่ VIDA Supreme มาทดสอบด้วย จะได้ครบทุกตัวในคราวเดียว เรียกได้ว่าไม่ว่าจะหลับตาจิ้ม VIDA หรือ VIDA Prima เข้ามาร่วมใช้งานในระบบก็รับรองว่า ไม่ผิดหวัง มีน้ำเสียงที่มีคุณภาพหาตัวจับยากในระดับราคาของทั้งสองตัวแน่นอน เป็นเครื่องที่แนะนำให้ต้องไปฟังให้ได้ ห้ามพลาด เมื่อท่านต้องการหาปรีโฟโนมาใช้งาน เพราะ VIDA เป็นปรีโฟโนในชุดอ้างอิงของผมมานานตั้งแต่ปี 2015 และผมยังคงพอใจในคุณภาพเสียงที่ได้จากมันในทุกครั้งที่ฟังเพลง จนยังไม่เคยมีความคิดจะมองหาปรีโฟโนตัวอื่นมาลองอีกเลย. ADP

นิตยสาร Audiophile Videophile ฉบับที่ 272