ONKYO TX-RZ3100 & TX-RZ1100 4K HDR READY AV RECEIVER
นักเขียน : ชานนท์ จุทัยรัศม์
ไฮเอ็นด์จัดเต็มกับ ONKYO “RZ SERIES” รุ่นเรือธงใหม่!!
ประเดิมปีใหม่ด้วยการเปิดตัว Onkyo RZ Series AV Receiver ประจำปี 2016 – 2017 กันด้วยรีวิวรุ่นน้องนุช TX-RZ710 และ TX-RZ810 ไปในนิตยสาร Audiophile/Videophile ฉบับที่ 239 ซึ่งสามารถยืนยันถึงศักยภาพของการพัฒนาปรับโฉมสู่ซีรี่ส์ใหม่นี้ได้ดี แต่หากจะบ่งบอก ถึง “ความเป็นที่สุด” คงไม่มีรุ่นใดที่สามารถยืนยันความยอดเยี่ยมของ RZ Series ได้ชัดเจนมากเท่ากับ 2 AVR ตัวท็อป คือ TX-RZ1100 และ TX-RZ3100 อย่างแน่นอน ซึ่งความโดดเด่นจะมากน้อยเพียงใด เดี๋ยวเรามาพิสูจน์กันเลยครับ…
อ้างอิงช่วงเวลาทดสอบ (มี.ค. 2017) TX-RZ3100 และ TX-RZ1100 รั้งตำแหน่ง 2 รุ่นท็อป ของหมวด AV Receiver
บบเสียง “Dolby Atmos” และ “DTS:X” ครอบคลุมตั้งแต่รุ่นเล็กราคาสบาย กระเป๋า อย่าง TX-NR474 ไปจนถึงรุ่นไฮเอ็นด์ TX-RZ3100 ซึ่งในจำนวนนี้ เป็น RZ Series เสียเกือบครึ่งหนึ่ง (หากนับรวม RZ Series เจนเนอเรชั่นแรก ของเมื่อปี 2015 – 2016 คือ RZ800 และ RZ900 ก็จะมีจำนวนเกินครึ่งของ ทั้งหมดที่วางจำหน่ายในช่วงเวลานี้)
ถามว่า RZ Series ดีอย่างไร สิ่งหนึ่งที่สังเกตเห็นได้ชัด คือการที่ Onkyo ปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอกของ AVR เสียใหม่ ดูเรียบหรูทันสมัยมากขึ้น แต่แน่นอนที่ขาดไม่ได้ คือ “ภายใน” ได้รับการปรับปรุงให้มีคุณสมบัติเท่าทัน เทคโนโลยีพร้อมๆ กับปรับปรุงหน้าที่หลักในส่วนของการถ่ายทอดคุณภาพของ ภาพและเสียงให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งประเด็นเหล่านี้สามารถสัมผัสรับรู้ได้ตั้งแต่ 2 รุ่น น้องนุช อย่าง RZ710 และ RZ810 แต่ความชัดเจนที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ 2 รุ่นท็อป ล่าสุด คือ TX-RZ1100 และ TX-RZ3100
ONKYO: TX-RZ1100
ดูเผินๆ เหมือนจะมาแทน RZ900 ของ RZ Series AVR เจนฯ ก่อน ทว่าด้วย ดีกรีรุ่นตัวเลข 4 ตัว ของ RZ1100 นั้น บ่งบอกเป็นนัยว่า “เหนือกว่า” RZ900 อยู่สเต็ปหนึ่ง…
ประเด็นดังกล่าวอยู่ที่เทคโนโลยีภาคขยาย ล่าสุด ที่ทาง Onkyo เริ่มนำมาใช้อย่างเป็น ทางการกับรุ่นนี้ (รวมถึงรุ่น RZ3100) เป็น ครั้งแรก โดยให้ชื่อเรียกว่า Onkyo High-Current Digital Amplification (รายละเอียดจะทยอย กล่าวถึงต่อไป)
รูปลักษณ์ภายนอก ในส่วนของแผงหน้าพบว่า การจัดวางเลย์เอาต์ปุ่มควบคุม ต่างๆ ดูไม่แตกต่างจาก RZ900 มากนัก เมื่อทำการเปิดเครื่องจนจอแสดงผล ติดขึ้นมาแล้วจะพบว่า การแสดงรายละเอียดตัวอักษรของรุ่นใหม่ RZ1100 (และ RZ3100) มีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจนกว่า
ด้านหลังจะพบความเปลี่ยนแปลงพอสมควร ซึ่งเดิมในรุ่น RZ900 จะเห็น ว่าคงเอกลักษณ์ของ Onkyo AVR ยุคก่อนอยู่มาก โดยเฉพาะลักษณะการจัดวาง ขั้วลำโพง ในขณะที่รุ่นใหม่ RZ1100 กลับดูละม้ายคล้ายคลึงกับ AVR ของยี่ห้อ Pioneer ซึ่งข้อสังเกตนี้สัมพันธ์กับการออกแบบเลย์เอาต์ของส่วนประกอบและ แผงวงจรภายในด้วยเช่นกัน
ท่านใดที่เคยผ่านการใช้งาน AVR ของ Pioneer มาก่อน น่าจะคุ้นเคยกับ โครงสร้างและการจัดวางขั้วลำโพง โดยอิงตำแหน่งแผงวงจรภาคขยายที่อยู่ด้านใน บริเวณส่วนล่างของตัวถัง โดยจะมีการกั้นแยกส่วนไว้อย่างชัดเจน (ไม่สามารถ มองเห็นแผงวงจรภาคขยายเนื่องจากมีฝาโลหะครอบปิดอยู่) อีกทั้งพัดลมระบาย ความร้อนขนาดใหญ่ที่เห็นได้ชัดใน Onkyo AVR หลายๆ รุ่นก่อนหน้านี้ ได้ถูก แทนที่ด้วยพัดลมขนาดเล็กซ่อนไว้อยู่ทางด้านข้างของตัวถังซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับ ตำแหน่งของวงจรภาคขยายแทน (ตรงนี้ก็ดูคล้ายกับของ Pioneer อีกนั่นแหละ)
ข้อสังเกตข้างต้นจึงอนุมานได้ว่า เทคโนโลยีภาคขยายดิจิทัลที่ Onkyo นำมา ใช้กับรุ่น RZ1100 (และ RZ3100) น่าจะมาจาก Pioneer นั่นเอง… แต่เห็นอย่างนี้ อย่าเพิ่งปรามาสว่าผู้ผลิตที่มีชื่อกระฉ่อนในวงการมานานอย่าง Onkyo จะเล่นง่าย แบบเนียนเอาของ Pioneer มาตีตราตัวเองทั้งดุ้น เพราะหาเป็นเช่นนั้นไม่ครับ ส่วนประกอบในจุดสำคัญหลายส่วน ยังคงเป็นเทคโนโลยีของทาง Onkyo เอง และนี่ส่งผลให้ “เอกลักษณ์” ทางเสียงของ AVR ยี่ห้อนี้มิได้เหือดแห้งไปไหน ตรงกันข้ามกลับโดดเด่นมากยิ่งขึ้นด้วยซ้ำโดยเฉพาะกับ 2 รุ่นเรือธงนี้
ที่ด้านหลังของ RZ1100 ถึงแม้จะเห็นขั้วลำโพงติดตั้งมาถึง 11 แชนเนล แต่โมดูลภาคขยายที่ติดตั้งอยู่ภายในมีเท่ากับ 9 แชนเนล รองรับจำนวนลำโพง สำหรับระบบเสียงรอบทิศทางทั่วไปทั้งสิ้น 9.2 แชนเนล ส่วนระบบเสียงยุคใหม่ อย่าง Dolby Atmos และ DTS:X จะรองรับจำนวนลำโพงสูงสุดที่ 5.2.4 หรือ 7.2.2 แชนเนล ภาคขยายสามารถจ่ายกำลังขับได้สูงถึง 140 วัตต์ ต่อแชนเนล อ้างอิงที่อิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม (เป็นกำลังขับต่อแชนเนลที่เทียบเท่า RZ3100)
ช่องต่อ HDMI In มีให้จำนวนทั้งสิ้น 8 ช่อง (รวม 1 ช่อง ด้านหน้า) 1 สามารถ รับสัญญาณ 4K HDR (up to 60Hz) แบบ Pass-through ได้ และมีฟังก์ชั่น 4K Upscale ด้วย ส่วน HDMI Out มี 2 ช่อง รองรับ ARC และ Dual-Zone HDMI
เมื่อจะทำการเชื่อมต่อสัญญาณจาก 11.2 Ch Pre-out ไปยังเพาเวอร์แอมป์ ภายนอก ทั้ง RZ1100 และ RZ3100 สามารถกำหนดหน้าที่เป็น Multi-channel Pre Processor โดยเลือก ตัดการทำงานของภาคขยายภายใน ทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งแนวทางนี้ จะช่วยให้ระบบฯ สามารถทำหน้าที่ เฉพาะทางได้เต็มที่มากยิ่งขึ้น
ONKYO: TX-RZ3100
ถึงคิวของ Onkyo AVR รุ่นเรือธง (เวลานี้) คือ RZ3100 ซึ่งคงไม่มี RZ Series ของเจนฯ ก่อนให้เปรียบเทียบได้ ดังนั้นจะขออ้างอิงความแตกต่างเทียบกับรุ่นน้อง อย่าง RZ1100 แล้วกันครับ
รูปลักษณ์ภายนอก ส่วนของแผงหน้ายังคงอิงรูปแบบจาก RZ Series รุ่นอื่นมา ได้ครบถ้วนไม่แตกแถว และเป็นรูปแบบที่เหมือนกับรุ่นน้อง RZ1100 แทบทุกจุด หากจะหาจุดต่าง คงต้องดูจากชื่อรุ่นที่กำกับไว้ หรือไม่ก็ต้องพลิกไปดูลักษณะของ ขั้วลำโพงด้านหลังครับ
จุดที่ RZ3100 มีความแตกต่าง จาก RZ1100 สามารถมองเห็นได้ ชัดเจนจากด้านหลัง คือ วัสดุของ ขั้วลำโพงจะเป็นแบบกึ่งโปร่งแสง ซึ่งดูดีกว่าแบบทึบของรุ่นรอง ในจุดอื่น อาทิ การจัดวางเลย์เอาต์และจำนวน ช่องต่อต่างๆ ไม่มีความแตกต่าง
ขั้วลำโพงด้านหลังของ RZ3100 ติดตั้งมาทั้งหมด 11 แชนเนล สามารถใช้งานได้พร้อมๆ กัน ครบทั้ง 11 แชนเนลเลย ซึ่งเป็นผลจากโมดูล ภาคขยายจำนวนเดียวกันที่ติดตั้งอยู่ ภายใน รองรับจำนวนลำโพงสำหรับ ระบบเสียงรอบทิศทางทั่วไปทั้งสิ้น 11.2 แชนเนล ส่วนระบบเสียงยุค ใหม่อย่าง Dolby Atmos และ DTS:X จะรองรับจำนวนลำโพงสูงสุดที่ 7.2.4 หรือ 9.2.2 แชนเนล ภาคขยายสามารถจ่ายกำลังขับได้สูงถึง 140 วัตต์ ต่อแชนเนล อ้างอิงที่อิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม
รุ่นนี้ก็เหมือนเช่น RZ1100 ในจุดที่ Onkyo เลือกนำเทคโนโลยีภาคขยาย ล่าสุดที่มีชื่อเรียกว่า Onkyo High-Current Digital Amplification มาใช้อย่าง เป็นทางการเป็นครั้งแรก 2 ซึ่งเป็นดังที่เรียนไปแล้วก่อนหน้านี้กับข้อสังเกตที่ว่า เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภาคขยายดิจิทัลของ Pioneer มาผสมผสานพัฒนา ต่อยอดร่วมกับเทคโนโลยีภาคขยาย Dynamic Audio Amplification ของทาง Onkyo เอง ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน ผลลัพธ์ที่ได้จึงเปิดมิติใหม่ให้ กับเทคโนโลยีภาคขยายของ AVR เลยทีเดียว (จะกล่าวถึงประเด็นเรื่องคุณภาพ เสียงต่อไป)
มาดูรายละเอียดภายในของ RZ1100 และ RZ3100 กันบ้าง จากการสังเกต ด้วยตา ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยส ำคัญ จุดต่างจริงๆ น่าจะอยู่ที่จำนวนโมดูล ภาคขยายที่อยู่ใต้ฝาครอบด้านล่างอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะมองไม่เห็น ภาคจ่ายไฟของ ทั้งคู่ยังคงใช้ H.C.P.S. (High Current Power Supply) จาก EI Transformer ขนาดใหญ่ตามรูปแบบของ Onkyo เช่นเคย ในส่วนของ Custom Capacitors คู่ ถูกจัดวางหันด้านที่ยากต่อการอ่านค่า เลยไม่แน่ใจเรื่องของความจุ แต่ดูจากขนาด แล้วใหญ่พอตัวครับ
แผงวงจรหลักอย่าง Audio & Video Processor นั้นไม่ต่างกัน เช่นเดียวกับ DAC Chip ก็เป็นซีรี่ส์เดียวกัน โดยทำการแยก AK4458 384 kHz/32-bit Stereo DAC จำนวน 1 ชุด สำหรับคู่หน้า และ AK4458 768 kHz/32-bit Multichannel DAC อีก 2 ชุด สำหรับแชนเนลอื่นๆ และยังมี SHARC Digital Surround Processor 2 ชุด ทำงานร่วมกัน บ่งบอกได้ถึงความยอดเยี่ยมของภาคถอดรหัสเสียงดิจิทัล จาก AVR ระดับสูงเครื่องนี้ ซึ่งความยอดเยี่ยมทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมาทั้งหมด ได้รับการยืนยันอีกครั้งด้วยการรับรองมาตรฐาน “THX Select2 Plus” ทั้ง 2 รุ่น
เปรียบเทียบอุปกรณ์ภายใน ระหว่าง TX-RZ1100 (บน) และ TX-RZ3100 (ล่าง) ซึ่งเท่าที่ตาเห็นไม่พบจุดที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดี ส่วนต่างน่าจะอยู่ที่ โมดูลภาคขยายซึ่งกั้นแยกส่วนไว้ด้านล่าง (มีฝาครอบอยู่ จึงมองไม่เห็น)
ลักษณะของรีโมตคอนโทรลน่าจะคุ้นเคยกันดีจาก Onkyo AVR เจนฯ ก่อน
ลูกเล่นความบันเทิงเข้ากับยุคสมัยของ RZ Series ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น และต้องกล่าวถึงเป็นอันดับแรก คือ การรองรับ Online Music Streaming Services โดยเพิ่มเติมบริการของ TIDAL และ Deezer เข้ามา เมื่อรวมกับที่มีอยู่เดิม อาทิ TuneIn, Spotify, Pandora ไปจนถึงความสามารถทาง Network Audio Streaming อย่าง Airplay และล่าสุด Google Cast ผ่าน Wi-Fi และ LAN พร้อม Bluetooth 4.1 3 ทั้ง RZ3100 และ RZ1100 จึงรองรับความบันเทิงได้ หลากหลาย เข้ากับไลฟ์สไตล์ปัจจุบันได้อย่างกลมกลืน
ในส่วนของ Hi-res Audio ก็ครบครันเช่นกัน ไม่ว่าจะเล่นผ่าน USB Flash Drive/External HDD หรือ Network โดยรองรับฟอร์แม็ตสำคัญ อาทิ FLAC, WAV (up to 192kHz/24-bit), WMA Lossless, Apple Lossless และ DSD (up to 11.2 MHz)
Onkyo AVR ยุคหลังจะได้ใช้งาน Remote App เวอร์ชั่นใหม่ที่ใช้ชื่อว่า “Onkyo Controller” (แทน Onkyo Remote เดิม) ซึ่งนอกจากอินเทอร์เฟสสวยงามด้วยโทนสีขาว-ดำดูเท่แล้ว ความสามารถยังครอบคลุมหลากหลาย อันจะส่งผลดีเอื้อให้การใช้งาน AVR มีความคล่องตัวมาก ยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการจัดการระบบ Multi Zone
หนึ่งในความสามารถที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมเข้ามากับ RZ Series AVR คือ ระบบมัลติรูม ผ่านเทคโนโลยี “FireConnect” ซึ่งช่วยให้การกระจายเสียงดนตรีไปยังจุดต่างๆ ภายในบ้าน สามารถดำเนินการได้สะดวกง่ายดายขึ้น เพราะเป็นระบบไร้สาย เพียงแค่ติดตั้ง FireConnect Wireless Speaker และตั้งค่าผ่าน Onkyo Controller App ไม่กี่ขั้นตอนก็ใช้งานได้ทันที
หลายท่านอาจไม่ทราบว่า เวลาที่รับฟัง Bluetooth ร่วมกับ Onkyo AVR หากกดปุ่ม Mode ที่รีโมตคอนโทรล จะสามารถแสดงภาพวิดีโอจากอินพุตแหล่งโปรแกรมอื่นไปพร้อมกันได้ด้วยนะครับ ซึ่ง Info ที่แจ้งรายละเอียดชื่อเพลง, ชื่ออัลบั้มจาก Bluetooth นั้น จะถูกย่อให้เล็กลงและไปอยู่ ที่มุมขวาล่างของจอเพื่อปล่อยให้พื้นหลังเป็นสัญญาณภาพจากแหล่งโปรแกรมวิดีโออื่น
ผลการทดสอบ
ดังที่เกริ่นไปว่า ทั้ง RZ1100 และ RZ3100 ถือเป็น AVR 2 รุ่นแรก ที่ประเดิมภาคขยายใหม่ชื่อเรียกว่า Onkyo High-Current Digital Amplification โดยพื้นฐานน่าจะมาจากเทคโนโลยีภาคขยายดิจิทัลของ Pioneer นำมาผสมผสาน กับเทคโนโลยีของ Onkyo ผ่านการไฟน์จูนจากประสบการณ์ที่ยาวนาน แน่นอน ตรงนี้ย่อมส่งผลถึงคุณภาพเสียงโดยตรง ถ้าหากไม่ดีจริงคงไม่ทำ
ผลลัพธ์สามารถสังเกตได้ตั้งแต่เปิดใช้งาน และจะชัดยิ่งขึ้นเรื่อยๆ หลังพ้นช่วง เวลาเบิร์นอิน ซึ่งต้องบอกว่า เป็นการผสมผสานจุดเด่นทางเสียง ของทั้ง Onkyo และ Pioneer AVR ในอดีต ได้อย่างลงตัวมากๆ หลายท่านที่กังวลว่า เมื่อ Onkyo หันมาใช้เทคโนโลยีภาคขยายของ Pioneer เสียงของ Onkyo AVR 2 รุ่นนี้ คงจะ กระเดียดไปเป็น Pioneer ถ้าอย่างนั้นสู้ไปซื้อ Pioneer AVR แทนไม่ดีกว่าเหรอ? ก็ขอตอบว่า มันไม่เป็นอย่างที่เข้าใจครับ
พละกำลัง ความหนักแน่น และดุดัน อันเป็นสไตล์จาก Pioneer AVR นั้นมาจริง จุดนี้น่าจะได้รับการส่งเสริมเข้ามาสัก 3 ส่วน แต่อีก 7 ส่วน คือ ความไหลลื่น ต่อเนื่องในน้ำเสียงที่เนียนสะอาดแต่เด่นชัดในรายละเอียดตามแบบฉบับของ Onkyo มันจึงเป็นส่วนผสมที่ส่งเสริมเข้าทางกันอย่างลงตัว ซึ่งหาไม่ได้ใน Onkyo หรือ Pioneer AVR ใดๆ ในอดีต…
อีกจุดที่ส่งผลดีกับคุณภาพเสียงไม่ทางตรงก็ทางอ้อม คือ AccuEQ ระบบ Speaker Auto Calibration ที่ติดตั้งมากับ AVR 2 รุ่นนี้ ดูจะมีความคล้ายคลึง กับระบบ MCACC ของ Pioneer อยู่หลายส่วน ซึ่งผมถือว่ามันเป็นข้อดีนะ เพราะในอดีต MCACC เป็นอีกหนึ่งระบบฯ ที่ให้ผลลัพธ์ดีตีคู่มากับ Audyssey (มีใช้ใน Denon/Marantz AVR) และ YPAO ของ Yamaha และเมื่ออ้างอิงผล
การทดสอบใช้งานจริงครั้งนี้ก็ไม่ผิดหวัง สิ่งที่พบ คือ มันไม่เซ็นซิทีฟมากเหมือน AccuEQ ของ Onkyo ในอดีต โอกาสที่ผู้ใช้จะได้ผลลัพธ์ทางเสียงจากซิสเต็ม ลำโพงมัลติแชนเนลที่เที่ยงตรงลงตัว ผ่านระบบช่วยเหลือดังกล่าว จึงเป็นได้สูงกว่า
จุดสังเกตหนึ่งที่บ่งบอกว่า AccuEQ ระบบ Speaker Auto Calibration ของ Onkyo ที่มาพร้อม กับ AVR 2 รุ่นนี้ (RZ1100 และ RZ3100) มีความคล้ายคลึงกับระบบ MCACC ของ Pioneer คือ ลักษณะของ Setup Microphone ดังรูป ซึ่งจำนวน ลำดับขั้นตอน และรูปแบบเทสโทนที่ใช้ใน การตรวจวัดเสียงของลำโพง ก็มีความคล้ายคลึงด้วยเช่นกัน
อีกจุด คือ ตัวเลือกไฟน์จูนปรับตั้งในส่วนของ Standing Wave Control ที่เพิ่มเติมเข้ามาใน Onkyo AVR 2 รุ่นนี้ ผู้ที่เคยใช้งาน Pioneer AVR มาก่อน น่าจะคุ้นเคยดีอยู่แล้ว
ทราบหรือไม่ว่า AVR รุ่นใหม่ เพิ่มความยืดหยุ่นเรื่องของจำนวนลำโพงที่จะนำมาใช้งานกับระบบเสียง ยุคใหม่ทั้ง Dolby Atmos และ DTS:X มากขึ้น หนึ่งในนั้น คือ “การกำหนดจำนวนลำโพงขั้นต่ำ” เริ่มต้นเพียงแค่ 2.1.2 แชนเนล ก็ใช้งานได้แล้วครับ อย่างไรก็ดี สำหรับระบบเสียงยุค Object-base Audio นี้ ความสามารถแจกแจงรายละเอียดทิศทางเสียงเซอร์ราวด์จะแปรผันตามจำนวนลำโพง ยิ่งมากก็จะยิ่งละเอียดขึ้นเท่านั้น หากไม่ลำบากแนะนำให้เลือกใช้จำนวนลำโพงที่พอเหมาะกับ ความสามารถด้านงบประมาณและขนาดพื้นที่รับฟังดีกว่าครับ
นับเป็นการ “ก้าวข้าม” เข้าสู่ความเป็น AVR ยุคใหม่ของ Onkyo ได้อย่างยอดเยี่ยม
นอกเหนือจากภาคขยายรูปแบบใหม่ที่ช่วยให้การถ่ายเทกำลังไปผลักดัน ลำโพงให้มีพลังหนักแน่น ฟังดูดุดันขึ้นแล้ว ในส่วนของการส่งผ่านย่านความถี่ต่ำผ่านช่องสัญญาณ .1/LFE Channel ก็ทำได้โดดเด่น ย่านความถี่โดยเฉพาะช่วง ต่ำลึก สะอาด และจับต้องชัดเจนกว่า ซึ่งข้อสังเกตนี้มิใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสิ่งที่ พบได้เป็นปกติสำหรับ AVR หรือ Pre Pro รุ่นสูงมาแต่ไหนแต่ไร อันเป็นผลจาก ภาคถอดรหัสเสียงมัลติแชนเนล ทั้งภาค DSP และ DAC ที่สมบูรณ์กว่านั่นเอง อย่างไรก็ดี ความเกี่ยวเนื่องที่ส่งเสริมให้ RZ1100 และ RZ3100 เหนือกว่ารุ่นเล็ก อย่าง RZ710 และ RZ810 แบบชัดเจน ก็คือความสามารถจัดการกับคลื่นความถี่ สั่นค้าง หรือ Standing Wave Control ที่ให้ความสมบูรณ์ลงตัวยิ่งขึ้น ทั้งจาก ระบบ Auto Calibration ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้ทำการไฟน์จูนผ่านตัวเลือก EQ for Standing Wave
หลายท่านอาจมีข้อสงสัยว่า ระหว่างใช้งาน RZ1100 กับ RZ3100 ให้ผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันเพียงใด ส่วนตัวจากการอ้างอิงร่วมกับซิสเต็มลำโพงที่มีจำนวน ไม่เยอะ คือ 5.1.2 แต่ทำการ “Bi-amp” ในส่วนของลำโพงคู่หน้าเพิ่มเติม (เท่ากับ ว่าใช้ภาคขยายภายใน AVR ทั้งสิ้น 9 แชนเนล) พบว่า ไม่มีความแตกต่างทางเสียง อย่างมีนัยสำคัญนัก อย่างไรก็ดี สำหรับท่านที่ใช้งานร่วมกับซิสเต็มใหญ่ มีจำนวน ลำโพงในระบบมากกว่านี้ ก็แน่นอนว่า RZ3100 จะสามารถตอบสนองการใช้งาน ได้ดีกว่าอย่างไม่ต้องสงสัยครับ
หลังการทดสอบก็ทำให้นึกไปว่า น่าจะเป็นโจทย์ยากของ Pioneer อยู่เหมือน กัน เพราะจุดเด่นของ Pioneer AVR ในอดีต บัดนี้ได้เข้ามาเติมเต็มความสมบูรณ์ ให้กับ Onkyo AVR 2 รุ่นท็อปนี้ไปแล้ว คงต้องติดตามกันต่อไป ไม่แน่ว่า Pioneer AVR รุ่นใหม่ อาจจะมีอะไรมาให้เราได้เซอร์ไพรส์กันอีกก็เป็นได้ครับ… แต่สิ่งหนึ่ง ที่ยืนยันได้เลยตอนนี้ คือ ส่วนผสมทางเสียงไปจนถึงคุณสมบัติเกี่ยวข้อง จนกลาย เป็ นผลลั พธ์ ที่ ลงตั วจาก RZ Series ตัวท อปในครั้ งนี้ นั บเป็ นการ “ก้าวข้าม” เข้าสู่ความเป็น AVR ยุคใหม่ของ Onkyo ได้อย่างยอดเยี่ยม เต็มภาคภูมิ…! หากมี โอกาสก็อยากเรียนเชิญให้ทุกท่านได้ไปทดลองคุณภาพเสียงกันดู น่าจะเป็น การยืนยันได้ดีที่สุด โดยเฉพาะแฟนเก่าของทั้ง 2 ค่าย อาจจะติดหูติดใจกันไปเลยก็ได้ เพราะไม่ต้องรักพี่เสียดายน้อง. VDP
ONKYO: TX-RZ3100 ราคา 129,900 บาท
ONKYO: TX-RZ1100 ราคา 99,900 บาท
จัดจำหน่ายโดย
บริษัท เซ็นทรัล เทรดดิ้ง จำกัด
โทร. 0-2229-7190-4, 0-2229-7630-2
No Comments