ธรรมนูญ ประทีปจินดา

นักเขียน : ธรรมนูญ ประทีปจินดา

ในอดีต เมื่อได้ยินคำสามคำนี้ …นักเล่นทั่วไปส่วนใหญ่สมัยนั้นจะหัวเราะแทบอาเจียนพุ่ง แต่ใน พ.ศ. นี้ สำหรับนักเล่นแนวจริงจัง รวมถึงตัวผมเองที่ค่อนข้างซีเรียสกับอุปกรณ์ หมายรวมถึง “เส้นสาย” ประมาณว่าเป็นคนไม่ยอมใช้สายแถมเป็นอันขาด ดังนั้น Audiophile Ethernet Cables ย่อมมีความสำคัญขึ้นทุกวัน เพราะว่า Ethernet Cable คือหนึ่งในคอขวดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับเครื่องเล่น Network Audio รวมถึง Set Top Box จำนวนมาก ที่ปัจจุบันแทรกเข้ามาในทุกอณูของแหล่งบันเทิงในบ้าน นาทีนี้เมื่อ Streaming Service ครองโลก อย่าง Netflix ระบบภาพที่ไปไกลถึง 4K HDR DOLBY ATMOS และคุณภาพเสียงของ TIDAL Master (MQA) หรือ QOBUZ ที่ส่งผ่านเพลงแบบ High Resolution สบายๆ ที่ครองใจนักเล่นอย่างพวกเรา

Technology…Behind the Hi-End LAN cable

Streaming เป็นการส่งผ่านข้อมูลดิจิทัลผ่านการเชื่อมต่อ TCP/IP ที่เชื่อถือได้ โดยที่บิตต่อบิต ซึ่งถูกตรวจสอบข้อผิดพลาดครั้งแล้วครั้งเล่า บิตควรจะเหมือนกันทั้งสองด้าน เห็นได้ชัดว่ามี EMI/RFI ที่สามารถหุ้มเส้นทางของสายเคเบิล และส่งผลต่อคุณลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันในอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อทั้งสองด้านใช่ไหม

ข้อแตกต่างจากการถ่ายโอนไฟล์ผ่าน FTP หรือการดาวน์โหลดแอพ ซึ่งอาจต้องใช้ Timing เป็นตัวแปร การสตรีมมิ่งเพลงจะต้องมี Clock อันแม่นยำในทุกช่วงเวลา การสตรีมส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับ UDP/IP Protocol ที่บิตไม่ได้ตรวจสอบข้อผิดพลาดหรือส่งซ้ำทว่า Audio Stream ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบิต แต่เป็น Timing จังหวะของการออกและการมาถึงของบิตเหล่านั้น เนื่องจากการเชื่อมต่อทางกายภาพของตัวส่ง/ตัวรับ ต่างหาก

ในการออกแบบสายเคเบิลนั้น Jitter / RFI /EMI สามารถอยู่ในห่วงโซ่ จากสายเคเบิล Buffer ที่ทำให้บิตกลับมารวมกันบนจุดปลาย Ethernet ก็มีบทบาทที่สำคัญกว่าเช่นกัน ดังนั้น การป้องกันจาก Source / DAC และ วิศวกรรมโดยรวมของสายเคเบิล ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพเสียงของ เครื่องเสียงที่ต่อพ่วงกับสายเคเบิลโดยตรง สามารถทำได้โดยการปรับปรุง ความเที่ยงตรงของรูปคลื่น ลดความแปรปรวนของความต้านทานที่สาย เคเบิล/ตัวเชื่อมต่อ และลดเสียงรบกวนโดยรวมด้วย ..และนี่คือคำอธิบายครับ

Transparent: High Performance Ethernet Audio Cable

จากผู้ผลิตสายสัญญาณชั้นนำTransparent กับสายดิจิทัลใน ซีรีส์ High Performance Ethernet ถูกออกแบบมาสำหรับเครื่องเสียง Network Audio ในยุค Streaming ที่ส่งและรับสัญญาณเพลง ผ่านเครือข่ายในบ้าน (LAN) เช่น Network Digital-to-Analog Converter (DAC), คลังแสงดนตรี หรือ Network Attached Storage (NAS), เซิร์ฟเวอร์เพลงอย่าง Roon หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ส􀄞ำหรับการ จัดเก็บไฟล์เพลง และแน่นอนกับบริการเหมาจ่ายรายเดือน Streaming Service (Tidal ,QOBUZ, Spotify) ที่เข้าครอบครองสื่อดนตรีกระแส หลักในยุคนี้อย่างช่วยไม่ได้

โครงสร้างอันล้ำสมัยของ High Performance Ethernet cable รักษาความสมบูรณ์แบบของสัญญาณและแบนด์วิดธ์ ให้ระดับการรบกวนต่ำ เพื่อการถ่ายโอนอย่างสมบูรณ์แบบเต็มประสิทธิภาพช่วงสวิงไดนามิกของ เพลงบนเน็ตเวิร์ก ขั้วต่อ Ethernet RJ45 แบบ gold-plated แข็งแรง ทนทาน ให้การเชื่อมต่อที่มั่นคง แน่นหนา Transparent มีชื่อในเรื่อง ความเชื่อถือได้ในเรื่องเทคนิคการเข้าหัวอันแน่นอน รับประกันการถ่าย โอนสัญญาณดิจิทัลที่แม่นยำ โครงสร้างใช้แกนตัวนำOFHC ให้การถ่าย โอนสัญญาณได้อย่างแม่นยำได้ไกลถึง 100 เมตร โดยไม่ความผิดเพี้ยน ฉนวนโพลีเอทิลีนไดอิเล็กทริก รักษาความต้านทานตรงตามข้อกำหนด CAT 6 เพื่อประสิทธิภาพการเป็นสาย Ethernet ชั้นดี และออกแบบมา โดยเฉพาะสำหรับ Network Audio

Transparent ทุ่มเทเพื่อช่วยให้คุณมีตัวเลือกที่ดีที่สุดและเหมาะสม ที่สุดสำหรับระบบของคุณ ในการกำหนดคุณภาพเสียงของระบบเสียง ปัจจุบัน หรือวางแผนล่วงหน้าสำหรับการอัพเกรดในอนาคต

Transparent High Performance Ethernet Cable ช่วยให้ ส่วนประกอบของ Network Audio เช่น ฮาร์ดไดรฟ์และคอมพิวเตอร์ ที่ใช้พัดลมซึ่งทำให้มีเสียงรบกวน สามารถจะอยู่ห่างจากระบบเสียง โดยไม่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง

ขั้วต่อ RJ45 ออกแบบมาอย่างดีเลิศ ทำจากโลหะเคลือบทอง เข้าหัวสาย อย่างประณีต ให้ความแม่นยำในการเชื่อมต่อ ขจัดเสียงรบกวนได้เหนือ กว่าตัวอื่น ส่งผลให้ได้เสียงที่สมบูรณ์เป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับ สาย Ethernet ทั่วไป ความยาวมาตรฐานในกล่องสำเร็จมีตั้งแต่ .5 เมตร, 1 เมตร, 1.5 เมตร, 2 เมตร หรือ 10 ฟุต, 15 ฟุต, 20 ฟุต, 30 ฟุต, 40 ฟุต, 50 ฟุต รวมถึงสายตัดตามความยาวที่ต้องการเข้าหัวจากโรงงานตามสั่ง

Showtime

มีคนถามว่า ถ้ามีเส้นเดียวต้องเสียบตรงไหน หลักการเดียวกับสายไฟดีๆ ที่คุณใช้นั่นแหละ แนะนำว่าให้ใช้สายเสียบใกล้กับตัวเครื่องสิครับ โชคดีที่ได้สาย ความยาว 2 เมตร มา 2 เส้น ก็เข้าทางสิครับ เส้นแรกต่อจาก Gigabit Switcher ที่อยู่ในห้องฟังมาเข้ากับคลังแสง NAS ซึ่งถ้ารำคาญเสียงรบกวนจาก NAS สามารถเอา NAS ไว้นอกห้องฟังก็ได้ หรือจะผ่าน Switcher มาเข้า Network Player ก็เป็นอันเสร็จ ในการเชื่อมต่อของระบบเสียง ว่ากันไปแล้วระบบภาพก็ใช้ได้นะ ลองลากไปเข้า Apple TV ดูหนัง 4K สบายไป

ทีนี้ ถ้าสตรีมเพลงผ่าน TIDAL โดยใช้สาย LAN Cable ตลาดๆ เพียงเส้นเดียว ในระบบ ที่ไม่ใช่สายเคเบิล “Audiophile Grade” คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากเกตเวย์ไปยัง Network Player ด้วยสายเคเบิล CAT6 ทั่วไป คำถามคือ ถ้าใช้สาย Ethernet “Audiophile” ชั้นดีอย่าง Transparent High Performance Ethernet Cable จะสามารถสร้างความแตกต่างหรือไม่ ซึ่งก็ผลออกมาว่า สาย Audiophile Grade สามารถสร้างความแตกต่างได้ เว้นแต่คุณจะไม่สนใจได้ฟังมัน ประมาณว่าตั้งการ์ดไว้ แต่ต้น ในกรณีนั้น ถ้าไม่ได้ยินความแตกต่างก็เป็นเรื่องช่วยไม่ได้จริงๆ สิ่งที่ปรับปรุงดีขึ้น อย่างเด่นชัด คือ Background Noise ต่ำ ไดนามิกส์ดีขึ้น ฟังได้ด้วยหู ดูได้ด้วยตา

เปรียบเทียบ… อยากให้ลองใช้สาย Ethernet Cable ราคาถูกๆ สองเส้นจาก แบรนด์ต่างๆ แล้วใช้สายแบรนด์ราคาสูง แล้วฟังเปรียบเทียบกันดู หากคุณเป็น นักฟังที่พอมีประสบการณ์ในการฟังเครื่องเสียงระดับมิดเอนด์จนถึงเสียงระดับ ไฮเอ็นด์มาบ้าง จะรู้ว่าการวัดเชิงปริมาณสามารถทำได้ยากก็จริง แถมยังไม่ทราบ ด้วยซ้ำว่าจะทำอย่างไรเกี่ยวกับการวัดความกว้างของเวทีเสียง หรือความชัดเจนของ เสียงที่ได้ยินจากอุปกรณ์แต่ละตัว ไม่มีอุปกรณ์ใดๆ สามารถแทนที่ประสบการณ์ หรอกนะ เชื่อหูของคุณเถอะ เชื่อว่าจะต้องรู้สึกงงงวยและสงสัย เมื่อได้ยินว่า Ethernet Cable สร้างความแตกต่างในคุณภาพเสียง และจะยิ่งฟังออกง่ายขึ้นไปอีก ถ้าได้ลองเสียบกับอุปกรณ์ Set Top Box อย่าง Apple TV 4K ดูหนังเรื่องเดิม เทียบกัน จะเห็นกับตาว่า คุณภาพของภาพและเสียงมี Dynamic อย่างเห็นได้ชัดว่า มีความแตกต่างจากสายราคาถูกโดยสิ้นเชิง

Wrap Up

รักจะเล่น Network Audio/Video Streaming ให้ได้คุณภาพ ต้องใส่ใจ คุณภาพตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ คงไม่ต่างกับเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ ที่ต้องว่ากันถึง คุณภาพสายทุกเส้น สายไฟ สายลำโพง สายสัญญาณ แล้วล่ะก็ สาย LAN ก็คือหนึ่ง ในความสำคัญลำดับต้นๆ ที่ต้องใส่ใจด้วย เพราะมันคือตัวต้นน้ำนั่นเอง

Transparent High Performance Ethernet Cable ราคาไม่สูง เมื่อเทียบกับ สินค้าในกลุ่มเดียวกัน เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสุดๆ แนะนำเลยครับ. ADP

นิตยสาร Audiophile Videophile ฉบับที่ 266